ปฐพีศาสตร์ทั่วไป (General soil) 361201 โดย ดร. นิวัติ อนงค์รักษ์
(Soil Survey and Classification) บทที่ 10 การสำรวจและจำแนกดิน (Soil Survey and Classification)
การสำรวจดิน (Soil Survey) 1. คำนิยาม “ การใช้วิธีการศึกษาทางสนาม และข้อสนเทศจากแหล่งต่างๆ มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อ ” 1.1 แจกแจง ให้คำนิยาม และจำแนกชนิดต่างๆ ของดินในบริเวณที่ศึกษา 1.2 แบ่งขอบเขตของดินชนิดต่างๆ ออกเป็นหน่วยดิน 1.3 แปลความหมายข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์
2. หลักในการสำรวจดิน 2.1 ศึกษาลักษณะที่สำคัญของดิน ทั้งลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันของดิน เพื่อประมวลให้เป็นระบบที่เข้าใจง่าย 2.2 ทำการจำแนกดินออกเป็นชนิดต่างๆ ตามลำดับขั้น - ความเหมือนและแตกต่างกันของดินจะทำให้ดินมีเอกลักษณ์ (identity) เป็น พื้นฐานในการจำแนกดิน - ระบบการจำแนกดิน จะแตกต่างกันตามแนวความคิดของท้องที่และพื้นฐานการ ใช้ประโยชน์ของดิน 2.3 ทำแผนที่ แสดงอาณาเขตของดินแต่ละชนิด ดินมีความต่อเนื่องกันไปบนผิวโลก ตัวแทนที่ดีที่สุดที่จะทำให้เข้าใจถึงชนิดของดิน คือ แผนที่ 2.4 หาความสัมพันธ์ระหว่างดินและพืช และคาดคะเนผลผลิตที่จะได้บนดินนั้น
3. ชนิดของการสำรวจดิน 3.1 การสำรวจดินพื้นฐาน (Basic soil surveys) - เป็นการสำรวจที่ต้องการข้อมูลพื้นฐานของดินทั้งหมด - หน่วยแผนที่ของดินจะตรงกับหน่วยอนุกรมวิธานของดินเป็นส่วนใหญ่ - สำรวจได้หลายระดับที่มีความเข้มข้นหรือรายละเอียดแตกต่างกัน 3.2 การสำรวจดินเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special purpose soil surveys) - หน่วยแผนที่ดิน อาจจะใช้เพียง 2-3 อย่าง ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ - ผลจากการสำรวจสามารถใช้ได้ในวงแคบๆ เท่านั้น - ทำได้เร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการสำรวจดินพื้นฐาน
4. ระดับและมาตราส่วนของการสำรวจดิน 4.1 การสำรวจดินอันดับที่ 1 (First order soil surveys) - ระดับเข้มข้นมาก สำรวจทางภาคสนามเป็นหลัก - วางแผนการชลประทาน แปลงทดลอง ที่ตั้งของอาคาร - มาตราส่วน > 1: 15,840 - พื้นที่เล็กสุด ประมาณ 1 เฮกตาร์ - ชนิดหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทของชุดดิน พื้นที่เบ็ดเตล็ด
การสำรวจดินอันดับที่ 1 เพื่อวางแผนระดับแปลงทดลอง
4.2 การสำรวจดินอันดับที่ 2 (Second order soil surveys) - ระดับเข้มข้น สำรวจทางภาคสนามและการแปลข้อมูลสำรวจระยะไกล - วางแผนการเกษตร การก่อสร้าง การพัฒนาเขตเมือง - มาตราส่วน 1: 12,000 - 1: 31,680 - พื้นที่เล็กสุด 0.6 - 4 เฮกตาร์ - ชนิดหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทของชุดดิน พื้นที่เบ็ดเตล็ด 4.3 การสำรวจดินอันดับที่ 3 (Third order soil surveys) - ระดับทั่วไป การแปลข้อมูลสำรวจระยะไกลเป็นหลักร่วมกับภาคสนามบ้าง - วางแผนพื้นที่ปศุสัตว์ ป่าไม้ พื้นที่นันทนาการ หรือชุมชน - มาตราส่วน 1: 20,000 - 1: 63,360 - พื้นที่เล็กสุด 1.6 - 16 เฮกตาร์ - ชนิดหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทของชุดดิน หน่วยที่สูงกว่าระดับชุดดิน
การสำรวจดินอันดับที่ 3 เพื่อวางแผนพื้นที่นันทนาการ
4.4 การสำรวจดินอันดับที่ 4 (Fourth order soil surveys) - ระดับกว้าง การแปลข้อมูลสำรวจระยะไกลเป็นหลักร่วมกับภาคสนามบ้าง - การวางแผนการใช้ที่ดินระดับภาค เพื่อเลือกบริเวณที่จะศึกษาขั้นละเอียด - มาตราส่วน 1: 63,360 - 1: 250,000 - พื้นที่เล็กสุด 16 - 252 เฮกตาร์ - ชนิดหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทของชุดดิน หน่วยที่สูงกว่าระดับชุดดิน 4.5 การสำรวจดินอันดับที่ 5 (Fifth order soil surveys) - ระดับกว้าง การแปลข้อมูลสำรวจระยะไกลเป็นหลักร่วมกับภาคสนามบ้าง - การวางแผนการใช้ที่ดินระดับภาค เพื่อเลือกบริเวณที่จะศึกษาขั้นละเอียด - มาตราส่วน 1: 250,000 - 1: 1,000,000 - พื้นที่เล็กสุด 252 - 4,000 เฮกตาร์ - ชนิดหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทของหน่วยที่สูงกว่าระดับชุดดิน
5. ชนิดของการสำรวจดินและแผนที่ดินที่ใช้ในประเทศไทย 5.1 การสำรวจดินและแผนที่ดินละเอียดมากพิเศษ (Special very detailed soil survey and soil maps) - การวางแผนทดลองการเกษตร โครงการทางวิศวกรรมที่ละเอียดมาก - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ > 1:5,000 - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ > 1:5,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ < 0.3 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทดินของชุดดิน หน่วยดินคล้าย
5.2 การสำรวจดินและแผนที่ดินละเอียดมาก (Very detailed soil survey and soil maps) - การวางแผนทดลองการเกษตร การจัดการฟาร์มอย่างละเอียด - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ 1:2,000 - 1:10,000 - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ 1:5,000 - 1:10,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ 0.5 - 1 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทดินของชุดดิน หน่วยดินคล้าย หน่วยดิน เชิงซ้อน
แผนที่ดินละเอียดมาก มาตราส่วน 1:10,000
5.3 การสำรวจดินและแผนที่ดินละเอียด (Detailed soil survey and soil maps) - การวางแผนฟาร์มระดับไร่นา หรือการชลประทานอย่างละเอียด - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ 1:5,000 - 1:30,000 - จุดตรวจสอบ 1 จุด ต่อพื้นที่ 8-12.5 เฮกตาร์ - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ 1:10,000 - 1:30,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ 1 - 10 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทดินของชุดดิน หน่วยดินคล้าย หน่วยดิน สัมพันธ์ หน่วยดินเชิงซ้อน
5.4 การสำรวจดินและแผนที่ดินค่อนข้างละเอียด (Semi - detailed soil survey and soil maps) - การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ เช่น การสร้างเขื่อน การชลประทาน - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ 1:20,000 - 1:50,000 - จุดตรวจสอบ 1 จุด ต่อพื้นที่ 17-25 เฮกตาร์ - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ 1:25,000 - 1:60,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ 6-36 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : ประเภทดินของชุดดิน หน่วยดินคล้าย หน่วยดิน สัมพันธ์ หน่วยดินเชิงซ้อน
การสำรวจดินค่อนข้างละเอียดเพื่อการชลประทาน
5.5 การสำรวจดินและแผนที่ดินค่อนข้างหยาบ (Detailed reconnaissance soil survey and soil maps) - การวางแผนระดับจังหวัดและภาค เช่น โครงการชลประทานและระบายน้ำ - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ 1:40,000 - 1:100,000 - จุดตรวจสอบ 1 จุด ต่อพื้นที่ 50 - 100 เฮกตาร์ - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ 1:50,000 - 1:100,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ 25 - 100 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : วงศ์ดิน ชุดดิน หน่วยดินคล้าย หน่วยดินสัมพันธ์ ของชุดดิน ประเภทดินของหน่วยต่างๆ
แผนที่ดินค่อนข้างหยาบ มาตราส่วน 1:100,000
5.6 การสำรวจดินและแผนที่ดินหยาบ (Reconnaissance soil survey and soil maps) - การวางแผนระดับภาคและประเทศ - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ 1:75,000 - 1:200,000 - จุดตรวจสอบ 1 จุด ต่อพื้นที่ 1,250 เฮกตาร์ - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ 1:100,000 - 1:500,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ 100 -2,500 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : ชุดดิน วงศ์ดิน กลุ่มดินย่อย และประเภทที่ดิน (land type)
5.7 การสำรวจดินและแผนที่ดินหยาบมาก (Exploratory soil survey and soil maps) - การวางแผนระดับประเทศ - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ 1:100,000 - 1:250,000 - การออกตรวจลักษณะดินภาคสนามมีน้อยมาก - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ 1:250,000 - 1:1,000,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ 625-10,000 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : กลุ่มดินใหญ่ กลุ่มดินหลัก หน่วยดินสัมพันธ์ หน่วย ประเภทดินของดินต่างๆ
5.8 การสำรวจดินและแผนที่ดินแบบกว้าง (Synthesis or Schematic soil survey and soil maps) - การวางแผนระดับประเทศ - มาตราส่วนแผนที่ในการสำรวจ < 1:250,000 - ไม่มีการตรวจสอบลักษณะดินในสนามเอง - มาตราส่วนสำหรับพิมพ์แผนที่ < 1:1,000,000 - พื้นที่เล็กสุดในแผนที่ > 10,000 เฮกตาร์ - ชนิดของหน่วยแผนที่ดิน : กลุ่มดินใหญ่ กลุ่มดินหลัก หน่วยดินสัมพันธ์ หน่วย สัมพันธ์เชิงภูมิลักษณะวรรณาของดินต่างๆ
แผนที่ดินหยาบมาก มาตราส่วน 1:1,000,000 แผนที่ดินแบบกว้าง มาตราส่วน 1:2,500,000
6. เทคนิคการสำรวจดิน 6.1 การเตรียมงานเพื่อการสำรวจดิน (Preparation for soil survey) 1) กำหนดวัตถุประสงค์ มีผลต่อการดำเนินงานสำรวจ 2) ออกแบบการสำรวจ หรือ แผนงานการสำรวจดิน (soil survey work plan) 3) บุคลากร 4) อุปกรณ์สนาม - อุปกรณ์ขนย้าย เช่น รถยนต์ - เครื่องมือสำหรับขุด เช่น พลั่ว จอบ สว่าน ฯ - เครื่องมือที่ใช้ในการทำแผนที่ เช่น เข็มทิศ เครื่องวัดความลาดชัน GPS ฯ - แผนที่พื้นฐานและวัสดุในการเขียน
สว่านเจาะดินแบบต่างๆ (soil augers) B : สว่านแบบท่อ C : ท่อเก็บดิน D : สว่านใบมีด E : เครื่องเก็บตัวอย่างพีต สว่านเจาะดินแบบต่างๆ (soil augers)
5) เตรียมและศึกษาข้อมูลประกอบ : แผนที่พื้นฐานต่างๆ (base maps) 5) เตรียมและศึกษาข้อมูลประกอบ : แผนที่พื้นฐานต่างๆ (base maps) - ภาพถ่ายทางอากาศ (aerial photographs) - ภาพถ่ายดาวเทียม (satellite imageries) - แผนที่สภาพภูมิประเทศ (topographic maps) - แผนที่ธรณีวิทยา (geological maps) 6) แปลภาพถ่ายทางอากาศและวางแผนการสำรวจในภาคสนาม
ภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial photographs)
ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite imageries)
แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic maps)
แผนที่ธรณีวิทยา (Geological maps)
6.2 การสำรวจดินภาคสนาม (Field survey) 1) คำอธิบายหน่วยแผนที่ดินเริ่มแรก แยกชนิดหน่วยดิน รวบรวมคำอธิบาย หน่วยแผนที่ดิน 2) การศึกษาดินและหาขอบเขตของแผนที่ดิน - การหาขอบเขตดิน - แบบอิสระ (free survey) - แบบตีกริด (grid survey) - การศึกษาลักษณะดินจากพีดอนที่เป็นตัวแทนและเก็บตัวอย่างดิน เลือกพีดอนที่เป็นตัวแทนของดินต่างๆ ที่พบ แล้วทำคำอธิบายรูปหน้าตัดดิน เก็บตัวอย่างดินของแต่ละชั้นดินในรูปหน้าตัดดิน เพื่อนำไปวิเคราะห์ดิน ในห้องปฏิบัติการ จากนั้นทำการประเมินศักยภาพของดิน
การศึกษาข้อมูลสภาพพื้นที่
การหาขอบเขตดิน
การศึกษาหน้าตัดดิน (Soil profile)
การศึกษาหน้าตัดดิน (Soil profile)
การศึกษาหน้าตัดดิน (Soil profile)
การเก็บตัวอย่างดินเพื่อทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
6.3 การวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานการสำรวจดิน (Data analysis and soil survey report) - วิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ - วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ - ตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ดิน - เขียนรายงานการสำรวจดิน - เขียนแผนที่ดิน
การวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ
รายงานการสำรวจดิน
แผนที่ดิน (Soil map)
การจำแนกดิน (Soil Classification) 1. คำนิยาม “ การจำแนกดิน คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการแจกแจงดินชนิดต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ในระดับต่างๆ ของความคล้ายคลึงกันของสมบัติของดิน และลักษณะ การเกิดของดินตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาดินเป็นพื้นฐาน ” “ การจำแนกดิน เป็นการจัดระบบของกลุ่มดินต่างๆ ขึ้นโดยพิจารณาจากสมบัติต่างๆ ทั้งทางสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพ เคมี และแร่วิทยา โดยการเน้นจัดดินที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน”
2. ระบบการจำแนกดิน 2.1 ระบบการจำแนกดินในปัจจุบัน 1) ยุโรป - รัสเซีย แบ่งเป็นชั้นของดิน (class of soils) 12 ชั้น เช่น Arctic-tundra soils, Subboreal steppe soil, Tropical dry forest savanna soils - คูเบียนา แบ่งเป็น 3 divisions คือ Subaqueous soil, Semiterrestrial soil และ Terrestrial soil - ฝรั่งเศส แบ่งเป็น 10 ชั้น (classes) เช่น Calcomagnesimorphic soils, Mull soil, Hydromorphic soil - เบลเยี่ยม แบ่งเป็น 7 ชั้น คล้ายกับของฝรั่งเศส - อังกฤษ แบ่งเป็น 10 กลุ่ม (major groups) เช่น Terrestrial raw soils, Pelosols, Brown soils, Man-made soils
2) อเมริกา - แคนาดา แบ่งเป็น 9 อันดับ (order) เช่น Brunisolic, Cryosolic, Regosolic - สหรัฐอเมริกา แบ่งเป็น 12 อันดับ เช่น Gelisols, Oxisols, Inceptisols - บราซิล แบ่งเป็น 33 ชั้น เช่น Latossolo Roxo, Terra Roxa Estruturada, Areias Quartzosas 3) ประเทศอื่นๆ - ออสเตรเลีย แบ่งเป็น 14 อันดับ เช่น Anthroposols, Kurosols, Rudosols - จีน แบ่งเป็น 13 อันดับ เช่น Halosols, Isohumisols, Fersiallisols - ไทย (ระบบประจำชาติ) แบ่งเป็น - World Reference Base for Soil Resources : WRB แบ่งเป็น 30 กลุ่มดิน (soil group) เช่น Leptosols, Gleysols, Chernozems, Calcisols, Nitrisols
2.2 ประเทศไทย ระบบการจำแนกดินประจำชาติ (National soil classification system) ดัดแปลงมาจาก USDA 1938 แบ่งเป็น 20 กลุ่มดินหลัก (great soil group) - Alluvial soils - Solodized-Solonetz - Hydromorphic Alluvial soils - Solonchak - Regosols - Non Calcic Brown soils - Lithosols - Gray Podzolic soils - Grumusols - Red Yellow Podzolic soils - Rendzinas - Reddish Brown Lateritic soils - Brown Forest soils - Red Brown Earth - Humic Gley soils - Red Yellow Latosols - Low Humic Gley soils - Reddish Brown Latosols - Ground Water Podzols - Organic soils
2.3 ระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy, 1999) เป็นระบบการจำแนกดินของประเทศสหรัฐอเมริกา มีความละเอียดและหลักการเชิงวิทยาศาสตร์มากสุด เป็นระบบที่ใช้ในการจำแนกดินของไทยในปัจจุบัน 1) ลักษณะที่สำคัญของอนุกรมวิธานดิน - ใช้สมบัติของดินที่พบในสนามที่ตรวจสอบได้ และมีลักษณะเชิงปริมาณร่วมกับ ผลวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเป็นลักษณะวินิจฉัย - การกำหนดชื่อของชั้นอนุกรมวิธาน (taxa) ใช้คำที่มีรากศัพท์จากภาษาละติน และกรีก เป็นส่วนใหญ่ - จากขั้นการจำแนกสูง-ต่ำ คำจำกัดความของชั้นการจำแนกจะมีขอบเขตจำกัด มากขึ้น หรือเจาะจงมากขึ้น - การกำหนดชื่อชุดดิน เป็นชื่อนามธรรมของดิน ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
2) โครงสร้างการจำแนก - การจำแนกขั้นสูง (higher categoies) อันดับ (Order) อันดับย่อย (Suborder) กลุ่มดินหลัก (Great group) กลุ่มดินย่อย (Subgroup) - การจำแนกขั้นต่ำ (lower categoies) วงศ์ (Family) ชุดดิน (Series)
ขั้นการจำแนก (category) และลักษณะที่ใช้ในการจำแนก ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกดิน อันดับ (order) สัณฐานวิทยาที่เด่นของดิน เป็นผลจากกระบวนการเกิดดิน อันดับย่อย (suborder) การพบหรือไม่พบสมบัติต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะวินิจฉัยในดิน กลุ่มดินใหญ่ (great group) ความชัดเจนของชั้นดินวินิจฉัยต่างๆ และเน้นในชุดลำดับชั้นดิน (sequum) บนเท่านั้น กลุ่มดินย่อย (subgroup) แบ่งย่อยโดยถือลักษณะที่ตรงกับลักษณะเด่นของกลุ่มดิน แล้วแยกออกเป็นกลุ่มดินย่อย 1 กลุ่มก่อนใช้คำประกอบว่า “Typic” วงศ์ดิน (family) แบ่งย่อยโดยใช้ลักษณะที่มีผลต่อการจัดการและการตอบสนองของพืช ชุดดิน (series) ลักษณะเด่นทางสัณฐานวิทยาของดิน และการจัดเรียงตัวของชั้นดิน
เปรียบเทียบการจำแนกดินกับพืช อนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) อนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy) อันดับ (order) ไฟลัม (phylum) อันดับย่อย (suborder) ชั้น (class) กลุ่มดินใหญ่ (great group) ชั้นย่อย (subclass) กลุ่มดินย่อย (subgroup) วงศ์ดิน (family) วงศ์ (family) ชุดดิน (series) จีนัส (genus)
ขั้นการจำแนกและจำนวนหน่วยในแต่ละขั้นโดยประมาณ
3) ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกตามอนุกรมวิธานดิน - ชั้นดินวินิจฉัย (diagnostic horizon) ชั้นดินที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เกิดขึ้น จากปัจจัยการสร้างดินหรือการใช้ที่ดิน แบ่งเป็น - ชั้นดินบนวินิจฉัย (diagnostic surface horizon or epipedons) - จะแตกต่างไปจากชั้นกำเนิดดิน ที่เป็นชั้นดินบน แต่จะมี ความสัมพันธ์กัน - มีความสัมพันธ์กับชั้น O, A, E และอาจจะเกี่ยวข้องกับ B ด้วย - เป็นข้อวินิจฉัยสำคัญในการให้คำนิยามของชั้น (ในการจำแนก) - ชั้นดินล่างวินิจฉัย (diagnostic subsurface horizons) - เป็นชั้นดินที่เกิดจากการสะสมของวัสดุดิน หรือแสดงการชะละลาย - ถือเป็นชั้นกำเนิด (genetic horizons) ของดินด้วย - การพิจารณาชั้นดินล่างวินิจฉัยต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของดิน
ชั้นดินบนวินิจฉัยและลักษณะที่ใช้จำแนกดินในขั้นสูงของอนุกรมวิธานดิน ลักษณะที่กำหนดไว้ Anthropic มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูง Folistic มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง อิ่มตัวด้วยน้ำน้อยกว่า 30 วัน Histic มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง อิ่มตัวด้วยน้ำมากกว่า 30 วัน Melanic ดินบนหนา สีคล้ำหรือดำ สลายตัวจากพืชตระกูลหญ้า Mollic อ่อนนุ่ม อินทรียวัตถุมากกว่า 1 % ความอิ่มตัวด้วยเบสสูง Ochric สีจาง อินทรียวัตถุน้อยกว่า 1 % Plaggen เกิดจากการสะสมมูลสัตว์และวัสดุที่มนุษย์ใช้กลบมูลสัตว์ Umbric คล้ายมอลลิก แต่ความอิ่มตัวด้วยเบสต่ำ
ชั้นดินล่างวินิจฉัยและลักษณะที่ใช้จำแนกดินในขั้นสูงของอนุกรมวิธานดิน ลักษณะที่กำหนดไว้ Agric ชั้นใต้ชั้นไถพรวน สะสมดินเหนียวและฮิวมัส Albic สีจาง ดินเหนียว เหล็ก และอะลูมินัมออกไซด์ถูกเคลื่อนย้ายออกไป Argillic มีการสะสมแร่ดินเหนียวซิลิเกตมากกว่า 1.2 เท่าของชั้นดินบน Calcic มีการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนต หรือแคลเซียมแมกนีเซียมคาร์บอเนต Cambic มีการเปลี่ยนแปลงโดยการเคลื่อนย้ายทางกายภาพ หรือทางเคมี Duripan ชั้นดานที่เชื่อมแข็งตัวโดยซิลิกา Fragipan ชั้นดานแตกง่าย เนื้อดินเป็นดินร่วน มีการเชื่อมตัวอย่างอ่อน Glossic ชั้นดินที่มีลักษณะแทรกตัวกันของวัสดุที่มีการซึมชะและวัสดุสะสม Gypsic มีการสะสมยิปซัม Kandic มีการสะสมแร่ดินเหนียวที่มีกิจกรรมต่ำ
ชั้นดินล่างวินิจฉัยและลักษณะที่ใช้จำแนกดินในขั้นสูงของอนุกรมวิธานดิน ลักษณะที่กำหนดไว้ Ortstein ชั้นสปอดิกที่มีการเชื่อมตัว Oxic สะสมออกไซต์ของเหล็ก และอะลูมินัม Petrocalcic ชั้นแคลซิกที่เชื่อมตัวแข็ง Petrogypsic ชั้นยิปซิกที่เชื่อมตัวแข็ง Placic ชั้นดานบางมาก เกิดการเชื่อมตัวของเหล็ก แมงกานีส หรืออินทรียวัตถุ Salic มีการสะสมเกลือที่ละลายง่ายกว่ายิปซัม Sombric มีการสะสมอินทรียวัตถุ Spodic สะสมอินทรียวัตถุร่วมกับออกไซด์ของเหล็ก และอะลูมินัม Sulfuric มีความเป็นกรดสูง และมีจุดประของแร่จาโรไซต์
- ลักษณะวินิจฉัย แบ่งได้เป็น. - สภาพเงื่อนไข (conditions) - ลักษณะวินิจฉัย แบ่งได้เป็น - สภาพเงื่อนไข (conditions) - วัสดุวินิจฉัย (diagnostic materials) - สมบัติวินิจฉัย (diagnostic properties) - แนวสัมผัสวินิจฉัย (diagnostic contacts) - สภาพความชื้นดิน (soil moisture regimes) - สภาพอุณหภูมิดิน (soil temperature regimes) - ลักษณะวินิจฉัยของดินอินทรีย์ - ลักษณะที่ใช้ในการจำแนกขั้นต่ำของดิน
4) การจำแนกดิน - เริ่มการจำแนกตามข้อกำหนด (key) ของอันดับ (order) ก่อน - แจกแจงย่อยละเอียดลงไปตามขั้นอนุกรมวิธานดินจนถึงขั้นวงศ์ดิน (family) ได้แนวทางเบื้องต้นในการจัดการดินนั้นๆ โดยเฉพาะในการผลิตพืช - แยกลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกเป็นชุดดิน (soil series) จากขั้นวงศ์ดิน เพื่อ พิจารณาต่อในเรื่องการจัดการดินในขั้นละเอียด
ข้อกำหนดในการจำแนกเข้าสู่อันดับในอนุกรมวิธานดิน ลำดับการจำแนก อันดับดิน ดินพบในบริเวณที่มีการแช่แข็งถาวรหรือมีวัตถุต้นกำเนิดแช่แข็ง (gelic material) ใน 1 เมตร Gelisols ดินอื่นๆ ที่มีอินทรียวัตถุมากกว่า 30% เป็นชั้นหนาอย่างน้อย 40 เซนติเมตร Histosols ดินอื่นๆ ที่มีชั้นวินิจฉัยสปอดิก (spodic) ภายในความลึก 200 เซนติเมตร Spodosols ดินอื่นๆ ที่มีสมบัติดินแอนดิก (andic) ในชั้นหนาตั้งแต่ 30-60 เซนติเมตร Andisols ดินอื่นๆ ที่มีชั้นวินิจฉัยออกซิก (oxic) หรือมีปริมาณดินเหนียวประมาณ 40% ภายในความลึก 18 เซนติเมตรจากผิวดิน และมีชั้นวินิจฉัยแคนดิก (kandic)ซึ่งเกิดจากการผุพังของแร่อย่างน้อยกว่า 10% Oxisols ดินอื่นๆ ที่มีปริมาณดินเหนียวมากกว่า 30% ในชั้นดินทั้งหมด และแสดงการแตกเป็นร่องลึกเมื่อแห้ง และเกิดการปิดรอยแตกในบางช่วง Vertisols ดินอื่นๆ ที่มีอาจมีชั้นวินิจฉัยดินล่างและมีสภาพความชื้นดินแบบแอริดิก (aridic) Aridisols
ข้อกำหนดในการจำแนกเข้าสู่อันดับในอนุกรมวิธานดิน ลำดับการจำแนก อันดับดิน ดินอื่นๆ ที่มีชั้นวินิจฉัยอาร์จิลิก (argillic) หรือแคนดิก (kandic) และมีเปอร์เซ็นต์การอิ่มตัวด้วยเบสที่ pH 8.2 น้อยกว่า 35% ภายในชั้นความลึก 180 เซนติเมตร Ultisols ดินอื่นๆ ที่มีชั้นวินิจฉัยบนมอลลิก (mollic)และมีเปอร์เซ็นต์การอิ่มตัวด้วยเบสที่ pH 7 ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป ในทุกชั้นของช่วงความลึก 180 เซนติเมตร Mollisols ดินอื่นๆ ที่มีชั้นดินวินิจฉัยอาร์จิลิก (argillic) แคนดิก (kandic) หรือ เนทริก (natric) Alfisols ดินอื่นๆ ที่มีชั้นวินิจฉัยบนอัมบริก (umbric) มอลลิก (mollic) แพลกเกน (plaggen) หรือชั้นวินิจฉัยแคมบิก (cambic) Inceptisols ดินอื่นๆ ที่มีลักษณะแตกต่างจากที่กล่าวมาข้างต้น Entisols
ขั้นตอนการจำแนกดินตามอนุกรมวิธานดิน
การกระจายของดินทั่วโลกตามระบบอนุกรมวิธานดิน
Histosols (southern Michigan) Gelisols (Alaska) Histosols (southern Michigan)
Spodosols (southern Quebec) Andisols (western Tanzania)
Oxisols (central Puerto Rico) Vertisols (Queensland)
Aridisols (western Nevada) Ultisols (central Virginia)
Mollisols (central Iowa) Alfisols (western New York)
Inceptisols (western Virginia) Entisols (eastern Taxas)
จบการสอนบทที่ 10