อุตสาหกรรมการผลิตและ การใช้ประโยชน์จากโซเดียมคลอไรด์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย เสาวนีย์ หีตลำพูน คศ.3 โรงเรียนปะทิววิทยา จังหวัดชุมพร
Advertisements

สมดุลเคมี.
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical Reaction)
ปฏิกิริยาการเตรียม Amines
ทบทวนเรื่องความเสถียรของอัลคีน
ปฏิกิริยาจัดเรียงตัว
3. Hinzberg test เป็นปฏิกิริยาของ Amines
สมดุลเคมีและสมดุลไอออน
ชนิดของปฏิกิริยาเคมี
สมบัติทางเคมีของเอมีน
สมดุลเคมีและสมดุลไอออน
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
บทที่ 8 Carboxylic acids and Derivatives
บทปฏิบัติการที่ 5 PLANT TISSUE ANALYSIS.
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
สมดุลเคมีและสมดุลไอออน
ปริมาณสารสัมพันธ์ Stoichiometry.
ปริมาณสารสัมพันธ์ Stoichiometry.
สารละลาย(Solution).
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
โดย คุณครูพนิดา กระทุ่มนอก
ของแข็ง ของเหลว แก๊ส อาจารย์กนกพร บุญนวน.
อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics)
พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก
Water and Water Activity I
กรด-เบส Acid-Base.
เคมีเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๘
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
Covalent B D O N.
ธาตุอาหารพืช (Plant Nutrient).
สมดุลเคมี (Chemical Equilibrium)
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
สารละลาย(Solution).
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2561
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2561
(Introduction to Soil Science)
การจำแนกสาร ครูปฏิการ นาครอด.
(Introduction to Soil Science)
รายการวัสดุอ้างอิง (RM) และตัวอย่างควบคุม (Qc sample) สำหรับห้องปฏิบัติการ NOTE: To change the image on this slide, select the picture and delete it.
การไทเทรตแบบตกตะกอน ดร.อัญชนา ปรีชาวรพันธ์.
ดร. อุษารัตน์ รัตนคำนวณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กรด - เบส ครูกนกพร บุญนวน.
ปฏิกิริยาเคมี ครูปฏิการ นาครอด.
ชั่วโมงที่ 6–7 พันธะไอออนิก และพันธะโคเวเลนต์
กรด-เบส Acid & BASE.
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
ตารางธาตุ.
สมดุลเคมี.
ทฤษฎีกรด-เบส โดย อาจารย์ วิชัย ลาธิ.
พันธะเคมี (Chemical Bonding).
/ Soil Fertility and Plant Nutrition
กิจกรรมที่7 บทบาทของโลหะทองแดงในปฏิกิริยา
เบส (Base) • สารที่ทําปฏิกริ ิยากบั กรดแล้วได้เกลอื • มีรสฝาด หรือ ขม
บทที่ 2 ปริมาณสารสัมพันธ์
สารประกอบโคเวเลนต์ เกิดจากอะตอมของอโลหะ กับ อโลหะ
สารละลายกรด-เบส.
General Chemistry Quiz 9 Chem Rxn I.
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
ทรัพยากรธรณี เรื่อง ดิน
ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนา ที่มีผลกระทบกับทรัพยากร
สมบัติของ สารละลายกรดเบส
ระบบขับถ่าย (Excretion). ระบบขับถ่าย (Excretion)
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2562
กิจกรรมทดสอบความชำนาญ ประจำปี 2560
X สัญลักษณ์นิวเคลียร์ A Z
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อุตสาหกรรมการผลิตและ การใช้ประโยชน์จากโซเดียมคลอไรด์ การผลิตโซเดียมคลอไรด์ การผลิตเกลือสมุทร การผลิตเกลือสินเธาว์ การผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ ของเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์ การผลิต NaOH และแก๊สคลอรีน จาก NaCl การผลิตสารฟอกขาว การผลิตผงชูรส การผลิตโซดาแอซ

การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์มีสูตรทางเคมีคือ “NaCl” มีชื่อสามัญว่า “เกลือแกง” แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เกลือสมุทร และเกลือสินเธาว์ เกลือสมุทร คือ เกลือที่ผลิตทางน้ำทะเล การผลิตเกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ คือ เกลือที่ผลิตได้จากน้ำเกลือในดิน

เกลือสมุทร คือ เกลือที่ผลิตทางน้ำทะเล การผลิตเกลือสมุทร ทำได้ดังนี้ การเตรียมพื้นที่ โดยปรับพื้นที่ที่จะทำนาเกลือให้เป็นที่โล่ง แสงแดดสามารถส่องถึง บดอัดให้พื้นดินแน่น และปรับระดับความสูงให้นาตากสูงที่สุด นาเชื้อและนาปลงมีพื้นที่ต่ำลง ตามลำดับ

เกลือสมุทรที่ได้จะมีไอโอดีนสูงกว่าเกลือสินเธาว์ การทำนาเกลือ สูบน้ำทะเลเข้ามาขังในวังน้ำเพื่อให้ตะกอนและโคลน ตกตะกอนออกมา แล้วจึงสูบน้ำเข้าสู่นาตาก ปล่อยให้น้ำทะเลระเหยและมีความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความถ่วงจำเพาะ 1.08 จึงจะบายน้ำเข้าสู่นาเชื้อ ปล่อยให้ระเหยจนความเข้มข้นของน้ำทะเลจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่นาเชื้อจะเกิดการตกผลึกของ CaSO4 ปล่อยให้น้ำทะเลระเหยจนมีความถ่วงจำเพาะ 1.20 จึงระบายน้ำเข้าสู่นาปลง ปล่อยให้มีการระเหยของน้ำทะเลจนมีความเข้มข้นสูงพอที่ NaCl จะตกผลึกออกมา และอาจมีMgCl2 และ MgSO4 ซึ่งสามารถดูดความชื้นได้ดีติดมาด้วย ถ้ามี MgCl2 และ MgSO4 ปนมาในเกลือ NaCl จะทำให้เกลือที่ได้มีความชื้นสูง แก้ไขโดยเติมปูนขาวเพื่อให้เกิด Mg(OH)2 เกลือสมุทรที่ได้จะมีไอโอดีนสูงกว่าเกลือสินเธาว์

เกลือสินเธาว์ คือ เกลือที่ผลิตได้จากน้ำเกลือในดิน เกลือสินเธาว์แบ่งตามแหล่งผลิต ดังนี้ เกลือผิวดิน ได้จากการนำดินที่มีคราบของเกลือมาละลายน้ำ กรองเศษดินออก นำสารละลายเกลือที่ได้มาต้มเคี่ยวหรือตากแดด ทำให้สารละลายเกลือมีความเข้มข้นสูงจนกระทั่งเกลือตกผลึกแยกออกมา เกลือจากน้ำบาดาล ทำโดยสูบน้ำบาดาลที่เป็นน้ำเค็มขึ้นมา แล้วต้มเคี่ยวหรือตากแดดทำให้มีความเข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งเกลือตกผลึกออกมา การสูบน้ำบาดาลที่เป็นน้ำเค็มขึ้นมาอาจทำให้น้ำเค็มนั้นกระจายในชั้นดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพใช้เพาะปลูกไม่ได้

เกลือจากชั้นหิน ทำโดยการฉีดน้ำเข้าไปละลายเกลือในชั้นหิน แล้วจึงสูบน้ำเค็มขึ้นมาต้มเคี่ยวหรือตากแดดทำให้ความเข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งเกลือตกผลึกออกมา การผลิตเกลือสินเธาว์โดยวิธีนี้จะมีไอออนต่างๆ เช่น Ca2+, Mg2+ เจือปนมาในน้ำเค็ม ซึ่งสามารถกำจัดได้โดยเติม NaOH, Na2CO3 ซึ่งเกิดปฏิกิริยา ดังนี้ Mg2+ + CO32  MgCO3 Mg2+ + 2OH-  Mg(OH)2 Ca2+ + CO32-  CaCO3 Ca2+ + 2OH-  Ca(OH)2

การผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม 1. ปัญหาการกระจายของดินเค็ม ทำให้พื้นดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก 2. ปัญหาการกระจายของเกลือลงสู่แหล่งน้ำ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ 3. ปัญหาการยุบของพื้นดินบริเวณที่ผลิตเกลือบาดาล

ประโยชน์ ของเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์ 1. เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะที่จะใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรม  เพราะมีความชื้น  Ca 2+ และ Mg 2+ ต่ำ 2. เกลือสมุทร เหมาะสำหรับใช้บริโภคเพราะมีไอโอดีนอยู่ ซึ่งร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณ75 มิลลิกรัมต่อปี  เมื่อได้รับไอโอดีนร่างกายจะนำไปเก็บไว้ในต่อมไทรอยด์  ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมอง  ประสาท  และเนื้อเยื่อต่างๆ ถ้าขาดจะเป็นโรคคอพอก และถ้าขาดตั้งแต่ยังเด็ก  ร่างกายจะแคระแกร็น  สติปัญญาต่ำ  หูหนวก  เป็นใบ้  ตาเหล่และอัมพาต

การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาจากทะเลและจากแหล่งแร่เกลือหินในดิน เกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ได้จากทะเลเราเรียกว่า เกลือสมุทร และเกลือที่ได้จากน้ำเค็มใต้ดินและจากแหล่งแร่เกลือหินเรียกว่า เกลือสินเธาว์ โดยวิธีการผลิต โซเดียมคลอไรด์นั้น มีวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน การผลิต  NaOH และก๊าซ Cl2 ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้ใช้เกลือ NaCl ในการปรุงอาหาร ถนอมอาหาร ทำสบู่ และย้อมผ้า ส่วน ในวงการแพทย์ใช้น้ำเกลือสำหรับคนป่วย และฆ่าเชื้อ การผลิต  NaOH ในอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้หลายวิธี  

การผลิตโดยใช้เซลล์ไดอะแฟรม

เซลล์ไดอะแฟรม เป็นเซลล์อิเล็กโทรไลต์แบบ Chlor-alkali ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้าย cell เยื่อแลกเปลี่ยน ion แต่ต่างกันที่แผ่นกั้นที่ทำด้วยแอสเบสตอส ระหว่างแอโนด ซึ่งทำด้วยไทเทเนียมกับแคโทด ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ยอมให้ทั้งไอออนบวกและไอออนลบผ่านได้ ปฏิกิริยาภายในเซลล์ มีดังนี้ ที่ขั้วแอโนด 2Cl(aq) Cl2(g) + 2e- ที่ขั้วแคโทด 2H2O + 2e- 2OH-(aq)+H2(g)

ที่สำคัญคือ แผ่นกั้นยอมให้ไอออนผ่านตลอดเวลาแต่โมเลกุล เช่น H2(g)และ Cl2(g) ผ่านแผ่นกั้นไม่ได้ ปรับความดันด้านแอโนดสูงกว่าแคโทด OH-จึงไหลไปทางแคโทด ทำให้เกิด NaOH ทางขั้วแคโทดจะมี Na+ และCl- ที่ทำปฏิกิริยาได้ไม่หมดจะเกิดเป็น NaCl ปนมากับ NaOH ถ้านำสารละลาย NaOH ไม่บริสุทธิ์ไประเหยน้ำออกจำนวนหนึ่ง เมื่อทำให้NaCl อิ่มตัว จะตกผลึกออกมาก่อน นำสารละลายไปกรอง จะได้NaOH บริสุทธิ์ 50% โดยมวลไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเรยอง

การผลิตโดยใช้เซลล์ปรอท

เซลล์ปรอท เป็นเซลล์อิเล็กโทรไลต์แบบ Chlor-alkali ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแอโนดซึ่งทำจากโลหะไทเทเนียมเคลือบออกไซด์ของธาตุบางชนิด และใช้ปรอทเป็นแคโทด ปฏิกิริยาภายในเซลล์ มีดังนี้ ที่แอโนด 2 Cl- (aq) Cl2(g) + 2e- ที่แคโทด 2Na/Hg(g) + H2O 2NaOH(aq) + H2(g)

เซลล์ปรอทเป็นเซลล์ที่ใช้ไทเทเนียมเคลือบเป็นแอโนดและใช้ปรอทเป็น การผลิต NaOH วิธีนี้จะได้ NaOH เข้มข้น 50 % และ Hg หลังจากแยก NaOH  ออกแล้วสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้   ในการผลิต  NaOH นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   คือจะมี  HgCl 2 ปนออกมากับน้ำทิ้ง   จุลินทรีย์จะเปลี่ยน  HgCl 2 ให้เป็นสารอินทรีย์ของปรอทเช่น  ( CH 3) 2 Hg  สารปรอทจะเข้าไปสะสมอยู่ในสัตว์น้ำและถ่ายทอดมาสู่คนทำให้เป็นโรคพิษปรอทได้

การผลิตโดยใช้เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน

เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน จัดเป็นเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ขั้วแอโนดทำด้วยไทเทเนียม ขั้ว แคโทดทำจากเหล็ก โดยมีเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนที่ยอมให้เฉพาะไอออนบวกผ่านได้กั้น เมื่อสารละลาย NaCl ที่บริสุทธิ์และอิ่มตัว เข้าทางด้านแอโนดและผ่านกระแสไฟฟ้าลงไป ที่แอโนด 2Cl- (aq) Cl2 (g) + 2e- ที่แคโทด 2H2O (l) + 2e- 2OH- (aq) + H2 (g) สุทธิ 2Cl-(aq)+ 2H2O (l) 2OH- (aq) + H2 (g) + Cl2 (g)

OH- ที่เกิดขึ้นที่แคโทดรวมตัวกับ Na+ เกิด NaOH ส่วนแก๊ส Cl2 และแก๊ส H2 ไม่ผ่านเยื่อแลกเปลี่ยนไอออน ออกจากเซลล์นี้ที่แอโนด และแคโทดตามลำดับ สารละลาย NaOHที่ได้มีความเข้มข้น 30-35 % โดยมวล ถ้าปรับปรุงเซลล์นี้ให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็จะได้สารละลาย NaOH เข้มข้น 40% โดยมวล

การแยกสารละลาย NaCl ด้วยกระแสไฟฟ้า ได้ผลิตภัณฑ์ คือ H2 (g) , Cl2 (g) , NaOH (aq) โดยนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ H2(g) -เตรียมกรด HCl -เตรียม NH3 (g) -ใช้ในปฏิกิริยาการเติม H2 ในน้ำมันพืช

Cl2(g) -ฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา -ฟอกสีในเยื่อกระดาษ เส้นใยพืช -เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมี เช่น พลาสติก สารกำจัด แมลง สารฟอก ขาว CCl4 -รวมกับแก๊สไฮโดรเจน เป็นกรด HCl NaOH(aq) -ใช้ทำสบู่ , ผงซักฟอก -ใช้ทำผงชูรส -ใช้ทำกระดาษ -ใช้ผลิตโซดาแอช

การผลิตสารฟอกขาว

สารฟอกขาว เป็นสารเคมี กลุ่มซัลไฟต์ ซึ่งยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์และยังใช้เป็นสารกันหืน หากผู้บริโภครับประทานสารเคมีในกลุ่มนี้มากเกินไป ทำให้เกิดอันตราย ซึ่งอาหารที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น ผู้เป็นหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด และเจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำ เป็นลมพิษ และอาจจะเกิดอาการช็อก หมดสติได้ทั้งนี้ระดับความรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นสารฟอกขาวยังทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดวิตามินนี้ได้ ถ้าได้รับสารฟอกขาวต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะสะสมทำให้รบกวนการทำงานของเอนไซม์ทำให้มีผลเสียต่อระบบสมดุลของระบบ เมตาบอลิซึมได้

สารฟอกขาว สารฟอกขาวมีสูตรเคมีเป็น NaOCl มีกระบวนการผลิต ดังนี้ การเตรียม Cl2 จาก KMnO4 และ HCl 2KMnO4(s) + 16HCl(aq) 2KCl(aq)+2MnCl2(aq)+8H2O(l)+5Cl2(g)

การผลิต NaOCl จาก NaOH และ Cl2 2NaOH(aq) + Cl2(g) NaOCl(aq) + NaCl(aq) + H2O(l) สารฟอกขาวกลุ่มสารซัลไฟต์สามารถนำไปใช้ทั้งในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและอุตสาหกรรมอื่นดังนี้ อุตสาหกรรมอาหาร ใช้เป็นวัตถุกันเสียในลูกกวาด วุ้นเส้น ไวน์ เบียร์ อุตสาหกรรมอื่น ใช้ผสมในน้ำยาอัดรูป ฟอกสีผ้า กระดาษ สบู่ ย้อมหนัง น้ำหอม

การผลิตผงชูรส ผงชูรส ชื่อทางเคมี เรียกว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate) เป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภท วัตถุปรุงแต่งรสอาหารที่มีการใช้ในอาหารกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ผงชูรสมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติในการเป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร (Flavor Enhancer) ทำให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น

เนื่องจากเมื่อผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมตละลายน้ำ จะแตกตัวได้โซเดียมและกลูตาเมตอิสระที่มีสมบัติในการเพิ่มรสชาติอาหาร โดยช่วยเพิ่มรสชาติของ รสชาติพื้นฐาน4 รสที่เรารู้จักกันดีคือ รสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขม ให้เด่นชัดมากขึ้น ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับรสชาติพบว่าผงชูรสสามารถกระตุ้น Glutamate Receptor แล้วทำให้เกิดรสชาติเฉพาะตัวที่เรียกว่า รสอูมามิ (Umami) ซึ่งเป็นรสที่ 5 ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากรสชาติพื้นฐานทั้ง 4

โมโนโซเดียมกลูตาเมตเป็นสารประกอบประเภทกลูตาเมตซึ่งเป็นเกลือของ กรดกลูตามิก (Glutamic acid) อันเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนทั่วไป เช่น โปรตีนในเนื้อสัตว์ โปรตีนในนม และโปรตีนในพืช โดยกลูตาเมตจะจับอยู่กับกรดอะมิโนตัวอื่นๆ เกิดเป็นโครงสร้างของโปรตีน กลูตาเมตที่อยู่ในรูปของโปรตีนจะไม่มีกลิ่นรสและไม่มีคุณสมบัติทำให้เกิดรสอูมามิในอาหาร แต่เมื่อเกิดการย่อยสลายของโปรตีน เช่น เกิดกระบวนการหมัก การบ่ม การสุกงอมของผักและผลไม้ การทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้กลูตาเมตในโปรตีนเกิดการสลายแยกตัวออกมาเป็นกลูตาเมตอิสระ

ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสอูมามิในอาหาร นอกจากนี้ ยังได้มีการค้นพบว่าสารที่เกิดจากการย่อยสลายไรโบนิวคลีโอไทด์ในนิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิตซึ่งได้แก่ ไอโนซิเนต(Inosinate) และ กัวไนเลต(Guanylate)[ก็มีคุณสมบัติให้รสอูมามิเช่นเดียวกับกลูตาเมตอิสระ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าไอโนซิเนตและกัวไนเลตมีคุณสมบัติในการเสริมรสอูมามิให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกลูตาเมต โดยผลการเสริมกันนี้มีลักษณะแบบ Synergistic Effect

การผลิต จากการค้นพบคุณสมบัติในการทำให้เกิดรสอูมามิ ของกลูตาเมตอิสระนี้เอง จึงได้มีวิวัฒนาการเทคโนโลยีการผลิตโมโนโซเดียม กลูตาเมต ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อนำไปใช้ในการปรุงประกอบอาหารประเภทต่างๆให้มีรสชาติอร่อยตามที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งในปัจจุบันผลิตโดยการหมักเชื้อจุลินทรีย์ การใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตกรดกลูตามิคนั้น มีหลักการทั่วไปเช่นเดียวกับการนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ในการผลิตอาหารและยา เช่น น้ำส้มสายชู ซีอิ้ว น้ำปลา เบียร์ ไวน์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

กล่าวคือนำจุลินทรีย์มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการผลิตสารชีวภาพ ได้แก่ อาหารที่เป็นแหล่งคาร์บอน (เช่น แป้ง กากน้ำตาลจากอ้อย กากน้ำตาลจากบีท น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส) แหล่งไนโตรเจน (เช่น เกลือแอมโมเนียม ยูเรีย เกลือไนเตรต soybean meal) เกลือแร่ (เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม) และวิตามิน (เช่น biotin)

กระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส (Liquefaction and Saccharification): แป้งมันสำปะหลัง (Tapioca starch) ใช้เอนไซม์อะมัยเลส และ อะมัยโลกลูโคลซิเดส ย่อยแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส ที่ 60 องศาเซลเซียส กระบวนการหมักเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นกรดกลูตามิก (Fermentation): เติมเชื้อจุลินทรีย์ (Corynebacterium glutanicum ปัจจุบันเป็น Brevibacterium lactofermentum) ลงในสารละลายน้ำตาลกลูโคส (Glucose solution) เพื่อเปลี่ยนกลูโคสเป็นกรดกลูตามิก โดยมีการเติมกรดหรือด่างเพื่อ pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และเติมยูเรีย (Urea) หรือ แอมโมเนีย (NH4) เพื่อเป็นแหล่งไนโตรเจนของเชื้อจุลินทรีย์

กระบวนการตกผลึกกรดกลูตามิก (Precipitation): เมื่อกระบวนการหมักเสร็จสสิ้น ในน้ำหมัก (Broth)จะมีสารละลายกรดกลูตามิกอยู่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจะปรับ pH ด้วยกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เพื่อให้กรดกลูตามิกตกผลึกเบื้องต้น กระบวนการทำให้เป็นกลาง (Neutralization): โดยการเติม โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เพื่อให้กรดกลูตามิกเป็นโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) ที่สภาวะเป็นกลาง

กระบวนการกำจัดสีและสิ่งเจื่อปน (Decolorization): โดยการผ่านสารละลายไปในถังถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) และตกผลึก (Crystalization)ได้ผลึกโมโนโซเดียมบริสุทธิ์ กระบวนการทำแห้งและแบ่งบรรจุ (Drying and Packing): เป่าผลึกโมโนโซเดียมบริสุทธิ์ด้วยลมร้อน(ที่กรอกละอองฝุ่นออกแล้ว) จนกระทั่งผลึกแห้ง แล้วคัดแยกขนาด ตามจุดประสงค์การใช้งานแล้วแบ่งบรรจุ ลงในบรรุภัณฑ์ตามมาตรฐาน

ผงชูรสปลอม   ผงชูรสปลอม คือผงชูรสที่ถูกปลอมปนด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น พวกเกลือไพโรฟอสเฟต บอแรกซ์ เป็นต้น  ซึ่งปัญหาผงชูรสปลอมมักมีในอดีต สมัยที่ผงชูรสแพงอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ผงชูรสราคาถูกมาก จึงไม่คุ้มหากจะปลอม และถูกจับได้ ผงชูรสที่เป็นของแท้จะมีลักษณะเป็นผลึกขาว ค่อนข้างใส ไม่สะท้อนแสง ผลึกมีลักษณะปลายทั้งสองข้างใหญ่ ตรงกลางคอดรูปกระดูกหรือเป็นลิ่ม เหมือนกระดูก วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบผงชูรส คือเอามาเผา จะมีกลิ่นคล้ายๆ เนื้อไหม้ เป็นกลิ่นของกรดอะมิโน ถ้าผงชูรสปลอมจะเป็นกลิ่นอย่างอื่น

วิธีการตรวจสอบว่าผงชูรสที่ซื้อมาเป็นของแท้หรือของปลอม ดังนี้ 1 วิธีการตรวจสอบว่าผงชูรสที่ซื้อมาเป็นของแท้หรือของปลอม ดังนี้ 1. สังเกตลักษณะของผงชูรสด้วยตาเปล่าหรือใช้แว่นขยายส่องดู ลักษณะผลึกของผงชูรสแท้จะเป็นแท่งยาวๆ คอดตรงกลาง ใส ไม่มีสี มีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ส่วนผงชูรสปลอมจะพบผลึกของบอแรกซ์เจือปนอยู่ ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ไม่ใส 2. ใส่ผงชูรสในช้อนโลหะแล้วนำไปเผาไฟ สักครู่ผงชูรสจะหลอมละลาย ถ้าเป็นสีน้ำตาลดำแสดงว่าเป็นผงชูรสแท้ ถ้ามีสีขาวหรือสีเทา แสดงว่าเป็นผงชูรสปลอม 3. ทดสอบด้วยกระดาษขมิ้น โดยนำผงชูรสไปละลายน้ำ จากนั้นนำกระดาษขมิ้นจุ่มลงไปในสารละลายของผงชูรส สังเกตสีของกระดาษขมิ้น ถ้ากระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนสี (สีเหลืองคงเดิม) แสดงว่าเป็นผงชูรสแท้ แต่ถ้ากระดาษขมิ้นเปลี่ยนเป็นสีส้ม สีส้มแดง หรือสีแดง แสดงว่ามีสารบอแรกซ์ปลอมปนอยู่ในผงชูรสนั้น

การผลิตโซดาแอซ

ชื่อสามัญ : โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) สมบัติ : เป็นของแข็ง น้ำหนักเบา ละลายน้ำได้ปานกลาง สารละลายมีสมบัติเป็นเบส จุดหลอมเหลว 851oC ประโยชน์ของโซดาแอช : ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เช่น อุตสาหกรรมแก้ว สบู่ ผงซักฟอก กระดาษ สิ่งทอ ปิโตรเลียม ใช้เป็นสารช่วยลดความกระด้างในน้ำ และ เตรียมโซดาซักผ้า (Na2CO3 10H2O)

การผลิตโซดาแอช: กระบวนการโซลเวย์ หรือกระบวนการแอมโมเนีย – โซดา เป็นกระบวนการผลิตโซดาแอชที่เก่าที่สุด วัตถุดิบที่ใช้: เกลือแกง (NaCl) หินปูน (CaCO3) แก๊สแอมโมเนีย (NH3)

สมการแสดงปฏิกิริยาการผลิตโซดาแอช CaCO3(s)  CaO(s) + CO2(g) CaO(s) + H2O(l)  Ca2+(aq) + 2OH-(aq) NH3(g) + H2O(l) + Na+(aq) + Cl-(aq) + CO2(g)  NaHCO3(s) + NH4+(aq) + Cl-(aq) 2NaHCO3(s)  Na2CO3(s) + H2O(g) + CO2(g) NH4+(aq) + Cl-(aq) + Ca2+(aq) + 2OH-(aq)  CaCl2(s) + H2O(l) + NH3(g)

ข้อดี: การผลิตโซดาแอชด้วยวิธีนี้คือ ต้นทุนในการผลิตต่ำสามารถนำเอาสิ่งที่ใช้ไปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ วัสดุหาง่าย ราคาถูก เช่น NaCl CaCO3 ข้อเสีย: การผลิตโซดาแอชด้วยวิธีนี้คือ ใช้น้ำมาก และน้ำทิ้งมีอุณหภูมิสูงมาก เมื่อลงสู่แหล่งน้ำอาจจะทำให้สัตว์น้ำอยู่ไม่ได้จนถึงตายได้ CaCl2 ที่เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมใช้เป็นปุ๋ย แต่เนื่องจากเกิดมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้กลับกลายเป็นปัญหาในการกำจัดได้

จบการนำเสนอ

ที่มา :D http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%AA https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=69381 http://thaiaixois.online.fr/etc/bee_01.htm http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/02.htm