บทที่ 10 พฤติกรรมของสัตว์ ชีววิทยา เล่ม 2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เนื้อหาสาระ กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการของระบบประสาท การสื่อสารระหว่างสัตว์ คำถามท้ายบทที่ 10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิบาย และสรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.1 กลไกลการเกิดพฤติกรรมของสัตว์
10.1กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ 1. วิธีการทางสรีรวิทยา (physiological approach) มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายพฤติกรรมในรูปของกลไกการทำงานของระบบต่างๆ ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบประสาท 2. วิธีการทางจิตวิทยา (psychological approach) เป็นการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่างๆรอบตัวและปัจจัยภายในร่างกายที่มีต่อการพัฒนาและการแสดงออกของพฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน ปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของสัตว์ได้ทุกด้าน อย่างไรก็ดีกลไกที่ทำให้สัตว์แสดงพฤติกรรมออกมานั้นอาจสรุปได้ ดังภาพที่ 10-1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.1กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของส่วนต่างๆของระบบประสาททั้งหน่วยรับความรู้สึกระบบประสาทส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติงาน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
10.2 ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี พฤติกรรมของสัตว์เป็นผลจากการทำงานร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยที่หน่วยพันธุกรรมจะควบคุมระดับการเจริญของส่วนต่างๆ ของสัตว์ เช่น ระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ และอื่นๆที่เป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดพฤติกรรม ขณะที่สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่สัตว์ได้รับภายหลัง ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปได้มากบ้างน้อยบ้าง เป็นการยากที่จะตัดสินว่าพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากว่ากัน อิทธิพลของพันธุกรรมจะเห็นได้ชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำมากกว่าสัตว์ชั้นสูง ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการจะศึกษาพิ้นฐานทางธรรมชาติที่แท้จริงของพฤติกรรมจึงนิยมศึกษาในสัตว์ชั้นต่ำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2 ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี โดยทั่วไปแล้วการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติ มักจะเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรอด ตลอดจนเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเอง พฤติกรรมที่ถูกจัดว่ามีแบบแผนที่ง่ายที่สุดและทำให้สัตว์อยู่รอดได้คือการหลีกเลี่ยงที่จะถูกฆ่า ดังนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหลบหนีศัตรูจึงแสดงออกได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดรเพื่อง่ายแก่การศึกษาและทำความเข้าใจในที่นี้จะแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภทคือ พฤติกรรมเป็นมาแต่กำเนิด (innate behavior) และพฤติกรรมเรียนรู้ (learned behavior) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ และเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่สม่ำเสมอ เช่น กลางวัน กลางคืน น้ำขึ้นน้ำลง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวเพื่อปรับตำแหน่งให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม หรือหลีกเลี่ยงสภาพที่ไม่เหมาะสม ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมนี้ได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้นโดยจำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน ตึกมักมีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้สิ่งมีชีวิตเดียวกันจแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหมด พฤติกรรรมเป็นมาแต่กำเนิด เช่น โอเรียนเตชัน (orientation) รีเฟล็กซ์ และรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง (chain of reflexes) เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด พฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพทำให้เกิดการวางตัวที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตเรียกว่า โอเรียนเตชัน พฤติกรรมแบบโอเรียนเตชันพบได้ในโพรโทซัวและสัตว์บางชนิด เช่น การว่ายน้ำของปลาในลักษณะที่หลังตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ทำให้ศัตรูที่อยู่ในระดับต่ำกว่ามองไม่เห็น การตอบสนองต่ออุณหภูมิของกิ้งก่าที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว โดยการวางตัวทำมุมในแนวตั้งฉากกับแสงอาทิตย์แล้วพองตัวขึ้นเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวเพื่อให้ได้รับความร้อนอย่างเพียงพอ เป็นต้น พฤติกรรมแบบนี้อาจจำแนกย่อยไปได้อีก ซึกนักเรียนจะได้ศึกษาจากกิจกรรมต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด กิจกรรมที่ 10.1 พฤติกรรมของพารามีเซียม วัสดุอุปกรณ์ 1. พารามีเซียม 2. กล้องจุลทรรศน์ 3. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ 4. หลอดหยด 5. น้ำกลั่น 6. สไลด์ 7. เข็มเขี่ย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด วิธีการทดลอง 1. หยดน้ำที่มีพารามีเซียมลงบนสไลด์ 1 หยด นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วสังเกตพฤติกรรมของพารามีเซียม 2. หยดสารละลายโซเดียมคลอไรด์ตงความเข้มข้น 0.5เปอร์เซนต์ ลงบนบริเวณใกล้หยดน้ำที่มีพารามีเซียมบนไสด์ในข้อ 1 ใช้เข็มเขี่ยลากเส้นให้หยดของสารละลายโซเดียมคลอไรด์และหยดน้ำที่พารามีเซียมแตะกันดังภาพ แล้วนำไปส่องด้วกล้องจุลทรรศน์ สังเกตพฤติกรรมของพารามีเซียม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด 3. ให้นักเรียนออกแบบการทดลองศึกษาถึงปัจจัยหรือสิ่งเร้าอื่นๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของพารามีเซียม เช่น กรดแอซิติกเจือจางความเข้มข้น 0.01 เปอร์เซ็นต์ คำถาม - พารามีเซียมมีพฤติกรรมการตอบสนองอย่างไร - พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามีประโยชน์ต่อพารามีเซียมอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.1 คำถาม พารามีเซียมมีพฤติกรรมการตอบสนองอย่างไร ตอบ พารามีเซียมเคลื่อนที่หนีจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.5 เปอร์เซ็นต์ แต่เคลื่อนที่เข้าหาสารละลายกรดแอซีติก 0.01 เปอร์เซ็นต์ พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามีประโยชน์ต่อพารามีเซียมอย่างไร ตอบ พฤติกรรมของพารามีเซียมดังกล่าวมีผลต่อการอยู่รอดของพารามีเซียม เนื่องจากในธรรมชาตินั้นพารามีเซียมกินแบคทีเรียเป็นอาหาร บริเวณที่แบคทีเรียอยู่จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ พารามีเซียมจึงมีโอกาสได้กินอาหาร ส่วนพารามีเซียมเคลื่อนที่หนีจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ทำให้พารามีเซียมมีโอกาสรอดจากอันตรายที่ได้รับจากสารเคมี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.1กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ การตอบสนองต่อเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเกิดขึ้นช้าๆ ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงพฤติกรรม ซึ่งเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการรักษาดุลยภาพของร่างกาย การศึกษาพฤติกรรม เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมตลอดจนพื้นฐานทางสรีรวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์ การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตทำได้ 2 วิธีคือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด จากกิจกรรมที่ 10.1 นี้จะเห็นว่าพารามีเซียมเคลื่อนที่ออกจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ พารามีเซียมจะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เนื่องจากในธรรมชาติบริเวณดังกล่าวมีแบคทีเรียซึ่งเป็นอาหารของพารามีเซียม พฤติกรรมดังกล่าวจะเห็นว่ามีผลต่อการอยู่รอดของพารามีเซียม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด ยังมีการศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่นๆ ของพารามีเซียมอีกคือ การทดลองปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงในหยดน้ำบนสไลด์ที่มีพารามีเซียม พบว่าพารามีเซียมจะถอยออกห่างจากฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเบี่ยงด้านท้ายของเซลล์ไปเล็กน้อย แล้วจึงค่อยเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้า ถ้าพบฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อีก พารามีเซียมก็จะถอยหนีในลักษณะเดิมอีกเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยทางกายภาพที่ทำให้พารามีเซียมแสดงพฤติกรรมการตอบสนองอีกปัจจัยหนึ่งคือ อุณหภูมิ ถ้าพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะถอยหลังกลับโดนอาจขยับส่วนท้ายของเซลล์ไปจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อยแล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในทิศทางที่เปลี่ยนไป จะทำเช่นนี้ซ้ำอยู่จนกว่าไปพบตำแหน่งที่อุณหภูมิเหมาะสมดัง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด ภาพ 10-2 จะเห็นว่าทิศทางพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปแต่ละครั้งเพื่อหลบจากสิ่งเร้าออกมานั้นไม่ได้สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าเลยจึงจัดว่ามีทิศทางไม่แน่นอน เรียกพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่ที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้าว่าไคนีซิส (kinesis) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโอเรียนเตชัน พฤติกรรมนี้มักพบในโพรโทซัวหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ระบบประสาทยังเจริญไม่ดี หน่วยรับความรู้สึกดังกว่าไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อยู่ไกลๆ ได้ จึงมีการตอบสรองโดยเคลื่อนเข้าหาหรืออกจากสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้ๆ เท่านั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2 ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี (ตัวเลขคือลำดับการเคลื่อนที่ของพารามีเซียม) ภาพที่ 10 - 2 การตอบสนองต่ออุณหภูมิของพาราเซียม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด พฤติกรรมไคนิซิสที่พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงสาบ ถ้านักเรียนเคยสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของแมลงสาบจะพบว่า เมื่ออยู่ในที่โล่งและร่างกายและร่างกายไม่สัมผัสกับของแข็งก็จะวิ่งไปอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเคลื่อนที่ไปสัมผัสกับของแข็ง เช่น ขอบตู้ แมลงสาบจะอยู่นิ่งๆ ลักษณะการเคลื่อนที่ของแมลงสาบในที่โล่งไม่สัมผัสกับของแข็ง หรือการเคลื่อนที่ของพารามีเซียมที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิ ล้วนเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมการเคลื่อนที่แบบมีทิศทางไม่แน่นอน หรือทิศทางการเคลื่อนที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด นักเรียนลองพิจารณาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของจิ้งหรีดต่อไปนี้ ภาพที่ 10 - 3 การตอบสนองของจิ้งหรีดเพศเมียต่อเสียงร้องของจิ้งหรีดเพศผู้เมื่อนำครอบแก้วใสที่ครอบจิ้งหรีดเพศผู้มาตั้งให้ห่างในระยะที่จิ้งหรีดเพศเมียสามารถมองเห็นแต่ไม่ได้ยินเสียง จิ้งหรีดเพศเมียจะไม่เคลื่อนที่เข้าจิ้งหรีดเพศผู้ แต่เมื่อเปิดเทปให้มีเสียงจิ้งหรีดเพศผู้ออกมาทางแหล่งกำเนิดเสียง ปรากฏว่าจิ้งหรีดเพศเมียจะเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด จากการทดลองกับผีเสื้อกลางคืนพบว่าทิศทางการบินของผีเสื้อกลางคืนจะทำมุม 80 องศากับลำแสงของเทียนไขตลอดเวลา ทำให้บินเข้าใกล้เปลวเทียนไปเรื่อยๆ จนถูกไฟไหม้ ดังภาพที่ 10-4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด จากกรณีตัวอย่าง นักเรียนจะเห็นได้ว่าลักษณะการเคลื่อนที่ของจิ้งหรีดและผีเสี้อกลางคืนจะสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เรียกพฤติกรรมการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า แทกซิส (taxis) ซึ่งมักเกิดกับสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกเจริญดี สามารถรับรู้สิ่งสิ่งเร้าที่อยู่ไกลจากตัวได้ทำให้สัตว์เหล่านี้มีการรวมกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.1 คำถาม - ให้นักเรียนยกตัวอย่างพฤติกรรมแบบแทกซิสที่เกิดในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มาอย่างน้อย 2 ชนิด ตอบ ตัวอย่างพฤติกรรมแบบแทกซิสอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว เช่น ผีเสื้อกลางคืนบินทำมุม 80 องศา กับ แสงเทียนไข และบินเข้าใกล้เปลวเทียนเข้าไปเรื่อยๆ แมลงเม่าบินเข้าหาแสงไฟ พฤติกรรมทั้งแบบไคนีซิสและแทกซิสมีผลดีต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร ตอบ พฤติกรรมทั้งแบบไคนีซิสและแทกซิสมีผลดีต่อสิ่งสิ่งมีชีวิต โดยทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่เข้าหาอาหาร หรือหลบหลีกสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และทำให้เกิดการรวมกลุ่มของสัตว์เพื่อสืบพันธุ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.2.1 พฤติกรรมเป็นมาแตกำเนิด จากกรณีตัวอย่าง นักเรียนจะเห็นได้ว่าลักษณะการเคลื่อนที่ของจิ้งหรีดและผีเสี้อกลางคืนจะสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เรียกพฤติกรรมการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า แทกซิส (taxis) ซึ่งมักเกิดกับสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกเจริญดี สามารถรับรู้สิ่งสิ่งเร้าที่อยู่ไกลจากตัวได้ทำให้สัตว์เหล่านี้มีการรวมกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมบางพฤติกรรมของสัตว์จะต้องอาศัยประสบการณ์จึงจะเกิดพฤติกรรมนั้นๆ ได้ เช่น ในการทดลองเกี่ยวกับการกินอาหารของคางคก ผู้ทดลองได้รำแมลงปอ แมลงรอบเบอร์ ซึงมีลักษณะคล้ายผึ้ง และผึ้ง มาแขวนไว้ให้คางคกจับกินทีละชนิดตามลำดับ ดังภาพที่ 10-6 (1-3) ผลปรากฏว่าคางคกสามารถใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอและแมลงรอบเบอร์กินได้สะดวก แต่เมื่อใช้ลิ้นตวัดจับผึ้งกินจะถูกผึ้งต่อย ต่อจากนั้นเมื่อผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนให้คางคกกินปรากฏผลดังภาพที่ 10-6 (4) กล่าวคือคางคกไม่ยอมกินทั้งแมลงรอบเบอร์และผึ้ง แต่เมื่อผู้ทดลองนำแมลงปอมาแขวนอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าในครั้งนี้คางคกใช้ลิ้นตวัดตับแมลงปอกินดังภาพที่ 10-6 (5) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะเห็นได้ว่าการใช้ลิ้นตวัดจับแมลงเข้าปากเป็นพฤติกรรมที่คางคกสามารถทำได้เองและมีแบบที่แน่นอนจึงเป็นพฤติกรรมเป็นมาแต่กำเนิด ส่วนการที่คางคกไม่กินผึ้งหรือแมลงรอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งนั้น เพราะว่าเคยจับผึ้งกินแล้วถูกผึ้งต่อย แต่สำหรับแมลงปอนั้นคางคกยังคงกินอยู่ต่อไป เนื่องจากเคยกินมาแล้วและไม่เป็นอันตราย พฤติกรรมในการเลือกชนิดของแมลงที่จะกินเป็นอาหารของคางคกเป็นพฤติกรรมที่เกิดมาจากการเรียนรู้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมเรียนรู้เป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตนับแต่เริ่มเจริญเติบโตจากตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัย แบบของพฤติกรรมเกิดจากวุฒิภาวะและการมีประสบการณ์ร่วมกัน การแสดงออกของพฤติกรรมมียีนเป็นตัวควบคุมแค่การพัฒนาให้เกิดความชำนาญขึ้นอยู่กับประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับขณะเจริญเติบโต เช่น การจิกอาหารของไก่จะมีประสิทธิภาพดีขึ้นเมื่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาดีขึ้น การบินของนกต้องมีการฝึกฝนมาก่อนจึงจะบินได้ดี เป็นต้น พฤติกรรมเรียนรู้สามารถจำแนกได้ดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ แฮบบิชูเอชัน ถ้านักเรียนทดลองนำหอยทากมาไต่บนแผ่นกระจก แล้วเคาะที่กระจกหอยทากจะหยุดการเคลื่อนที่และหลบซ่อนเข้าไปในเปลือก สักครู่หนึ่งจะโผล่ออกมาและไต่ตามแผ่นกระจกต่อไป เมื่อเคาะอีกก็จะหลบเข้าไปอีก แต่ถ้าเคาะกระจกบ่อยๆ ครั้ง จะพบว่าระยะเวลาที่หอยทากหลบเข้าไปในเปลือกจะค่อยๆ สั้นลง ในที่สุดจะไต่ตามแผ่นกระจกไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจเสียงเคาะกระจกอีกต่อไป นธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน ลูกสัตว์ทุกชนิดจะกลัวและหนีสิ่งแปลกใหม่ เช่น ลูกนกแรกเกิดจะตกใจกลัวนกทุกชนิดที่บินผ่านมาเหนือรัง หรือแม้แต่ใบไม่ร่วงลงมา เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆครั้ง ลูกนกจะเกิดการเรียนรู้ทำให้ลูกนกลดพฤติกรรมนี้ลงไป เรียกพฤติกรรมเรียนรู้นี้ว่า แฮบบิชูเอชัน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ลดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ้งเร้านั้นๆ ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 คำถาม - พฤติกรรมเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชันมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์หรือไม่ อย่างไร ตอบ การเรียนรูปแบบแฮบบิชูเอชันจะเป็นผลดีต่อสัตว์ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตจากระยะตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย เป็นการละเลยไม่ตอบสนองสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการพัฒนาต่อไปได้โดยไม่มีผลเสียต่อกระบวนการเจริญเติบโต พฤติกรรมชนิดนี้อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสัตว์หากละเลยต่อตัวกระตุ้นที่เป็นภัย เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ - ให้นักเรียนยกตัวอย่างพฤติกรรมแบบแฮบบิชูเอชันในสัตว์ชนิดอื่นๆ มาอีกอย่างน้อย 2 ชนิด ตอบ พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจนี้ จะทำให้สัตว์แรกเกิดเดินตามพ่อหรือแม่ของมัน ทำให้โอกาสที่จะอยู่รอดทีมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับอาหารและรอดพ้นจากอันตรายได้ดีกว่า นอกจากนี้เมื่อตัวผู้โตเต็มวัยมีการเลือกคู่ จะเลือกตัวเมียที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกันกับแม่ของมัน ทำให้เกิดการผสมข้ามพันธุ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ การฝังใจ นักเรียนคงเคยสังเกตเป็ด ไก่ หรือห่านที่เลี้ยงไว้ตามบ้าน จะเห็นว่าว่าลูกๆ มักเดินหรือว่ายน้ำตามแม่ตลอดเวลาดังภาพที่ 10-7 นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าเป็นเป็ดหรือไก่ที่ไม่ใช่แม่ของตนหรือสัตว์อื่นๆ ลูกเป็ด ลูกไก่เหล่านั้นจะเดินตามหรือไม่ ภาพที่ 10-7 ลูกเป็ดว่ายน้ำตามแม่เป็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ ในปี พ.ศ. 2478 คอนราด ลอเรนศ์ (Konrad Lorenz) ทดลองและสังเกตว่าในธรรมชาติลูกห่านจะเดินตามแม่ทันทีเมื่อฟักออกจากไข่ แต่เมื่อเขานำไข่มาฟักในห้องปฏิบัติการ เมื่อลูกห่านออกจากไข่แล้วพบเขาเป็นสิ่งแรก ลูกห่านก็ติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่ง ดังภาพที่ 10-8 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ เมื่อลอเรนซ์ทดลองใช้วัตถุอื่นแทนตัวเขา เช่น กล่องสีเหลี่ยมที่มีล้อเลื่อนหรือหุ่นเป็ดที่มีล้อเลื่อน ลูกห่านที่ฟักออกจากไข่เมื่อเห็นวัตถุดังกล่าวก็จะเดินตามวัตถุนั้นเช่นเดียวกันพฤติกรรมของลูกห่านที่ติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่เข้และทำเสียงซึ่งเห็นในครั้งแรกหลักจาฟักออกจากไข่ เรียกพฤติกรรมนี้ว่า การฝังใจ (imprinting) พฤติกรรมแบบนี้จะเกิดขั้นในช่วงเวลาสั้นมากคือระยะเวลา 36 ชั่วโมง หลังจากฟักออกจากไข่ของห่าน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก พฤติกรรมเรียนรู้ของสัตว์ย่อมมีความซับซ้อนมากขึ้นตามการพัฒนาของระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก การเรียนรู้ยังมีอีกหลายแบบดังที่นักเรียนจะได้ทำกิจกรรมที่ 10.2 ต่อไปนี้ กิจกรรมที่ 10.2 การลองผิดลองถูก วัสดุอุปกรณ์ 1. ภาพแผนที่แสดงทางวกวน 2. ปากกาเขียนแผ่นใส หรือดินสอสี 3. กระดาษบางๆ หรือแผ่นพลาสติก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ วิธีการทดลอง 1. นำกระดาษบางๆ หรือแผ่นพลาสติกใสวางทาบบนภาพ 2. ให้นักเรียนใช้ดินสอลากจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงปลายทางโดยให้นักเรียนอีกคนหนึ่งจับเวลา 3. ทำซ้ำข้อ 2 ประมาณ 3-5 ครั้ง บันทึกเวลาที่ใช้แต่ละครั้ง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 คำถาม วิธีการและเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมนี้ในครั้งแรกและครั้งหลังๆ แตกต่างกันอย่างไร ตอบ วิธีการทำในครั้งแรกๆ และครั้งหลังๆ มีความแตกต่างกันที่ครั้งแรกๆ อาจเลือกผิดทางบ้าง ถูกทางบ้าง เมื่อทำหลายๆ ครั้งเข้า การเลือกผิดจะน้อยลง ดังนั้นในครั้งหลังๆ อาจไม่ผิดเลย เวลาที่ใช้ในครั้งแรกๆ จึงมากกว่าที่ใช้ในครั้งหลัง นักเรียนจะสรุปผลของกิจกรรมนี้อย่างไร ตอบ สรุปผลของการทำกิจกรรมนี้ได้ว่า การที่เลือกเส้นทางจะให้ผิดน้อยที่สุดหรือไม่ผิดเลยนั้นขึ้นกับการทดลอทำดูก่อน เพราะเกิดการเรียนรู้ขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะเห็นได้ว่าเวลาที่ใช้ในการลากเส้นจากจุดเริ่มต้นถึงปลายทางครั้งหลังๆจะน้อยกว่าในครั้งแรกหรือกว่าอีกนัยหนึ่งคือ จำนวนครั้งที่นักเรียนลากเส้นผิดทางจะลดน้อยลงในครั้งหลังๆ แสดงว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ว่าจะลากเส้นไปในทางวกวนได้ถูกต้องได้อย่างไร โดยอาศัยการทดลองทำดูก่อน เรียกพฤติกรรมเรียนรู้ที่มีการทดลองทำนี้ว่า การลองผิดลองถูก (trial and error)มีการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่นไส้เดือนดิน เพื่อดูว่ามีพฤติกรรมอย่างไร เมื่อนำไปใส่กล่องพลาสติกรูปตัว T ที่ด้านหนึ่งมืดและชื้น อีกด้านหนึ่งโปร่งและมีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ดังภาพที่ 10-9 ปรากฏว่าเมื่อทำการทดลองซ้ำๆ กันไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง ไส้เดือนดินที่ผ่านการฝึกมาแล้วจะเลือกทางได้ถูก คือเคลื่อนไปทางที่มืดและชื้นประมาณร้อยละ 90 แต่ในระยะก่อนฝึกโอกาสที่ไส้เดือนดินจะเลือกทางถูกหรือผิดร้อยละ 50 เท่านั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ ภาพที่ 10-9 การทดลองพฤติกรรมลองผิดลองถูกของไส้เดือนดิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 - นักเรียนคิดว่าระหว่างสัตว์ที่มีระบบประสาทเจริญดีกับสัตว์ที่มีระบบประสาทยังเจริญไม่ดี กลุ่มใดจะเรียนรู้แบบการลองผิดลองถูกได้เร็วกว่า ตอบ สัตว์ที่มีระบบเจริญดีจะเรียนรู้การลองผิดลองถูกได้รวดเร็วกว่าสัตว์ที่มีระบบประสาทยังไม่เจริญดี เพราะสัตว์ที่ระบบประสาทเจริญดีสมองที่จำได้ว่าพฤติกรรมแบบใดมีประโยชน์ เช่น ได้อาหาร พฤติกรรมแบบใดมีโทษต่อตัวเอง เช่น โดนไฟฟ้าช็อต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ การมีเงื่อนไข จงศึกษาการทดลองของอีวาน เปโตรวิช พัฟลอฟ (Ivan Petrovich Pavlov) ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาและนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ได้ทำการทดลองประมาณปี พ.ศ. 2446 ดังภาพที่ 10-10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ พัฟลอฟพบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้ง สุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะน้ำลายไหล หลักจาการฝึกเช่นนี้มานานเสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคืออาหารซึ่งเป็นสิ่งเร้าแท้จริง หรือสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimulus) ส่วงเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือ สิ่งเร้าที่มีเงื่อน (conditioned stimulus) ดังภาพที่ 10-11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมการตอบการสนองสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข แม้ว่าจะไม่ไม่มีสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไขอยู่ด้วย ลำพังสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไขเพียงอย่าเดียวก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้นตอบสนองได้เช่นเดียวกับกรณีที่มีแต่สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไขอย่าเดียว พัฟลอฟเรียกพฤติกรรมเรียนรู้นี้ว่า การมีเงื่อนไข (conditioning) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ การใช้เหตุผล พฤติกรรมเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล (reasoning) เป็นพฤติกรรมขั้นสูงของการเรียนรู้สัตว์จะนำเอาประการณ์มากกว่า 2 อย่างขึ้นไปได้รับในเวลาต่างกันมารวมกันเป็นประสบการณ์การใหม่ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่ ในการศึกษาพฤติกรรมนี้ได้มีผู้ทำการทดลองกับสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น ชิมแปนซี สุนัข และไก่ เป็นต้นชิมแปนซีเป็นตัวอย่างของสัตว์ทดลองที่ดีสำหรับการแสดงความสามารถในการแก้ปัญหาเช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรือยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไม่ถึงชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาได้โดยนำลังมาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วยดังภาพที่ 10-12 หากนำผลไม่ไปวางไว้ห่างจากกรง ชิมแปนซีจะนำไม้มาต่อกันเป็นเครื่องมือเพื่อใช้เขี่ยของที่อยู่ห่างจากกรง ดังภาพที่ 10-13 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 คำถาม - สัตว์ที่แสดงพฤติกรรมเรียนรู้แบบการใช้เหตุผลได้แก่สัตว์อะไรอีกบ้าง ให้นักเรียนยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 2 ชนิด ตอบ สัตว์ที่แสดงพฤติกรรมเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล เช่น สุนัขดันประตูเปิดได้เอง สุนัขใช้เท้าหน้า กดก้านโยกประตูเปิดประตูเองได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.2.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล พบเฉพาะในสัตว์ที่มีสมองส่วนเซรีบรัมพัฒนาดีเพราะความสามารถในการใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับความสามารถในกาเรียนรู้และจดจำ ตลอดจนนำเอาประสบการณ์มาผสมผสานกัน หรือประยุกต์รวมกันเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอาจกล่าวว่าการใช้เหตุผลเป็นพฤติกรรมที่พัฒนามาจาการลองผิดลองถูก การใช้เหตุผลเป็นการเรียนรู้ขึ้นสูงสุดนักเรียนลองพิจารณาดูว่าในชีวิตประจำวันมีการใช้พฤติกรรมการใช้เหตุผลมากน้อยเพียงใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.3 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการระบบประสาท
10.4 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการระบบประสาท จากการศึกษาตัวอย่างพฤติกรรมแบบต่างๆพบว่าพฤติกรรมแบบหนึ่งๆ ไม่ได้พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าอย่างเดียวกันด้วยพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงมีพฤติกรรมการใช้เหตุผล และ มีพฤติกรรมที่ละเอียดอ่อนประณีตมากกว่าสัตว์อื่น ซึ่งเป็นผลจากพัฒนาการของระบบประสาท ดังตารางที่นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการระบบประสาท ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการระบบประสาท จากตารางที่ 10.1 จะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทพัฒนามากขึ้นจะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น ถ้านำพฤติกรรมต่างๆ ที่พบในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำไปจนถึงสิ่งมีชีวิตชั้นสูงมาเปรียบเทียบกันในรูปของกราฟ จะได้กราฟดังภาพที่ 10-14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการระบบประสาท ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4 คำถาม - จากภาพที่ 10-14 นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใด แสดงพฤติกรรมอะไรได้มากที่สุด ตอบ - จากรูปที่ 30 เปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ มีพฤติกรรมแตกต่างกันไปตั้งแต่โพรโทซัวจนถึงคน โพรโทซัวและสัตว์ชั้นต่ำมีพฤติกรรมขั้นต้นเป็นส่วนใหญ่ พฤติกรรมเรียนรู้น้อยมากและไม่พฤติกรรมการใช้เหตุผล คือ โพรโทซัวมีพฤติกรรมแบบแทกซิส สัตว์หลายเซลล์และหนอนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ แมลงและปลาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นลักษณะตรงกันข้ามกับสัตว์ชั้นสูงที่มีพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมเรียนรูปและใช้เหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนมีพฤติกรรมใช้เหตุผลมากที่สุด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 การสื่อสารระหว่างสัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี การสื่อสารเป็นพฤคิกรรมทางสังคมของสัตว์ เพราะมีการส่งสัญญาณทำให้สัตว์ซึงได้รับสัญญาณ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ทุุกชนิดต้องมีการสื่อ สารอย่างน้อยในช่วงใดช่วงหนึงของชีวิตโดยเฉพาะ ช่วงที่มีการสืบพันธุ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง (sound communieation) จัดเป็นวิธีการที่คนคุ้นเคยมากเพราะคนใช้ เสียงในการสื่อความหมายมากที่สุดสัตว์หลายชนิด ใช้เสียงในการสื่อสารได้เช่นเดียวกันแต่ยังไม่มีสตัว์ชนิดใดที่ใช้ภาษาพูดแบบคนนักเรียนคิดว่าการสื่อสารโดยการใช้เสียงมีจุดประสงค์ หรือมีประโยชน์ต่อสัตว์อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง 7 นิโก ทินเบอร์เกน(Niko Tinbergen) ได้ทำการทดลองกับแม่ไก่และลูกไก่ ดังภาพที่ 10-15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง 7 ภาพที่ 10-15 การแสดงพฤติกรรมของแม่ไก่ ก. ขณะที่ลูกไก่อยูในครอบแก้ว ข. ขณะที่ลูกไก่อยู่นอกครอบแก้วแต่มีฉากมาบัง ภาพที่10-15 ก. ลูกไก่อยู่ในครอบแก้วและส่งเสียงร้อง แม่ไก่ที่อยู่ข้างนอกไม่ได.ยีนเสียง จึงไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ เมื่อเปลี่ยนการทดลองเป็นดังภาพที่ตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกไก่แม้มองไม่เห็นลูกไก่ 10-15 ข. แม่ไก่แสดงพฤติกรรม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 คำถาม จากภาพที่ 10-15 เพราะเหตุใดแม่ไก่ตัวเดียวกันจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกัน ตอบ ลูกไก่ในรูปที่ 32 ก อยู่ในครอบแก้ว เมื่อส่งเสียงร้องแต่แม่ไก่ไม่ได้ยินเสียงจึงไม่หันไปมองแต่ในรูปที่ 32 ข แม่ไก่ได้ยินเสียงลูกไก่ร้องจึงหันไปมอง แม้ว่าจะไม่เห็นลูกไก่ - การสื่อสารด้วยเสียงมีประโยชน์ต่อสัตว์อย่างไร ตอบ การสื่อสารด้วยเสียงมีประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเตือนภัย การเรียกคู่เพื่อผสมพันธุ์การแสดงความเป็นเจ้าของสถานที่ หรือแสดงอาณาเขต บอกแหล่งอหาร การขู่ การแสดงความโกรธ การใช้ภาษาพูด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง 7 รีเฟล็กซ์ นักเรียนคงเคยเหยียบหนามหรือของมีคม พฤติกรรมที่แสดงออกมาคือ ยกเท้าหนีทันทีหรือเมื่อมีสิ่งของเข้ามาใกล้ๆ ตา ก็จะกระพริบตา นักเรียนต้องคิดก่อนทำหรือไม่ การแสดงกิริยาดังกล่าวเป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ซึ่งเคยกล่าวมาแล้วในระบบประสาท ปฏิกิริยานี้ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ทันที พฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว เรียกพฤติกรรมนี้ว่า รีเฟล็กซ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง 7 รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง นักเรียนลองพิจารณาการดูดน้ำนมของเด็กอ่อนที่เริ่มตั้งแต่การกระตุ้นจากสิ่งเร้าคือ ความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับผมนม เป็นการกระตุ้นให้เด็กดูดนมและจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ เมื่อเด็กยังไม่อิ่มก็จะกระตุ้นให้ดูดนมต่อไปอีก เด็กจึงแสดงพฤติกรรมการดูดนมต่อไปจนอิ่มจึงจะหยุดพฤติกรรมนี้ นักเรียนจะเห็นว่าการดูดนมของเด็กประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไปกระตุ้นรีเฟล็กซ์อื่นๆ ของระบบประสาทให้ทำงานต่อเนื่องกัน เรียกพฤติกรรมนี้ว่า รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง 7 การสร้างรังของนกก็เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยหลายพฤติกรรม เช่น การบินออกไปหาวัสดุมาสร้างรัง เมื่อพบแล้วจะจิกขึ้นมาตรวจสอบว่าเป็นวัสดุที่ต้องการหรือไม่จากนั้นจะนำวัสดุนั้นมาที่รังและพยายามนำวัสดุดังกว่าประกอบเป็นรัง เสร็จแล้วก็จะบินออกไปหาวัสดุชิ้นใหม่ต่อไป วงจรนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้รังที่สมบูรณ์ ดังภาพที่ 10-5 ตัวอย่างอื่นๆ ของพฤติกรรมแบบนี้ เช่น การชักใยของแมงมุม การฝักไข่และการเลี้ยงลูกอ่อนของไก่ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.1 การสื่อสารด้วยเสียง 7 รีเฟล็กซ์และรีเฟล็กซ์ต่อเนื่องเป็นพฤติกรรมเป็นมาแต่กำเนิด เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดซึ่งสามารถแสดงได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อนและกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยสิ่งเร้าที่พบในสภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ เช่น ปัจจัยทางกายภาพ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมบางอย่างจะแสดงออกก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทางร่างกายเสียก่อน เช่น การบินของนก นกแรกเกิดไม่สามารถบินได้จนกว่าเติมโตแข็งแรง จึงพร้อมจะบินได้ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง 7 ท่าทางต่างๆ ที่สัตว์แสดงออกอาจเฮนมาแค่กำเนิด หรือเกิดจากการเรียนรู้โดยการแสดงออกทาง สีหน้าหรือท่าทาง ดังภาพที่ 10-16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 คำถาม - นักเรียนคิดว่าในภาพที่ 10-16(ก -ง.) สุนัขกำลังสื่อความหมายว่าอย่างไร ตอบ การสื่อความหมายของสุนัขรูปที่ 35 ก. แสดงว่าสุนัขกลัว หรือยอมจำนนต่อสุนัขตัวอื่น ข. แสดงลักษณะทั่วไป ค. แสดงการข่มขู่คู่ต่อสู้ หรือสุนัขตัวอื่น ง. แสดงการข่มขู่คู่ต่อสู้ และพร้อมจะต่อสู้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง การสื่อสารด้วยภาพหรือท่าทาง (visual communication) กว้างขวางในสัตว์นับตั้งแต่แมลงจนถึงคน เช่น คนหูหนวกจะใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวของ นิ้วมือและริมฝีปากประกอบกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง การสื่อสารด้วยท่าทางจะได้ผลดีมากขึ้น ถ้าโครงสร้างที่ใช้ประกอบท่าทางเห็นได้ เด่นชัด เช่น ครีบ ขน และแผงคอการสื่อสารอาจประกอบด้วยกิจกรรมหลายขั้นตอน เช่น การรำแพนของนกยูงการโอบรัดของปลากัดเป็นต้นซึ่งมีขั้นตอนดังภาพที่ 10-17 1.ปลากัดที่จับคู่กันจะว่ายน้ำมาอยู่ใต้หวอด โบกพัดหางไปมาและเมื่อได้จังหวะเพศผู้และเพศเมียจะหันหัวและทางสลับทิศทางกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง 2.เพศผู้ค่อยๆงอตัวเข้าโอบรัดเพศเมีย และโอบรัดแน่นขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเป็นวงแหวน เป็นการกระตุ้นตุ้นให้เพศเมียรู้ว่าเพศผู้พร้อมที่จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ 3.เมื่อเพศผู้คลายการโอบรัด เพศเมียจะตะแคงตัวลอยสู่ผิวน้ำ ทำให้ไข่ที่ติดอยู่ตามท้อง ครีบอกและคลีบท้องหลุดร่วงลงสู่ก้นบ่อ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 คำถาม -การแสดงออกโดยใช้ท่าทางของสิ่งมีชีวิตมีประโยชน์อย่างไร ตอบ การแสดงออกโดยใช้ท่าทางของสิ่งชีวิตในสิ่งชีวิตในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีประโยชน์ เช่น ใช้แทนคำพูด บอกอารมณ์ บอกอันตราย แสดงอาณาเขต การขู่ การเกี้ยวพาราสีเพื่อการผสมพันธุ์ -นักเรียนสามารถสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของเพื่อนๆ จากสีหน้าและท่าทางได้ หรือไม่ และการแสดงออกเช่นนั้นมีประโยชน์อย่างไร ตอบ จากสีหน้าท่าทาง เราสามารถสังเกตได้ว่าคนมีอารมณ์รื่นเริง สุข เศร้า ทำให้รู้ว่าจะต้องปรับตัวให้เข้ากันได้อย่างไร เช่น ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว เข้าไปปลอบโยน เข้าไปแสดงความยินดี แล้วแต่สถานการณ์ ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสุข ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4.2 การสื่อสารด้วยสารเคมี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง นักเรียนได้เรียนมาแล้วว่าสัตว์หลายชนิดสามารถสร้างสารที่มีอิทธิพลค่อสรีระและพฤติกรรมของสัตว์ชนิดเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า ฟีโรโมน ซึ่งจัดเป็นการสื่อสารด้วยสารเคมี (chemical communication) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4.2 การสื่อสารด้วยสารเคมี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง สัตวได้รับฟีโรโมน 3 ทางด้วยกัน ได้แก่ การดมกลิ่น การกินและการสัมผัส การได้รับฟีโรโมนทางกลิ่นส่วนมากเพื่อการดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ้งผลิตได้ทั้งเพศผู้และเพศเมียขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น การปล่อยฟีโรโมนของผีเสื้อไหมเพศเมีย หรือเพื่อบอกตำแหน่งให้รรู้ว่าอยู่ที่ไหน เช่น การปล่อยฟีโรโมนของมด นอกจากนี้ฟีโรโมนยังใช้เตือนภัยได้ เช่น ผึ้งที่อยู่ปากรังจะคอยระวังอันตรายเมื่อมีศัตรูแปลกปลอมเข้ามาจะปล่อยฟีโรโมนเตือนภัยให้พวกเดียวกันรู้และบินออกมารุมต่อยศัตรูทันที อย่างไรก็ดีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม เช่น ชะมดที่มีกลิ่นตัวแรง กลิ่นนี้สร้างจากต่อมใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ที่ปล่อยออกมาทั้งเพศผู้เพศเมีย มนุษย์ สามารถสกัดสารจากต่อมของสัตว์พวกนี้มาทำเป็นหัวนํ้าหอมได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4.2 การสื่อสารด้วยสารเคมี 10.4.2 การสื่อสารด้วยท่าง การรับฟีโรโมนโดยการกิน เช่น ผึ้งราชินีจะผลิตสารเคมีชนิคหนึ่งที่ต่อมบริเวณรยางค์ปาก เมื่อผึ้งงานซึ่งเป็นเพศเมียกินเข้าไป สารนี้จะไปยับยั้งการเจริญและการผลิตไข่ทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน การรับฟีโรโมนโดยการสัมผัส พบในสัตวไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงสาบและแมงมุมบางชนิด เพศเมียจะปล่อยฟีโรโมนทิ้งไว้ เมื่อเพศผู้มาสัมผัสเข้าสารนี้จะซึมผ่านเข้าไปกระตุ้นให้เพศผู้เกิดความต้องการทางเพศและติดตามเพศเมียไปเพื่อผสมพันธุ์ ในตั๊กแตนเพศผู้จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์เมื่อตัวอ่อนของตั๊กแตนมาสัมผัสเข้าก็จะกระตุ้นให้ตัวอ่อนเติบโตและสืบพันธุ์ได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4.2 คำถาม -ฟีโรโมนเหมือนหรือต่างจากฮอร์โมนอย่างไรในแง่การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม ตอบ สิ่งที่เหมือนกันของฟีโรโมนและฮอร์โมนคือ เป็นสารเคมีที่ทำหน้าที่เร้าให้สัตว์แสดงพฤติกรรมได้แต่ฟีโรโมนเป็นสิ่งเร้าภายนอก ฮอร์โมนเป็นสิ่งเร้าภายใน ฟีโรโมนผลิตจากต่อมที่มีท่อ ส่วนฮอร์โมนผลิตจากต่อมไร้ท่อ ฟีโรโมนมีผลกับสัตว์สปีชีส์เดียวกัน แต่ฮอร์โมนให้ผลแม้ในสัตว์ต่างสปีชีส์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 การสื่อสารด้วยการสัมผัส โดยธรรมชาติแล้วการสื่อสารด้วยการสัมผัส (tactiIe communiแation) จะใช้ได้ผลในระยะใกล้เท่านั้นในสัดวไม่มีกระดูกสันหลังการสัมผัสจะเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการรับรู้สารเคมีของอวัยวะที่ใช้ในการสัมผัสแบบพิเศษ เช่น หนวดของแมลงสาบจะใช้ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเท่านั้น อย่างไรก็ตามการสื่อสารโดยการสัมผัสยังมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในสัดว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม เช่น สุนัขจะเข้าไปเลียปากให้กับตัวที่เหนือกว่า หรือซิมแปนซีจะยื่นมือให้ซิมแปนซีตัวที่มีอำนาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 การสื่อสารด้วยการสัมผัส แฮร์รี เอฟ ฮาร์โลว์(Harry F.Harlow) ได้ศึกษาพฤติกรรมของลิงรีซัส โดยสร้างหุ่นแม่ลิงขึ้น2 ตัว ซึ่งทำด้วยไม้และลวดตาข่าย หุ่นตัวหนึ้งมีผ้าหนานุ่มห่อหุ้มไว้ ส่วนหุ่นอีกตัวหนึ่งไม่มีผ้า ห่อหุ้ม หุ่นแต่ละตัวมีขวดนมวางไว้ตรงบริเวณอก จากการทดลองพบว่า ลูกลิงชอบเข้าไปซบและ คลุกคลีกับหุ่นตัวที่มีผ้าหนานุ่มห่อหุ้มซึ่งมีความอ่อนนุ่ม และให้ความรู้สึกอบอุ่นกว่า ดังภาพที่ 10-18 และพบว่า ลูกลิงที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ลิงหรือหุ่นแม่ลิงที่ทำด้วยผ้าจะไม่สามารถ ปรับตัวหรือผูกมิตรกับลิงตัวอื่นๆได้และมักตกใจกลัวเมื่อนำลูกลิงตัวอื่นไปใส่ไว้ในกรงเดียวกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 การสื่อสารด้วยการสัมผัส ที่มา http..//www.eerebromente.org.br/nI3/expen.ment/affeetive/rhesus.htmI ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10.4 การสื่อสารด้วยการสัมผัส พฤติกรรมของสิ่งมีซีวิตที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อจุดมุ่งหมายให้ชีวิตอยู่รอดได้และดำรงเผ่าพันธุ์ไว้พฤติกรรมบางพฤติกรรมจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม พฤดิกรรมของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นการรับสัดส่วนระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมพฤติกรรมบาง พฤติกรรมในสิ่งมีชีวิตยังได้ศึกษาและค้นคว้า และความมหัศจรรย์ของการแสดงออกของพฤติกรรมยังเป็นสิ่งที่ท้าทายให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 10.4 คำถาม -นักเรียนคิดว่าการสื่อสารโดยการสัมผัสมีความสำคัญต่อการดำรงซีวิดของสัตว์อย่างไร ตอบ การสื่อสารโดยการสัมผัสมีความสำผัสมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ ทำให้ลูกสัตว์ ทำให้ลูกสัตว์รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ได้รับความคุ้มครองจากแม่เมื่อได้รับการโอบกอดหรือสัมผัสจากแม่ เมื่อสัตว์เหล่านี้เติบโตขึ้นจะไม่กลัวอะไรง่ายๆ แต่มีความเชื่อมั่น ทำให้มีผลต่อระบบต่างๆ ในการทำงานของร่ายกาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 10
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 1.1 ขณะที่ผึ้งงานบินออกไปหานํ้าหวาน เรณูได้นำถ้วยนํ้าเชื่อมไปวางไว้ใน บริเวณที่ผึ้งงานออกมาหาอาหาร ปรากฏว่าผึ้งงานบินวนหาถ้วยนํ้าเชื่อม และดูดนํ้าเชื่อมกลับรังแล้วบินกลับมาหาถ้วยนํ้าเชื่อมอีกครั้งเพื่อจะดูด นํ้าเชื่อมกลับรัง ผึ้งงานปฏิบัติเช่นนี้หลายๆ ครั้ง แต่ครั้งหลังๆ จะใช้เวลา บินวนหาถ้วยนํ้าเชื่่อมน้อยลง พฤติกรรมเช่นนี้ของผึ้งงานเป็นพฤติกรรม แบบใด ตอบ ขณะที่ผึ้งงานบินไปหาน้ำหวาน แดงได้นำถ้วยน้ำเชื่อมไปวางไว้บริเวณที่ผึ้งงานออกมาหาอาหาร ปรากฏว่าผึ้งงานบินวนหาถัวยน้ำเชื่อม และดูดน้ำเชื่อมกลับรังแล้วบินกลับมาหาถ้วยน้ำเชื่อมอีกครั้ง เพื่อจะดูดน้ำเชื่อมกลับรัง ผึ้งงานปฏิบัติเช่นนี้หลายๆ ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาบินวนหาถ้วยน้ำเชื่อมน้อยลงๆพฤติกรรมของผึ้งงานเช่นนี้ จึงจัดเป็นพฤติกรรมเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เนื่องจากใช้เวลาบินวนรอบถ้วยน้ำเชื่อมน้อยลง เพราะรู้แล้วว่าถ้วยน้ำเชื่อมอยู่ที่ใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 1.2 ขณะที่เรณูนำอาหารมาวางที่หน้ากรงนก เรณูจะดีดนิ้ว 2 - 3 ครั้ง นกก็จะ บินมาเกาะที่คานไม้ในกรงเพื่อจะจิกอาหารที่นำมาวางไว้ให้ วันหนึ่งเรณู ดีดนิ้ว 2 - 3 ครั้ง นกก็จะบินมาเกาะที่คานไม้เพื่อจะกินอาหารทั้งๆ ที่เรณู ไม่ได้วางอาหารไว้ พฤติกรรมของนกเป็นพฤติกรรมแบบใด ตอบ ขณะที่เรณูนำอาหารมาวางที่หน้ากรงนก เรณูจะดีดนิ้ว 2-3 ครั้ง นกก็จะบินมาเกาะที่คานไม้ในกรงเพื่อจิกอาหารที่วางไว้ให้ วันหนึ่งเรณูดีดนิ้ว 2-3 ครั้ง นกก็จะบินมาเกาะที่คานไม้ เพื่อจิกอาหารทั้งที่ไม่ได้วางอาหารไว้ให้ พฤติกรรมของนกจึงเหมือนพฤติกรรมสุนัขที่สั่นกระดิ่งเวลาให้อาหาร พอไม่มีอาหารได้ยินเสียงสั่นกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล จัดเป็นพฤติกรรมเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 1.3 ลูกช้างเชือกหนึ่งพลัดหลงกับแม่ช้างจึงถูกนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ ระยะ แรกๆ เมือคนเลี้ยงเข้าไปในบริเวณที่เลี้ยงเพื่อนำอาหารไปให้ ลูกช้างจะ วิ่งหนีไปทั่วบริเวณนั้นพร้อมทั้งส่งเสียงร้องดังลั่น เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน ในระยะหลังๆ เมือคนเลี้ยงนำอาหารไปให้ลูกช้าง ลูกช้างจะไม่วิ่งหนีและ ไม่ส่งเสียงร้องอีก พฤติกรรมของลูกช้างนี้เป็นพฤดิกรรมแบบใด จงสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ต่อไปนี้แล้วเขียนอธิบาย ตอบ ลูกช้างหนึ่งพลัดหลงกับแม่ช้าง จึงถูกนำไปเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ ระยะแรกๆ เมื่อคนเลี้ยงเข้าไปในกรงเพื่อนำอาหารไปให้ ลูกช้างจะวิ่งหนีไปทั่วกรงพร้อมทั้งส่งเสียงร้องดังลั่น เป็นเช่นนี้อยู่หลายวัน ในระยะหลังๆ เมื่อคนเลี้ยงนำอาหารไปให้ลูกช้า ลูกช้างจะไม่วิ่งหนีและไม่ส่งเสียงร้องอีก พฤติกรรมของลูกช้างนี้จัดเป็นพฤติกรรมแบบแฮบบิชูเอชัน เพราะเรียนรู้แล้วว่าคนเลี้นงไม่ทำอันตราย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 2.1 การชักใยของแมงมุมต่างชนิดกัน ตอบ การชักใยของแมงมุมต่างชนิดกัน แมงมุมมีอวัยวะสร้างใย เรียกว่า สปินเนอเรท (spinnerets) อยู่ 7 คู่ อยู่บริเวณกลางหรือท้ายลำตัว สปินเนอเรทแต่ละคู่มีลักษณะแตกต่างกัน ทำหน้าที่สร้างใยที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น สร้างใยที่มีลักษณะเบาบาง จึงลอยตัวกลางอากาศเพื่ออพยพหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ช่วยในการกระจายพันธุ์ของแมงมุมที่ฟักออกจากไข่ สร้างใยที่มีลักษณะเหนียวใช้จับเหยื่อเป็นอาหาร สร้างใยไว้หุ้มเหยื่อไม่ให้เหยื่อเคลื่อนไหว สร้างใยหุ้มถุงไข่ สร้างใยเป็นทางเดินของมัน สร้างใยสำหรับรับแรงสั่นสะเทือนเมื่อเหยื่อมาติดใย เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 2.2 การสื่อสารด้วยท่าทางของสัตว์บางชนิด เช่น แมว ตอบ การสื่อสารด้วยท่าทางของสัตว์บางชนิด เช่น แมว แมวมีต่อมสร้างกลิ่นอยู่ตามความยาวของหาง โคนหาง ด้างข้างส่วนหัว ริมฝีปาก คาง บริเวณใกล้อวัยวะเพศ และอุ้งเท้าด้านหน้าที่มีลักษณะคราบมันซึ่งเกิดจากการนำส่วนต่างๆของลำตัวแมวมาถูไว้ แมวจะแสดงอาณาเขตและความเป็นเจ้าของ โดยนำส่วนต่างๆ ของลำตัวไปถูกับสิ่งต่างๆ เช่น ประตู เก้าอี้ และสำรวจดมกลิ่นตามตัวสมาชิกในบ้าน โดยเดินยกหัวเข้าใกล้แล้วเอาหัวถูตามลำตัวเพื่อแสดงความเป็นมิตร และแสดงความสนใจที่เข้ามาใกล้ ส่วนแมวอารมณ์ไม่ดี ไม่อยากให้ใครเข้าใกล้ จะเดินแล้วกดหัวต่ำลงและหลบตา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 2.3 พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของไก่หรือนก ตอบ พฤติกรรรมการเกี้ยวพาราสีของไก่หรือนก โดยการขยับปีกเป็นจังหวะ การกางปีกเพื่อแสดงสีขนและความสมบูรณ์ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้นกตัวเมียสนใจ เช่น สีของหงอน สีขนหาง สีผิวผนังที่ส่วนหัว นอกจากนี้ยังทำท่าทางต่างๆ เช่น การรำแพนหางของนกยูง การวิ่งวนและกระพือปีกของไก่บ้านตัวผู้ไปรอบๆ ไก่ตัวเมีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 3. นักเรียนคนหนึ่งทำการทดลองโดยใช้กล่องรูปตัวที (T) ซึ่งใส่น้ำไว้เต็ม ปลายด้าน หนึ่งมีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ดังภาพ ก. เขานำพลานาเรียตัวหนึงใส่ไปในกล่องเพื่อ สังเกตการเคลื่อนที่ว่าจะเลือกไปในทางใด โดยทำการทดลอง 10 ครั้งในแต่ละ วันเป็นเวลา 7 วัน บันทึกผลการทดลองไว้ดังกราฟในภาพ ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 3.1 การแสดงพฤติกรรมของพลานาเรียตามการทดลองนี้ จัดเป็นนพฤติกรรม การเรียนรู้หรือไม่ เพราะเหตุใด ตอบ การแสดงพฤติกรรมของพลานาเรียตามการทดลองนี้ จัดเป็นพฤติกรรมเรียนรู้ เพราะพลานาเรียเลือกเคลื่อนที่ไปด้านที่มีกระแสไฟฟ้าน้อยครั้งลงเรื่อยๆ จึงถูกไฟฟ้าช็อตน้อยลง 3.2 ถ้าหยุดทำการทดลองเมื่อครบ 7 วันแล้วอีก 8 วันต่อมานำพลานาเรียตัวเดิม มาทำการทดลองอีก จำนวนครั้งที่เลือกไปทางด้านที่มีกระแสไฟฟาจะ แตกต่างจากวันที่ 7 ของการทดลองครั้งแรกอย่างไร เพราะเทดุใดจึงเป็น ตอบ ถ้าหยุดการทดลอง เมื่อครบ 7 วันแล้ว อีก 5 วันต่อมานำพลานาเรียตัวเดิมมาทำการทดลองอีกจำนวนครั้งที่เลือกไปทางด้านที่มีกระแสไฟฟ้าจะแตกต่างไปวันที่ 7 ของการทดลองครั้งแรก เพราะ พลานาเรียมีสมองที่ยังเจริญไม่ดี ไม่สามารถจดจำได้ถ้าไม่ได้ฝึกฝนจนติดต่อกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 4.เมือนำองุ่นที่กำลังเริ่มเน่าใส่ลงในจานเพาะเชื้อที่แตกต่างกัน 5 ชุด แล้วปล่อย แมลงหวี่ 20 ตัว ซึงอยู่ห่างจากจานเพาะเชื้อแค่ละชุดเป็นระยะทาง 20 ฟุต เมื่อเวลาผ่านไป 30 วินาที นับจำนวนแมลงหวี่ที่อยู่รอบจานเพาะเชื้อแต่ละชุด และนับอีกครั้งหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 10 นาที ได้ผลการทดลองดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 4.1 สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่คืออะไร ตอบ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ คือ องุ่นที่กำลังเริ่มเน่า 4.2 พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ตามการทดลองนี้จัดเป็นพฤติกรรมแบบใด ตอบ พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ เป็นพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมท้ายบทที่ 10 4.3 จำนวนแมลงทวี่ที่เปลี่ยนแปลงไปใน 10 นาทีหลังจากปล่อย ควรมีสาเหตุ เนื่องจากอะไร จงอภิปราย ตอบ จำนวนแมลงหวี่ที่เปลี่ยนแปลงไปใน 10 นาทีหลังจากปล่อย มีสาเหตุมาจากองุ่นที่เริ่มจะเน่า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=df_eStedQ_k