ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
TOPICS 1. Obtaining and digesting of food (Digestive system)
Advertisements

Suppawiwat Ponglowhapan, DVM (Hons), M.S., M.Sc, PhD
The Impact of Sleep deprivation on Animal Health
สารกระตุ้นสมรรถภาพการผลิต
ระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้าง หน้าที่ และการเกิดโรค
การตั้งท้องและการคลอดลูก (Gestation & Parturition)
วัยเจริญพันธุ์และพฤติกรรมทางเพศ (Puberty & Sexual Behavior)
ฮอร์โมนในน้ำนมแม่ Insulin growth factorช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก Thyroxine , thyrotropin-releasing hormone - Thyroxineช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำไส้เด็กให้สมบูรณ์
ฮอร์โมน จัดทำโดย กรมปศุสัตว์.
การปฏิสนธิ (Fertilization)
โรคที่เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน Diseases caused by hormonal disorders.
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของ Hormone
โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ
การติดเชื้อในผู้สูงอายุ
คำถามที่มีคนอยากรู้คำตอบ ในวิชาชีวเคมีก่อนสอบ
การพิสูจน์การตั้งครรภ์
บทบาทของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับภาวะขาดสารไอโอดีน
Thyroid gland.
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
การดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ CONGENITAL HYPOTHYROIDISM
การสร้าง Thyroid Hormone
METABOLIC RELATED OBESITY
ความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนม Fertility in Dairy Cattle
น. ส. สโรชา วิชาชัยม.3 เลขที่ 25 เสนอโดย ครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ โรงเรียนวัดพวงนิมิต ต. เขาสามสิบ อ. เขาฉกรรจ์ จ. สระแก้ว น. ส. สโรชา วิชาชัยม.3 เลขที่ 25.
ภาคต้น 2557 เรื่อง Lipids (ตอนที่ 2)
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ในวัยสูงอายุ
เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
INTERESTING CASE 17th January 2007 KANNIKAR KONGBUNKIAT,MD.
Diabetes mellitus By kraisorn inphiban.
สรุปผลการตรวจราชการฯ รอบที่ 2 เขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร.
Thyroid Function Test by Crisana Kanjanahirun.
นายแพทย์กฤษณะ กาญจนหิรัญ
บทที่ 5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
Facilitator: Pawin Puapornpong
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis).
อาจารย์พูลทรัพย์ ลาภเจียม
โรคกระดูกพรุน.
ฮอร์โมนสามารถออกฤทธิ์ได้โดยใช้ประมาณเพียงเล็กน้อย
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System).
ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส
Biology (40243) Miss Lampoei Puangmalai
Facilitator: Pawin Puapornpong
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ (ENDOCRINE SYSTEM).
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต(Reproduction & Development)
กลุ่มอาการของคนเนื่องจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางส่วน
การออกกำลังกายและนันทนาการ อ. ฉฬาพิมพ์ ชัยสุทธินันท์
Assoc. Prof. Dr. Boonlom Cheva-Isarakul
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 7 การจัดการสุกร.
Activities on Endocrine System
เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
โภชนาการ เด็กวัยเรียน สิรภัทร สาระรักษ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีทาง DNA
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
กลไกการตอบสนองของร่างกายแบบไม่จำเพาะ และแบบจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม
สารสื่อนำกระแสประสาท
PrEP คืออะไร Pre- Exposure Prophylaxis ยาต้านไวรัสเพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รูปยา.
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
พฤติกรรมการสื่อติดต่อ (Communication behavior)
การเจริญของเอมบริโอมนุษย์
1. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) :-
การพัฒนาของมนุษย์ หลังการปฏิสนธิจะได้ไซโกต ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นเอ็มบริโอ ผ่านระยะการเจริญที่สำคัญ ได้แก่ Clevage, Blastulation, Gastulation และ Organogenesis.
ความรู้พื้นฐานด้านระบาดวิทยา
อนามัยแม่และเด็กอำเภอ
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ ชีววิทยา เล่ม 2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี เนื้อหาสาระ ต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน ฟีโรโมน ฮอร์โมนจากแมลง ฮอร์โมนจากพืช คำถามท้ายบทที่ 9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับหลักฐานการเกิดวิวัฒนาการและแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิบาย และสรุปเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ประชากรและการกำเนิดสปีชีส์ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่า ต่อมไร้ท่อควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกายให้มีดุลยภาพ แต่การควบคุมเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป สิ่งที่น่าสนใจคือ ต่อมไร้ท่อควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย ให้เกิดดุลยภาพได้อย่างไร คำถามแนะนำ ต่อมไร้ท่อควบคุม และประสานการทำงานของร่างกายให้อยู่ในดุลยภาพได้อย่างไร ปี พ.ศ. 2391 นักสรวิทยาชาวเยอรมันชื่อฮาร์โนล เอ เบอร์โทลด์(Arnold A. Berthold) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาของลูกไก่เพศผู้ไปเป็นไก่เพศที่โตเต็มวัย โดยจัดการทดลองเป็น3ชุด ชุดแรกให้ลูกไก่เจริญตามปกติ ดังภาพที่9-1 ก. ชุดที่2 เบอร์โทลด์ตัดอัณฑะของลูกไก่ออก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ แล้วเฝ้าสังเกตลักษณะของลูกไก่จนเจริญเป็นไก่ที่โตเต็มวัย พบว่าเมื่อโตเต็มวัยไก่ตัวนี้จะมีลักษณะคล้ายไก่เพศเมียคือ มีหงอน เหนียงสั้น ขนหางสั้น และมีนิสัยไม่ค่อยต่อสู้ กับไก่ตัวอื่นๆ ดังภาพที่ 9-1 ข. ภาพที่ 9-1 ผลการทดลองศึกษาการเจริญของหงอนและเหนียงของไก่เพศผู้ ก. ลูกไก่เพศผู้ที่เจริญตามปกติ (ชุดที่1) ข. ลูกไก่เพศผู้ที่มีการปลูกอัณฑะ (ชุดที่2) ค. ลูกไก่เพศผู้ที่มีการปลูกอัณฑะให้ใหม่ (ชุดที่3) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ ชุดที่ 3 เบอร์โทลด์ ตัดอัณฑะของลูกไก่ออก จากนั้นนำอัณฑะของลูกไก่อีกตัวหนึ่งมาปลุกถ่ายลงในบริเวณช่องท้องตรงตำแหน่งที่ตำกว่าตำแหน่งอัณฑะเดิม จากการตรวจสอบพบว่าอัณฑะใหม่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงและสามารถทำงานได้ เมื่อติดตามสังเกตลักษณะของลูกไก่จนเป็นไก่ที่โตเต็มวัยปรากฏว่าไก่ตัวนี้จะมีลักษณะของไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัยปกติทั่วๆ ไปคือ หงอน เหนียงยาว ขนหางยาว และมีนิสัยรักการต่อสู้ ปราดเปรียว ดังภาพที่ 9-1 ค. สิ่งที่น่าสงสัย คือ อัณฑะเกี่ยวข้องกับลักษณะของไก่เพศผู้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ การศึกษาต่อมาพบว่า อัณฑะของไก่ผลิตสารเคมีซึ่งลำเลียงไปตาม ระบบหมุนเวียนเลือด สารเคมีนี้เองที่เชื่อกันว่ามี บทบาทควบคุมการเจริญของหงอน เหนียงคอ และลักษณะอื่นๆ ของไก่เพศผู้ที่โตเต็มวัยนอกจากนี้ยังพบว่าในร่างกายของคน และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆตลอดจนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดมีอวัยวะที่สร้างสารเคมีและลำเลียง สารเหล่านี้ไปตามกระแสเลือด ไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น การทำงาน ของระบบสืบพันธุ์  ระบบขับถ่าย ตลอดจนกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เรียกสารเคมีกลุ่มนี้ว่า ฮอร์โมน( Hormone ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน เอมีน เละสเตรอยด์ ที่ผลิตจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ(Endocring gland) ซึ่งเเตกต่างจากต่อมต่างๆ เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมเหงื่อ  ต่อมน้ำตาเเละต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ซึ่งตอมเหล่านี้ ล้วนแล้วมีเเต่ท่อลำเลียงสารต่างๆ  ที่ต่อมสร้าง จึงเรียกต่อมเหล่านี้ว่าต่อมมีท่อ ( exocring gland )   ดังภาพที่ 9-2 ก. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ หมายถึง ทิศทางการหลั่งสารจากต่อม ภาพที่ 9-2 เปรียบเทียบโครงสร้างของ ก. ต่อมมีท่อ ข. ต่อไร้ท่อ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ จากภาพที่ 9-2 นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า สารที่ต่อมมีท่อไร้ท่อสร้างขึ้นลำเลียงไปสู่อวัยวะเป้าหมายต่างๆ ในร่างกายแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร นักเรียนคิดว่า ต่อมที่หลั่งฮอร์โมนออกมานอกจากไม่มีท่อแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษอย่างไร โดยทั่วไป ต่อมไร้ท่ออาจประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่สร้างหรือหลั่งสารเคมีเป็นฮอร์โมน เเต่ไม่มีท่อลำเลียงออกจากต่อมจึงต้องอาศัยหลอดเลือดช่วยลำเลียง  ต่อมไร้ท่อจึงมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ลำเลียงฮอร์โมนที่สร้างขึ้นออกสู่กระเเสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังภาพที่ 9-2 ข.   ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ นอกจากฮฮร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่สร้างจากต่อมไร้ท่อเเล้วยังมีสารเคมีชนิดอื่นที่สร้างจากเซลล์ประสาท คือ ฮอร์โมนประสาทเเละสารสื่อประสาทที่ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ  ดังภาพที่ 9-3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ เมื่อฮอร์โมนถูกลำเลียงไปถึงอวัยวะเป้าหมายจะมีผลต่อเซลล์เป้าหมายอย่างไร   จากการศึกษาพบว่าการตอบ สนองของเซลล์เป้าหมายต่อฮอร์โมนเกิดขึ้นโดยอวัยวะเป้าหมายมีหน่วยรับสัญญาณที่จำเพาะต่อฮอร์โมน  เเล้วส่งสัญญาณ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภายในเซล์  และเกิดการตอบสนองสนองของเซลล์เป้าหมายต่อฮอร์โมนเกิดขึ้นโดยอวัยวะเป้าหมายมีหน่วยรับสัญญาณที่จำเพาะต่อฮอร์โมน  เเล้วส่งสัญญาณ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภายในเซล์  และเกิดการตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้น                ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.1 ต่อมไร้ท่อ ปัจจุบันความรู้เรื่องฮอร์โมนได้ขยายขอบเขตไปจากเดิมมากเพราะมีการค้นพบว่า  ไม่เพียงแต่คนและสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เท่านั้นที่สร้างฮอร์โมนได้  แม้แต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและพืชก็สร้างฮอร์โมนได้เช่นกัน   แต่ในบทเรียนนี้จะเน้น เกี่ยวกับฮอร์โมนของคนเป็นหลักนักเรียนจะได้ทราบว่า ต่อมไร้ท่อของคนนั้นมีอะไรบ้าง ต่อมเหล่านี้สร้างฮอร์โมนอะไร และไปมีผลต่อการทำงานของร่างกายอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.1 ต่อมไพเนียล(pineal gland) ของสัตว์เลือดเย็น เช่นปลาปากกลม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดไม่สร้างฮอร์โมนแต่เป็นกลุ่มของเซลล์รับแสง(photoreceptor cell) ที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มเซลล์รับแสงได้ในชั้นเรตินาของนัยน์ตา(photoreceptor cell)ที่มีลัษณะคล้ายกับกลุ่มเซลล์รับแสงในชั้นเรตินาของนัยต์นา อย่างไรก็ตามต่อมนี้ในสัตว์เลือดอุ่นจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีวิวัฒนาการมาเป็นเนื้อยเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนได้ จากการศึกษาพบว่าการทำงานของต่อมนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแสงสว่างและการรับภาพมาก ทั้งนี้เพราะมีเส้นประสาทซิมพาเทติกมาที่ต่อมนี้เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.1 ต่อมไพเนียล(pineal gland) (ต่อ) เมื่อศึกษาสัตว์ที่ตาบอดหรือนำมาไว้ในที่มืดพบว่าต่อมไพเนียลสร้างฮอร์โมนออกมามาก ในสว่างทางตรงกันข้ามถ้านำสัตว์มาอยู่ในที่สว่างตลอดเวลาจะมีผลให้ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนได้น้อยลง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าแสงสว่างมีบทบาทต่อการทำงานของต่อมไพเนียลของสัตว์ ต่อมไพเนียลของคนอยู่ระหว่างเซรีบรัมซีกซ้ายและขวา ทำหน้าที่สร้างเมลาโทนิน(melatonin) ซึ่งทำหน้าที่บอกถึงรอบวันและยังมีหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ให้เติบโตเร็วเกินไปในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นถ้าต่อมนี้ผิดปกติสร้างฮอร์โมนมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าปกติ จากการศึกษาพบว่าเด็กผู้ชายที่มีเนื้องอกที่สมองและมีการทำลายของต่อมไพเนียลเด็กคนนี้จะเข้าสู่วัยหนุ่มเร็วกว่าปกติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.2 ต่อมใต้สมอง(pituitarygland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโพทาลามัส แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ดังภาพที่ 9-5 รูป เนื่องจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลางมีการเจริญและพัฒนามาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันในระยะเอ็มบริโอ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกันซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาทที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเอง แต่มีปลายแอกซอนของเซลล์นิวโรซีครีทอรี(neurosecretory cell) จากไฮโพทาลามัสมาสิ้นสุดและหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง จากนั้นจึงเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนั้นไฮโพทาลามัสยังเป็นแหล่งผลิตและหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า ซึ่งฮอร์โมนที่กระตุ้นหรือยับยั้งนี้ถูกลำเลียงโดยหลอดเลือดจากไฮโพทาลามัสมายังต่อมใต้สมองส่วนหน้า ดังภาพที่ 9-6 ภาพที่ 9-6 ความสัมพันธ์ระหว่างไฮโพทาลามัสกับต่อมใต้สมองในการสร้างและหลังฮอร์โมน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ1-1.5 เซนติเมตร น่าอัศจรรย์ที่เล็กเพียงเท่านี้ แต่มีหน้าที่ต่อร่างกายอย่างมากมาย ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนหน้าผลิตและหลั่งฮอร์โมนชนิดต่างๆ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนนี้ส่วนใหญ่จะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนประสาทจากไฮโพทาลามัส ดังภาพที่ 9-7 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(ต่อ) โกรทฮอร์โมน (growth hormone; GH)มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเต็มโตทั่วๆ ไปของร่างกาย อาจเรียกฮอร์โมนชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า โซมาโตโทรฟิน (somatotrophin hormone; STH) หากมีมากเกินไปในวัยเด็กจะทำให้ร่างกายสูงผิดปกติหรือสภาพร่างยักษ์(gigantism) หากร่างกายขาดออร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีลักษณะเตี้ยแคระหรือสภาพแคระ(dwarfism) ดังภาพที่ 9-8 ก. บางคนอาจมี GH สูงภายหลังที่โตเต็มวัยแล้ว ร่างกายจะไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนักแต่ส่วนที่เป็นกระดุกตามแขน ขา คาง กระดูกขากรรไกรและกระดูกแก้มยังตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้อยู่ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า เรียกลักษณะดังกล่าวนี้ว่า อะโครเมกาลี(acromegaly) ดังภาพที่ 9-8 ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(ต่อ) 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(ต่อ) ภาพที่ 9-8 ผลของโกรทฮอร์โมนต่อคน ก. คนที่มีสภาพร่างกายยักษ์และสภาพแคระ ข. ลักษณะของผู้ป่วยอะโครเมกาลี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(ต่อ) ผู้ใหญ่ที่ขาด GH แม้จะไม่มีลักษณะที่ปรากฏอย่างเด่นชัด แต่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าคนปกติ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียดต่างๆ ทางอารมณ์ได้ ถ้าเครียดมากๆ อาจทำให้สมองได้รับอันตรายได้ง่ายเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อย่างรก็ตามอันตรายที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดชนิดอื่นด้วย โกนาโดโทรฟิน(gonadotrophin; Gn) ประกอบด้วย ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน(follicle stimulating hormone; FSH)และลูทิไนซิงฮอร์โมน(luteinzing hormone; LH) ในเพศชาย FSH กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและหลอดสร้างอสุจิให้สร้างอสุจิส่วน LH กระตุ้นกลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล(interstitial cell) หรือเซลล์เลย์ดิก(Ledig cell)ที่แทรกอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิในอัณฑะที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายคือ เทสโทสเทอโรน(testorterone) ดังภาพที่ 9-9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(ต่อ) ส่วนในเพศหญิง FSH กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิล(folicle) ในรังไข่ ขณะฟอลลิเคิลเจริญจะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงคือ อีสโทรเจน(estrogen) ส่วนLH จะกระตุ้นการตกไข่และเกิดคอร์ปัสลูเทียม คอร์ปัสลูเทียมจะสร้างฮอร์โมนชื่อโพสเจสเทอโรน(progesterone)ทำหน้าที่ร่วมกับอีสโทรเจน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า(ต่อ) โพรแลกทิน(prolactin) กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนม เพื่อเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน(adrenocorticotrophin หรือ adrenocortictrophic hormone; ACTH) ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน(thyroid stimulatig homone; TSH) กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนเป็นปกติ เอนดอร์ฟิน(endorphin) เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน พบว่ามีแหล่งสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าและอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ อีกด้วย เป็นสารที่ทำหน้าทีระงับความเจ็บปวดและเชื่อกันว่าเอนดอร์ฟินยังเป็นสารที่ทำให้มีความคิดในทางสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มความตื่นตัวมีชีวิตชีวาและความสุข ซึ่งสารนี้หลั่งเมื่ออกกำลังกายหรือเมื่อมีอารมณ์แจ่มใส จึงเรียกสารนี้ว่า สารแห่งความสุข ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง นักเรียนทราบมาแล้วว่าต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนที่มีปลายแอกซอนของเซลล์นิวโรซีครีทอรีจากสมองส่วนไฮโพทาลามัสมาสิ้นสุดเป็นจำนวนมาก เซลล์เหล่านี้จะสร้างฮอร์โมนปาระสาทมาปล่อยที่ต่อมใต้สมองส่วนหลังก่อนหลั่งสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายทางกระแสเลือดดังภาพที่ 9-10 ฮอร์โมนประสาทดังกล่าวได้แก่ วาโซเพรสซิน(vasopressin)หรือแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน ทำหน้าที่การดูดกลับน้ำของท่อหน่วยไตและกระตุ้นให้หลอดเลือดอาร์เตอรีหดตัว นักเรียนคิดว่าถ้าร่างกายขาดแนอนติไดยูเรติกฮอร์โมน หรือ ADH จะมีผลอย่างไร ออกซิโทซิน(oxytocin) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่มดลูกบีบตัว จึงเป็นฮฮร์โมนที่แพทย์ฉีดเพื่อช่วยในการคลอดของมารดาที่ฮอร์โมนชนิดนี้น้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ฮอร์โมนนี้ยังกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบๆ ต่อมน้ำนมให้หดตัวเพื่อขับน้ำนมออกมาเลี้ยงลูกอ่อน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

รู้หรือไม่ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ รู้หรือไม่ ต่อมใต้สมองส่วนกลางในสัตว์บางชนิด เช่น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานผลิตฮอร์โมนชื่อว่า เมลาโนไซต์สติมิวเลติงฮอร์โมน(melanocyte stimulating hormone; MSH) ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลังสร้างจากที่ใด ฮอร์โมนใดที่สร้างจากต่อมใต้สมองและมีอวัยวะเป้าหมายเป็นต่อมไร้ท่อ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) ของคนจัดได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ต่อมหนึ่งอยู่ติดกับบริเวณกล่องเสียงมีลักษณ้เป็นพู 2 พู และมีเนื้อเยื่อของต่อมพาราไทรอยด์ติดอยู่ทางด้านหลังข้างละ 2 ต่อม ดังภาพที่ 9-11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) ปีพ.ศ. 2426 ศัลยแพทย์ชาวสวิท ชื่อ อี คอกเคอร์(E. Kocher) ตีพิมพ์ผลที่ได้จากการศึกษาการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ของคนไข้จำนวนหนึ่งออก หลังการผ่าตัดคนไข้มีอาการผิดปกติคือ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เริ่มบวมที่หน้า มือ และเท้า ในที่สุดก็บวมทั้งตัว ผิวหนังของคนไข้แห้งและแข็งเป็นสะเก็ด สมองเสื่อม หลังจากนั้นจึงมีผู้สนใจศึกษาผลของการตัดต่อมไทรอยด์พบว่า ถ้าตัดต่อมไทรอยด์ของสัตว์ทดลองในวัยที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะทำให้ลักษณะของสัตว์เตี้ยแคระ ดังนั้น สิ่งที่น่าสงสัยคือ ต่อมไทรอยด์เกี่ยวข้องกับการเจริญของสัตว์อย่างไร ปีพ.ศ.2438 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ แมกนัส เลวี (Magnus Levy) นำต่อมไทรอยด์ของแกะมาทำให้แห้งและบดละเอียดแล้วให้คนปกติกิน ปรากฎว่าทำให้อัตราเมแทบอลิซึมของร่างกายสูงขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

จากข้อมูลการศึกษาของโบมานน์ นักเรียนจะตั้งสมมุติฐานว่าอย่างไร 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) และในปลายศตวรรษนั้นแพทย์สามารถรักษาคนไข้ที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ได้สำเร็จ โดยให้คนไข้กินต่อมไทรอยด์ของแกะที่บดละเอียด จากการทดลองของเสรี นักเรียนจะตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความสำคัญของต่อมไทรอยด์ได้อย่างไรบ้าง ปีพ.ศ. 2439 ซี ซี โบมานน์ (C.Z. Boumann) วิเคราะห์เนื้อเยื่อต่างๆ ของคนพบว่าเซลล์ในต่อมไทรอยด์มีปริมาณไอโอดีนสูงกว่าเซลล์ในส่วนอื่นถึง 100 เท่า จากข้อมูลการศึกษาของโบมานน์ นักเรียนจะตั้งสมมุติฐานว่าอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

จากการทดลองของมารีน นักเรียนจะสรุปผลการทดลองว่าอย่างไร 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) ปี พ.ศ.2448 เดวิด มารีน (David Marine) ทำการทดลองให้อาหารที่ไม่มีไอโอดีนแก่สัตว์ ปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นโรคคอพอก (simple goiter) และเมื่อให้อาหารที่มีไอโอดีนลงในน้ำดื่อมเพื่อป้องกันการขาดไอโอดีน จากการทดลองของมารีน นักเรียนจะสรุปผลการทดลองว่าอย่างไร ต้นศตวรรษที่ 20 มีผู้สกัดสารเคมีจากต่อมไทรอยด์และเรียกสารที่สกัดได้นี้ว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยและพบว่าแหล่งที่สร้างไทรอกซินในต่อมไทรอยด์คือ กลุ่มเซลล์จำนวนมาก แต่ละกลุ่มเซลล์ประกอบด้วยเซลล์ที่มีความหนาเพียงชั้นเดียวและมีช่องตรงกลาง เรียกกลุ่มเซลล์นี้ว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ทำหน้าที่สร้างไทรอกซินแล้วปล่อยเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดดังภาพที่ 9-12 รูป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) หน้าที่สำคัญของไทรอกซินของคนคือ ควบคุมอัตราเมแทบอลิซิมของร่างกาย นักเรียนอธิบายได้หรือไม่การขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่มีผลต่อร่างกายอย่างไร วงการแพทย์ตรวจพบว่า ต่อมไทรอยด์ของคนบางคนสร้างไทรอกซินได้น้อยกว่าคนปกติทั้งๆ ที่ร่างกายมีปริมาณไอโอดีนอยู่มาก และพบว่าการผลิตไทรอกซินได้น้อยจะแสดงออกในผู้ป่วยที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกันคือ ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีผลให้พัฒนาการทางร่างกายและสมองด้อยลง ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ แขน ขาสั้น ผิวหยาบแห้ง ผมบาง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติและปัญญาอ่อน กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า เครทินิซึม (cretinism) ดังภาพที่ 9-13 ก. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) สำหรับในผู้ใหญ่ การขาดฮอร์โมนไทรอกซินจะทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่มทนความหนาวไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมและผิวหนังแห้ง หัวใจโต ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย มีอาการซึม เฉื่อยชา และความจำเสื่อม กลุ่มอาการเช่นนี้รียกว่า มิกซีดีมา (myxedema) ดังภาพที่ 9-13 ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) สำหรับโรคคอพอกที่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน ทำให้ต่อมไทรอยด์ม่สามารถสร้างไทรอกซินได้ จะมีอาการเหมือนมิกซีดีมาต่มีลักษณะคอโตด้วย ดังภาพ 9-14 ก. เนื่องจากเมื่อต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง TSH มากระตุ้นต่อมไทรอยด์มากเกินไป โดยที่ต่อมนี้ไม่สามารถสร้างไทรอกซินออกไปยับยั้งการหลั่ง TSH จากต่อมใต้สมองได้ จะทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายขนาดผิดปกติ โรคคอพอกอีกชนิดหนึ่งคือ โรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) เนื่องจากต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ผู้ที่เป็นโรคนี้คอจะไม่โตมากนักต่บางคนอาจมีอาการตาโปนด้วยดังภาพที่ 9-14 ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ภาพที่ 9-14 อาการแสดงออกของคนที่เป็นโรคคอพอก 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) สาเหตุเนื่องจากความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย เป็นเหตุไทรอกซินออกมามากกว่าปกติ มีอาการตรงข้ามกับมิกซีดีมา อาจรักษาได้โดยให้คนไข้กินยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนหรือการผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออกหรือให้กินสารไอโอดีนที่เป็นกับมันตภาพรังสีเพื่อทำลายเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อม ภาพที่ 9-14 อาการแสดงออกของคนที่เป็นโรคคอพอก ก. คนที่เป็นโรคคอพอกที่เกิดจากการขาดแร่ธาตุไอโอดีน ข. คนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษอาจมีอาการ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ภาพที่ 9-15 ผลของไทรอกซินต่อเมทามอร์โฟซิสกบ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) นอกจากนี้ไทรอกซินยังสามารถกระตุ้นเมทามอร์โฟซิสของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกโดยมีผู้ศึกษาผลของไทรอกซินกับการเกิดเมทามอร์โฟซิสของกบ ดังภพที่ 9-15 ภาพที่ 9-15 ผลของไทรอกซินต่อเมทามอร์โฟซิสกบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ถ้าลูกอ๊อดขาดไทรอกซินจะมีผลต่อการเจริญอย่างไร 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ถ้าลูกอ๊อดได้รับไทรอกซินมากในระยะแรก การเจริญจะแตกต่างจากลูกอ๊อดที่มีไทรอกซินปกติอย่างไร ถ้าลูกอ๊อดขาดไทรอกซินจะมีผลต่อการเจริญอย่างไร แคลซิโทนิน(calcitonin) เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ แต่สร้างจากกลุ่มเซลล์ที่มีต้นกำเนิดต่างจากไทรอยด์ฟอลลิเคิลเรียกเซลล์นี้ว่า(C-cell)หรือเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์(paraforllicular cell) ซึ่งอยู่ระหว่างฟอลลิเคิล ดังภาพที่ 9-12 หน้าที่ของแคลซิโทนินคือ กระตุ้นการสะสมแคลเซียมที่กระดูก ลดการดูดกลับแคลเซียมที่ไตและลดอัตราการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก ฮอร์โมนนี้ทำงานร่วมกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน D ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) วีดีโอ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.3 ต่อมไทรอยด์(thyroid gland) (ต่อ) วีดีโอ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.4 ต่อมพาราไทรอยด์ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมพาราไทรอยด์(parathyroid gland) คือ พาราทอร์โมน (parathormone) หรือพาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone; PTH) ต่อมนี้มีความสำคัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเท่านั้น ฮอร์โมนจากต่อมนี้มีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเลือดให้คงที่ โดยมีผลสำคัญต่ออวัยวะ 3 แห่ง คือ ผลต่กระดูกช่วยเพิ่มอัตราการสลายแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก ผลต่อไตช่วยเพิ่มการดูดกลับแคลเซียมที่ท่อหน่วยไต แต่กระตุ้นการขับฟอสฟอรัสเฟตออกทางปัสสาวะ ผลต่อทางเดินอาหารช่วยเร่งอัตราการดูดซึมของแคลเซียมเข้าสู่ลำไส้เล็ก การทำงานของ PTH จะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับวิตามินD ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.4 ต่อมพาราไทรอยด์(ต่อ) ถ้าต่อมนี้สร้างพาราทอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ ทำให้การดูดกลับแคลเซียมที่ท่อหน่วยไตและการสลายแคลเซียมจากกระดูกน้อยลง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก การบีบตัวของหัวใจอ่อนลง อาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการดังกล่าวสามารถรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนชนิดนี้พร้อมกับวิตามินD ถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนมากเกินไปจะมีการสลายแคลเซียมจากฟันและกระดูกมายังกระแสเลือด ทำให้แคลเซียมในเลือดสูง กระดูกบาง ฟันผุและหักง่าย การทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ในการควบคุมสมดุลของแคลเซียมจะทำงานร่วมกับต่อมไทรอยด์ ดังภาพที่9-16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน เมื่อกล่าวถึงตับอ่อน(pancreas)นักเรียนคงจำได้ว่าเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนที่สร้างเอนไซม์หลายชนิดส่งไปย่อยอาหารที่ลำเลี้ยงไส้เล็ก เพราะตับอ่อนประกอบด้วยต่อมสร้างเอนไซม์ซึ่งเป็นต่อมที่มีท่อจึงสามารถเลียงเอนไซม์ดังกล่าวมายังลำไส้เล็กได้ มีผู้ศึกษาปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนปกติหลังจากการรับประทานอาหาร ของคนปกติขณะออกกำลังกาย และของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและนำข้อมูลมาแสดงเป็นกราฟได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

นักเรียนจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจากกราฟได้อย่างไร 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ นักเรียนจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจากกราฟได้อย่างไร จากกราฟนักเรียนจะสรุปได้ว่าอย่างไร จะเห็นว่าขณะที่มีการออกกกำลังอย่างหนัก เช่น ว่ายน้ำ วิ่งแข่ง เซลล์จะต้องใช้พลังงานมาก นั้นหมายถึง ต้องใช้กลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญเป็นจำนวนมากด้วย แต่พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ต่างจากระดับปกติมากนัก ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่าขณะที่ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก ไกลโคเจนที่เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อถูกสลายเป็นกลูโคสส่งเข้ากระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดในระดับปกติ แต่เมื่อศึกษาปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) และหลังจากรับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตผู้ป่วยจะมีช่วงเวลาที่มีระดับน้ำตาลปกติอีกด้วย สิ่งที่น่าสนใจคือร่างกายมีกลไกอะไรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ โรคเบาหวานเป็นโรคที่รู้จักกันมานาน แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครงสร้างบางส่วนของตับอ่อน และมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของตับอ่อนดังนี้ ปีพ.ศ.2411 เพาล์ ลังเกอร์ฮันส์ (Paul Langerhans) แห่งมหาวิทยาลัยไฟร์เบิร์กประเทศเยอรมัน สังเกตเห็นกลุ่มเซลล์ที่แตกต่างจากเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของตับอ่อน กลุ่มเซลล์นี้กระจายอยู่เป็นหย่อมๆ มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง ต่อมาเรียกกลุ่มเซลล์นี้เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบว่า ไอส์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์ (islets of Langerhans) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ปีพ.ศ.2432 โยฮันน์ วอน เมอริง (Johann Von Mering) และออสการ์ มินคอฟสกิ (Oscar Minkovski) แสดงให้เห็นว่าการตัดตับอ่อนของสุนัขมีผลต่อการย่อยอาหารประเภทลิพิด ผลการทดลองที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ มีมดขึ้นปัสสาวะของสุนัขที่ถูกตัดตับอ่อนซึ่งแตกต่างจากสุนัขปกติ ต่อมาอีก2 สัปดาห์ สุนัขที่ถูกตัดตับอ่อนตาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ปีพ.ศ.2455 มีผู้ทดลองเพื่อแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์ผลิตสารบางอย่างมาทางกระแสเลือดและให้ชื่อว่า อินซูลิน (insulin) ต่อมาในปีพ.ศ.2463 ศัลยแพทย์ชาวแคนาดาชื่อ เอฟ จี แบนติง (F.G. Banting)และนักศึกษาแพทย์ชื่อ ซี เอช เบสต์ (C.H. Beat) แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต ได้พบหลักฐานบางประการที่ทำให้ทราบว่า ไอสเลตออฟลังเกอร์ฮันส์ผลิตสารควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแบนติงและเบสต์จึงทำการทดลองโดยมัดท่อตับอ่อนของสุนัข ผลปรากฎว่าตับอ่อนไม่สามารถสกัดอินซูลินออกมาได้ เมื่อนำอินซูลินนี้ไปฉีดให้สุนัขที่เป็นโรคเบาหวานภายหลังจากถูกตับอ่อนออกแล้ว ปรากฎว่าสุนัขสามารถมีชีวิตเป็นปกติและสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ จากผลการทดลองนี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางในการช่วยชีวิตคนที่เป็นโรคเบาหวานไว้ได้จำนวนมาก จากผลงานนี้เองทำให้แบนติงได้รับรางวัลในเบลในปีพ.ศ.2466 หลังจากนั้นมีการศึกษาพบว่าไอส์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิดคือ อินซูลิน และกลูคากอน(glucagon) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนสร้างจากกลุ่มเซลล์บีตา (B-cell)ที่บริเวณส่วนกลางของไอส์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์ ดังภาพที่9-18 หน้าที่สำคัญคือ ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติเมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินจะหลั่งออกมามากเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์มากขึ้นและเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ เพื่อเก็บสะสมไว้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่นะดับปกติ ถ้ากลุ่มเซลล์ที่สร้างอินซูลินถูกทำลาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติทำใหเป็นโรคเบาหวาน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.5 ตับอ่อน(pancreas) (ต่อ) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2.6 ต่อมหมวไต(adrenal gland) 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.6 ต่อมหมวไต(adrenal gland) เนื้อหา กับรูป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก ต่อมหมวกไตส่วนนอกจะสร้างฮอร์โมนมากกว่า 50 ชนิด กลุ่มสำคัญที่จะกล่าวถึง มี 3 กลุ่มคือ กลูโคคอร์ติคอยด์ ( glucocorticoids ) ทำหน้าท่หลักในการควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างของฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ คอร์ติซอล (cortisol) มีหน้าที่สำคัญในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยนกรดอะมิโนและกรดไขมันเป็นคารืโบไฮเดรต และเก็บไว้ในลูกของไกลโคจร ทำให้ตับมีไกลโครเจนสะสมสำหรับเปลี่ยนเป็นกลูโคสส่งเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ควบคุม สมดุลของแร่ธาตุได้เล็กน้อย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก(ต่อ) การมีกลูโคสคอร์ติคอยด์มากเกินไป ทำให้เกิดอาการคูชชิง (Cushing,s syndrome) ดังภาพที่ 9 – 21 ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตลิพิดและโปรตีน ระดับน้ำตาลในเส้นเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากมีการสลายโปรตีนในและลิพิดตามบริเวณแขนขา ขณะที่มีการสะสมลิพิดที่บริเวณแกนกลางของลำตัว เช่น ใบหน้าทำให้หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ บริเวณต้นคอมีหนอกยื่นออกมา อาการเช่นนี้อาจพบได้ในผู้พบได้ในผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีคอร์ติโคสเตอรอยด์เป็นส่วนผสมเพื่อป้องกันอาการแพ้หรืออักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานซึ่งฮอร์โมนนี้มีผลต่อการกดภูมิคุมกันของร่างกาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก(ต่อ) 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก(ต่อ) มิเนราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoids) มีหน้าที่หลักในการควบคุมสมดุลของน้ำเละแร่ธาตุในร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ แอลโดสเทอโรน ซึ่งควบคุมการทำงานของไตในการดูดกลับน้ำและโซเดียมเข้าสู่หลอดเลือดและขับโพแทสเซียมออกจากท่อหน่วยไตให้สมดุลกับความต้องการของร่างกายทั้งยังควบคุมสมดุลของความเข้มข้นของฟอสเฟตในร่างกายอีกด้วย การขาดแอลโดสเตอโรนจะมีผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมปัสสาวะเป็ฯจำนวนมากและส่งผลให้ปริมาตรของเส้นเลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ป่วยตายไดเพราะความดันเลือดต่ำ ฮอร์โมนเพศ(sex hormone) ในภาวะปกติฮอร์โมนเพศที่สร้างจากต่อมหมวกไต ส่วนนอกมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศที่สร้างจากอวัยวะเพศ จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไม่มากนัก ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาบทบาทและหน้าที่ของฮอร์โมนเพศในหัวข้อฮอร์โมนที่สร้างจากอวัยยะเพศ อย่างไรก็ดีถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนเพศมากเกินปกติ ย่อมทำให้เกิดความผิดปกติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก(ต่อ) ทางเพศได้ โดยเด็กจะแสดงอาการเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น อวัยวะเพศ มีการเจริญเพิ่มขนาดมากขึ้น มีขนขึ้นตามร่างกายมากขึ้นตามร่างกายปกติ เสียงห้าว ในผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้วถ้ามีฮอร์โมนเพศชายจากต่อมนี้มากจะมีหนวดเคราเกิดขึ้น ถ้าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทำลายจนม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะทำให้เป็น แอดดิสัน (Addison”s disease) ดังภาพที่ 9 – 22 ผู้ป่วยจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุซึ่งจะเป็นเหตุให้ป่วยถึงแก่ความตายได้ การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกควบคุมโดยฮอร์โมนอะไรและฮอร์โมนนี้สร้างมาจากที่ใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก(ต่อ)ต่อมหมวกไตส่วนในสร้างบฮอร์โมนได้ 2 ชนิด ได้แก่ ดอพิเนฟริน (epinephring) หรือ อะดรีนาลีน (adrenaling) และนอร์เอพิเนเนฟริน หรือ นอรือะดรีนาลีน (noradrenaling) ซึ่งฮอร์โมน 2 ชนิดออกฤทธิ์เหมือนกัน มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อของหลอดเลือดอาร์เตอรีขนาดเล็กที่บริเวณหัวใจและกล้ามเนื้อโครงร่าง และการหดตัวของกล้ามเนื้อของหลอดเลือดอาร์เตอรีขนาดเล็ดกบรฺเวรทางเดินอาหารและไต การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนไตส่วนในจะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบปรสาทอัตโนวัติ ในภาวะปกติจะหลั่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย แต่นักเรียนหลายคนคงเคยเห็นเหตุการณ์พิเศษบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น คนขนของหนีไฟไหม้สามารถแบกหรือยกของหนักๆ ได้ ทั้งทีในสภาวะที่ปกติไม่สามารถทำได้ สภาวะที่ร่างกายอยู่ในเหตุการณ์เช่นนี้หมวกไตส่วนในจะถูกกระตุ้นให้หลั่งเอพิเนฟรินออกมามากกว่าปกติทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเมแทบอลิซึมเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะมีพลังงานมากกว่าปกติ นักเรียนบอกด้หรือไม่ว่า สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตส่วนในหลั่งฮอร์โมนออกมากเกินระดับปกติคืออะไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.7 อวัยวะเพศ อวัยวะ ได้แก่ อัณฑะ(testis) และรังไข่(ovary) นอกจากสร้างเซลล์สืบพันธ์แล้วยังทำหน้าที่ต่อมไร้ท่อ สามารถสร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนประเภทสเตอรอยด์ได้หลายชนิด ฮอร์โมนเหล่านี้ควบคุมการทำงานอวัยวะเพศอย่างไร นักเรียนทราบมาแล้วว่าต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH มาควบคุมการเจริญของอวัยวะเพศ ในระยะก่อนวัยหนุ่มสาว อัณฑะและรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศน้อย เมื่อย่างสู่วัยหนุ่มสาว ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่ง FSH และ LH เพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นการเจริญของอัณฑะและรังไข่ ทำให้สร้างเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศได้ปกติ ในเพศชายจะหลั่ง FSH และ LH ในค่อนข้างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้จึงมองไม่เห็นส่วนหน้าจะหลั่ง FSH และ LH เพิ่มขึ้นสูงมากในระยะก่อนตกไข่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.7 อวัยวะเพศ(ต่อ) เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม เซลล์เลย์ดิกจะได้รับการกระตุ้นโดย LH จากต่อมใต้สมอง ส่วนหน้าให้สร้างฮอร์โมนเพศชายซึ่งเรียกว่า แอนโดรเจน (androgens) ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญที่สุดคือ เทสโทสเทอโรน มีหน้าที่ทำให้เพศชายมีความสามารถในการสืบพันธุ์และลักษณะของการแตกเนื้อหนุ่ม เช่น มีลูกกระเดือกเห็นได้ชัด มีขนตามร่างกาย แขน ขา อวัยวะเพศ ไหล่กว้างและสะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตเป็นมัด เป็นต้น รังไข่ นอกจากจะผลิตเซลล์ไข่แล้วยังผลิตฮอร์โมนเพศได้ รังไข่มีแหล่งสร้างฮอร์โมนอยู่ 2 แห่งคือ ฟอลลิเคิลและคอร์ปัสลูเทียม เมื่อตกไข่ได้รับ FSH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะมีการสร้างเซลล์ฟอร์ลิเคิลล้อมรอบโอโอไซต์หลายชั้น ในระยะที่ไข่ไกล้สุกก่อนที่จะหลุดออกจากรังไข่จะมีช่องกลวงตรงกลางในระยะก่อนตกไข่เซลล์ฟอลลิเคิล ซึ่งเรียกว่า การตกไข่หลังจากนั้นฟอลลิเคิลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นคอร์ปัสลูเทียม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.7 อวัยวะเพศ(ต่อ) คอร์ปัสลูเทียมที่จะสร้างโพรเจสเทอโรน และ อีสโทรเจนซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญของเยื่อบุชั้นในของผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ นอกจากนั้นยังมีส่วนกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญแต่ไม่กระตุ้นการสร้างน้ำนม ดังภาพ 9 - 23 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.7 อวัยวะเพศ(ต่อ) ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกไม่ได้รับการผสมจากอสุจิ คอร์ปัสลูเทียมจะเปลี่ยนแปลงและจะหยุดสร้างโพรเจสเทอโรน ให้เยื่อบุผนังมดลูกสลายตัวถูกขับออกจากมดลูกเรียกว่า ประจำเดือน (menstruation) และมีการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลชุดใหม่ โดยการควบคุมจาก FSH หรือ LH จากต่อมใต้สมอง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ จากภาพที่ 9-24 ช่วงที่มีปริมาณอีสโทรเจนสูงที่สุดจะเกิดการสร้างไข่ในรังไข่ถึงขั้นตอนใด และความหนาของผนังชั้นในของมดลูกมีลักษณะอย่างไร ในช่วงหลังจากการตกไข่ รังไข่จะผลิตฮอร์โมนชนิดใดได้สูงที่สูง ในช่วงนั้นผนังชั้นในของมดลูกจะมีความหนามากน้อยเพียงใด 9.2.8 รก หลังจากเอ็มบริโอฝังตัวมี่ผนังมดลูกแล้ว เซลล์ของรก (placenta) จะเริ่มหลั่งฮอร์โมน ชื่อ ฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (human chorionic gonadotrophin; HCG) เพื่อกระตุ้นคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ให้เจริญต่อไปและสร้างโพรเจสเทอโรนเพิ่มขึ้น 9.2.9 ไทมัส (thymus) ไทมัส (thymus) เป็นอวัยวะที่มีลักษณะสีชมพู มีตำแหน่งอยู่ระหว่างกระดูกอกกับหลอดใหญ่ของหัวใจ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือดขาวคือลิมโฟไซต์ชนิดทีหรือเซลล์ที การแบ่งเซลล์และพัฒนาการของลิมโฟไซต์ชนิดทีอาศัยไทโมซิน ซึ่งสร้างจากเซลล์บางส่วนของไทมัส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.9 ไทมัส (thymus) (ต่อ) ดังนั้นไทโมซินจึงเป็นฮอร์โมนที่เกียวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย 9.2.10 กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เมื่อกล่าวถึงกระเพราะอาหารและลำไส้เล็ก นักเรียนคงนึกถึงการสร้างเอนไซม์ชนิดต่างๆ นอกจากนี้อวัยวะทั้งสองยังสามารถสร้างและหลั่งฮอร์โมนได้ด้วย แกสตริน (gastirn) สร้างจากกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่กระตุ้นการหลั่งเอนไซม์เละกรดไฮโดรคลอริกจากกระเพาะอาหาร ถ้ากระเพาะอาหารผลิตแกสตรินน้อยลงจะมีผลต่อระบบย่อยอาหารหรือไม่ อย่างไร ซีครีทิน (secretin) สร้างจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ขณะที่อาหารที่มีความเป็นกรดจากกระเพาะอาหารผ่านเข้าไปในดูโอดีนัม ซ๊ครีทินจะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งโซเดียม ไฮฌดรเจนคาร์บอเนต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สำคัญ 9.2.10 กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก(ต่อ) คอลีซิสโตไคนิน (cholecystokinin) สร้างจากดูโอดีนัม กระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดีและตับอ่อนให้หลั่งเอนไซม์ กิจกรรมที่ 9.1 สรุปการทำงานของต่อมไร้ท่อ วิธีการ ให้นักเรียนเขียนแผนภาพหรือแผนผังสรุปการทำงานของต่อมไร้ท่อต่อไปนี้ 1.1 ต่อมรท่อที่เป็นอิสระจากต่อมใต้สมอง 1.2 ต่อมไร้ท่อที่ควบคุมด้วยระบบประสาท 1.3 ต่อมไร้ท่อที่ถูกควบคุมจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า 2. จากต่อมมไร้ท่อในข้อ 1 จงเขียนหน้าที่และอวัยวะเป้าหมายของฮอร์โมนจากต่อมนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.3 ดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน จากการศึกษาการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ นักรียนจะเห็นว่า การสร้างฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อจะต้องมีสิ่งเร้าทีเฉพาะมากระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนและฮอร์โมนแต่ละชนิดจะควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจงด้วย เช่น ในเพศหญิง FSHจะควบคุมการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลในรังไข่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับการกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทั้งที่ FSH ก็ถูกลำเลียงไปยังอวัยวะเป้าหมายโดยกระแสเลือดเช่นเดียวกัน เนื่องจากอวัยวะเป้าหมายมีตัวรับที่จำเพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนแต่ละชนิด คำถามนำ ร่างกายมีกลไกลในการรักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายด้วยฮอร์โมนอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.3 ดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าตัวรับฮอร์โมนของเซลล์เป้าหมายเป็นโปรตีน ถ้าเซลล์เป้าหมายไม่มีตัวรับฮอร์โมนของเซลล์ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สาเหตุเกิดจากเซลล์ของผู้ป่วยไม่สามารถสังเคราะห์ตัวรับต่ออินซูลิน ดังนั้นแม้ว่าตับอ่อนของผู้ป่วยจะผลิตอินซูลินได้อินซูลินก็ทำงานไม่ได้ทำให้มีระดับน้ำตาลในเส้นเลือดสูง กรณีเช่นผู้ป่วยจึงไม่สามารถรับการรักษาได้ด้วยการฉีดอินซูลิน แต่ต้องควบคุมอาหารโดยการลดคาร์โบไฮเดรตจึงจะได้ผล อย่างไรก็ตามหากต่อมไร้ท่อรับสัญญาณจากสิ่งเร้าให้หลั่งฮอร์โมนโดยไม่จำกัด อวัยวะเป้าหมายถูกกระตุ้นให้ทำงานตลอดเวลาทำให้เกิดผลเสียจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายจึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ โดยระบบควบคุมดังกล่าวอาจเป็นปริมาณของฮอร์โมนเอง หรือระดับสารเคมีอื่นๆในเลือด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.3 ดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน การหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง อุณหภูมิที่ร่างกายรับรู้ผ่านทางระบบประสาท และยังเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายในร่างกาย เช่น อิทธิพลของฮอร์โมนอื่นๆ ระดับต่างๆ ในเลือด เป็นต้น นอกจากนี้การหลั่งฮอร์โมนยังถูกควบคุมวิธีการควบคุมแบบป้อนกลับ(feedback contron) เช่น เมื่อระดับ Ca2+ ในเลือดของร่างกายลดลงกว่าปกติ ก็จะไปควบคุมต่อมพาราไทรอยด์จะหลั่งพาราทอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย เช่น Ca2+ จะถูกสลายออกมาจากกระดูกเพิ่มขึ้นจนถึงระดับปกติ เมื่อระดับ Ca2+ อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะไปควบคุมต่อมพาราไทรอยด์ให้ยับยั้งการหลั่งพาราเทอร์โมน ดังภาพที่ 9 - 25 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.3 ดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน วิธีการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบป้อนกลับในลักษณะนี้เรียกว่า การควบคุมแบบการป้อนกลับยับยั้ง โดยฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะมีผลไปยับยั้งอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนนั้น อย่างไรก็ดียังมีฮอร์โมนบางชนิดแทนที่จะไปยับยั้ง แต่กลับไปมีผลกระตุ้นการทำงานของต่อมไรท่อ เช่น ขณะคลอดศีรษะของทารกจะขยายปากมดลูกให้กว้างออก หน่วยรับความรู้สึกบริเวณปากมดลูกจะส่งกระแสประสาทไปยังต่อมใต้สมองส่วนหลั่งออกซิโทซินกระตุ้นการบีบตัวกล้ามเนื้อมดลูกให้ดันทารกออกมาเพื่อขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้นยิ่งปากมดลูกให้กว้างขึ้นยิ่งปากมดลูกกว้างขึ้นก็ยิ่งมีผลกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซินมากขึ้น จนกระทั่งทารกคลอดออกมาแล้วการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินจะหยุดลง วิธีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินจะหยุดลง วิธีการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบป้อนกลับในลักษณะนี้เรียกว่า การควบคุมแบบป้อนกลับกระตุ้น ดังภาพ 9 - 26 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9.3 ดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมมดจึงเดินตามกันจากรังไปยังแหล่งอาหาร นักวิทยาศาสตร์พบว่าสาเหตุที่มดเดินตามกันเพราะว่าขณะที่มดจะออกไปหาอาหาร มดตัวหน้าจะปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งที่ติดอยู่กับต่อมเหล็กในไปตามางที่มันเดินไปยังแหล่งอาหารเราจะเห็นมดเดินตามกันเป็นแถว สารเคมีที่ปล่อยออกมาเป็นสื่อสารทำให้รู้ว่าเป็นพวกดียวกันและสื่อสารให้มดตัวื่นรับรู้ทางเดินที่นำไปสู่แหล่งอาหารหรือรังของมด ดังภาพที่ 9 - 27 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองกับพี่เสื้อไหม ดังภาพที่ 9-28 โดยแยกผีเสื้อไหมเพศผู้กับเพศเมียออกจากกัน แล้วนำกลุ่มผีเสื้อไหมเพศเมียมาวางในครอบแก้วและนำไปวางท่ามกลางกลุ่มผีเสื้อไหมเพศผู้ ปรากฏว่าเพศผู้ไม่แสดงความสนใจเพศเมียทั้งที่มองเห็นกันได้ ดังภาพที่ 9-28 ก. แต่เมื่อเปิดฝาครอบแก้วออกพบว่าเพศผู้ทุกตัวที่เข้าหาเพศเมีย ดังภาพที่ 9-28 ข. นักเรียนจะอธิบายผลการทดลองนี้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน เมื่อนำกรงผีเสื้อไหมเพศเมียมาวางใต้ทิศทางลมที่เปิดพัดลมตลอดเวลา ปรากฏว่าผีเสื้อไหมเพศผู้ไม่มีปฎิกิริยาใดๆ ในทางตรงกันข้ามถ้าวางกรงผีเสื้อไหมเพศเมียไว้เหนือลม ปรากฏว่าผีเสื้อไหมเพศผู้จะเคลื่อนที่เข้าหาเพศเมีย ดังภาพที่ 9-28 ค.-ง. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน จากข้อมูลดังกล่าวเป็นไปได้หรือไม่ว่า การบินเข้าหาของเพศผู้เนื่องจากได้รับรู้สารบางอย่างจากผีเสื้อไหมเพศเมีย จากการศึกษาพบว่า ผีเสื้อไหมเพศเมียผลิตสารจากต่อมบริเวณปล้องสุดท้ายยของส่วนท้อง เพื่อดึงดูดให้ผีเสื้อไหมเพศผู้สนใจ เมื่อใช้กระดาษกรองไปแตะซับปล้องสุดท้ายของผีเสื้อไหมเพศเมีย แล้วนำกระดาษกรองนั้นไปวางไว้ท่ามกลางผีเสื้อไหมเพศผู้ พบว่าผีเสื้อไหมเพศผู้เคลื่อนที่เข้าหากระดาษกรองแผ่นนั้นทั้งที่ไม่มีผีเสื้อไหมเพศเมียอยู่เลย ดังภาพที่ 9-28 จ. จากข้อมูลดังกล่าวนักเรียนได้ข้อสรุปว่าอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน เมื่อผีเสื้อไหมเพศเมียไปวางท่ามกลางผีเสื้อไหมเพศผู้ปกติและผีเสื้อไหมเพศผู้ที่ตัดหนวดออกปรากฎว่าผีเสื้อเพศปกติเท่านั้นที่เคลื่อนที่เข้าหาผีเสื้อเพศเมีย ดังภาพที่ 9-28 ฉ. จากกรณีตัวอย่างนี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกสารเคมีที่แมลงผลิตมาใช้สื่อสารระหว่างกันเพื่อนำทางหรือสื่อเพื่อดึงดูดเพศตรงข้ามว่า ฟีโรโมน(pheromone) ซึ่งหมายถึงสารเคมีที่ผลิตจากต่อมมีท่อของสัตว์ที่สร้างออกมาแล้วไม่มีผลต่อร่างกายของสัตว์เองต่สามารถไปมีผลต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมได้ นักเรียนทราบหรือไม่ว่าสัตว์มีวิธีการรับฟีโรโมนได้ทางใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน ฟีโรโมนบางชนิด เมื่อสัตว์ได้รับแล้วจะกระตุ้นและแสดงพฤติกรรมออกทันที เช่น ผีเสื้อกลางคืนเพศเมียบางชนิดปล่อยสารดึงดูดเพศผู้ให้บินเข้าหาจากระยะทางไกล 3 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้นเพื่อผสมพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมียที่อยู่ในระยะพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะปล่อยฟีโรโมนออกมาเมื่อเพศผู้ได้รับฟีโรโมนก็จะตามกลิ่นมาเพื่อผสมพันธุ์ดังภาพที่ 9-29 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน  นอกจากนี้สัตว์บางชนิดยังใช้ฟีโรโมนในการบอกอาณาเขตของตน เช่น สุนัข และเสือจะปล่อยฟีโรโมนออกมาพร้อมปัสสวะ เป็นต้น ฟีโรโมนบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของผู้รับในระยะยาวมีผู้ศึกษาพบว่า ฟีโรโมนของหนูเพศผู้สามารถกระตุ้นวัฎจักรการสืบพันธุ์ของหนูทดลองเพศเมีย แม้ว่าหนูเพศเมียจะไม่เห็นหรือไม่ได้ยินเสียงหนูเพศผู้ก็ตาแมลงที่ข่วยม และยังพบว่าหนึเพศเมียที่กำลังท้องหากได้รับกลิ่นของหนูเพศผู้แปลกหน้าอาจแท้งได้ ปัจจุบันมนุษย์ได้พยายามค้นหาวิธีการต่างๆ มาใช้ในการลดการใช้สารฆ่าแมลงเพราะเป็นที่ทราบกันดีถึงโทษของสารฆ่าแมลงดังกล่าว โดยเฉพาะพวกที่มีพิษตกค้างระยะยาวในพืชและสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ดึดีที หรือแม้กระทั่งออร์แกโนฟอสเฟตซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงที่สลายตัวง่าย มีสารตกค้างในระยะสั้นแต่มีอันตรายสูงมาก จึงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ชนิดต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน และแมลงที่ช่วยผสมเกสรในพืชผลต่างๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 9.4 ฟีโรโมน นอกจากนี้แมลงที่เป็นศัตรูพืชยังสามารถต้านทานต่อสารฆ่าแมลง ทำให้มีนักวิทยาสศาตร์เริ่มทำฟีโรโมนมาใช้ในการป้องกันและฆ่าแมลง เพราะสารเหล่านี้ไม่ได้มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และยังไม่ปรากฏว่ามีแมลงชนิดใดสามารถสร้างความต้านทานต่อฟีโรโมนได้เนื่องจากเป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในแมลง จากที่กล่าวมาแล้วเรื่องระบบประสาท อวัยวะรับรู้ความรู้สึก และฮอร์โมน จะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นได้ การตอบสนองดังกล่าวจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดยของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปสัตว์สามารถสนองต่อสิ่งเร้าได้รวดเร็วและสังเกตได้ง่าย เช่น การกินอาหาร การวิ่งหนีศัตรู เป็นต้น กิริยาที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกมาเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเรียกว่า พฤติกรรม(behavior) ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในบทต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 9 1. จงเปรียบเทียบการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทในการควบคุมสภาวะสมดุลของร่างกาย 2. จงอธิบายความสำคัญของต่อมใต้สมองไฮโพทาลามัส 3. จงอธิบายอาการและสาเหตุของอาการต่อไปนี้ 3.1มิกซีดีมา 3.2สภาพร่างยักษ์ 3.3อะโคเมกาลี 4.จงศึกษาข้อมูลนี้แล้วตอบคำถาม จากการศึกษความเข้มข้นของออร์โมน(A B C และ D) ในรอบเดือนของหญิงคนหนึ่งได้ข้อมูล ดังตาราง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

ความเข้มข้นของฮอร์โมนเพศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามท้ายบทที่ 9 วันที่ ความเข้มข้นของฮอร์โมนเพศ (หน่วยต่อลิตร) A B C D 1 0.6 9 30 15 2.3 180 2 0.8 11 40 12 16 3.7 8 150 14 3 1.0 13 50 17 5.8 120 10 4 70 18 8.3 100 5 80 19 10.4 7 6 1.2 20 12.0 130 21 25 1.3 140 22 11.8 1.5 23 10.3 200 24 7.2 220 4.0 1.6 230 26 3.0 1.8 75 27 2.0 58 28 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

คำถามท้ายบทที่ 9 4.1 จงเขียนกราฟจากข้อมูลนี้ 4.2 จากข้อมูลนี้ ฮอร์โมน A B C และ D คือฮอร์โมนอะไร 4.3 ฮอร์โมนใดที่สร้างจากคอร์ปัสลูเทียม 5. จงอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในดุลยภาพ 6. ต่อมสร้างเอนไซม์และต่อมที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 7. นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเซลล์บีตาของไอส์เลตออฟลังกอร์ฮันส์ถูกทำลาย 8. จงบอกประโยชน์ทางการแพทย์ของวาโซเพรสซิน