งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สัญลักษณ์แสดง ความอันตรายของสารเคมี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สัญลักษณ์แสดง ความอันตรายของสารเคมี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สัญลักษณ์แสดง ความอันตรายของสารเคมี

2 การจัดทำป้ายคำเตือนและกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs)
Herbert William Heinrich ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน พบว่าอุบัติเหตุภายในโรงงานส่วนใหญ่เกิดจากความผิดพลาดด้านการทำงานของบุคคล 88 % การใช้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ชำรุดเสียหาย 10 % และเหตุสุดวิสัย 2 % อันเป็นที่มาของกฏ จะเห็นได้ชัดว่าเกือบ 98 % สามารถควบคุมได้หากมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ อุบัติภัยที่เกิดขึ้นจากสารเคมี การเข้าไปสัมผัสหรือทำงานร่วมกับสารเคมี การจัดทำป้ายคำเตือนและกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs)

3 ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้ 1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ หรือก่อให้เกิดความพินาศ เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้        

4 ประเภท 1 - ระเบิดได้ (Explosives) สารระเบิดได้ หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว

5 ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases) ก๊าซ หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300 กิโลปาสคาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซ อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศา เซลเซียส และมีความดัน กิโลปาสคาล ได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซใน สภาพของเหลว ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงก๊าซที่ละลายใน สารละลายภายใต้ความดัน 2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases) 2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) 2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases)

6 ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)
ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup Test) หรือไม่เกิน 65.6 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test) ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ

7 ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ 4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) 4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases)

8 ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 5
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) 5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ 6.1 สารพิษ (Toxic Substances) 6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances)

9 ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า ไมโครคูรีต่อกรัม ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง

10 ประเภทที่ 9 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่าง เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้อง ควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง

11 Explosives with a mass explosion hazard
รายการ UN Class Class คำอธิบาย (อังกฤษ) คำอธิบาย (ไทย)   1   Explosives   วัตถุระเบิด   1.1   Explosives with a mass explosion hazard   สารและสิ่งของที่มีอันตรายประเภทระเบิดทั้งมวล   1.1A    Primary explosive substance       1.1B    Article containing a primary explosive substance and not containing two or more effective protective features. Some articles, such as detonators for blasting, detonator assemblies for blasting and primers, cap-type, are included, even though they do not contain primary explosives   1.1C    Propellant explosive substance or other deflagrating explosive substance or article containing such explosive substance   1.2   Explosives with a projection hazard   สารและสิ่งของที่มีอันตรายที่เกิดจากการยิงแต่ไม่เกิดการระเบิดทั้งมวล

12 DOT Labels

13 UN Markings Guide

14

15 Packing Group X - High Hazard Level - Packing Groups I, II and III Y - Medium Hazard Level - Packing Groups II and III Z - Low Hazard Level - Packing Groups III only

16

17 International Air Transport Association (IATA).
Shipping Biologicals International Air Transport Association (IATA).

18 2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนด สัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่  สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)  สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)  สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)  สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย

19 NFPA Rating Explanation Guide

20 ที่มาของภาพ: สุเมธา วิเชียรเพชร

21  3. ระบบ EEC (The European Economic Council)ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออก ตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อ กำกับที่มุมขวา ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่ที่ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป สัญลักษณ์ดังกล่าวแสดง

22

23 4. ระบบ GHS - The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals เป็นระบบการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลากที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น เพื่อให้เป็นระบบสากลในการจําแนกหรือการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการสื่อสาร ความเป็นอันตรายของ สารเคมีในรูปแบบของการแสดงฉลากและ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก

24 GHS Pictograms and Hazard Classes
Oxidizers Flammables Self Reactives Pyrophorics Self-Heating Emits Flammable Gas Organic Peroxides Explosives Acute toxicity (severe) Corrosives Gases Under Pressure Carcinogen Respiratory Sensitizer Reproductive Toxicity Target Organ Toxicity Mutagenicity Aspiration Toxicity Environmental Toxicity Irritant Dermal Sensitizer Acute toxicity (harmful) Narcotic Effects Respiratory Tract Irritation

25 Transport "Pictograms" Flammable Liquid Flammable Gas Flammable Aerosol Flammable solid Self-Reactive Substances Pyrophorics (Spontaneously Combustible) Self-Heating Substances Substances, which in contact with water, emit flammable gases (Dangerous When Wet) Oxidizing Gases Oxidizing Liquids Oxidizing Solids Explosive Divisions 1.1, 1.2, 1.3

26 Acute Toxicity (Poison): Oral, Dermal, Inhalation
Explosive Division 1.4 Explosive Division 1.5 Explosive Division 1.6 Compressed Gases Acute Toxicity (Poison): Oral, Dermal, Inhalation Corrosive Marine Pollutant Organic Peroxides

27 ACUTE ORAL TOXICITY - Annex 1
Category 1 Category 2 Category 3 Category 4 Category 5 LD50 £ 5 mg/kg > 5 < 50 mg/kg ³ 50 < 300 mg/kg ³ 300 < 2000 mg/kg ³ 2000 < 5000 mg/kg Pictogram No symbol Signal word Danger Warning Hazard statement Fatal if swallowed Toxic if swallowed Harmful if swallowed May be harmful if swallowed

28

29

30

31

32 ADR: Orange-coloured plate
European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road ( ฝรั่งเศส: Accord europe’en relatif au transport international des marchan-dises Dangereuses par Route; ADR ) เป็นข้อตกลงที่บังคับใช้อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรป เริ่มนำมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ โดยความมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนระหว่างประเทศ และจัดทำข้อตกลงต่างๆ ให้เป็นระเบียบเดียวกัน

33 สัญลักษณ์ป้ายสีส้ม จะพบเป็นป้ายรูปสี่เหลี่ยม ใช้ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีส้ม ภายในชุดตัวเลขด้านบนคือ Hazard Identification Number ส่วนชุดตัวเลขด้านล่างคือ UN Number

34 Hazard Indentification Number
ได้กำหนดความหมายของตัวเลขแต่ละตัวเอาไว้ดังนี้ 2 = มีแก๊สปล่อยออกมาได้ เนื่องจากมีแรงดันหรือปฏิกิริยาทางเคมี Emission of gas due to pressure or to chemical reaction 3 = ของเหลว (หรือไอ) และแก๊สนี้ไวไฟ หรือของเหลวนี้ทำให้เกิดความร้อนได้เอง Flammability of liquids (vapours) and gases or self-heating liquid 4 = ของแข็งนี้ไวไฟ หรือของแข็งนี้ทำให้เกิดความร้อนได้เอง Flammability of solids or self-heating solid 5 = สารออกซิไดส์ (จะทำให้ไฟโหมรุนแรงขึ้น) Oxidizing (fire-intensifying) effect 6 = สารนี้มีความเป็นพิษหรือก่อความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Toxicity or risk of infection

35 7 = สารกัมมันตรังสี Radioactivity
8 = สารกัดกร่อน Corrosivity 9 = สารนี้ก่อความเสี่ยงในการเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงได้เอง (เช่น ระเบิด สลายตัว ก่อปฏิกิริยาโพลีเมอร์ หลังจากที่ปล่อยความร้อน เปลวไฟ หรือแก๊สพิษออกมา) Risk of spontaneous violent reaction (e.g. explosion, disintegration and polymerization reaction following the release of considerable heat or flammable and/or toxic gases)

36 หากอันตรายนั้นๆ มีความรุนแรงอย่างมาก จะทำการระบุเลขซ้ำกันสองครั้ง (ทำให้บางคนอาจเรียกรหัสชนิดนี้ว่า รหัสเลขเบิ้ล) เช่น 22 , 33, 44 แต่หากใช้ตัวเลขระบุอันตรายตัวเดียว ให้ใส่ 0 ลงไปเป็นหลักที่สอง เช่น 20, 30, 40 รหัสที่มีตัวอักษร X นำหน้า หมายถึงสารนี้ทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ เช่น X323, X338, X423, X80 การจะใช้นำดับไฟหรือเก็บล้าง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน ชุดรหัส 2 – 3 หลักที่มีตัวเลขทั้งกลุ่มเดียวและหลายกลุ่มอยู่ด้วยกัน เช่น 22, 33, 323, 362, 446, 842 แต่ละชุดมีความหมายเฉพาะของตัวเอง ดังนี้

37 23 : flammable gas 239 : flammable gas, which can spontaneously lead to violent reaction 25 : oxidizing (fire-intensifying) gas 26 : toxic gas 263 : toxic gas, flammable 40 : flammable solid, or self-reactive substance, or self-heating substance 423 : solid which reacts with water, emitting flammable gases, or flammable solid which reacts with water, emitting flammable gases or self-heating solid which reacts with water, emitting flammable gases X423 : solid which reacts dangerously with water, emitting flammable gases, or flammable solid which reacts dangerously with water, emitting flammable gases, or self-heating solid which reacts dangerously with water, emitting flammable gases

38 UN Number จะเป็นตัวเลข 4 หลัก ตัวเลขชุดนี้กำหนดโดยสหประชาชาติ (United Nations) ปัจจุบันกำหนดไว้ตั้งแต่ 0001 ถึงประมาณ 3500 โดยตัวเลขชุดหนึ่งจะหมายถึงสารเคมีหรือกลุ่มของสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายกันกลุ่มหนึ่ง การดูเลขรหัส UN Number สามารถดูได้จากหนังสือ Recommendations on the transport of dangerous goods ที่ออกโดยสหประชาชาติ หรือในหนังสือ ADR ฉบับเต็ม หรือฐานข้อมูลอื่นๆ ที่มีการระบุรหัสเหล่านี้ไว้ก็ได้

39 ป้ายระบุอันตรายของน้ำมันเชื้อเพลิง
Hazard Identification Number = 33 หมายถึง เป็นของเหลวไวไฟ UN Number = 1203 หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิง ป้ายระบุอันตรายของน้ำมันเชื้อเพลิง

40 Note the extra requirement for vehicles carrying class 1 (explosives) and class 7 (radio-active substances) to display placards (hazard diamonds) on both sides and the rear of the vehicle

41 Plus EHS mark where appropriate on both sides and rear


ดาวน์โหลด ppt สัญลักษณ์แสดง ความอันตรายของสารเคมี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google