งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของ“ไคเซ็น” ถ้าเราไม่จำกัดความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้ชัดเจนแล้ว ก็จะไม่สามารถคุยถึงเรื่องนี้ได้ต่อไป โดยปกติพวกเราคุ้นเคยกับคำว่า “ไคเซ็น (การปรับปรุง)”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของ“ไคเซ็น” ถ้าเราไม่จำกัดความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้ชัดเจนแล้ว ก็จะไม่สามารถคุยถึงเรื่องนี้ได้ต่อไป โดยปกติพวกเราคุ้นเคยกับคำว่า “ไคเซ็น (การปรับปรุง)”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายของ“ไคเซ็น” ถ้าเราไม่จำกัดความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้ชัดเจนแล้ว ก็จะไม่สามารถคุยถึงเรื่องนี้ได้ต่อไป โดยปกติพวกเราคุ้นเคยกับคำว่า “ไคเซ็น (การปรับปรุง)” ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงทำให้รู้สึกเหมือนว่าเข้าใจถึงคำนี้ดี ใคร ๆ ก็คิดว่าเข้าใจคำนี้มาตั้งนานแล้ว แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง แต่ละคนใช้คำว่า “ไคเซ็น” ในความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นถึงแม้ว่าจะใช้คำว่า “ไคเซ็น” เหมือนกัน แต่ก็เข้าใจถึงความหมายของไคเซ็นต่างกันและนั้นเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสับสนในกิจกรรมไคเซ็น ในการส่งเสริมกิจกรรมไคเซ็นนั้น สิ่งที่ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกก็คือการทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้กระจ่าง มิฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากว่า “กรุณาทำไคเซ็น” “ทำไคเซ็นกันเถอะ” ถ้าเช่นนั้นคำว่า “ไคเซ็น” นั้นมีความหมายอย่างไร ในตัวหนังสือญี่ปุ่นนั้นแปลตามตัวได้ว่า “ปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น” อาจจะทำให้บางคนพอเข้าใจขึ้นมาบ้างแต่ในโลกนี้ย่อมไม่มีคำนิยามใด ๆ ที่จะทำให้คนเข้าใจได้ทันที ถ้าอย่างนั้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายจะนิยามคำว่า “ไคเซ็น  คือ การทำงานให้น้อยลง”   บางท่านตกใจว่าทำงานให้น้อยลงหรือ ไม่มีทางหรอก “ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเป็นเรื่องใหญ่มาก จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นของเสียจะมากขึ้นด้วย”  แต่นั้นคือการทำงานให้น้อยลงแบบปล่อยปละละเลยมักง่ายก็ย่อมทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นจึงขอใส่เงื่อนไขเข้าไปอีกข้อหนึ่งคือ “ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่ ดังนั้น “ไคเซ็น คือ การทำงานให้น้อยลงด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่”

2 กิจกรรมไคเซ็นคือ “กิจกรรมที่ทำให้ทำงานน้อยลง”
การส่งเสริมการทำกิจกรรมไคเซ็น คือ การรณรงค์ให้ทั้งบริษัท “ทำงานให้น้อยลง” ในสมัยก่อนการที่จะบรรลุหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมานั้น วิธีที่ชอบใช้กันก็คือ พยายามเข้าไป ทำอย่างเต็มที่  แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่ต้องการประหยัดเวลา ไม่สามารถนำวิธีเหล่านี้มาใช้ได้อีกต่อไปในการบรรลุเป้าหมายการทำงานนั้น พนักงานจำเป็นจะต้องทำงานให้น้อยลงแน่นอจะต้องเป็นการไคเซ็นที่มี “การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนหรือวิธีการทำงาน”      ปัจจุบันเป็นสมัยที่ต้องใช้ “การประดิษฐ์คิดค้น” ซึ่งก็คือ “การทำงานให้น้อยลงโดยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน” ถ้ามีคนบอกว่าให้พยายามทำไปเถอะ จะไม่ค่อยมีใครชอบ แต่ถ้าบอกว่า ทำงานให้น้อยลงแล้วละก็ทุกคนย่อมยินดี ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ไคเซ็นจะถูกรังเกียจ คนที่รังเกียจหรือต่อต้านกิจกรรมไคเซ็น อาจจะเป็นคนที่เข้าใจความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ผิดไปก็ได้ ไคเซ็นไม่ใช่เป็น “การทำให้มาก” ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นการสนับสนุนให้เกิด “การประดิษฐ์คิดค้น” เพื่อจะได้ “ทำงานให้น้อยลง”       ทำให้มาก กับ ทำให้น้อย นั้นต่างก็ “ทำ” เหมือนกันแต่ความหมายตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง และผลที่เกิดจากคำสองคำนี้ก็ต่างกันไปด้วย “ทำให้มาก” คือ การเพิ่มแรงงานและเวลาเพื่อที่จะทำให้ผลงานเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม “ทำให้น้อยลง” คือ การลดหรือไม่เพิ่มปัจจัยนำเข้าแต่กลับสามารถสร้างผลงานได้มากขึ้น การจะเป็นเช่นนี้ได้ก็ต้องเกิดจากการเปลี่ยน “ขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทาง หรือวิธีการทำงาน”

3 กิจกรรมไคเซ็น ทำเพื่อใคร
บางคนพอได้ยินคำว่า “ไคเซ็น” แล้วจะมีความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้น นอกจากนั้นบางคนยังรู้สึกไม่ยอมรับ ไม่ถูกกับไคเซ็นก็มี คนเหล่านั้นคิดว่า “ไคเซ็นนั้นเป็นการทำเพื่อบริษัท” คิดว่าบริษัทเรียกร้องให้ทำไคเซ็นเพื่อประโยชน์ของบริษัท ดังนั้นถ้าให้ความร่วมมือก็จะทำให้ผู้ใช้แรงงานเสียผลประโยชน์เป็นต้น หรือในทางตรงกันข้ามอาจมีบางคนที่พูดหรือเสนอทำนองว่า “พวกผมทำสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อความเจริญของบริษัทอุทิศให้แก่บริษัท”       ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม จัดเป็นประเภทเดียวกันคือ “เข้าใจความหมายผิดไป”  ไคเซ็นไม่ใช่ทำเพื่อ ”บริษัท” ไคเซ็นทำเพื่อ “ตัวเราเอง” การทำให้สามารถทำงานของตนเองได้ง่าย สะดวกสบายขึ้นก็คือ ไคเซ็น         หากคิดว่าบริษัทที่เรียกร้องให้พนักงานทำไคเซ็นเพื่อบริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ล้าสมัยแล้ว พนักงานที่คิดว่า “ทำไคเซ็นเพื่อบริษัท” ก็เป็นพนักงานที่ตกรุ่นเช่นเดียวกัน       ในกรณีเช่นนี้ถึงแม้ว่าเปลือกนอกจะดูเหมือนว่า มีการทำไคเซ็นก็ตามแต่ก็เป็นเพียงการทำอย่างที่ไม่ตั้งใจทำ มีเพียงความรู้สึกว่า “ถูกบังคับให้ทำ

4 กลยุทธในการทำไคเซ็น วิธีการดำเนินกิจกรรม KAIZEN เนื่องจากกิจกรรมไคเซ็นเป็นเทคนิคของการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเอง เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายได้สบายกว่าเดิม ดังนั้น จึงต้องเริ่มจากการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน ให้เอื้ออำนวยต่อผู้ปฏิบัติงาน ให้ตระหนักในความยากลำบากในการทำงานที่มีความสูญเปล่าเป็นส่วนเกินที่ไม่พึงปรารถนา ที่ตนเองสัมผัสได้ จึงสมัครใจที่จะค้นหา และขจัดกระบวนการทำงานส่วนเกิน ที่ไม่ตอบสนองต่อเป้าหมายของงานนั้นๆ พร้อมกันนั้น ก็สร้างกลไกในการบริหารจัดการ ที่ทำให้ทุกๆ คนต้องเข้าวงจร อย่างเป็นระบบ โดย เริ่มที่ตนเองก่อน ภายใต้การสนับสนุนอย่างเอื้ออาธร จากผู้บังคับบัญชาโดยตรง กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ ต่อคำถามที่ว่า ทำไมกิจกรรมการปรับปรุงจึงไม่ก้าวหน้านั้น อาจเนื่องจากวิสาหกิจใดๆ ก็ตาม ต่างก็มีพันธกิจที่จะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจะด้วยความเคยชิน หรือจากประสบการที่มีอยู่ แต่ละคน ก็มักจะทำงานภายใต้สภาวะการถูกกำหนดให้คิดภายใต้กรอบเดิมๆ ทำด้วยแนวทางเดิม ๆ ทั้ง ๆ ที่สภาวะการณ์รอบด้านนั้นมีการเปลี่ยนแปลงและแปรปรวนตลอดเวลา บางเรื่อง เราอาจพบว่า กระบวนการทำงานบางอย่าง ในอดีต อาจเหมาะสมดี แต่ปัจจุบัน กลับกลายเป็นความสูญเปล่าไปแล้ว แต่ผู้คนก็ยังทำเหมือนเดิมอยู่ และเพราะว่าแต่ละวิสาหกิจนั้น ย่อมประกอบขึ้นด้วยหลากหลายกระบวนการ หลากหลายผู้คน หากจะรวมเอาความสูญเปล่าย่อยๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กรเป็นรายวันแล้ว ก็น่าจะนึกภาพออกว่า จะมากมายมหาศาลเพียงใด ดังนั้น ผู้บริหารที่เห็นจุดเหล่านี้ ก็คงจะไม่ยอมเสียเวลาให้เหตุการณ์ดำเนินไปแบบเดิมได้อีกต่อไป นั่นคือจุดพลิกผันจากความอ่อนแอ มาสู่ความแข็งแกร่งที่เริ่มได้ในวันนี้ เพื่อจะได้มีวันหน้าที่มั่นคง

5 ตัวอย่างที่1: Decrease process rario 1 step by modify jig start auto
รายละเอียดของปัญหา Push product --> Push start เดิม Process solder ขั้นตอน Ratio มีการทำงานการ check ratio 2 process ดังภาพ ใช้เวลา 1.5 sec:pcs การปรับปรุง Push product & Start auto with pin ผลที่ได้รับ Modify jig โดยใส่ชุด switch start ไว้ใน jig ให้ start auto ลดขั้นตอนการทำงานลงได้ 1 process ลดเวลาลงได้ 0.5 sec:pcs ก่อน-หลัง = 1.5s - 1s = 0.5s หรือ M ที่ plan = 200,000 pcs:month คิดเป็นเวลาที่ลดได้คือ = (0.0083x200,000) = 1,660 M คิดเป็นเงินที่ได้ต่อปีคือ = 1,660x12x2 = 39,840 baht:year

6 ตัวอย่างที่2: ทำเครื่อง TAKE OUT Bobbin แทนการใช้มือดึงงาน
รายละเอียดของปัญหา เดิม Process Solder model TRF-123 ต้องใช้มือดึงงานหลังจาก solder ใช้เวลาดึงงานที่ 5 sec:12pcs ที่ plan:month ประมาณ 248,100 pcs ดังนั้นเวลาดึงงานทั้งสิ้นเท่ากับ (248,100x5)/12 = 103,375 sec หรือ min เมื่อยล้า เพราะ jig จะมี flux ติดทำให้ดึงงานได้ยาก ไม่มีการนำเอาระบบ automation มาใช้งาน การปรับปรุง สร้างเครื่อง Take Out Bobbin ช่วย up productivity ของ process solder โดยใช้เครื่องดึงงาน ผลที่ได้รับ เวลาลดเหลือ 2 sec:12pcs ดังนั้นใช้เวลาดึงงานทั้งสิ้นเท่ากับ (248,100x2)/12 = 41,350s หรือ min ก่อน-หลัง = 1, = 1, min ค่าอุปกรณ์ประมาณ 3,500 บาท ดังนั้น 1 ปี สามารถลดเงินได้ = (1,033.75x12) -3,500 = 8,905 บาท สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้ง 2 ข้อ

7 ตัวอย่างที่3: ทำเครื่อง TAKE OUT Bobbin แทนการใช้มือดึง
รายละเอียดของปัญหา เดิม Process Assembly ขั้นตอนพันเทป model TRF-252 นั้นมีการพันเทปด้วยมือเพราะยังไม่มี JIG สำหรับใช้กับเครื่องพันเทป มีเสียเวลามาก มีข้อมูลดังนี้ ที่งาน 100pcs ใช้เวลาพันทั้งสิ้น 50 min การปรับปรุง ทำ JIG สำหรับพันเทป model TRF-252 ขึ้นมาใช้กับเครื่อง ผลที่ได้รับ ที่งาน 100pcs ใช้เวลาพันทั้งสิ้น 20 min plan:month = 1,800 pcs ก่อน-หลัง = (50-20)=30 min : pcs ผลในรูปเงิน = 30x18 = 540 baht:month:1,800pcs หรือคิดเป็นปีได้ = 540x12 = 6,480 baht:year หักค่าอุปกรณ์ 6, ,000 = 5,480 baht:year

8 ตัวอย่างที่4: ทำ JIG TAPPING TRF-252 แทนการพันมือ
รายละเอียดของปัญหา เดิม process Winding การเตรียม Tube ใช้สวม wire มีด้วยกัน 3 spec คือ 15mm.,20mm,OP. จะใช้ไม้บรรทัดวัดspec ก่อนตัดตามภาพ มีขั้นตอนที่เกิดขึ้นดังนี้ 1. ดึง tube มาวางกับ ไม้บรรทัด --> 15 sec 2. วัดความยาว tube --> 15 sec 3. ใช้ cutter ตัด tube --> 14 sec 4. เก็บ tube ใส่กล่อง --> 3 sec TOTAL --> 47 sec การปรับปรุง ทำ Tube cutter jig ทั้ง 3 spec เหลือขั้นตอนเพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้ นำ tube ใส่ jig --> 9 sec กด cutter jig --> 3 sec เก็บ tube ใส่กล่อง --> 3 sec ผลที่ได้รับ Before - After = = 32 sec ลดปัญหาได้ดังนี้ 1. ลดขั้นตอนลงได้ 1 ขั้นตอนลดเวลาลงได้ 32sec:pcs

9 ตัวอย่างที่5: ทำ JIG สำหรับกด Ferrite core ขึ้นมาแทนการกดด้วยมือ
รายละเอียดของปัญหา ขั้นตอนการหยอดกาว เมื่อทำการหยอดกาวเสร็จจะต้องทำการใช้มือในการ set Ferrite core ให้ได้ center แต่ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักมือแต่ละคนไม่เท่ากันทำให้เกิดปัญหา Inductance low 1 day 5,000 pcs ng Inductance low = 20 pcs Standard time = min/pcs การปรับปรุง จัดทำ Jig กด Ferrite core คือเมื่อหยอดกาวครบ 10 pcs ก็จะเลื่อนใส่ jig ตามที่กำหนดไว้ แล้วกดปุ่ม start เพื่อให้ทำการกด Ferrite core ไม่ให้เกิดช่องว่างลดงานประเภท \ ผลที่ได้รับ Inductance low ลงได้เป็น 0 และลดความเมื่อยล้า Standard time = min/pcs Standard time down = 40%

10 ตัวอย่างที่6: ยกเลิกการใช้ตู้ Air bath มาเป็นใช้เครื่อง Heat wave feeder M/C
รายละเอียดของปัญหา เดิม Process Dispenser หลังจากหยอดการเสร็จต้องอบงานให้แห้งก่อน stamp มีปัญหาการทำงานดังนี้ 1. พนักงานเดินนำงานไปอบในตู้ซึ่งอยู่ห่างจากจุดทำงาน 2. มีการเปิด-ปิดตู้บ่อยและมีกลิ่นเหม็นจากการอบ 3. พนักงานต้องนำงานมาเป่าระบายความร้อนหลังการอบ การปรับปรุง ปรับ Layout Line ใหม่ นำระบบ automation มาใช้แทนการเดินส่งงานของพนักงานโดยการสร้างเครื่อง Heat wave feeder M/C การแก้ไขปัญหา การทำงานดังนี้ ผลที่ได้รับ พนักงานไม่ต้องนำงานไปอบยังตู้ Air bath เพราะเครื่อง Heat wave มีรางสไลด์แบบ auto ทำให้งานไหลเข้าเครื่องเอง และเมื่อครบกำหนดเวลา งานก็จะออกมาเอง พร้อม exhaust ที่ช่วยดูดกลิ่น และระบายความร้อนในตัว ลดขั้นตอนได้ทั้ง 3 ขั้นตอน


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของ“ไคเซ็น” ถ้าเราไม่จำกัดความหมายของคำว่า “ไคเซ็น” ให้ชัดเจนแล้ว ก็จะไม่สามารถคุยถึงเรื่องนี้ได้ต่อไป โดยปกติพวกเราคุ้นเคยกับคำว่า “ไคเซ็น (การปรับปรุง)”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google