งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผศ. สุพจน์ เอื้ออภิสิทธิ์วงค์ หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผศ. สุพจน์ เอื้ออภิสิทธิ์วงค์ หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Scatter Radiation Control : Beam restriction devices, grid and air gap technique
ผศ. สุพจน์ เอื้ออภิสิทธิ์วงค์ หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร 12 มกราคม : :30 ตึกเรียนรวม ห้อง 0308

2 เนื้อหา : การเกิดรังสีกระเจิง การควบคุมรังสีกระเจิง
อุปกรณ์จำกัดลำรังสี กริด Air- gap technique

3 อันตรกิริยาของรังสีเอกซ์กับตัวกลาง
ในการถ่ายภาพทางรังสีรังสีปฐมภูมิที่ตกกระทบบนฟิล์ม หรือสกรีน เรียกว่า remnant ray รังสีที่ผ่านผู้ป่วย รังสีส่วนหนึ่งจะถูกดูดกลืนในผู้ป่วย (absorbed photon) รังสีส่วนหนึ่งจะถูกทอน (attenuated) ลดลง รังสีส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนทิศทาง ซึ่งเรียกว่ารังสีกระเจิง (scattered photon) ทำให้เกิดความดำในส่วนที่ไม่ต้องการบนฟิล์ม เรียกว่า “fog” มีผลทำให้ contrast ของภาพลดลง หรือปริมาณรังสีที่ไม่ต้องการที่ผู้มารับการถ่ายภาพรังสีได้รับเพิ่มขึ้น

4 อันตรกิริยาของรังสีเอกซ์กับตัวกลาง
การดูดกลืน การทอน remnant รังสีปฐมภูมิ รังสีทุติยภูมิ เครื่องเอกซเรย์ รังสีกระเจิง ผู้ป่วย : รังสีเอกซ์ถูกดูดกลืนในตัวกลาง : รังสีที่มีการเปลี่ยนทิศทางเนื่องจากการชนกับตัวกลาง

5 ผลของรังสีกระเจิงต่อ fog ต่อ contrast ของภาพถ่ายรังสี
Fog adds a supplemental density การเกิดรังสีกระเจิง (scattered photon) ทำให้เกิดรังสีที่ไม่ต้องการเพิ่มขึ้น ผลทำให้เกิดความดำในส่วนที่ไม่ต้องการบนฟิล์ม เรียกว่า “fog” ทำให้ contrast และรายละเอียด (detail) ของภาพลดลง

6 ปัจจัยที่มีผลต่อรังสีกระเจิง
ศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ : Kilovoltage (kVp) พื้นที่ลำรังสี : Field size ความหนาของผู้ป่วย : Patient thickness ปริมาตรของเนื้อเยื่อที่ถ่ายรังสี : Volume of tissue irradiated วิธีการลดรังสีกระเจิง สามารถทำได้โดยการเลือก kVp และอุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง (the beam scattered radiation restriction devices) หรือเทคนิคการถ่ายภาพที่เหมาะสม

7 วิธีการลดรังสีกระเจิง :
How to control scatter radiation : 1. The beam scattered radiation restriction devices 2. Grid 3. Air Gap Technique : เทคนิคการ เพิ่มระยะถ่ายถาพรังสี

8 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง :
The beam scattered radiation restriction devices ลดรังสีกระเจิงที่เกิดขึ้นทั้งนอก (ผิว) และในร่างกายผู้ป่วย  คุณภาพของภาพรังสีดีขึ้น ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับลง อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง เช่น Aperture diaphragms Cones or Extension cylinders Collimator - fix - variable

9 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : Aperture diaphragms
มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะ ที่มีการเจาะช่องตามรูปร่างของบริเวณเนื้อเยื่อ-อวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพรังสี ข้อดี มีรูปแบบไม่ซับซ้อน จัดสร้างง่าย (hospital made) ใช้งานง่าย : slide into the collimator slot or attach to tube housing

10 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : Aperture diaphragms
ข้อเสีย เนื่องจากตำแหน่งของไดอะแฟรมอยู่ห่างจากฟิล์มมาก การ บานออกของรังสี (beam divergent) ทำให้เกิดบริเวณเงามัว (penumbra) บริเวณขอบภาพมาก ทำให้ภาพมีความคมชัด น้อย (Large unsharpness area) จำเป็นต้องเปลี่ยนไดอะแฟรมใหม่ทุกครั้ง เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงขนาด-รูปร่างของพื้นที่ลำรังสี ทำให้ไม่สะดวก ต่อการใช้งาน จึงไม่เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย

11 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง :
โคนหรือส่วนต่อทรงกระบอก (Cones or Extension cylinders) มีลักษณะเป็นท่อ (โลหะ) ที่มีปลายช่องรูเปิดเป็นรูปวงกลม ข้อดี ใช้งานง่าย : slide into the collimator slot or attach to tube housing เนื่องจากตำแหน่งของโคนและส่วนต่อทรงกระบอกอยู่ชิดผู้ป่วย ห่างจากฟิล์มน้อยกว่าอุปกรณ์ไดอะแฟรม  การบานออกของ รังสีน้อย ทำให้เกิดบริเวณเงามัวบริเวณขอบภาพน้อยกว่า ทำ ให้ภาพมีความคมชัดมากกว่าการใช้อุปกรณ์ไดอะแฟรม

12 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง :
โคนหรือส่วนต่อทรงกระบอก (Cones or Extension cylinders) ฟิล์ม ลำรังสี อวัยวะต้องการตรวจ โครงร่างผู้ป่วย โคน ส่วนต่อทรงกระบอก ข้อเสีย ขนาด-รูปร่างของพื้นที่ลำรังสีของโคนหรือส่วนต่อทรงกระบอก ไม่พอดีกับขนาด-รูปร่างของเนื้อเยื่อ-อวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพ จำเป็นต้องเปลี่ยนโคนหรือส่วนต่อทรงกระบอก ใหม่ทุกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขนาด-รูปร่างของพื้นที่ลำรังสี ทำให้ไม่ สะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากรูปร่างของโคนมีการบานออก ซึ่งบ่อยครั้ง (หากไม่ ระวัง) ขอบเขตของรังสีอาจขยาย เกินขนาดของฟิล์มออกไป และเป็นการเพิ่มปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย ได้รับ  ทำให้ส่วนต่อทรงกระบอกมีใช้กันอย่างกว้างขวาง

13 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : คอลลิเมเตอร์ (collimator)
คอลิเมเตอร์ประกอบด้วยชุดแผ่นตะกั่ว ที่สามารถปรับควบคุมการปิดเปิด เพื่อจำกัดขอบเขตลำรังสีเอกซ์อย่างน้อยสองชุด ในแนวขวางแกน X (lateral leaves) และในแนวตามยาวแกน Y (longitudinal leaves) คอลิเมเตอร์จะมีชุดแผ่นตะกั่วที่ติดอยู่กับหน้าต่างของหลอดเอกซเรย์ ช่วยดูดกลืนรังสีนอกโฟกัสที่ผ่านออกมาทางหน้าต่างของหลอดเอกซเรย์  ช่วยให้ความคมชัดของภาพถ่ายรังสีดีขึ้น

14 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : คอลลิเมเตอร์ (collimator)
เนื่องจากคอลิเมเตอร์ประกอบด้วยชุดแผ่นตะกั่ว ที่สามารถปรับควบคุมการปิดเปิดขอบเขตลำรังสีเอกซ์ ข้อดี ทำให้สามารถเลือกใช้ขนาดของพื้นที่ลำรังสีรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้จำนวนมาก โดยมีแสงจาก light source ที่สะท้อนลงบนผู้ป่วยทำให้สามารถมองเห็นรูปร่าง และขนาดพื้นที่รังสีด้วยตาได้  ทำให้การเปิดพื้นที่ลำรังสีได้ถูกต้อง เหมาะสม (ไม่ใหญ่เกินอุปกรณ์รับภาพ)  ทำให้ปริมาณรังสีกระเจิงน้อยลง  ทำให้ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยลง เนื่องจากคอลิเมเตอร์มีชุดแผ่นตะกั่ว ความคมชัดของภาพไม่น้อยกว่าโคน และส่วนต่อทรงกระบอก เพราะลำรังสีเอกซ์ถูกจำกัดขอบเขตลำรังสีหลายครั้งก่อนพ้นออกจากคอลิเมเตอร์ 

15 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : คอลลิเมเตอร์ (collimator)
This light is intended to accurately indicate where the primary x-ray beam will be projected during exposure The adjusted size of the collimator opening at particular Source to Image Receptor Distance (SID) Open the collimator to produce radiation field not larger than the image receptor

16 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : คอลลิเมเตอร์ (collimator)
Problem Accuracy of the light field Mirror that reflects the light down toward the patient slightly out of position Light bulb slightly out of position Testing the accuracy of light field and the location of the center of projected beam is nescessary. Size of radiation projected field should never exceed the size of the image receptor   radiation exposure and  image quality

17 ใช้ collimator ใช้ Cone

18 Radiography of the frontal and maxillary sinuses
ไม่ใช้ cone ใช้ cone Radiography of the frontal and maxillary sinuses

19 อุปกรณ์จำกัดรังสีกระเจิง : กริด (Grid)
การออกแบบโครงสร้าง การทำงานของกริด Grid material Interspace material Grid ratio Grid frequency

20 พื้นฐานการออกแบบโครงสร้างของกริด
กริดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีประกอบด้วย ชุดแผ่นตะกั่วยาวบาง (lead strips) ที่วางเรียงอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างแผ่นตะกั่วยาวบางจะแทรกไว้ด้วยวัสดุที่ทำจากอลูมิเนียมหรือไฟเบอร์

21 พื้นฐานการทำงานของกริด
ในทางอุดมคติรังสีกระเจิงทั้งหมดที่ผ่านกริดต้องถูกดูดกลืนโดยแผ่นตะกั่วยาวบาง  (lead strips) และรังสีที่ทะลุออกจากตัวผู้ป่วย (remnant ray) ทั้งหมดจะไม่เปลี่ยนทิศทาง ต้องผ่านช่องระหว่างแผ่นตะกั่วยาวเล็กไปยังฟิล์ม

22 จุดประสงค์ของการใช้กริดในการถ่ายภาพรังสี :
เพื่อดูดกลืนรังสีกระเจิงที่ออกจากตัวผู้ป่วย  : เนื่องจากรังสีกระเจิงเป็นส่วนที่ทำให้เกิดข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ และทำให้คุณภาพของภาพรังสีลดลง  โดย fog เพิ่มขึ้นขณะที่ คอนทราสท์ของภาพลดลง  จุดประสงค์ของการใช้กริดในการถ่ายภาพรังสี : หลักการโดยทั่วไป : ควรใช้กริดในการถ่ายภาพเอกซเรย์ส่วนของร่างกายที่มีความหนาอย่างน้อย 9 เซนติเมตร

23 Non Grid Grid

24 ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้กริด
Grid ratio คือ อัตราส่วนความสูงของแผ่นกริดต่อระยะห่างระหว่างแผ่นกริด Grid ratio = H / d H d H = ความสูงของแผ่นกริด, d = ระยะห่างระหว่างแผ่นกริด HPb = 1 มิลลิเมตร และ dPb = 0.125 มิลลิเมตร Grid ratio = 1/ = 8/1 หรือ = 8 : 1 Grid ratio สูงจะสามารถตัดรังสีกระเจิงได้มาก ภาพมี contrast ดี แต่ต้องตั้งเทคนิคการถ่ายภาพรังสี, mAs หรือ kVp สูงขึ้น เพราะกริดจะดูดกลืนทั้งรังสีกระเจิง และรังสีที่มีประโยชน์ในการสร้างภาพมากขึ้นด้วย

25 ชนิดและรูปแบบของกริด
(main grid types and patterns) ชนิดของกริด (types of grid) ถูกกำหนดโดยแนวการเรียงตัวของแผ่นตะกั่วเล็กบาง (lead strips) ทั้งหมด เมื่อมองจากด้านปลายของแผ่นกริด แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ - กริดชนิดโฟกัส  (focused grid) - กริดชนิดไม่โฟกัส หรือกริดแบบขนาน (unfocused or parallel grid) กริดชนิดโฟกัส กริดชนิดไม่โฟกัส

26 กริดชนิดโฟกัส : คุณลักษณะของกริดชนิดโฟกัส
กริดชนิดโฟกัส : แผ่นตะกั่วเล็กบางที่อยู่กึ่งกลางลำรังสีจะวางตั้งตรง และ แผ่นตะกั่วที่อยู่ถัดไปทั้งสองข้างจะวางเอียงเป็นมุมกางออกตามมุมของลำรังสีที่ถ่างออกไปเรื่อยๆ จนถึงขอบแผ่นกริด คุณลักษณะของกริดชนิดโฟกัส กริดชนิดโฟกัสมีระยะโฟกัสที่เฉพาะเจาะจง เรียกว่า "ระยะโฟกัสของกริด (grid focusing distance)“ เมื่อใช้งานต้องตั้งลำรังสีเอกซ์ไว้ที่ระยะโฟกัสของ เพื่อมิให้เกิดการตัดของกริด (grid cut-off) เมื่ออัตราส่วนกริดสูงขึ้น กริดชนิดโฟกัสจะมีความยาวโฟกัสที่สั้นลง กริดชนิดโฟกัสใช้ได้กับเตียงเอกซเรย์ทุกชนิด

27 กริดชนิดไม่โฟกัส หรือกริดแบบขนาน :
กริดชนิดไม่โฟกัส หรือกริดแบบขนาน  : แผ่นตะกั่วเล็กบางทั้งหมดจะวางเรียงตั้งตรง ไม่มีเอียงเป็นมุมเลย คุณลักษณะของกริดชนิดไม่โฟกัส กริดชนิดไม่โฟกัสไม่มีระยะโฟกัสที่เฉพาะเจาะจง กริดชนิดไม่โฟกัสใช้งานได้ดีที่สุดที่ระยะ SID (source image distance) ไกล ๆ และพื้นที่รังสี (field size) ขนาดเล็ก กริดชนิดไม่โฟกัสมักใช้กับการถ่ายฟิล์มในการตรวจแบบฟลูออโรสโคปี (fluoroscopy) เนื่องจากใช้พื้นที่รังสี (field size) ที่มีขนาดเล็ก แต่โดยปกติจะไม่ใช้กับการถ่ายฟิล์มบนเตียงเอกซเรย์ทั่วไป

28 รูปแบบของกริด (grid patterns)
รูปแบบของกริดถูกกำหนดจากทิศทางการเรียงตัวของแผ่นตะกั่วเล็กบาง (lead strips) เมื่อมองจากด้านบนของแผ่น กริดมี 2 รูปแบบ คือ -  กริดรูปแบบแนวตรง (Parallel or linear grid pattern) - กริดรูปแบบแนวตาหมากรุก (cross hatch grid pattern) กริดรูปแบบแนวตรง กริดรูปแบบแนวตาหมากรุก

29 ใช้ใน Moving grid = Bucky
กริดรูปแบบแนวตรง (linear grid pattern)  เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นแผ่นตะกั่วเล็กบาง  (lead strips) วางเรียงตามติดกันไป  กริดรูปแบบแนวตรง สามารถเป็นได้ทั้งชนิดโฟกัสหรือไม่โฟกัส กริดชนิดโฟกัส กริดชนิดไม่โฟกัส กริดรูปแบบแนวตรง กริดรูปแบบแนวตาหมากรุก ทำได้โดยนำกริดรูปแบบแนวตรงสองแผ่นมาวางซ้อนทับตั้งฉากซึ่งกันและกัน แล้วหุ้มมันไว้ด้วยกัน ใช้ใน Moving grid = Bucky กริดรูปแบบแนวตาหมากรุก

30 ผลของกริดที่มีต่อความดำและคอนทราสท์ :
(effect of grids on density and contrast) เมื่อใช้แผ่นกริดร่วมในการถ่ายภาพรังสี ปริมาณรังสีที่มีประโยชน์ บางส่วนพร้อมกับรังสีกระเจิงจะถูกดูดกลืนโดยแผ่นกริด  ดังนั้นจึงต้องเพิ่มปริมาณรังสีเพื่อชดเชยปริมาณรังสีที่สูญเสียไป ถ้าไม่เพิ่มปริมาณรังสีเพื่อชดเชยการดูดกลืนรังสีของแผ่นกริด แล้ว จะได้ภาพรังสีที่มีความดำลดลง ไม่ใช้กริด 1.5 mAs 80 kVp กริด 8:1 6 mAs 80 kVp กริด 8:1 30 mAs 80 kVp กริด 16:1 30 mAs 80 kVp

31 ผลของกริดที่มีต่อความดำและคอนทราสท์ :
(effect of grids on density and contrast) เมื่อใช้แผ่นกริดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจะเพิ่มขึ้น (เนื่องจาก เพิ่มเทคนิคการถ่ายภาพรังสี) แต่คุณภาพของภาพที่ได้จะดีขึ้นเนื่องจากรังสีกระเจิงซึ่งเป็นตัวทำ ให้เกิด fog บนฟิล์มถูกขจัดไป ทำให้ได้ภาพที่มีสเกลคอนทราสท์สูงขึ้น มีรายละเอียดสำหรับ การวินิจฉัยมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่มารับการตรวจ ไม่ใช้กริด 1.5 mAs 80 kVp กริด 8:1 6 mAs 80 kVp กริด 8:1 30 mAs 80 kVp กริด 16:1 30 mAs 80 kVp ใช้กริดไม่เหมาะสม

32 การปรับเทคนิคการให้ปริมาณรังสีเมื่อใช้กริด
สถานการณ์ที่ต้องปรับเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสี เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพถ่ายรังสีที่ดีเมื่อมีการใช้กริด คือ 1. เปลี่ยนจากเทคนิคที่ไม่ใช้กริด ไปเป็นเทคนิคที่ใช้กริด 2. เปลี่ยนจากอัตราส่วนกริดหนึ่ง (8:1) ไปยังอัตราส่วนกริดอื่นที่แตกต่าง (16:1) อัตราส่วนกริด          ค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน 5 : x mAs 6 : x mAs 8 : x mAs 12 : x mAs 16 : x mAs ไม่ใช้กริด 1.5 mAs 80 kVp กริด 8:1 6 mAs 80 kVp ถ้าเปลี่ยนจากเทคนิคที่ไม่ใช้กริดไปเป็นเทคนิคที่ใช้กริด ให้นำค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน (grid conversion factor) ไปคูณ ตัวอย่าง  ถ้าเทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์หัวเข่าโดยไม่ใช้กริดคือ 15 mAs และ 75 kVp เมื่อใช้กริดที่มีอัตราส่วนกริด 8:1 ควรเปลี่ยนแปลงค่า mAs เป็นเท่าใด? จึงได้ภาพที่มีความดำใกล้เคียงกัน? การเปลี่ยนจากการถ่ายภาพรังสีไม่ใช้กริดไปเป็นใช้กริดที่มีอัตราส่วนกริด 8 :1 จะต้องเพิ่ม mAs ขึ้น 4 เท่า คือ 4 x15 = 60 mAs กริด 8:1 30 mAs 80 kVp กริด 16:1 30 mAs 80 kVp

33 การปรับเทคนิคการให้ปริมาณรังสีเมื่อใช้กริด
ถ้าเปลี่ยนเทคนิคการถ่ายภาพรังสีในใช้กริดที่มีอัตราส่วนกริดต่างกัน ค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน mAs  =  ค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน mAs ใหม่ ค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน mAs เดิม อัตราส่วนกริด          ค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน 5 : x mAs 6 : x mAs 8 : x mAs 12 : x mAs 16 : x mAs ไม่ใช้กริด 1.5 mAs 80 kVp กริด 8:1 6 mAs 80 kVp ตัวอย่าง  เทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องท้อง (abdomen) ใช้ในเมื่อใช้กริดที่มีอัตราส่วนกริด 8:1 เท่ากับ 40 mAs และ 80 kVp ถ้าต้องการเปลี่ยนไปใช้กริดที่มีอัตราส่วนกริด 16:1 แทน ควรเปลี่ยนค่า mAs เป็นเท่าใด เพื่อให้ได้ภาพที่มีความดำเหมือนเดิม? ค่าปัจจัยการปรับเปลี่ยน mAs   =  6/4 = 1.5 ดังนั้น ค่า mAs ใหม่ = 1.5 x 40 mAs  =  60  mAs กริด 8:1 30 mAs 80 kVp กริด 16:1 30 mAs 80 kVp

34 การใช้กริดผิดพลาด (faulty use of grids)
การตัดของกริด (grid cut-off) จากการใช้กริดชนิดไม่โฟกัส (กริดขนาน) ข้อสังเกต : การตัดของกริดจาก การใช้กริดชนิดไม่โฟกัส จะเกิดที่บริเวณขอบด้านนอกของภาพถ่ายรังสี มีสาเหตุจากลำรังสีเอกซ์ที่มีการถ่างออกถูกกริดตัดทอนออก grid cut-off : parallel grid การแก้ปัญหาการตัดของกริด (grid cut-off) 1. ใช้ระยะ SID ที่ไกล เพื่อทำให้ส่วนของลำรังสีที่ถ่างออกน้อย 2. ใช้พื้นที่รังสีที่มีขนาดเล็ก เพื่อทำให้ส่วนของลำรังสีที่ถ่างออกน้อย

35 การใช้กริดผิดพลาด (faulty use of grids)
การตัดของกริด (grid cut-off) เกิดจากการใช้กริดชนิดโฟกัสที่ระยะนอกทางยาวโฟกัส ข้อสังเกต : การตัดของกริดจาก การใช้กริดชนิดโฟกัส จะเกิดที่บริเวณขอบด้านนอกของภาพถ่ายรังสีอย่างมาก  มีสาเหตุเกิดจากการถ่างออกของลำรังสีที่ไม่สัมพันธ์กับมุมของแผ่นตะกั่วเล็กบาง (lead strips) ทำให้ความเข้มของรังสีเอกซ์ถูกตัดทอนออกมาก focus grid out off focus range การแก้ปัญหาการตัดของกริด (grid cut-off) - ทำได้โดยจัดให้แนวเส้นกึ่งกลางลำรังสีของหลอดเอกซเรย์อยู่ที่จุดกึ่งกลางของกริด

36 การใช้กริดผิดพลาด (faulty use of grids)
การตัดของกริด (grid cut-off) เกิดจากการใช้กริดชนิดโฟกัสที่ระยะนอกทางยาวโฟกัส ข้อสังเกต : การตัดของกริดเกิดขึ้นทั่วบริเวณภาพถ่ายรังสี  เกิดการตัดรังสีของกริดบนภาพรังสีทั้งหมด Unleveled focus grid Normal Grid cut-off overall การแก้ปัญหาการตัดของกริด (grid cut-off) จัดวางแผ่นกริดให้ได้อยู่ระดับเดียวกันเสมอ  จัดวางแผ่นกริดไม่ได้ระดับเดียวกันมักเป็นปัญหาที่ต้องระมัดระวังในการถ่ายภาพเอกซเรย์ที่ใช้กริดกับเตียง

37 การใช้กริดผิดพลาด (faulty use of grids)
การตัดของกริด (grid cut-off) เกิดจากการจัดวางแผ่นกริดชนิดโฟกัสพลิกกลับด้าน (upside-down) ข้อสังเกต : การตัดของกริดเกิดที่บริเวณขอบนอกของภาพรังสีมาก เพราะลำรังสีเอกซเรย์ชนกับแผ่นตะกั่วโดยตรงที่บริเวณขอบนอกกริด ซึ่งไม่มีที่บริเวณส่วนกลางแผ่นกริด Upside-down focus grid การแก้ปัญหาการตัดของกริด (grid cut-off) การใช้กริดชนิดโฟกัสต้องแน่ใจว่าหันหน้าด้านที่ถูกต้องของกริดเข้าหาหลอดเอกซเรย์  ควรมีเครื่องหมายบอกด้าน และจุดศูนย์กลางที่ชัดเจนติดอยู่

38 เทคนิคการจำกัดรังสีกระเจิง : Air- gap technique
เป็นเทคนิคการเพิ่มระยะถ่ายถาพรังสี โดยการเพิ่มช่องว่างอากาศ (air-gap technique) ทำให้ลดรังสีกระเจิง (scattered radiation) ลง โดยไม่ใช้กริดในการถ่ายภาพรังสี ซึ่งไม่ทำให้ไม่เกิดภาพเส้นกริด (grid lines) ในภาพถ่ายรังสีอีกด้วย เทคนิคการใช้ช่องว่างอากาศ(air gap technique) ทำได้โดยจัดให้มีช่องว่างอากาศระหว่างวัตถุที่ทำให้เกิดรังสีกระเจิงและฟิล์มเอกซเรย์ การเว้นระยะช่องว่างอากาศระหว่างวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพรังสี - ฟิล์มเอกซเรย์ที่เพียงพอ  จะทำให้รังสีกระเจิงที่เกิดขึ้นจากหัวเครื่องเอกซเรย์ไปไม่ถึงฟิล์ม และเนื่องจากรังสีกระเจิงเดินทางไปด้วยมุมที่กว้าง  จึงทำให้สามารถลดรังสีกระเจิงได้มาก ส่วนของร่างกายที่ต้องการตรวจ ที่นิยมใช้เทคนิคการใช้ช่องว่างอากาศ คือ การถ่ายภาพเอกซเรย์ทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนคอ (lateral projection of the cervical vertebrae)

39 หนังสืออ่านประกอบ Techniques of Veterinary Radiography 5th.Ed.1993.Joe P. Morgan Radiography in Veterinary Technology.1and 2th Ed 1994,1999 Lisa M. Lavin. Radiographic Photography and Imaging process David Jenkin Radiation Image and Exposure. 2th Ed Terri L. Fauber. Physics of radiology Anthony B. Wolbarst

40 บันไดนาค พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
บันไดนาค พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่


ดาวน์โหลด ppt ผศ. สุพจน์ เอื้ออภิสิทธิ์วงค์ หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google