งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด
บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์

2 12.1 ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ (Meaning of Market in Economics)
ประเภทของตลาดตามเกณฑ์ชนิดของผลผลิต (1) ตลาดสินค้า คือ ตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อนำไปใช้อุปโภคบริโภคโดยตรง (2) ตลาดปัจจัยการผลิต คือ ตลาดที่มีการซื้อขายปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น แรงงาน วัตถุดิบ สินค้าทุน เป็นต้น โดยผู้ที่ทำการซื้อปัจจัยการผลิตคือผู้ผลิต (3) ตลาดแรงงาน คือ ตลาดที่มีการซื้อขายบริการจากแรงงาน (4) ตลาดการเงิน คือ ตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน

3 ประเภทของตลาด ตลาดยังสามารถแบ่งออกตามโครงสร้างโดยอาศัยปัจจัยต่างๆเป็นตัวกำหนด ได้แก่ จำนวนผู้ซื้อหรือผู้ขาย ความสามารถในการแข่งขัน การกำหนดปริมาณและราคาสินค้า

4 ประเภทของตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะสินค้า
(1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) มีผู้ขายจำนวนมากและขายสินค้าเหมือนกัน (2) ตลาดผู้ขายมากราย (monopolistic competition) ผู้ขายมีจำนวนมาก โดยผู้ขายเผชิญกับสภาพการณ์ กึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด และขายสินค้าที่แตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (3) ตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ผู้ขายมีน้อยรายขายสินค้าที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (4) ตลาดผูกขาด (monopoly) มีผู้ขายรายเดียวขายสินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้

5 ประเภทของตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ซื้อและลักษณะสินค้า
(1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) มีผู้ซื้อจำนวนมากและซื้อสินค้าเหมือนกัน (2) ตลาดผู้ซื้อมากราย (monopsonistic competition) ผู้ซื้อมีจำนวนมาก โดยผู้ซื้อเผชิญกับสภาพการณ์ กึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด และซื้อสินค้าที่แตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (3) ตลาดผู้ซื้อน้อยราย (oligopsony) ผู้ซื้อมีน้อยรายและซื้อสินค้าที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (4) ตลาดผู้ซื้อคนเดียว (monopsony) มีผู้ซื้อรายเดียวซื้อสินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้

6 ประเภทตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายและลักษณะสินค้า
(1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) เมื่อมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทำการซื้อขายสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน (2) ตลาดผู้ซื้อและผู้ขายน้อยราย (bilateral oligopoly) เมื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีน้อยรายทำการซื้อขายสินค้าที่คล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ (3) ตลาดผูกขาดทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย (monopoly) เมื่อมีผู้ซื้อรายเดียว ผูกขาดการซื้อสินค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้อยู่ในตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว

7 ตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะสินค้า
ตลาดผูกขาด ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยราย ตลาดผู้ขายมากราย หรือกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

8 ข้อสมมติในการวิเคราะห์พฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาด
ในที่นี้จะทำการวิเคราะห์ตลาดสินค้าเฉพาะกรณีตลาดแบ่งตามจำนวนผู้ขายและลักษณะสินค้า เนื่องจากมีสภาพใกล้เคียงกับความเป็นจริง พฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาดประเภทต่างๆจะอยู่ภายใต้ข้อสมมติฐานที่ว่า หน่วยผลิตจะทำการผลิตอย่างไรให้ได้รับกำไรสูงสุด (profit maximization)

9 บทที่ 2 การกำหนดราคาและปริมาณผลิตภายใต้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
บทที่ 2 การกำหนดราคาและปริมาณผลิตภายใต้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์

10 ตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้
(1) สินค้าของผู้ผลิตมีคุณสมบัติเหมือนกัน (homogenous product) (2) ผู้บริโภคและผู้ผลิตในตลาดมีจำนวนน้อย นั่นคือ ผู้บริโภคและผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดราคาของสินค้าหรือเรียกว่า ผู้รับราคา (price taker) (3) มีข้อมูลเพียงพอในการผลิตและบริโภคสินค้า (perfect information) (4) ผู้ผลิตสามารถเข้าร่วมหรือออกจากตลาดอย่างเป็นอิสระ (free entry & exit) (5) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆในการเข้าร่วมในตลาด (no transaction)

11 การกำหนดราคาและปริมาณผลผลิตในตลาด
พฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาด คือ การแสวงหากำไรสูงสุดในการผลิต ปริมาณสินค้าที่หน่วยผลิตจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของรายรับและต้นทุนการผลิต รายรับของผู้ผลิตจะขึ้นอยู่กับเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับระยะเวลาในการผลิต - ระยะสั้น (short run) - ระยะยาว (long run)

12 เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ
หน่วยผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นเพียงหน่วยผลิตเล็กๆซึ่งไม่มีอิทธิพลเหนือตลาด การขายสินค้าของหน่วยผลิตจะขายตามราคาตลาด เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ หรือ เส้นอุปสงค์ในสายตาของผู้ผลิต ซึ่งเป็นเส้นที่บอกให้ทราบว่าที่ระดับราคาต่างๆผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าของหน่วยผลิตปริมาณเท่าใด กำหนด P* = ราคาสินค้าที่ถูกกำหนดในตลาด ดังนั้น เส้นอุปสงค์ของหน่วยผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกนปริมาณสินค้า

13 เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ
P* P Q E S D Q* P เส้นอุปสงค์ที่หน่วยผลิตเผชิญ P* Q หน่วยผลิต ตลาด

14 ดุลยภาพของหน่วยผลิตในระยะสั้น
Ps P3 P2 Q1 Q2 Q3 P1 เส้นอุปทานระยะสั้น Q P E S D2 TC, TR D1 D3 หน่วยผลิต ตลาด SMC AVC AC จากรูปพิจารณากรณี ถ้า P = P1 หรือ P1 > min AC ถ้า P = P2 หรือ P2 > min AVC ถ้า P = P3 หรือ P3 < min AVC

15 ตัวอย่าง TC = 500+20Q-6Q2+Q3 จงหา 1. ราคาแสดงการหยุดผลิต
กำหนดฟังก์ชันต้นทุนการผลิตในระยะสั้นของผู้ผลิตรายหนึ่ง คือ TC = Q-6Q2+Q3 จงหา 1. ราคาแสดงการหยุดผลิต 2. ถ้าราคาสินค้าในตลาด P = 20 ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณเท่าใดและได้กำไรสูงสุดเท่าใด 3. ถ้าราคาสินค้าในตลาด P = 200 ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณเท่าใดและได้กำไรสูงสุดเท่าใด 4. จงหาเส้นอุปทานการผลิตในระยะสั้นของผู้ผลิต

16 เส้นอุปทานระยะสั้นของอุตสาหกรรม
ไม่สามารถรวมเส้นอุปทานของหน่วยผลิตแต่ละรายเนื่องจากเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง การปรับตัวของหน่วยผลิตแต่ละรายพร้อมกันย่อมส่งผลถึงปริมาณการซื้อปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรม และจะมีผลต่อไปถึงราคาปัจจัยการผลิต ทำให้เส้นต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตเปลี่ยนไป


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google