งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ขั้นตอนการทำวิจัย และ การเขียนโครงร่างวิจัย รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ขั้นตอนการทำวิจัย และ การเขียนโครงร่างวิจัย รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ขั้นตอนการทำวิจัย และ การเขียนโครงร่างวิจัย รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร
ขั้นตอนการทำวิจัย และ การเขียนโครงร่างวิจัย รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร

2 หัวข้อในการบรรยาย Part 2. Part 1.
1. ความหมายของการวิจัย 2. ขั้นตอนการทำวิจัย 3. การเลือกเรื่องวิจัย Part 2. การเขียนโครงร่างวิจัย 2

3 ความหมายของการวิจัย การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยอาศัยอุปกรณ์ หรือวิธีการเพื่อให้พบข้อเท็จจริง หรือนำหลักการไปใช้ในการตั้งกฏ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฏิบัติ (จุมพล 2520, น. 9) การวิจัย หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่ดำเนินไปอย่างมีระเบียบและกฏเกณฑ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินงานกับข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้องต่อปัญหาหรือคำถามที่ตั้งไว้ (สุชาติ, 2526)

4 ความหมายของการวิจัย (ต่อ)
การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ หรือคำตอบของปัญหาที่สนใจ โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียดรอบคอบ และมีระบบ ระเบียบทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน รวมทั้งต้องมีการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานวิจัย (ยุวดี, 2540, น. 1) การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นหา หรือแสวงหาความรู้ใหม่โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลเชิงประจักษ์ในการค้นคว้าทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย และมีแนวคิดหรือทฤษฎีมาสนับสนุนสมมติฐานที่ทดสอบเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่น่าเชื่อถือ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ (บุญใจ ศรีสถิตนรากูร,2542, หน้า 2)

5 ความหมายของการวิจัย (ต่อ)
การวิจัย (Research) หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ความจริงอย่างมีระบบ ตามระเบียบแบบแผน และวิธีการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ที่ตอบคำถาม หรือปัญหาที่สนใจ หรือได้ข้อค้นพบใหม่ หรือแนวทางปฏิบัติใหม่ ที่ใช้แก้ปัญหา ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ หรือเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ หรือเพื่อนำไปตั้งกฏ ทฤษฎี ที่อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับทางวิชาการและวิชาชีพของประชาคมวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2562, น. 3)

6 ประโยชน์ของการวิจัย ช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ
ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ช่วยในการกำหนดนโยบายและวางแผนได้อย่างถูกต้อง

7 ขั้นตอนการทำวิจัยในงานวิทยาศาสตร์สุขภาพ
การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดกรอบทฤษฎี การตั้งสมมติฐาน การกำหนดตัวแปร การออกแบบการวิจัย การสร้างเครื่องมือและการตรวจคุณภาพ ของเครื่องมือในการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การเตรียมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย

8 ขั้นตอนการวิจัยในงานวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ต่อ)

9 การเลือกเรื่องวิจัย ที่มาของหัวข้อการวิจัย ประสพการณ์ของผู้วิจัย
การทบทวนวรรณกรรม เอกสาร บทความทางวิชาการ ตำรา รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ บทคัดย่อรายงานการวิจัยที่รวบรวมเป็นเล่ม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา แหล่งทุนสนับสนุนทำวิจัย

10 แหล่งทุนสนับสนุนทำวิจัย
มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

11 นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ 2560-2564 (ต่อ) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การวิจัย ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ ๑ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ ๒ การวิจัยด้านการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ การเสริมสร้างและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ ๓ การปรับกระบวนทัศน์การผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศำสตร์กำรวิจัยที่ ๔ การวิจัยระบบการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติและอุบัติภัย ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ ๕ การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

12 นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ 2560-2564 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัยและพัฒนาบริการทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การวิจัยและพัฒนาเพื่อลดอัตราการเกิดโรคติดเชื้อที่แพร่ระบาดในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคที่เกิดเฉพาะพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การวิจัยและพัฒนาให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และมีความปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนากลไกสนับสนุนการพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพของประเทศ

13 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อการวิจัย
ความสำคัญของเรื่องวิจัย ความเป็นไปได้ในการทำวิจัย ไม่ซ้ำซ้อนงานวิจัยที่ทำมาแล้ว ความสนใจของผู้วิจัย

14 เกณฑ์ในการเลือกหัวข้อการวิจัย (ต่อ)
ความสำคัญของเรื่องวิจัย ความรุนแรงของปัญหา (ปัญหาร้ายแรงที่ติดอันดับ 1 ถึง 5 ของประเทศ) อยู่ในแผนนโยบายการวิจัยแห่งชาติ หรือนโยบายเร่งด่วนของประเทศ เป็นเรื่องที่ให้ความรู้ใหม่ ๆ (องค์ความรู้ ทฤษฎี เทคโนโลยี)

15 ความรุนแรงของปัญหา ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปัญหาการเจริญเติบโตของเมืองการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และพฤติกรรมต่อสุขภาพของประชาชน ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยที่ยังมีความรุนแรงอยู่ในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ได้แก่ ปัญหา ยาเสพติด อุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพจิต และสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

16 ความเป็นไปได้ในการทำวิจัย
ระดับของปัญหาวิจัย (ไม่กว้าง ไม่ซับซ้อนเกินไป) ความสามารถและทักษะของผู้วิจัย บุคลากร งบประมาณ ระยะเวลาในการทำวิจัย วิธีการวิจัย อุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

17 ไม่ซ้ำซ้อนงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
ปัญหาวิจัย สถานที่ ระยะเวลา ระเบียบวิธีวิจัย

18 Part 2. การเขียนโครงร่างการวิจัย
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หมายถึงแผนการวิจัยที่นำเสนอเพื่อการพิจารณาจากผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเป็นแผนที่วางไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะทำการวิจัย โดยวางอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง และกำหนดกิจกรรมไว้อย่างชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง

19 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
1. ชื่อเรื่อง 2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย 3. คำถามของการวิจัย 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6. สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย* 7. ขอบเขตของการวิจัย 8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย*

20 องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย (ต่อ)
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 10. ระเบียบวิธีวิจัย 11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน 12. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย 13. เอกสารอ้างอิง 14. ภาคผนวก* 15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย * ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ

21 1. ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อเรื่องควรสื่อความหมายที่ชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน (เมื่อไร) ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์และมีบุตรของแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ในเขตสุขภาพที่ 2

22 แนวทางการตั้งชื่อเรื่องวิจัย
ใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กระทัดรัด และชัดเจน สามารถบอกได้ว่า เป็นการศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร ไม่ยาวมาก อ่านแล้วเข้าใจยาก จับประเด็นปัญหาไม่ได้ ไม่สั้นจนเกินไป อ่านแล้วต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม หลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อ (จ. : จังหวัด อ. : อำเภอ สจ. : สาธารณสุขจังหวัด) ขึ้นต้นด้วยคำนาม มากกว่าคำกริยา มีการระบุตัวแปรหลักที่จะทำการวิจัย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของการวิจัย

23 ตัวอย่างชื่อเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในบ้านของผู้สูงอายุ ผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนของสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน บทบาทของบิดามารดาในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของนักเรียนอาชีวศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์

24 2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Significance of the Problem)
อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

25 ความสำคัญของปัญหา ภูมิหลัง (Background)
ภูมิหลังและความสำคัญของปัญหา (Background and Significance of Problem) หลักการและเหตุผล (Background and Rationale) ความสำคัญของปัญหา (Significance of Problem)

26 หลักการเขียนความสำคัญของปัญหา
1. เขียนให้ตรงปัญหา เน้นปัญหาให้ถูกจุด ไม่อ้อมค้อม วกวน 2. เขียนให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญของปัญหาที่จะศึกษา 3. ไม่ควรเขียนสั้นจนขาดประเด็นปัญหา 4. อย่านำตัวเลข ตาราง ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาใส่ 5. มีการอ้างอิง จากคำพูด แนวคิด ทฤษฎี ผู้อื่น 6. อย่าตัดต่อข้อความแนวคิดผู้อื่นมาเป็นประโยค/วรรคๆ 7. ในแต่ละหน้าต้องมีการแบ่งย่อหน้าตามความเหมาะสม 8. เขียนเนื้อหาเรื่องให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องทุกย่อหน้า 9. ส่วนท้ายที่สุดควรเขียนเชื่อมโยง และสรุปให้เหมาะสม เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา

27 3. คำถามของการวิจัย (Research Question )
เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้

28 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยรุ่น ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
คำถามวิจัย 1.ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือไม่ ? 2. ปัจจัยด้านจิตสังคมมีความสัมพันธ์กับการเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือไม่ ? 3. ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือไม่ ?

29 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)
เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะศึกษา ทั้งขอบเขต และระยะเวลา

30 หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
1. เขียนประเด็นปัญหาชัดเจน 2. วัตถุประสงค์ทุกข้อต้องศึกษาได้ ปฏิบัติได้ 3. ควรสั้น กะทัดรัด ใช้ภาษาง่าย ๆ 4. เขียนรูปประโยคบอกเล่า 5. เขียนรูปของการเปรียบเทียบ / ความสัมพันธ์ได้ 6. สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรือแยกเขียนเป็นข้อ ๆ ได้ 7. เขียนเรียงตามความสำคัญของประเด็นปัญหา 8. ห้ามนำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สิ้นสุดการวิจัย/อาจเป็น/ไม่เป็นตามที่คาดหวัง ผู้วิจัยต้องทำ / ศึกษาทุกข้อ

31 พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของ เด็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอเมือง จังหวัดตราด
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน 2. เพื่อศึกษาทัศนคติในการดูแลทันตสุขภาพของเด็ก ก่อนวัยเรียน 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน 4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการดูแล ทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน

32 ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแล ทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอเมือง จังหวัดตราด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความรู้ของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อน วัยเรียน 2. เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อน 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน 4. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพ ของเด็กก่อนวัยเรียน

33 5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures) อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย

34 6. สมมติฐาน (Hypothesis) และ กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้ กรอบแนวความคิดในการวิจัย เป็นการเขียนแผนผังระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

35 7. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

36 8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Definition) ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น

37 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application)
อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง

38 10. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ 10.1 วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง 10.2 ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย

39 10.3 วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร 10.4 วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น 10.5 การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้

40 11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน ผู้วิจัยต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดว่าจะใช้เวลานานเท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการวิจัย วิธีการเขียนรายละเอียดของหัวข้อนี้อาจทำได้ 2 แบบ ตามที่แสดงไว้ในตัวอย่างต่อไปนี้ (การวิจัยใช้เวลาดำเนินการ 12 เดือน)

41 ตัวอย่างที่ 1 ก. ขั้นตอนการเตรียมการ : ค้นหาชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะทำ (3 เดือน) 1. ศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ขออนุมัติดำเนินการ,ติดต่อผู้นำชุมชน,เตรียมชุมชน) และรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น 3. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. จัดหาและฝึกอบรมผู้ช่วยนักวิจัย 5. ทดสอบและแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

42 ข. ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (2 เดือน) 6. เลือกประชากรตัวอย่าง 7
ข. ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (2 เดือน) 6. เลือกประชากรตัวอย่าง 7. สัมภาษณ์ประชากรตัวอย่าง ค. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (3 เดือน) 8. ลงรหัส ตรวจสอบรหัส นำข้อมูลเข้าเครื่อง และทำการบรรณาธิการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 9. เขียนโปรแกรมเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ รวมทั้งแปลผลข้อมูล

43 ง. การเขียนรายงาน และการเผยแพร่ผลงาน (4 เดือน) 10
ง. การเขียนรายงาน และการเผยแพร่ผลงาน (4 เดือน) 10. เขียนรายงานการวิจัย 3 เดือน 11. จัดพิมพ์ 1 เดือน ตัวอย่างที่ 2 ทำเป็นตาราง โดยใช้ Gantt Chart ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ให้ระบุขั้นตอน และระยะเวลาของแผนดำเนินงานโดยละเอียด โดยเสนอแผนภูมิแสดงระยะเวลาในการดำเนินงานต่าง ๆ คือ ระยะเตรียมการ ระยะเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเขียนรายงาน ตัวอย่างแผนภูมิการวิจัย ใช้ระยะเวลาประมาณ 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562

44 ตัวอย่างที่ 2 ทำเป็นตาราง โดยใช้ Gantt Chart

45 12.4 งบดำเนินการ: ค่าวัสดุ (วัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ ค่าพิมพ์
12. งบประมาณ (Budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ให้เขียนแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวดตามแบบฟอรม์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คือ แบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้แก่ 12.1 งบบุคลากร (ค่าจ้างผู้ช่วยนักวิจัย) 12.2 งบดำเนินการ: ค่าตอบแทน (ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา) 12.3 งบดำเนินการ: ค่าใช้สอย (ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า วิเคราะห์ข้อมูล ค่าจัดประชุม ฯลฯ) 12.4 งบดำเนินการ: ค่าวัสดุ (วัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ ค่าพิมพ์ เอกสาร ฯลฯ) 12.5 งบดำเนินการ: ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ไปรษณีย์ ฯลฯ) งบลงทุน: ครุภัณฑ์ (คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ)

46 13. เอกสารอ้างอิง (References)
ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA (American Psychological Association) style

47 14. ภาคผนวก (Appendix) สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ 15. ประวัติของผู้วิจัย (Biography) ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัย ซึ่งถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในตำแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ ประวัติผู้ดำเนินการวิจัย ควรประกอบด้วยประวัติส่วนตัว (เช่น อายุ เพศ การศึกษา) ประวัติการทำงาน และผลงานทางวิชาการต่างๆ

48 Thank You


ดาวน์โหลด ppt ขั้นตอนการทำวิจัย และ การเขียนโครงร่างวิจัย รศ.ดร. ธวัชชัย วรพงศธร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google