ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครเมี่ยม (Cr)
2
โครเมี่ยม เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย มักพบในสองรูป คือ ไตรวาเลนส์ (3+) ซึ่งพบในอาหารและมีประโยชน์ต่อร่างกาย และ เฮ็กซ์วาเลนส์ (6+) ซึ่งเป็นโลหะหนักจากของเสียอุตสาหกรรม ดังนั้นในการศึกษาประโยชน์ของโครเมี่ยมต่อร่างกายนั้นเราจะศึกษาโครเมี่ยมในรูป 3+ เป็นสำคัญ
3
ประโยชน์ของโครเมี่ยม
ช่วยควบคุมระดับอินซูลินให้เป็นปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีส่วนช่วยในการเผาผลาญสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน) ช่วยทำให้อยากอาหาร มีส่วนช่วยเล็กน้อยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
4
แหล่งที่พบ โครเมี่ยมสามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด แต่จะพบได้ในปริมาณน้อย (ไม่เกิน 2 ไมโครกรัม) แหล่งของโครเมี่ยมที่ดีคือ บรูเออร์ยีส เนยแข็ง ตับ ธัญพืช และพืชรสจัดเช่นพริกไทย ในผักใบเขียวมีอยู่เล็กน้อย เราจะพบว่าในอาหารที่มีน้ำตาลสูง (น้ำผึ้ง น้ำตาล) มักจะไม่พบโครเมี่ยมเป็นส่วนประกอบ
5
ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
เด็กทารก อายุไม่เกิน 6 เดือนต้องการ 0.2 ไมโครกรัม 7 – 12 เดือน ต้องการ 5.5 ไมโครกรัม 1 – 3 ปี ต้องการ 11 ไมโครกรัม 4 – 8 ปี ต้องการ 15 ไมโครกรัม ผู้ใหญ่ ต้องการ 25 – 35 ไมโครกรัม โดยผู้ชายต้องการมากกว่าผู้หญิง ต้องการ 45 ไมโครกรัมในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
6
การดูดซึมโครเมี่ยม โครเมี่ยมมีการดูดซึมได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะดูดซึมที่ลำไส้เล็กเพียง 0.5 – 3% ของอาหารทั้งหมดที่รับประทานเข้าไป ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางอุจจาระ วิตามินซีและวิตามินบีสาม(ไนอะซิน) มีส่วนช่วยในการดูดซึมโครเมี่ยมเข้าสู่ร่างกาย โครเมี่ยมส่วนใหญ่จะถูกสะสมไว้ที่ตับ ม้าม เนื้อเยื่ออ่อนและกระดูก การรับประทานอาหารที่หวานจัด และมีน้ำตาลสูง (มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากกว่า 35% ของแคลอรี่ที่ได้รับ) จะลดการดูดซึมโครเมี่ยมในร่างกาย และเร่งการขับโครเมี่ยมออกมาทางปัสสาวะ ภาวะที่มีการติดเชื้อ ออกกำลังกายอย่างหนัก มีความเครียดสูง ทำให้ร่างกายสูญเสียโครเมี่ยมมากขึ้น เกิดอาการขาดโครเมี่ยมได้หากรับประทานโครเมี่ยมน้อยอยู่แล้ว
7
อาการที่เกิดจากการขาดโครเมี่ยม
ปกติมักไม่ค่อยพบอาการขาดโครเมี่ยมในคนและสัตว์ แต่จากการทดลองพบว่าเมื่อสัตว์ขาดอาหารที่มีโครเมี่ยมนาน ๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง (เบาหวานชนิดที่ไม่เกิดจากการขาดอินซูลิน) น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูง อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดเป็นกรด เป็นผลพวงที่เกิดจากเบาหวาน
8
วิธีการแก้ไขอาการขาดโครเมี่ยม
ในผู้ป่วยที่มีการขาดโครเมี่ยมรุนแรง แพทย์มักจะใช้ยาที่มีส่วนประกอบของโครเมี่ยม พิโคลิเนต ซึ่งเป็นโครเมี่ยม (3+) ที่อยู่ในรูปของเกลือ ทานเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
9
ผลที่เกิดจากการได้รับ โครเมี่ยมมากเกินความจำเป็น
ผลที่เกิดจากการได้รับ โครเมี่ยมมากเกินความจำเป็น โครเมี่ยมมีการดูดซึมได้น้อยและสามารถขับออกไปได้ทางปัสสาวะ จึงไม่พบปัญหาที่เกิดจากการรับประทานโครเมี่ยมเป็นจำนวนมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามมักมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของโครเมี่ยมเกินความเป็นจริง โดยเฉพาะในยาลดความอ้วนทั้งหลาย จึงควรพึงระวังไว้ว่า การรับประทานโครเมี่ยมจำนวนมาก ๆ ไม่นำมาซึ่งผลดีแต่ประการใด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.