ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSaeng Anand ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนาการอ่านออกเสียงควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกการอ่านตัว ร, ล, ว ควบกล้ำ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 3 นายคมสัน ชัยรัตน์
2
ปัญหาการวิจัย จากการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 ในวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม พบว่านักศึกษามีปัญหาในการออกเสียงคำควบกล้ำไม่ถูกต้องและชัดเจน ซึ่งเมื่อพูดผิดพลาดเป็นประจำแล้ว จะทำให้เสียบุคลิกภาพ ผู้ฟังเกิดความรำคาญ ทั้งยังเกิดผลเสียในด้านการสื่อความหมาย อาจทำให้เข้าใจผิดไปได้ นอกจากนี้ยังทำให้ความงดงามของภาษาประจำชาติสูญสิ้นไป ผู้สอนจึงควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว ของนักศึกษา
3
ปัญหาการวิจัย เพื่อเป็นการขจัดปัญหาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนจะติดเป็นนิสัย และเป็นการวางรากฐานในการใช้ภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติให้ถูกต้องด้วย ดังนั้น จึงได้มีความต้องการแก้ไขปัญหาการออกเสียงดังกล่าวด้วยการสร้างและปรับปรุงแบบฝึกให้มีความเหมาะสมกับสภาพของนักศึกษา จึงได้จัดทำคู่มือการฝึกออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ห้อง 1/3 วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการออกเสียงควบกล้ำด้วยตนเองอย่างถูกต้อง และครูผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการฝึกการออกเสียงคำควบกล้ำให้แก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารในการดำรงชีวิตประจำวันได้ดี และช่วยธำรงรักษาเอกภาพของภาษาไทยและชาติไทยไว้ตลอดไป
4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม จังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะแบบฝึกการอ่าน ร, ล, ว ควบกล้ำ เพื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว ให้ถูกต้อง
5
ตารางสรุปผลการวิจัย ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เลขที่ การประเมินผล D D2 ก่อนเรียน หลังเรียน 1 6 18 12 144 2 7 11 121 3 19 4 5 16 17 8 10 100 9 เลขที่ การประเมินผล D D2 ก่อนเรียน หลังเรียน 13 9 19 10 100 14 7 18 11 121 15 6 17 16 12 144 5 20 21 8 22 23 24 81
6
ตารางสรุปผลการวิจัย ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน เลขที่ การประเมินผล D D2 ก่อนเรียน หลังเรียน 25 7 18 11 121 26 6 17 27 5 12 144 28 4 13 169 29 16 30 31 32 33 34 10 100 35 36 เลขที่ การประเมินผล D D2 ก่อนเรียน หลังเรียน 37 5 17 12 144 38 6 18 39 7 19 40 11 121 N = 40 X = 6.47 S.D. = 1.24 X = 17.55 ∑D = 443 ∑ D2 = 4,937
7
ตารางสรุปผลการวิจัย ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบความแตกต่างของการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 เรื่องการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 3 การประเมินผล N ∑D ∑ D2 t-test ผลการเปรียบเทียบ 40 443 4,937 78.82** เมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนการประเมินผลก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย t-test พบว่า t = ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงอาจกล่าวได้ว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างเชื่อมั่นได้ที่ 99%
8
สรุปผลการวิจัย ผลคะแนนทดสอบหลังใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 3 มีคะแนนสูงจากก่อนใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงร้อยละ คิดเป็น ร้อยละ 99 ซึ่งแสดงว่า การใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 3 ทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
9
อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ทราบว่าความสำคัญในการอ่านของนักศึกษา เกิดจากวิธีสอนของครู อาจารย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ครู อาจารย์ ยังขาดอุปกรณ์ที่เป็นแบบฝึกเสริมทักษะที่มีเนื้อหาตรงกับความสนใจของนักศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล, ว ของนักศึกษา
10
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.