ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNaruesorn Srisati ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การใช้รูปแบบการแนะแนวสำหรับการแก้ปัญหาผู้เรียน ให้เป็นคนดีของสังคม
ดร.ญาณินท์ คุณา สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
2
ปัญหาการวิจัย ปัจจุบันวิถีชีวิตของนักศึกษาอาชีวศึกษากำลังเผชิญกับบริโภคนิยม (การใช้ของแพงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานภาพทางสังคม) การเที่ยวเตร่ยามค่ำคืน ยาเสพติด การดำเนินวิถีชีวิตของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสังคมเมืองมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ภายใต้อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และอิทธิพลของสังคมโลกตะวันตกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการต่อสู้แข่งขันโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมตามหลักศีลธรรม มีพฤติกรรมย่อหย่อนในความรับผิดชอบ และชอบใช้ความรุนแรง (กระทรวงศึกษาธิการ.2553)
3
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) นักแนะแนว /ครูที่ทำหน้าที่แนะแนวที่มีความรู้ทางการแนะแนวเชิงจิตวิทยาด้วยแล้ว ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาให้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสมดุลทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อเป็นคนดี มีปัญญา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม จะได้ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล และเดินข้ามผ่านช่วงเวลาวิกฤตต่างๆ เหล่านั้นไปได้ โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรงในการตัดสินแก้ปัญหาให้กับตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
4
วัตถุประสงค์ เพื่อใช้รูปแบบการแนะแนวสำหรับการแก้ปัญหาผู้เรียนให้เป็นคนดีของสังคม
5
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ
ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำของพฤติกรรมรับผิดชอบ พฤติกรรมการแก้ไขปัญหา อย่างสันติวิธี (พฤติกรรมการเป็นคนดี) ทั้งก่อนการฝึกอบรม ทันทีหลังการฝึกอบรม แหล่งความแปรปรวน SS df Mean Square F Sig. ประเภทของการฝึก 97.90 3 32.60 17.02 0.00 ความคลาดเคลื่อน 22.25 116 19.20
6
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ (ต่อ)
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยของการฝึก วัด 1 เดือน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ใน 4 กลุ่ม การทดลอง ประเภทของกลุ่ม จำนวน (คน) ก่อนการฝึกฯ ทันทีหลังฝึกฯ 1 เดือนหลังฝึกฯ SD กลุ่ม 100% 30 40.15 2.37 44.73 2.38 47.52 2.32 กลุ่ม 50%(แบบ 1) 41.92 2.39 41.94 39.91 2.31 กลุ่ม 50%(แบบ 2) 42.57 2.44 42.74 1.45 40.22 2.36 กลุ่มควบคุม 40.71 1.52 40.72 2.52 40.33 1.42
7
รูปแบบการแนะแนวสำหรับการแก้ปัญหาผู้เรียนให้เป็นคนดีของสังคม
8
สรุปผลการวิจัย พฤติกรรมความรับผิดชอบ พฤติกรรมการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี และพฤติกรรมรับผิดชอบและแก้ปัญหาในครอบครัวอย่างสันติวิธี พบว่า กลุ่มนักเรียน 3 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มฝึกจิตลักษณะและทักษะ (100% สีแดง) 2) กลุ่มฝึกจิตลักษณะ (50%P สีเหลือง) และ 3) กลุ่มนักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกทั้งสองแบบ (กลุ่มควบคุม สีส้ม) เป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยวัดทันทีหลังฝึกอบรมสูงกว่าคะแนนการวัดก่อนการฝึกอบรม
9
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) การวัด 1 เดือนหลังการฝึกอบรม พบว่า คะแนนสูงกว่าคะแนนการวัดก่อนฝึกอบรมในเช่นนี้ปรากฏใน 3 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนวัดทันทีหลังฝึกอบรมและวัด 1 เดือน หลังการฝึกอบรม ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยใน 1 กลุ่ม คือ กลุ่มฝึกจิตลักษณะ และทักษะ (100% สีแดง) มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น และกลุ่มฝึกจิตลักษณะ (50%M สีฟ้า) มีคะแนนเฉลี่ยลดลงเพียงแต่ไม่มีนัยสำคัญ และกลุ่มฝึกทักษะ (50%P สีเหลือง) มีคะแนนเฉลี่ยลดลง (แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า กลุ่มควบคุมกลับมีแนวโน้มของคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างมากนักจากก่อนการฝึก)
10
Thank & Question
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.