ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKarn Maleenont ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
"ประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 พ.ศ. 2553" ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 20 พฤษภาคม 2553
2
สรุปสาระสำคัญ "1. กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ 4 ไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้ยกเลิก" "(1) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตราย ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2543(2) ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544"
3
สรุปสาระสำคัญ 2. วัตถุอันตรายมี 9 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด (Explosives) ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases) ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ ประเภทที่ 5 สารออกซิไดส์ และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing Substances and Organic Peroxides) ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and Infectious Substances) ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Material) ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) ประเภทที่ 9 วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substancesand Articles)
4
สรุปสาระสำคัญ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 60 วัน
5
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
1. ผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ 2 และมีลักษณะการบรรทุกดังต่อไปนี้ ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 -รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ 4 (รถบรรทุกวัสดุอันตราย) ที่ถังบรรทุกมีความจุเกินกว่า 1,000 ลิตร -รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ 7 (รถกึ่งพ่วง) ที่มีถังบรรทุกวัตถุอันตราย มีความจุเกินกว่า 1,000 ลิตร -รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะอื่นนอกจาก (1) และ (2) ที่นำไปใช้บรรทุกวัตถุอันตราย ดังต่อไปนี้
6
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
วัตถุอันตรายประเภทที่ 1 ประเภทที่ 6 เฉพาะสารติดเชื้อ และประเภทที่ 7 วัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซหรือก๊าซเหลวบรรจุในภาชนะ โดยมีปริมาณรวมกันเกินกว่า1,000 ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า 1,000 กิโลกรัม วัตถุอันตรายที่มีปริมาณรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า1,000 กิโลกรัม หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือเกินกว่า 1,000 กิโลกรัม
7
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
2. ผู้ขับรถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ 2 และมีลักษณะการบรรทุกดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 -รถที่ใช้ในการบรรทุกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มในแต่ละภาชนะมีปริมาตรไม่เกิน 250 ลิตร -รถที่ใช้ลากจูงรถที่บรรทุกวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ ในกรณีที่รถบรรทุกวัตถุอันตรายนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเกิดอุบัติเหตุ -รถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายนอกจากที่กำหนดไว้ใน (1) และ (2) ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
8
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.