งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล(Brown planthopper)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล(Brown planthopper)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล(Brown planthopper)
นายคุปต์ โคตรรสขึง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

2 เพลี้ยกระโดดสี้น้ำตาล?
เป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรสีน้ำตาล รูปร่าง 2 แบบ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น เป็นแมลงชนิดปากดูด ทำลาย โดยดูดน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทุกระยะการเจริญเติบโต ชอบอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว และดูดน้ำเลี้ยงบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่บริเวณเส้นกลางใบหรือกาบใบข้าว 1 ตัว วางไข่ได้ ฟอง ตัวเต็มวัยมีอายุ 2 สัปดาห์ และสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2 – 3 รุ่น ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกาบใบข้าวใกล้ระดับน้ำ ทำให้ต้นข้าวเหลือง และแห้งตายเป็นหย่อมๆ ซึ่งจะขยายเป็นวงกว้างหรืออาจจะแห้งตายทั้งแปลง สามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะใกล้ไกล โดยอาศัยลมเป็นตัวช่วย อพยพมาจากแปลงที่เก็บเกี่ยวแล้ว โดยวางไข่ในต้นข้าวที่ปลูกใหม่ 1 – 2 ตัว

3

4 ปัจจัยการระบาดของเพลี้ยงกระโดดสีน้ำตาล
สภาพภูมิอากาศ 20-30 C. ความชื้นในอากาศ ลม โดยเฉพาะแปลงนาที่เป็นนาหว่าน การเขตกรรม การไม่พักดิน การหว่านข้าว การปลูกไม่พร้อมกัน การใช้ปุ๋ยเยอะ การควบคุมน้ำ

5 ลักษณะการทำลายข้าวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตัวเพลี้ยทำลายเอง
โดยการดูดกินเซลล์ท่อน้ำเลี้ยงท่ออาหารต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้มีอาการใบเหลืองแห้ง ตายเป็นหย่อมๆ (อาการไหม้) ตัวเพลี้ยเป็นพาหะทำให้เกิดโรคต่างๆ(เชื้อไวรัส) ทำให้ต้นข้าวมีอาการต้นเตี้ย แคระแกร็น ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบจะแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น ออกรวงไม่พ้นใบ เมล็ดลีบไม่มีแป้ง โรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคใบหงิกหรือโรคจู๋ โรคใบสีแสด โรคเขียวเตี้ย เหลืองเตี้ย โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคกาบใบแห้ง โรคกาบใบเน่า โรคใบวงสีน้ำตาล โรคเมล็ดด่างฯลฯ

6 ต้นข้าวในนาของท่านมีอาการดังรูปหรือที่กล่าวมาหรือไม่ เหล่านี้คืออาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะมาให้ข้าวเกิดโรค

7 การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยวิธีธรรมชาติ
ตัวห้ำ แมงมุม เช่นแมงมุมสุนัขหมาป่า แมงมุมตาหกเหลี่ยม ด้วง เช่น ด้วงเต่า ด้วงดิน ด้วงก้นกระดกฯลฯ มวนเขียวดูดไข่ มวนจิงโจ้น้ำ แมลงปอเข็ม ตัวเบียน แตนเบียน เชื้อราขาว เชื้อราเขียว เชื้อราเฮอร์ซูเรลท่า สมุนไพร เช่นสะเดา พริก กระเพรา ขิง ข่า ตะไคร้ ฟ้าทะลายโจร

8 การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน
สมุนไพรที่มีรสขม ทำให้ไข่เพลี้ยฝ่อ ฟักตัวไม่ออก ตัดวงจรชีวิตของเพลี้ย สารสกัดสะเดา มีสารอะชาไดแรกติน และเมื่อเพลี้ยหได้รับเข้าไป ก็จะทำให้ เพลี้ยกินอาหารได้น้อยลง หรือไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ทำให้เป็นหมัน ไม่เจริญเติบโต สุดท้ายก็ตาย เชื้อราบิวเวอร์เรีย จะทำให้เพลี้ยฯ ป่วยและทำลายอวัยวะเพลี้ยตาย ภายใน 2-3 วัน และยังทำลายได้ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของเพลี้ยด้วย

9 สรุปต้องใช้ทั้ง 3 อย่างผสมกัน
สมุนไพรที่มีรสขมและสารสกัดสะเดาจะช่วยทำให้ รสชาติของต้นและกาบใบข้าวเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เพลี้ยกระโดดจะไม่ชอบ จึงช่วยลดการเข้าทำลายได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดูดกินน้ำเลี้ยงก็จะกินรสชาติที่ เผ็ด ขมไม่อร่อย โดยธรรมชาติการฉีดพ่นพวกผงสมุนไพรและสารสกัดจากสะเดา พวกนี้เมื่อถูกฉีดพ่นไปแล้วเขาก็จะไหลหยดย้อยจากปลายใบลงไปสะสมกองสุมอยู่ ที่กาบใบของข้าว ทำให้ช่วงบริเวณกาบใบซึ่งขาว อวบ อ้วน และหวาน มีรสชาติเป็นที่ต้องการของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็จะขมไม่อร่อย เชื้อราบิวเวอร์เรียนั้นจะค่อยๆ เจริญเติบโตแผ่เส้นใยเข้าปกคลุมรัดตรึงและเจาะทำลายผนังลำตัวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจนตายในที่สุด


ดาวน์โหลด ppt เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล(Brown planthopper)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google