ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวคิดพื้นฐานด้านภาวะผู้นำ
ยุทธนา พรหมณี
2
ความหมายของผู้นำ "ผู้นำ" หมายถึง บุคคลที่สามารถชักจูง หรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงาน สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
3
ความหมายของภาวะผู้นำ
หมายถึง ศิลปของการใช้อิทธิพลหรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม
4
ภาวะผู้นำ Leadership มาจากคำ 2 คำ คือ Leader กับคำว่า Ship
จึงแปลว่า เรือที่มีผู้นำ หรือเรือที่มีหางเสือ ภาวะผู้นำ คล้ายกับพวงมาลัย Power ของรถยนต์ ที่ช่วยให้คนขับรถออกแรง (Authority) ได้ดี หากรถยนต์ขาดพวงมาลัยย่อมขาดทิศทางเช่นเดียวกัน ภาวะผู้นำ Leadership
5
“ผู้นำ” กับ “ภาวะผู้นำ” เหมือน หรือ แตกต่าง
กันอย่างไร?
6
ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ (Leadership) คุณสมบัติภายในตัวของผู้นำ เช่น สติปัญญา ความดีงาม ความรู้ความ สามารถในการชักนำคนทั้งหลายให้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน พฤติกรรมของบุคคลในการกำกับกิจกรรมของกลุ่มไปสู่เป้าหมายร่วมกัน เป็นกระบวนของการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม เพื่อการตั้งเป้าหมายและบรรลุเป้าหมาย ผู้นำ (Leader) มีบทบาทเหนือบุคคลอื่นในหน่วยงาน ได้รับเลือกจากสมาชิกหรือบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำ ได้รับการยอมรับหรือยกย่องของกลุ่มให้เป็นผู้นำ มีบทบาทสำคัญในการทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย สรุป “ผู้นำ” หมายถึง บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงาน สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สรุป “ภาวะผู้นำ” หมายถึง ศิลปของการใช้อิทธิพลหรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม
7
คุณสมบัติของผู้นำ 6. มีความอดทน ความรู้ 7. มีความตื่นตัวแต่
6. มีความอดทน 7. มีความตื่นตัวแต่ ไม่ตื่นตูม 8. มีความภักดี 9. มีความสงบเสงี่ยม ไม่ถือตัว ความรู้ ความริเริ่ม มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด การมีมนุษยสัมพันธ์ มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต
8
1.ความรู้ (Knowledge) การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย ผู้นำต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผู้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
9
2.ความริเริ่ม (Initiative)
ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเองความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ จะต้องมีความกระตือรือร้น มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า
10
3.มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)
ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย
11
4.การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations)
ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้
12
5.มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็น เครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
13
6.มีความอดทน (Patience)
ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
14
7.มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )
ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาดขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
15
8. มีความภักดี (Loyalty)
การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
16
9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผลความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
17
บทบาทของผู้นำ (LEADERSHIP ROLE)
ผู้นำมีบทบาทและหน้าที่หลายประการ ผู้นำเป็นทั้งหัวหน้า เพื่อนร่วมงานผู้ให้กำลังใจ ตลอดจนเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินใจกลุ่มของตน . บทบาทและหน้าที่ของผู้นำ มี 3 ประการ ดังนี้
18
ผู้รักษาหรือประสานให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกัน (Maintenaace of membership)
หมายถึง จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่ม มีความสัมพันธ์คนในกลุ่ม และเป็นที่ยอมรับของคนในกลุ่มทำให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน
19
ผู้ปฏิบัติภาระกิจของกลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Objective attaniment)
หมายถึง เขาจะต้องรับผิดชอบในกระบวนการวิธีการทำงานด้วยความมั่นคงและเข้าใจได้ และเขาจะต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
20
ผู้อำนวยให้เกิดการติดต่อ สัมพันธ์ในกลุ่ม (Group interaction facilitation)
หมายถึง เขาจะต้องปฏิบัติงานในทางที่อำนวยความสะดวกให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์และปฏิบัติกันด้วยดีของสมาชิกในกลุ่ม การติดต่อสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นการช่วยให้หน้าที่นี้บรรลุเป้าหมาย
21
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะผู้นำ
ตัวผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์
22
ตัวผู้นำ ผู้นำมีลักษะพิเศษบางประการที่ผู้ตามไม่มี ซึ่งรวมถึง พลังกาย พลังสมอง และพลังศีลธรรม 1. มีความทะเยอทะยานและมีพลัง 2. มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะเป็นผู้นำ 3. มีความซื่อสัตย์ 4. มีความมั่นใจในตนเอง 5. มีความเฉลียวฉลาด 6. มีความรู้ในงาน
23
การที่ผู้ตามยินดีคล้อยตามผู้นำเพราะต่าง ก็มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
บุคคลที่แสดงบทบาทผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้นำ รวมทั้งรับคำสั่งและรับมอบหมายงานจากผู้นำเพื่อนำมาปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ การที่ผู้ตามยินดีคล้อยตามผู้นำเพราะต่าง ก็มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
24
สถานการณ์ ประโยคคุ้นหูหนึ่งที่พูดว่า "สถานการณ์สร้างผู้นำ"
Environmental Theories ทฤษฎีสภาพแวดล้อม ทฤษฎีนี้เชื้อว่าบุคคลที่จะเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับสภาพ แวดล้อมกล่าวคือ ผู้นำจะเป็นผู้สามารถแก้ปัญหา ในยามวิกฤตได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวติดของ Ross and Hendry สถานการณ์ที่กลุ่ม เผชิญอยู่ก่อให้เกิดผู้นำได้
25
เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำ ที่ ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ
สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี
26
เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำ ที่ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ
5. ปรับปรังบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของ ตนเอง 6. ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพ นุ่มนวล เป็นปกตินิสัย 7. ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ 8. ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการ ทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ
27
ปรัชญาของการเป็นผู้นำ
เหลาจื้อ ให้นิยามว่า "ผู้นำ คือ ผู้ที่มี ผู้ตาม" แต่ ผู้ตามต้องยินดีที่จะตาม" และยังเทียบผู้นำไว้ ๔ ระดับ ระดับแรก ผู้คน ทำตาม เชื่อฟัง เพราะความเกลียด ระดับต่อมา ผู้คนเชื่อฟังและทำตามเพราะ ความกลัว ระดับต่อมา ผู้คนเชื่อฟังและทำตามเพราะ ความรัก ระดับสูงสุดคือ ทำให้ลูกน้อง หรือ ผู้ตาม มั่นใจและรู้สึกว่าเขา ทำสิ่งเหล่านั้นเอง แล้วมีคำพูดว่า "เห็นไหม ฉันทำสำเร็จ" และเขาก็จะรู้ว่า มี"ผู้นำอยู่เบื้องหลัง" ความสำเร็จของเขา คำสอนของเหลาจื้อ "เป็นผู้นำต้องเดินตาม"
28
ศิลปะแห่งผู้นำ ชนะศึกสงครามใช่ความยาก ถ้าหากมียุทธวิธีที่ดีกว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมกลศึกที่ฝึกมา อีกศัสตราฆ่าฟันก็บรรลัย แต่ชนะผู้ใดก็ไม่วิเศษ เท่าชนะกิเลสของตนได้ ชนะคนพันคน จนเกรียงไกร ถ้าแพ้ใจพ่ายตนไม่พ้นพาล เมื่อเห็นตัวแม่ทัพ ก็รู้ว่าพลทหารเป็นอย่างไร เมื่อเห็นพลทหาร ก็รู้ว่าแม่ทัพเป็นอย่างไร : Arther W. Newcomb ความแข็งแกร่งของกลุ่ม ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของผู้นำ : Vince Lombardi ทหารดีมีสิบคนภายใต้การนำอย่างฉลาด สามารถโจมตีทหารร้อยคนที่ขาดหัวหน้าได้ : Euripides คนไม่ใช่สิงโต หรือแกะ แต่เป็นผู้นำทำให้คนเปลี่ยนเป็นสิงโตหรือแกะก็ได้ : Jean Dutourd
29
ผู้นำพันธุ์ใหม่ สไตล์สามก๊ก
จงท่องยุทธจักร เพื่อพิทักษ์คุณธรรม มุ่งพิชิตคนพาล อภิบาลคนดี ต้องใช้กระบี่ปราบมาร(พระเดช) ประสานฝ่ามืออรหันต์(พระคุณ) ไม่มีกระบี่ใด ที่ไม่หัก ไม่มีชัยชนะใด ที่ไม่พ่ายแพ้ ไม่มีอำนาจใด ที่ไม่หมด ผู้ใช้ดาบ ก็จะตายเพราะดาบ ผู้ที่ใช้แต่อำนาจ ก็จะพบแต่ความพินาศ ชนะใจเป็นหลัก ชนะศึกเป็นรอง
30
ผู้นำดี ผู้ตามดี ย่อมดีแน่
ผู้นำดี ผู้ตามแย่ ต้องแก้ไข ผู้นำดี ผู้ตามดี มีถมไป ผู้นำแย่ ไม่เอาใหน บรรลัยเลย
31
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.