งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Mobile Information Services: User.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Mobile Information Services: User."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Mobile Information Services: User Needs of the Center for Library Resources and Educational Media, Suranaree University of Technology อินทิรา นนทชัย1 1นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และกันยารัตน์ เควียเซ่น2 2กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 ความเป็นมา ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของการเรียนออนไลน์ (Electronic Learning) หรือการเรียนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (M-Learning: Mobile Learning) ห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ในฐานะที่เป็นหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา จึงควรจัดเตรียมบริการและทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียนในรูปแบบต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ที่สุด

3 บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามแนวคิดของ Murray (2010) เว็บไซต์ของห้องสมุด (Library web sites) บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าผ่านข้อความสั้น (SMS reference) ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (MOPACS: Mobile OPACS) บริการแจ้งรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (Mobile Collections) บริการ eBooks และ mobile reading บริการ Mobile instruction บริการแนะนำการให้บริการของห้องสมุด (Mobile audio/video tours) Source: Murray, L. (2010). Libraries “like to move it, move it”. Reference Services Review, 38(2),

4 ตัวอย่างบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
Library web site Duke University Library Library web site มหาวิทยาลัยนเรศวร

5 ตัวอย่างบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ต่อ)
MOPACS: Mobile OPACS New York Public Library

6 ตัวอย่างบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ต่อ)
SMS notification services University of South Africa (UNISA) - แจ้งการค้างชำระค่าปรับ รายการที่ต้องนำส่ง หนี้คงค้าง - การเรียกคืนสารสนเทศ - การเปลี่ยนแปลงเวลาในการให้บริการของห้องสมุด - การงดบริการ หรือตารางการฝึกอบรม - ข้อความแจ้งสารสนเทศที่สูญหายของห้องสมุด - ข้อความแจ้งผลการสืบค้นสารสนเทศตามคำขอ - แจ้งเตือนการเข้าร่วมฝึกอบรม / การต่ออายุประจำปี - แจ้งยืนยันสารสนเทศตามคำขอ

7 ปัญหาการวิจัย จากความสำคัญดังกล่าว นำมาสู่ปัญหาของงานวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1. การเพิ่มช่องทางการให้บริการสารสนเทศให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศหรือรับบริการที่ห้องสมุดจัดให้ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วได้ทุกที่ทุกเวลา 2. การขยายการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุด จากเดิมที่ให้ผู้ใช้เดินเข้ามาใช้บริการที่ ห้องสมุดและการให้บริการออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยพัฒนาวิธีการในการนำเสนอบริการ สารสนเทศ ในลักษณะการบริการห้องสมุดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3. การจัดเตรียมและพัฒนาบริการที่ตรงกับความต้องการ บรรณารักษ์งานบริการต้องการจะ พัฒนาบริการห้องสมุดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่ยังไม่ทราบว่าจะนำเสนอบริการ ในลักษณะใดก่อน

8 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

9 นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หมายถึง บริการต่าง ๆ ของห้องสมุด ที่จัดส่งบริการไปยังผู้ใช้บริการ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็ก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการห้องสมุดของผู้ใช้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยอาศัยแนวคิดของบริการห้องสมุดบนมือถือของ Murray (2010) อุปกรณ์เคลื่อนที่ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงสารสนเทศ หรือเพื่อความบันเทิง เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ PDA เป็นต้น

10 วิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ สภาพการใช้บริการและปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ตลอดจนความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ ปีการศึกษา 2555 ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน แจกแบบสอบถามให้กับนักศึกษาทั้งที่เข้าใช้บริการและไม่เข้าใช้บริการของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ได้แบบสอบถามกลับคืน จำนวน 370 ชุด คิดเป็นร้อยละ

11 พื้นที่วิจัย e-Learning มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี m-Learning
SUT-Library

12 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาผู้ใช้ การบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1. ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องคือ 0.82 2. ทดลองใช้ถามกับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.80

13 ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ

14 ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ (ต่อ)

15 ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ (ต่อ)

16 ผลการวิจัย: ข้อมูลทั่วไป และสภาพการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการ (ต่อ)

17 ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

18 ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ต่อ) เหตุผลในการเข้าใช้บริการสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

19 ปัญหาด้านช่องทางการเข้าถึงบริการสารสนเทศของผู้ใช้บริการ
ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ต่อ) ปัญหาด้านช่องทางการเข้าถึงบริการสารสนเทศของผู้ใช้บริการ มีปัญหาอะไรเยอะที่สุด เจอมากที่ สุด แต่เป็นปัญหาในระดับน้อย

20 ผลการวิจัย: สภาพการใช้ และปัญหาในการใช้บริการสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (ต่อ) ปัญหาการเข้าถึงบริการสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์ของผู้ใช้บริการ

21 ผลการวิจัย: ความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
ผลการวิจัย: ความต้องการใช้บริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

22 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ไว้ในครอบครอง โดยผู้ใช้บริการร้อยละ 64.0 ใช้สมาร์ทโฟน ดังนั้น ห้องสมุดสามารถพัฒนาระบบบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์ เคลื่อนที่ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการของ ห้องสมุดเพิ่มเติม เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมการศึกษาเรียนรู้ของ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้และปริมาณการใช้ บริการของห้องสมุดได้อีกทางหนึ่ง

23 การนำผลการวิจัยไปพัฒนา
ผลการวิจัยที่กล่าวมาเป็นเพียงการวิจัยระยะแรก ขณะนี้ได้นำผลไปทดลองในระยะที่ 2 แล้ว และจะทำการประเมินความพอใจผู้ใช้ต่อไป

24 ขอขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt ความต้องการบริการสารสนเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Mobile Information Services: User.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google