ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พื้นที่สีเขียวกับกรุงเทพมหานคร
2
ขอบเขตการนำเสนอ สถานการณ์ทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
การดำเนินการในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ปัญหา อุปสรรค์ และข้อเสนอแนะ แนวคิดการพัฒนา
3
ทำไมต้องมีพื้นที่สีเขียวในเมือง?
ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้ระบบนิเวศน์ของเมืองอยู่ได้ ป้องกันการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งทะเล ต้นไม้ในพื้นที่สีเขียวช่วยดูดซับมลภาวะอากาศ ลดอุณหภูมิของเมือง ที่เกิดจาก Urban Heat Island Effect โดยการให้ร่มเงาพื้นผิวที่ดูดซับความร้อน ในสภาพแวดล้อมเมืองโดยตรง และ โดยทางอ้อมโดยการทำความเย็นจากกระบวนการ ระเหยคายน้ำ (Evapotranspiration –ET) มีการศึกษาพบว่าต้นไม้ที่ให้ร่มเงากับผนังอาคารสามารถ ช่วยลดอุณหภูมิผนังได้ถึง 17 องศาเซลเซียส มีผลให้สามารถลดการใช้เครื่องปรับอากาศได้ถึง 50% ลดเสียงรบกวนลงได้ โดยอาศัยพุ่มใบที่หนาทึบของไม้ยืนต้นและ ไม้พุ่มช่วยดูดซับเสียง
4
ทำไมต้องมีพื้นที่สีเขียวในเมือง?
ด้านสังคม เป็นแหล่งนันทนาการของชุมชน เป็นที่เล่น ที่ชุมนุม ที่พักผ่อนหย่อนใจ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพกาย และใจของคนในชุมชนทุกเพศ วัย ช่วยเพิ่มคุณค่าทางสังคมของชุมชน พื้นที่สีเขียวเป็นสิ่งเชื่อมโยงผู้คนให้ได้สัมผัสกับ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ทำให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจ โดยอ้อม เป็นที่น่าสังเกตว่า พื้นที่ข้างเคียงกับพื้นที่สีเขียวมักจะมีราคาที่ดินสูง อีกทั้งพื้นที่ สีเขียวมักจะมีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สามารถทำเงินรายได้ให้แก่ชุมชน
5
สถานการณ์ทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
9
แผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546
สวนสาธารณะ/สวนหย่อม สนามกีฬากลางแจ้ง สนามกอล์ฟ แหล่งน้ำ ที่ลุ่ม ที่ว่างหรือพื้นที่รกร้าง พื้นที่ไม้ยืนต้น พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เป็นต้น สวนสาธารณะหลัก หมายถึง สวนที่มีองค์ประกอบดังนี้ 1. มีรั้วรอบขอบชิด 2. กำหนดเวลาปิด-เปิด ที่แน่นอน 3. มีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลประจำ 4. สามารถรองรับและให้บริการประชาชนทั่วไป 5. มียามรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัย 24 ชั่วโมง 6. มีพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับหมุนเวียนตลอดปี 7. มีสิ่งอำนวยต่างๆ ทั้งส่วนนันทนาการและกีฬา 8. มีกฎหมาย และระเบียบกำรใช้สวนสาธารณะที่กรุงเทพมหานครประกาศใช้ในสวนสาธารณะ รับผิดชอบโดย: สำนักงานสวนสาธารณะ
10
ประเภทสวนสาธารณะ/สวนหย่อม
ประเภทที่ 1 สวนหย่อมขนาดเล็ก (Pocket Park, Mini Park, Tot lots) ประเภทที่ 2 สวนหมู่บ้าน (Neighbourhood Park) ประเภทที่ 3 สวนชุมชน (Community Park) ประเภทที่ 4 สวนระดับย่าน (District Park) ประเภทที่ 5 สวนระดับเมือง (City Park) ประเภทที่ 6 สวนถนน (Street Park) ประเภทที่ 7 สวนเฉพาะทาง (Special Purpose Park)
11
31 สวนสาธารณะหลักของกรุงเทพมหานคร
12
สวนสาธารณะหลักของกรุงเทพมหานคร
13
สวนสาธารณะหลัก 31 แห่ง ของกรุงเทพมหานคร
1 สวนหลวง ร.๙ 2 สวนวชิรเบญจทัศ 3 สวนลุมพินี 4 สวนเสรีไทย 5 สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ 6 สวนจตุจักร 7 สวนเบญจกิติ 8 สวนนวมินทร์ภิรมย์ (บึงลำพังพวย) 9 สวนธนบุรีรมย์ 10 สวนกีฬารามอินทรา 11 สวนทวีวนารมย์ 12 สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ 13 สวนพระนคร (สวนลาดกระบัง) 14 สวนวนธรรม (สวนธรรม 70 พรรษามหาราชินี) 15 สวนหนองจอก 16.สวนรมณีนาถ 18 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ 19 สวนสราญรมย์ 20 สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 21 สวนบึงน้ำลาดพร้าว สวนหลวงพระราม 24 สวนสันติภาพ 25 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา 26 สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน 27 สวนพรรณภิรมย์ 28 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย 29 สวนสาธารณะสันติชัยปราการ 30 สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ 31 สวนนาคราภิรมย์(สวนกรมการค้าภายใน)
14
การกระจายตัวของสวนหลัก
เพื่อให้บริการคนกรุงเทพ
17
มีพื้นที่สีเขียวกระจายตัวอย่างไร?
ในแต่ละกลุ่มโซนของกรุงเทพมหานคร
24
กลุ่มเขตสีเขียวสูงสุด กลุ่มเขตที่มีพื้นที่สวนสูงสุด
แยกรายกลุ่มเขต พื้นที่สีเขียว กลุ่มเขตสีเขียวสูงสุด กลุ่มเขตที่มีพื้นที่สวนสูงสุด จำนวนพื้นที่สีเขียว(แห่ง) กลุ่มกรุงเทพใต้ ขนาดพื้นที่สีเขียว(ตร.ม.) กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มกรุงเทพตะวันออก สัดส่วนต่อประชากร(ตร.ม./คน) ร้อยละพื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่กทม.
25
ประเภทของพื้นที่สีเขียว
ในแต่ละกลุ่มเขต
26
แผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546
38
กระจายตัวพื้นที่สีเขียวของเขตในแต่ละกลุ่มโซนเป็นอย่างไร?
39
กรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ กรุงเทพใต้ กรุงเทพตะวันออก
40
กรุงธนใต้ กรุงธนเหนือ
43
กรุงเทพกลาง กรุงเทพตะวันออก
46
กรุงเทพใต้ กรุงเทพเหนือ
49
กรุงธนเหนือ กรุงธนใต้
50
จำนวนพื้นที่สีเขียว(แห่ง) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร(ตร.ม./คน)
กลุ่มเขต จำนวนพื้นที่สีเขียว(แห่ง) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร(ตร.ม./คน) สูงสุด ต่ำสุด กรุงเทพกลาง วังทองหลาง พญาไท ห้วยขวาง สัมพันธวงศ์ กรุงเทพตะวันออก มีนบุรี บึงกุ่ม หนองจอก บางกะปิ กรุงเทพเหนือ บางซื่อ ดอนเมือง หลักสี่ กรุงเทพใต้ พระโขนง สาทร ประเวศ วัฒนา กรุงธนเหนือ ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี กรุงธนใต้ บางขุนเทียน ภาษีเจริญ
51
กับการพัฒนาพื้นที่สีเขียว
กรุงเทพมหานคร กับการพัฒนาพื้นที่สีเขียว
54
ดำเนินการใน 2 ลักษณะสำคัญ
การจัดหา ก่อสร้างสวนสาธารณะ/สวนหย่อม จัดซื้อ เช่าพื้นที่ รับบริจาค ขอใช้พื้นที่ส่วนราชการอื่นๆ และการแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาโดยสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขตทุกเขต ส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง ปรับปรุงพื้นที่ว่าง ทิ้งร้าง ไม่ปรากฏเจ้าของ ฯลฯ อนุรักษ์ ปรับปรุงสภาพพื้นที่เพื่อให้พื้นที่สีเขียวคงอยู่เป็นแหล่งกรองมลภาวะของเมือง ใช้เป็นพื้นที่เพื่อการพักผ่อน หย่อนใจ และรองรับกิจกรรมทางสังคม
55
การก่อสร้างสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
ก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมารวม 9 แห่ง คือ โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะใต้ทางแยกต่างระดับวัชรพล โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะลำบึงพระยา โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะบริเวณซอยเพชรเกษม 69 (บางบอน 3) โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะภายในสถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานคร (ถนนบางขุนเทียนชายทะเล) โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะบึงลำไผ่ โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะซอยสุวินทวงศ์ 47 (วัดราษฎร์บำรุง) เขตหนองจอก) โครงการก่อสร้างสวนสาธารณะซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 โครงการก่อสร้างอุทยานสวนจตุจักร
56
กิจกรรมการจัดหาที่ดิน (ซื้อ/เช่า/ขอใช้/แลกเปลี่ยน/รับบริจาค)
กิจกรรมการจัดหาที่ดิน (ซื้อ/เช่า/ขอใช้/แลกเปลี่ยน/รับบริจาค) สวนสาธารณะทางแยกต่างระดับวัชรพล เขตบางเขน (Dog park) (พื้นที่ 34 ไร่) สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ (เขตบางบอน) (พื้นที่ ๑๐๐ ไร่) สวนบริเวณซอยเพชรเกษม ๖๙ (เขตบางแค) (พื้นที่ ๗๐ ไร่) สวนสาธารณะบึงลำไผ่ (ถ.ประชาร่วมใจ เขตมีนบุรี) (พื้นที่ 78 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา) ที่สาธารณประโยชน์บริเวณซอยสุวินทวงศ์ 47 (วัดราษฎร์บำรุง เขตหนองจอก) (พื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน 89 ตารางวา) สวนสาธารณะภายในสถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานคร (ถนนบางขุนเทียนชายทะเล) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 กรมพัฒนาที่ดิน ถนนบางขุนเทียนชายทะเล เขตบางขุนเทียน (พื้นที่ 47 ไร่) ที่ดินสาธารณประโยชน์ ซ.จรัญสนิทวงศ์ 42 (โรงเรียนบางยี่ขัน) เขตบางพลัด (พื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา)
57
กิจกรรมการจัดหาที่ดิน (ซื้อ/เช่า/ขอใช้/แลกเปลี่ยน/รับบริจาค)
กิจกรรมการจัดหาที่ดิน (ซื้อ/เช่า/ขอใช้/แลกเปลี่ยน/รับบริจาค) สวนสาธารณะบริเวณเคหะชุมชนร่มเกล้า เขตลาดกระบัง (พื้นที่ 6 ไร่) (สำนักงานเขตลาดกระบังดำเนินการ) สวนสาธารณะซอยสุขสวัสดิ์ 30 แยก 8 เขตราษฎร์บูรณะ (พื้นที่ 65 ไร่ 24 ตารางวา) ที่ดินสาธารณประโยชน์บริเวณโคกบ่าวสาว (เขตบางเขน-คันนายาว) (พื้นที่ 43 ไร่) ที่สาธารณประโยชน์บริเวณถนนเชื่อมคลองมอญ (แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง) (พื้นที่ 19 ไร่ 2 งาน 59 ตารางวา) ที่ดินบ่อฝังกลบขยะ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง (พื้นที่ 174 ไร่) ที่สาธารณะประโยชน์ แขวงท่าแร้ง (หนองจระเข้บัว) เขตบางเขน (พื้นที่ 21 ไร่ 1 งาน 21 ตารางวา) (สำนักงานเขตบางเขนดำเนินการ) ที่สาธารณประโยชน์ ซอยอ่อนนุช 46 เขตสวนหลวง (พื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน 27 ตารางวา) (สำนักงานเขตสวนหลวงดำเนินการ) ที่ดินลำบึงพระยา ถ.ราษฎร์อุทิศ พื้นที่ 10 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา (เขตมีนบุรี) ที่ดินแขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย พื้นที่ 6 ไร่ พื้นที่บริเวณโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชา (ดอนเมือง) ถนนช่างอากาศอุทิศ4 แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง พื้นที่ 3 งาน 33 ตารางวา
58
กิจกรรมสำรวจ รวบรวมข้อมูลพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ พื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร V.2 มิถุนายน 2550 กองยุทธศาสตร์สาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อมขอความร่วมมือกองสารสนเทศภูมิศาสตร์พัฒนาโปรแกรมเพื่อการจัดการข้อมูลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร 6 มกราคม 2554 กองยุทธศาสตร์สาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อมขอความร่วมมือกองสารสนเทศพัฒนาโปรแกรมเพื่อการจัดการข้อมูลพื้นที่สีเขียวเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร 19 กรกฎาคม 2556 กองยุทธศาสตร์สาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อมขอความร่วมมือกองสารสนเทศพัฒนาฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร V.2
59
ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวกรุงเทพมหานคร
60
ปัญหา อุปสรรค์ในการพัฒนา พื้นที่สีเขียวของเมือง
61
ปัญหา อุปสรรค์ในการพัฒนาพื้นที่ สีเขียวของเมือง
ที่ดินจึงมีราคาแพง มาตรการการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวของเมืองไม่ชัดเจนเน้นให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ไม่มีนโยบายจัดหาพื้นที่ดินซึ่งเป็นของกรุงเทพมหานครเอง ให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นปอดสำคัญของเมืองน้อย การจัดทำผังเมืองรวมเปลี่ยนแปลงตามสภาพความเจริญที่เกิดขึ้นโดยไม่พยายามรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองไว้ อนาคตแนวโน้มการจัดหาพื้นที่ว่างเปล่าที่จะนำมาใช้เพื่อการจัดสร้างสวนฯ ทำได้ยากมากยิ่งขึ้น
62
แนวทางการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละกลุ่มเขต
63
กลุ่มกรุงเทพกลาง พื้นที่สีเขียวที่น่าสนใจประกอบด้วย พื้นที่ว่างเปล่าจากการตรวจสอบข้อมูลรายเขตพบว่าพื้นที่ว่างเปล่าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของเอกชน และบางส่วนเป็นพื้นที่ของหน่วยราชการอื่นๆ แนวทางการพัฒนา นำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชน เอกชน และสถานที่ราชการซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับกรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่สีเขียวโดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นพื้นที่สีเขียวไม่ปล่อยพื้นที่เป็นที่ว่างรกร้าง ในพื้นที่บริเวณที่มีความหนาแน่น นำแนวคิดทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์พัฒนาพื้นที่สีเขียวโดยร่วมกับการก่อสร้างสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมสวนดาดฟ้า/สวนแนวกำแพงในบริเวณไม่มีพื้นที่ๆ สามารถพัฒนาเป็นสวนแนวราบได้
64
กลุ่มกรุงเทพตะวันออก
พื้นที่สีเขียวที่น่าจะนำไปพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวได้ ๔ ประเภท คือที่ลุ่ม ที่ว่าง แหล่งน้ำและพื้นที่เกษตรกรรม จากการตรวจสอบข้อมูลรายสำนักงานเขตพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของประชาชนและเอกชน แนวทางการพัฒนาควรนำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว นำนโยบายด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาพื้นที่ทำการเกษตรที่ทำอาชีพเกษตรกรรมไว้เป็นพื้นที่สีเขียว แก้มลิง แหล่งอาหารของเมือง สนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้พัฒนาเป็นพื้นที่ สีเขียวในรูปแบบของพื้นที่พักผ่อนทางน้ำ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เปิดโล่ง ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รักษาสภาพแวดล้อมของเมืองให้อยู่ในสภาพที่ไม่แออัด และสามารถเป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย สนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของพื้นที่พักผ่อนทางน้ำ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เปิดโล่ง ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รักษาสภาพแวดล้อมของเมืองให้อยู่ในสภาพที่ไม่แออัด และสามารถเป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย
65
กลุ่มกรุงเทพเหนือ พื้นที่สีเขียวที่น่าจะนำไปพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวได้ ๒ ประเภท คือพื้นที่ว่าง และพื้นที่เกษตรกรรม จากการตรวจสอบข้อมูลรายเขตพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของประชาชนเอกชน และหน่วยราชการอื่นบางส่วนแนวทางการพัฒนาพื้นที่ นำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชน เอกชน และสถานที่ราชการซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับกรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่สีเขียวโดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นพื้นที่สีเขียวไม่ปล่อยพื้นที่เป็นที่ว่างรกร้าง นำนโยบายด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาพื้นที่ทำการเกษตรที่ทำอาชีพเกษตรกรรมไว้เป็นพื้นที่แก้มลิง พื้นที่เปิดโล่งของเมืองเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเมือง
66
กลุ่มกรุงเทพใต้ พื้นที่ที่น่าสนใจในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวประกอบด้วย ๒ ประเภท พื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ว่าง จากการตรวจสอบพื้นที่รายเขตพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของเอกชน บางส่วนเป็นหน่วยราชการอื่นๆ พื้นที่ที่มีขนาดเกินกว่า ๑๐ ไร่ขึ้นไปมีจำนวนไม่มากนัก แนวทางที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สีเขียว นำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการเอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรักษาพื้นที่ว่างและที่ลุ่มของตนเองให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและร่มรื่นแต่ควรเน้นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ก่อน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นพื้นที่สีเขียวไม่ปล่อยพื้นที่เป็นที่ว่างรกร้าง ในพื้นที่บริเวณที่มีความหนาแน่น นำแนวคิดทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์พัฒนาพื้นที่สีเขียวโดยร่วมกับการก่อสร้างสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมสวนดาดฟ้า/สวนแนวกำแพงในบริเวณไม่มีพื้นที่ๆ สามารถพัฒนาเป็นสวนแนวราบได้
67
กลุ่มกรุงธนเหนือ พื้นที่ที่น่าสนใจในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว คือพื้นที่ไม้ยืนต้น ที่ว่าง และพื้นที่เกษตรกรรม ผลจากการตรวจสอบรายเขตพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน แนวทางที่ควรนำมาใช้ สนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของพื้นที่พักผ่อนทางน้ำ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เปิดโล่ง ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รักษาสภาพแวดล้อมของเมืองให้อยู่ในสภาพที่ไม่แออัด และสามารถเป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย นำนโยบายด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาพื้นที่ทำการเกษตรที่ยังคงเหลืออยู่ให้ทำอาชีพเกษตรกรรมต่อไป รักษาไว้เป็นพื้นที่สีเขียว สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองแก้มลิง แหล่งอาหารของเมือง นำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการเอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรักษาพื้นที่ว่างและที่ลุ่มของตนเองให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและร่มรื่นแต่ควรเน้นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ก่อน
68
กลุ่มกรุงธนใต้ พื้นที่ที่น่าสนใจนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวมี ๕ กลุ่มประกอบด้วยที่ลุ่ม ที่ว่าง พื้นที่ไม้ยืนต้น พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เอกชนมีหน่วยราชการเล็กน้อย สนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของพื้นที่พักผ่อนทางน้ำ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดพื้นที่เปิดโล่ง ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รักษาสภาพแวดล้อมของเมืองให้อยู่ในสภาพที่ไม่แออัด และสามารถเป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย นำนโยบายด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาพื้นที่ไม้ยืนต้นและพื้นที่การเกษตรที่ยังคงเหลืออยู่ให้ทำอาชีพเกษตรกรรมต่อไป รักษาไว้เป็นพื้นที่สีเขียว สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองแก้มลิง แหล่งอาหารของเมือง นำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชน เอกชน และสถานที่ราชการซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับกรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่สีเขียวโดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า
69
แนวคิดเพื่อการพัฒนา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.