งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2552

2 สรุปสาระสำคัญ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำพ.ศ ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
1.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปฏิบัติดังนี้ - สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อย รัดกุม ไม่รุ่งริ่ง - ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่อาจเกี่ยวโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด - รวบผมให้เรียบร้อย หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย - ติดป้ายแสดงบริเวณที่มีการซ่อมเครื่องจักร หรือเครื่องป้องกันเครื่องจักร โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และให้แขวนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตซ์ไว้ที่สวิตซ์ของเครื่องจักรด้วย

4 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- การประกอบ การติดตั้ง การซ่อมแซม และการใช้งานเครื่องจักรต้องจัดให้วิศวกรเป็นผู้รับรองตามหลักเกณฑ์ และเก็บหลักฐานไว้สำหรับการตรวจสอบได้" - ต้องตรวจสอบตรวจสอบเครื่องจักรนั้นให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีและปลอดภัย ตามระยะเวลาการใช้งานที่เหมาะสม และให้มีการตรวจรับรองประจำปี - ห้ามลูกจ้างใช้เครื่องจักรทำ งานเกินพิกัดหรือขีดความสามารถที่ผู้ผลิตกำหนด - กำหนดวิธีการทำงานของเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเจีย เครื่องตัด เครื่องไส หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายลูกจ้าง ติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทำงาน - ต้องใช้ลูกจ้างที่มีความชำนาญและผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ ในการใช้เครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ

5 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- กำหนดให้มีวิธีการดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรดังนี้" (1) เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ต้องมีระบบหรือวิธีการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วเข้าตัวบุคคล ต้องต่อสายดิน การติดตั้งระบบป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น หาไม่มีให้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมแห่งประเทศไทย (2) สายไฟฟ้าเข้าเครื่องจักรต้องเดินจากที่สูง หรือกรณีเดินบนพื้นหรือใต้ดินต้องใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่แข็งแรงปลอดภัย (3) เครื่องจักรอัตโนมัติต้องมีสีเปิด-ปิด ที่สวิตซ์อัตโนมัติตามหลักสากล และมีเครื่องป้องกันมิให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดตกกระทบสวิตซ์ อันเป็นเหตุให้เครื่องจักรทำงาน

6 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
(3) เครื่องจักรอัตโนมัติต้องมีสีเปิด-ปิด ที่สวิตซ์อัตโนมัติตามหลักสากล และมีเครื่องป้องกันมิให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดตกกระทบสวิตซ์ อันเป็นเหตุให้เครื่องจักรทำงาน (4) เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงานโดยใช้เพลา สายพาน รอก เครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง ต้องมีตะแกรงครอบคลุมปิดส่วนที่หมุนอย่างมิดชิด ถ้าส่วนที่หมุนได้หรือส่วนส่งถ่ายกำลังสูงกว่า 2 เมตร ต้องมีรั้วหรือตะแกรงสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตรกันมิให้บุคคลเข้าไปได้ในขณะเครื่องจักรทำงาน *** สำหรับสายพานแขวนลอยที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 540 เมตรต่อวินาที หรือสายพานที่มีช่วงยาวเกินกว่า 3 เมตร หรือสายพานที่กว้างกว่า 20 เซนติเมตร หรือสายพานโซ่ ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนั้น

7 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
(5) เครื่องจักรที่มีใบเลื่อยวงเดือนต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนั้น (6) เครื่องจักรที่ใช้เป็นเครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดบังประกายไฟหรือเศษวัสดุในขณะใช้งาน (7) เครื่องจักรที่ใช้ในการขึ้นรูปพลาสติกหรือวัสดุอื่นในลักษณะฉีด เป่า หรือวิธีการอื่นต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนั้น

8 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
*** กรณีที่นายจ้างไม่สามารถให้มีวิธีการดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตราย นายจ้างต้องออกแบบอุปกรณ์ช่วยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยหรือกำหนดขั้นตอนการทำงานให้ปลอดภัยได้ และแจ้งให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายให้ทราบโดยไม่ชักช้า - นายจ้างต้องมีการจัดให้มีทางเดินเข้าออกจากพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร - นายจ้างต้องจัดให้มีรั้ว คอกกั้น หรือเขตเส้นทางแสดงเขตอันตราย ณ บริเวณที่ตั้งเครื่องจักร ให้ลูกจ้างเห็นชัดเจน และต้องดูแลไม่ให้ลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าบริเวณดังกล่าว

9 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- นายจ้างต้องติดตั้งเครื่องป้องกันวัสดุหล่นบริเวณสายพานลำเลียง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับลูกจ้าง และต้องมีสวิตซ์ฉุกเฉินที่สามารถหยุดการทำงานของสายพานได้ทันทีติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่เห็นชัดเจน - นายจ้างต้องไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณเส้นทางสายพานลำเลียง - นายจ้างต้องไม่ติดตั้งเครื่องจักรที่ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจนอาจมีผลทำให้การทำงานของเครื่องจักรผิดปกติและก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้าง

10 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
2.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ - มีที่ครอบปิดคลุมบริเวณที่อาจเป็นอันตราย - อุปกรณ์ที่สามารถหยุดเครื่องปั๊มโลหะได้ทันทีเมื่อส่วนของร่างากายเข้าใกล้บริเวณที่อาจเป็นอันตราย - อุปกรณ์ที่สามารถป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตราย - เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้มือป้อนวัสดุ ให้ใช้สวิตซ์แบบต้องกดพร้อมกันทั้งสองมือเครื่องจึงทำงาน และสวิตซ์ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร - เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้เท้าเหยียบ ให้มีที่พักเท้าโดยมีที่ครอบป้องกันมิให้ลูกจ้างเหยียบโดยไม่ตั้งใจ และต้องดูแลมิให้แผ่นที่ใช้เท้าเหยียบอยู่ในลักษณะลื่นไถลได้

11 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้คันโยก ให้คันโยกที่มีความมั่นคงแข็งแรงและมีสลักบนคันโยกที่สามารถป้องกันมิให้เครื่องทำงานโดยเหตุบังเอิญได้ - เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้น้ำหนักเหวี่ยง ให้ติดตั้งตุ้มน้ำหนักเหวี่ยงไว้สูงกว่าศีรษะผู้ปฏิบัติงานพอสมควร และต้องไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ในรัศมีของน้ำหนักเหวี่ยง - ห้ามนายจ้างดัดแปลง แก้ไข หรือปล่อยให้ลูกจ้างเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของเครื่องปั๊มโลหะ เว้นแต่ได้รับการรับรองจากวิศวกร และเก็บผลการรับรองไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

12 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
3.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมก๊าซ - ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ติดตั้งไว้ในบริเวณใกล้เคียงที่สามารถนำมาใช้ดับเพลิงได้ทันที - จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่ - ห้ามมิให้มีวัสดุติดไฟง่ายในบริเวณปฏิบัติงาน - ต้องจัดให้มีฉากกั้นหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายอื่น ๆ ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายจากประกายไฟและแสงจ้า - ห้ามมิให้ลูกจ้างหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่มีการทำงานด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือเครื่องเชื่อมก๊าซ - ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เมื่อใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือเครื่องเชื่อมก๊าซในบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิด ไฟไหม้ หรือไฟลามจากน้ำมัน ก๊าซ หรือวัตถุไวไฟอื่น

13 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- ในกรณีปฏิบัติงานกับเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ต้องปฏิบัติดังนี้ (1) จัดให้มีการติดตั้งสายดินกับโครงโลหะของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ต่อจากอุปกรณ์เครื่องเชื่อมไฟฟ้า (2) ที่ปฏิบัติงานมีแสงสว่างเพียงพอ ระบายอากาศเหมาะสม (3) มีการใช้สายดิน สายเชื่อม หัวจับสายดิน และหัวจับลวดเชื่อม ตามขนาดมาตรฐาน (4) จัดสายไฟฟ้าและสายดินให้ห่างจากการบดทับของยานพาหนะ น้ำ หรือที่ชื้น ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายข้างต้น เว้นแต่งานที่ต้องปฏิบัติงานใต้น้ำ

14 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- ในกรณีปฏิบัติงานกับเครื่องเชื่อมก๊าซ ต้องปฏิบัติดังนี้ - ติดตั้งและตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมความดันและมาตรวัดความดันที่เหมาะสมกับแต่ละชนิดชองก๊าซ - ตรวจสอบการรั่วไหล การหลุดหลวม การสึกหรอของอุปกรณ์ หรือสภาพที่ไม่ปลอดภัยทุกครั้ง หากพบว่าไม่ปลอดภัยต้องรีบแก้ไข - จัดทำเครื่องหมาย สี สัญลักษณ์ ที่ท่อส่งก๊าซ หัวเชื่อม หัวตัด ให้เป็นแบบและชนิดเดียวกัน - ในการต่อถังบรรจุก๊าซไวไฟหลายถังเข้าด้วยกัน ต้องจัดให้มีอุปกรณ์กันเปลวไฟย้อนกลับ ติดไว้ระหว่างหัวต่อกับอุปกรณ์ควบคุมการลดกำลังต้น - นายจ้างต้องจัดสถานที่เก็บก๊าซไวไฟให้อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี ไม่มีความสั่นสะเทือน และปลอดภัยจากการติดไฟหรือห่างจากแหล่งก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ

15 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- นายจ้างต้องติดตั้งกลอุปกรณ์นิรภัยแบบระบายไว้ที่ถังบรรจุก๊าซทุกถังและดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย - ต้องดูแลถังบรรจุก๊าซทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับรถยก - มีโครงหลังคาที่มั่นคงแข็งแรง ทำป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกให้ตรงกับความสามารถในการยกสิ่งของได้โดยปลอดภัยติดไว้ที่รถยก ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้งและเก็บผล - ลูกจ้างที่ทำหน้าขับรถยกต้องผ่านการอบรม - กำหนดเส้นทาง ตีช่องสำหรับรถยก - จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน

16 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- นายจ้างต้องจัดให้มีพื้นเส้นทางเดินรถยกอย่างมั่นคงแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย - ห้ามมิให้ทำงานใกล้สายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสใกล้กว่าระยะห่างที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น - ห้ามมิให้มีการโดยสารไปกับรถยก - นายจ้างต้องจัดให้มีคู่มือการใช้ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยกให้ลูกจ้างได้ศึกษาและปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน - ต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ที่ทางแยกหรือทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า

17 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
5.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับลิฟท์ - มีคำแนะนำในการใช้ลิฟท์ - จัดให้มีการตรวจสอบลิฟต์ก่อนการใช้งานทุกวัน - จัดทำข้อห้ามใช้ลิฟต์ ติดไว้ที่ข้างประตูลิฟต์ด้านนอกทุกชั้น - จัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายและติดป้าย ห้ามใช้ลิฟท์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีการซ่อม บำรุง ตรวจสอบ หรือทดสอบลิฟต์ - จัดให้มีการตรวจสอบและการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของลิฟต์ โดยวิศวกรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การทดสอบการรับน้ำหนักของลิฟต์ต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของน้ำหนักการใช้งานสูงสุด

18 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- ต้องตรวจสอบระบบความปลอดภัยและระบบการทำงานของลิฟต์เป็นประจำทุกเดือน และเก็บผลการตรวจสอบไว้ - จัดให้ลวดสลิงที่ใช้สำ หรับลิฟต์ขนส่งวัสดุมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4 และลวดสลิงที่ใช้สำหรับลิฟต์โดยสารมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 10 *** ห้ามนายจ้างใช้ลวดสลิงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ลวดสลิงที่ลวดเส้นนอกสึกไปตั้งแต่หนึ่งในสามของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นลวด (2) ลวดสลิงที่ขมวด ถูกบดกระแทก แตกเกลียวหรือชำรุด ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของลวดสลิงลดลง (3) ลวดสลิงถูกความร้อนทำลายหรือเป็นสนิมมากจนเห็นได้ชัดเจน (4) ลวดสลิงมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละ 5 ของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม

19 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
(5) ลวดสลิงถูกกัดกร่อนชำรุดมากจนเห็นได้ชัดเจน (6) ลวดสลิงเคลื่อนที่ที่มีเส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว ขาดตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไปในเกลียวเดียวกันหรือขาดตั้งแต่ 6 เส้นขึ้นไปในหลายช่วงเกลียวรวมกัน 6.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น - จัดให้มีการทดสอบและการตรวจสอบการติดตั้งปั้นจั่น ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตโดยวิศวกรก่อนการใช้งาน และจัดทำรายงานการตรวจสอบและการทดสอบ ซึ่งมีลายมือชื่อวิศวกรรับรอง เก็บไว้ – จัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นปีละไม่น้อยกว่า 1 ครั้งตามประเภทและลักษณะของงาน

20 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น นายจ้างต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ - ควบคุมให้มีลวดสลิงเหลืออยู่ในม้วนลวดสลิงไม่น้อยกว่า 2 รอบ ตลอดเวลาที่ปั้นจั่นทำงาน - จัดให้มีชุดล็อกป้องกันลวดสลิงหลุดจากตะขอของปั้นจั่น และทำการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย -จัดให้มีส่วนที่ครอบปิดหรือกั้นส่วนที่หมุนรอบตัวเอง ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ หรือส่วนที่อาจเป็นอันตราย และให้ส่วนที่เคลื่อนที่ของปั้นจั่นหรือส่วนที่หมุนได้ของปั้นจั่นอยู่ห่างจากสิ่งก่อสร้างหรือวัตถุอื่นในระยะที่ปลอดภัย -ถ้าปั้นจั่นมีความสูงเกิน 3 เมตร จัดให้มีราวบันไดพร้อมราวจับและโครงโลหะกันตก

21 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- จัดให้มีพื้นชนิดกันลื่น ราวกันตก -จัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของปั้นจั่นและใช้การได้ที่ห้องบังคับปั้นจั่น - ติดตั้งปั้นจั่นบนฐานที่มั่นคงโดยมีวิศวกรเป็นผู้รับรอง - ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นที่ใช้เครื่องยนต์ นายจ้างต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ -จัดให้มีที่ครอบปิดหรือฉนวนหุ้มท่อไอเสีย - จัดให้มีถังเก็บเชื้อเพลิงและท่อส่งเชื้อเพลิงที่อยู่ในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อเชื้อเพลิงหก รั่วหรือล้นออกมา -มีมาตรการเก็บและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงสำรองด้วยความปลอดภัย -ต้องมีการเคลื่อนย้ายวัตถุไวไฟออกจากบริเวณที่ใช้ปั้นจั่น หรือหากย้ายไม่ได้ต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายที่เหมาะสมก่อนให้ลูกจ้างปฏิบัติงาน

22 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างใช้งานปั้นจั่นที่ชำรุดเสียหายหรืออยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย -ห้ามนายจ้างดัดแปลงหรือแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดของปั้นจั่นหรือยินยอมให้ลูกจ้างหรือผู้อื่นกระทำการเช่นว่านั้น ถ้าจำเป็นต้องมีการแก้ไขดัดแปลง นายจ้างต้องมีการคำนวณทางวิศวกรรมแล้วมีการทดสอบ - จัดให้มีสัญญาณเสียงและแสงไฟเตือนภัยตลอดเวลาที่ปั้นจั่นทำงานโดยติดตั้งไว้ให้เห็นได้ชัดเจน - จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ปั้นจั่นและรอกของตะขอติดคำเตือนให้ระวังอันตราย -นายจ้างต้องจัดทำเส้นทางแสดงเขตอันตราย เครื่องหมายแสดงเขตอันตราย หรือ เครื่องกั้นเขตอันตราย ในเส้นทางที่มีการใช้ปั้นจั่นเคลื่อนย้ายของ

23 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-กรณีใช้ปั้นจั่นยกวัสดุใกล้สายไฟฟ้า ต้องควบคุมดูแลดังนี้ (ก) สายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ข) สายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 50 กิโลโวลต์ ต้องห่างเพิ่มขึ้นจากระยะห่างเดิมคือ 3 เมตร เป็นอีกหนึ่งเซนติเมตรต่อแรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นหนึ่งกิโลโวลต์

24 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-กรณีที่ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ไม่ยกวัสดุและไม่ลดแขนปั้นจั่นลง ต้องควบคุมดังนี้ (ก) สายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร 25 เซนติเมตร (ข) สายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 50 กิโลโวลต์ แต่ไม่เกิน 345 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ค) สายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 345 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร -กรณีที่ใช้ปั้นจั่นหรือใช้ปั้นจั่น ใกล้เสาส่งคลื่นโทรคมนาคม ก่อนให้ลูกจ้างทำงานต้องมีการตรวจสอบการเกิดประจุไฟฟ้าเหนี่ยวนำ หากพบว่ามีประจุไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ให้นายจ้างต่อสายตัวนำกับปั้นจั่นหรือวัสดุที่จะยกเพื่อให้ประจุไฟฟ้าไหลลงดิน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

25 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- ประกาศกำหนดวิธีการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นของลูกจ้าง ติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทำงานและจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นให้ลูกจ้างได้ศึกษาและปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย -นายจ้างต้องให้มีผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่นตลอดเวลาการทำงาน ในกรณีที่ผู้บังคับปั้นจั่นไม่สามารถมองเห็นจุดที่ทำการยกของหรือเคลื่อนย้ายวัสดุ -นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรม และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

26 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
6.1 ปั้นจั่นเหนือศรีษะและปั้นจั่นขาสูง -นายจ้างต้องควบคุมดูแลไม่ให้มีสิ่งกีดขวางการเลื่อนของล้อหรือแขนของปั้นจั่น 6.2 ปั้นจั่นหอสูง -ในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงานบนแขนปั้นจั่น นายจ้างต้องจัดให้มีราวกันตกไว้ ณ บริเวณที่ปฏิบัติงาน -นายจ้างต้องจัดให้มีตารางการยกสิ่งของ ซึ่งแสดงรายละเอียดน้ำหนัก มุม องศา และระยะของแขนที่ทำการยก ติดไว้ในบริเวณที่ผู้บังคับปั้นจั่นมองเห็นชัดเจน -นายจ้างต้องมีการป้องกันมิให้แนวของแขนต่อตามที่ผู้ผลิตปั้นจั่นออกแบบไว้ เคลื่อนตกจากแนวเดิมเกินกว่า 5 องศา

27 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
6.3 รถปั้นจั่นและเรือปั้นจั่น -ยึดปั้นจั่นไว้กับรถ เรือ แพ โป๊ะ หรือยานพาหนะลอยน้ำอย่างอื่น ให้มั่นคง โดยวิศวกร เป็นผู้รับรอง -จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักให้ตรงตามความสามารถในการยกสิ่งของได้โดยปลอดภัย โดยน้ำหนักรวมที่ยกต้องไม่เกินระวางบรรทุกเต็มที่ของ เรือ แพ โป๊ะ หรือพาหนะลอยน้ำอย่างอื่น -นายจ้างต้องมีการป้องกันมิให้แนวของแขนต่อตามที่ผู้ผลิตปั้นจั่นออกแบบไว้ เคลื่อนตกจากแนวเดิมเกินกว่า 5 องศา -นายจ้างต้องจัดให้มีตารางการยกสิ่งของ ซึ่งแสดงรายละเอียดน้ำหนัก มุม องศา และระยะของแขนที่ทำการยก ติดไว้ในบริเวณที่ผู้บังคับปั้นจั่นมองเห็นชัดเจน

28 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
6.4 อุปกรณ์เกี่ยวกับปั้นจั่น -ห้ามนายจ้างใช้ลวดสลิงที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ลวดสลิงที่ลวดเส้นนอกสึกไปตั้งแต่หนึ่งในสามของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นลวด (2) ลวดสลิงที่ขมวด ถูกบดกระแทก แตกเกลียวหรือชำรุด ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานของลวดสลิงลดลง (3) ลวดสลิงมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละ 5 ของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (4)ลวดสลิงถูกความร้อนทำลายหรือเป็นสนิมมากจนเห็นได้ชัดเจน (5) ลวดสลิงถูกกัดกร่อนชำรุดมากจนเห็นได้ชัดเจน

29 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
(6) ลวดสลิงเคลื่อนที่มีเส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว ขาดตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไปในเกลียวเดียวกันหรือขาดตั้งแต่ 6 เส้นขึ้นไปในหลายช่วงเกลียวรวมกัน (7) ลวดสลิงยึดโยงที่มีเส้นลวดขาดตรงข้อต่อตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปในหนึ่งช่วงเกลียว -ห้ามนายจ้างใช้ลวดสลิงที่มีค่าความปลอดภัยน้อยกว่าที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ (1) ลวดสลิงเคลื่อนที่ ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 6 (2) ลวดสลิงยึดโยง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 -ห้ามให้นายจ้างใช้รอกที่มีอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของรอกหรือล้อใด ๆ กับเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดสลิงที่พันน้อยกว่าที่กำหนดไว้ดังนี้ (1) 18 ต่อ 1 สำหรับรอกปลายแขนปั้นจั่น (2) 16 ต่อ 1 สำหรับรอกของตะขอ (3) 15 ต่อ 1 สำหรับรอกหลังแขนปั้นจั่น

30 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-ห้ามนายจ้างใช้อุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุที่มีค่าความปลอดภัยหรือน้อยกว่าที่กำหนด ไว้ดังต่อไปนี้ (1) ลวดสลิง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 (2) โซ่ ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4 (3) เชือก ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 (4) ห่วงหรือตะขอ ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 -ห้ามนายจ้างใช้ตะขอที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เว้นแต่นายจ้างได้ทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และต้องมีการทดสอบการรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า1.25 เท่าของน้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยโดยวิศวกร

31 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
(1) มีการบิดตัวของตะขอตั้งแต่ 10 องศาขึ้นไป (2) มีการถ่างออกของปากเกินร้อยละ 15 (3) มีการสึกหรอที่ท้องตะขอเกินร้อยละ 10 (4) มีการแตกหรือร้าวส่วนหนึ่งส่วนใดของตะขอ (5) มีการเสียรูปทรงหรือสึกหรอของห่วงตะขอ

32 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
7.กำหนดหน้าที่ของนายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ - กฎกระทรวงนี้มิให้ใช้บังคับแก่หม้อน้ำทำความร้อนที่ใช้ผลิตไอน้ำความดันไม่เกิน 1 บาร์ หรือไอน้ำอุณหภูมิไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส หรือน้ำร้อนความดันไม่เกิน10 บาร์แบบท่อขดที่ไม่มีที่พักไอน้ำ เว้นแต่ (1) มีที่พักไอน้ำและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อน้ำหรือหลอดน้ำเกิน19 มิลลิเมตร (2) มีความจุของน้ำเกิน 23 ลิตร (3) มีอุณหภูมิของน้ำเกิน 177 องศาเซลเซียส (4) มีไอน้ำเกิดขึ้นในท่อน้ำหรือหลอดน้ำ - หม้อน้ำและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐาน ISO มาตรฐาน ASME มาตรฐาน JIS มาตรฐาน DIN มาตรฐานTRD มาตรฐาน BS มาตรฐาน EN

33 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- สถานที่ที่ติดตั้งหม้อไอน้ำให้มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) พื้นที่ทำงานและห้องหม้อน้ำต้องมีทางเข้าออกอย่างน้อย 2 ทาง กว้างอย่างน้อย 60 เซนติเมตร สูงอย่างน้อย 2 เมตร ปราศจากสิ่งกีดขวาง (2) ช่องเปิดที่พื้นที่การทำงานต้องมีขอบกันตก และวัสดุกันลื่นที่พื้นที่การทำงาน ขั้นบันได และพื้นที่ต่างๆ (3) ต้องมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ (4) ระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉินส่องไปยังทางออกและเครื่องวัดต่างๆรวมทั้งแผงควบคุมให้เห็นอย่างชัดเจน

34 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
(5) ทางเดินต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง (6) ฐานรากที่ตั้งของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบมีความมั่นคงแข็งแรง (7) จัดให้มีฉนวนกันความร้อนหุ้มหม้อน้ำ ลิ้นจ่ายไอน้ำ ท่อจ่ายไอน้ำ ถังพักไอน้ำ ถังเก็บน้ำร้อน ปล่องไอเสีย ท่อที่ต่อจากหม้อน้ำ และอุปกรณ์ประกอบที่มีความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่ในระดับบริเวณที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน - กรณีหม้อน้ำสูงเกิน 3 เมตรจากพื้นถึงเปลือกหม้อน้ำด้านบน ต้องจัดทำบันไดและทางเดิน พร้อมจัดให้มีราวจับและขอบกันตก และพื้นที่การทำงานทุกชั้นต้องจัดให้มีทางเข้าออกอย่างน้อย 2 ทาง

35 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-กำหนดคุณลักษณะของน้ำที่ใช้สำหรับหม้อน้ำที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) น้ำที่เข้าหม้อน้ำ (Boiler Feed Water) ต้องมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และค่าความกระด้างอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของหม้อน้ำตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม (2) น้ำที่ใช้ภายในหม้อน้ำ (Boiler Water) ต้องมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และมีตะกอนแขวนลอยและสารละลายอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของหม้อน้ำตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม -ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำการตรวจสอบหรือซ่อมแซมหม้อน้ำนายจ้างต้องจัดให้มีการระบายอากาศเพื่อไล่ก๊าซพิษหรือก๊าซไวไฟตลอดเวลา - ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อน้ำจากสถาบันของทางราชการ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันอื่น - หม้อน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือหม้อน้ำที่ย้ายที่ติดตั้งต้องจัดให้วิศวกรรับรองผลการทดสอบความดันที่อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดใหม่

36 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
- หม้อน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือหม้อน้ำที่ย้ายที่ติดตั้งต้องจัดให้วิศวกรรับรองผลการทดสอบความดันที่อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดใหม่" - จัดทำป้ายประกาศกำหนดวิธีการทำงานติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน - การติดตั้ง การซ่อมบำรุง การใช้ ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่ใช้งาน ทั้งนี้ ตามมาตรฐานและหลักวิชาการด้านวิศวกรรม - จัดให้มีการทดสอบและรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรหรือผู้ได้รับอนุญาตพิเศษให้ทดสอบหม้อน้ำได้" เว้นแต่ หม้อน้ำที่มีอัตราการผลิตไอน้ำเครื่องละตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไปอาจขยายระยะเวลาการทดสอบและรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี หากปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

37 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงหม้อน้ำหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของหม้อน้ำ ที่อาจมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของหม้อน้ำหรือความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำ ต้องให้มีวิศวกรทำหน้าที่ออกแบบ ควบคุม ทดสอบ และรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำก่อนใช้งาน แล้วเก็บเอกสารให้สามารถตรวจสอบได้ 8. การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล -นายจ้างต้องจัดและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองแรงงานความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับประเภทและชนิดของงาน ตลอดเวลาที่ทำงาน ดังต่อไปนี้ -งานเชื่อมหรือตัดชิ้นงานด้วยไฟฟ้า ก๊าซ หรือพลังงานอื่น ให้สวมถุงมือผ้าหรือถุงมือหนัง กระบังหน้าลดแสงหรือแว่นตาลดแสง รองเท้านิรภัย และแผ่นปิดหน้าอกกันประกายไฟ

38 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-งานลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะด้วยหิน เจียระไน ให้สวมแว่นตาชนิดใสหรือหน้ากากชนิดใส ถุงมือผ้า และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น -งานกลึงโลหะ งานกลึงไม้ งานไสโลหะ งานไสไม้ หรืองานตัดโลหะ ให้สวมแว่นตา ชนิดใส หรือหน้ากากชนิดใส ถุงมือผ้า และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น -งานปั๊มโลหะ ให้สวมแว่นตา ชนิดใสหรือหน้ากากชนิดใส ถุงมือผ้า และรองเท้าพื้นยาง หุ้มส้น -งานชุปโลหะ ให้สวมถุงมือยางและร้องเท้าหุ้มส้น -งานพ่นสี ให้สวมที่กรองอากาศสำหรับใช้ครอบจมูกและปากกันสารเคมี ถุงมือผ้า และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น -งานยก ขนย้าย หรือติดตั้ง ให้สวมหมวกนิรภัย ถุงมือผ้า และรองเท้านิรภัย -งานควบคุมเครื่องจักร ให้สวมหมวกนิรภัยและรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น

39 การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
-งานควบคุมปั้นจั่น ให้สวมหมวกนิรภัย ถุงมือผ้าหรือถุงมือหนัง และรองเท้านิรภัย และในกรณีปั้นจั่นหอสูง ให้สวมใส่เข็มขัดนิรภัยและสายชูชีพด้วย -งานหม้อน้ำ ให้สวมแว่นตาชนิดใสหรือหน้ากากใส ปลั๊กลดเสียงหรือครอบหูลดเสียง ชุดป้องกันความร้อนหรืออุปกรณ์ป้องกันความร้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น ให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอื่นให้ลูกจ้างตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานและอันตรายที่อาจเกิดกับลูกจ้างด้วย

40 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google