งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การอ้างอิงเอกสารในรายงานวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การอ้างอิงเอกสารในรายงานวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การอ้างอิงเอกสารในรายงานวิชาการ

2 วัตถุประสงค์ของการเขียนอ้างอิง ในรายงานวิชาการ
1. เพื่อแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล หลักฐานที่นำ มาใช้อ้างอิงประกอบการเขียนรายงาน 2. เพื่ออธิบายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับข้อความหรือ เรื่องในตอนนั้นเพิ่มเติม เพื่อเป็นการขยายหรือ ชี้เแจงให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น

3 3. เพื่ออ้างถึงเรื่องที่กล่าวมาแล้ว เป็นการโยง กลับไปหาเรื่องหรือ ขอความที่เคยกล่าว มาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก 4. เพื่อแจ้งแหล่งข้อมูลหลักฐานที่เป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้อ่านหาอ่านเพิ่มเติม จะได้เข้าใจเรื่องราวตอนนั้นได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

4 วิธีการเขียนอัญประภาษหรืออัญพจน์ อัญประภาษหรืออัญพจน์ (Quotation)
หมายถึง “ ข้อความที่คัดลอกมาจากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่นนำมาไว้ในรายงาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงหลักในการเขียน ”

5 การเขียนข้อความในรายงานวิชาการ มีข้อควรปฏิบัติในการคัดลอกข้อความ ดังนี้
1. การคัดลอกข้อความมาทั้งหมด มีวิธีปฎิบัติดังนี้ 1.1 ถ้าข้อความสั้น ๆ มีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้เขียนต่อไปในเนื้อความได้เลยโดยข้อความที่คัดลอก มานั้นใส่ไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ท้ายเครื่องหมาย อัญประกาศใส่ชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์และหน้า

6 ตัวอย่าง “ลักษณะสำคัญของแบบประเมินค่าอยู่ ที่คำตอบ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบ ปริมาณมากน้อย ผู้ตอบจะต้องตอบด้วย การประเมินสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้าที่ กำหนดให้” (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 67)

7 ถ้าข้อความที่คัดลอกมาได้กล่าวถึงผู้เขียน ให้ใส่ตัวเลข หรือวงเล็บ ชื่อปี ไว้ตรงชื่อผู้เขียน
ตัวอย่าง ม.ล.จ้อย นันทิวัชรินทร์ (2514 : 8) กล่าวว่า “ผู้แต่งมากกว่า 3 คน ภาษาไทยให้ลงนามผู้แต่งคนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคแล้วเติมและคนอื่น ๆ ตาม หลังโดยไม่ต้องระบุนาม”

8 1.2 ถ้าข้อความที่คัดลอกมามีความยาวเกิน 3 บรรทัด ให้ขึ้นบรรทัดใหม่แล้วย่อหน้าเข้ามา เล็กน้อย เพื่อให้เห็นความแตกต่างและไม่ต้องใส่ เครื่องหมายอัญประกาศ

9 ตัวอย่าง จากการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางการศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหิดลระหว่างปีการศึกษา (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และคณะ 2530 : 17) พบว่า นักศึกษาที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลมีโอกาสไม่ค่อย เสมอภาคกัน โดยเฉพาะความเสมอภาคทางเพศ ภูมิลำเนาเกิด ภูมิภาคที่จบมัธยมปลาย ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งพบว่า ผู้หญิงมีโอกาสเข้าศึกษามากกว่าผู้ชาย ผู้ที่เกิดและจบมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ มีโอกาสเข้าศึกษามากว่าผู้ที่เกิด หรือจบมัธยมปลาย ในภูมิภาคอื่น ผู้ที่บิดา มารดา ประกอบอาชีพธุรกิจหรือค้าขายมี โอกาสเข้าศึกษามากกว่าอาชีพอื่น

10 2. ถ้าผู้เขียนรายงานต้องการตัดข้อความที่คัดลอก มาเพียงบางส่วนออกไป ให้เขียนจุด 3 จุด (. . .) แทน ข้อความที่ตัดทิ้งนั้นไป ตัวอย่าง ข้อความจากหนังสือเดิม โครงเรื่องมีลักษณะคล้ายสารบาญอย่างคร่าว ๆ เป็น สิ่งจำเป็นมากในการเขียนรายงานการการค้นคว้า การลำดับ โครงเรื่องดีมีส่วนทำให้การเขียนรายงานดีไปด้วย โครงเรื่อง ที่ดี หมายถึงว่า แต่ละหัวข้อจะต้องมีความสัมพันธ์กันเป็น ลำดับตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

11 ข้อมูลจาก การใช้บริการห้องสมุดและการเขียนรายงานการค้นคว้า ของ สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ หน้า 70
ตัวอย่าง ข้อความในรายงานวิชาการ สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ กล่าวว่า “โครงเรื่อง มีลักษณะคล้ายสารบาญอย่างคร่าว ๆ … การลำดับ โครงเรื่องที่ดีมีส่วนทำให้การเขียนรายงานดีไปด้วย โครงเรื่องที่ดีหมายถึงว่า แต่ละหัวข้อจะต้อง มีความสัมพันธ์กันเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

12 3. ถ้าคัดลอกข้อความผู้อื่นมาและเพิ่มเติมข้อความของผู้เขียนรายงานเองให้ปฏิบัติเหมือน ข้อที่ 1 แต่นำข้อความที่ผู้เขียนรายงานเพิ่มเติมไว้ในวงเล็บ ตัวอย่าง ข้อความจากหนังสือเดิม คำไทยที่จะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ จะนำมาใช้ เป็นคำราชาศัพท์ทันทีมิได้ จะต้องนำไปตกแต่งให้เป็น คำราชาศัพท์ด้วยวิธีต่าง ๆ ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ ที่มา ของราชาศัพท์พอสรุปได้ดังนี้

13 ข้อมูลจาก ความรู้ทั่วไปทางภาษาไทย ของลัลลนา ศิริเจริญ และ สุมาลี นิมมานุภาพ หน้า 67
ข้อความในรายงานวิชาการ ลัลลนา ศิริเจริญ และสุมาลี นิมมานุภาพ กล่าวว่า “คำไทยที่จะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ จะนำมา ใช้เป็นคำราชาศัพท์ทันทีมิได้ จะต้องนำไปตกแต่งให้ เป็นคำราชาศัพท์ด้วยวิธีต่าง ๆ (เช่น เติมคำว่า “พระ” หรือ “พระราชา” นำหน้าคำนาม อาทิ พระอู่ พระที่นั่ง พระราชวัง เติมคำว่า “ต้น” หลังคำนาม อาทิ ช้างต้น ม้าต้น ) จึงจะนำไปใช้ได้”

14 4. หากข้อความที่คัดลอกมาเป็นบทร้อยกรอง ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 1 บรรทัด ให้เขียนต่อไปในเนื้อความนั้นได้เลยโดยไม่ต้องขึ้นรรทัดใหม่ แต่ให้ เขียนข้อความที่คัดลอกมาไว้ในระหว่างเครื่องหมายอัญประกาศ (“…...……”)

15 ตัวอย่าง ในนิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี สุนทรภู่ได้ฝาก สำนวนเขียน ซึ่งเป็นข้อเตือนใจผู้อ่านไว้มากมาย อาทิ “โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก จงออกปากบอกแขกช่วย แบกหาม” หรือ “อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำ เหมือนเอามีดมากรีดหิน” แต่ถ้าบทร้องกรองที่คัดลอกมามีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด ก็ให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ โดยไม่ต้องเขียนใน เครื่องหมายอัญประกาศ

16 ตัวอย่าง ข้อความในรายงานวิชาการ
ในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่ได้ฝากสำนวนซึ่งเป็นข้อเตือนใจผู้อ่านไว้มากมาย อาทิ “โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก จงออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม”หรือ “อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดกรีดหิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่พระโยคีแห่งเกาะแก้วพิศดารสอนสุดสาครนั้น เป็นตอนที่ใช้ข้อเตือนใจแก่ผู้อ่านด้วยถ้อนคำไพเราะยิ่ง

17 แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน มุนษย์นี่ที่รักอยู่สอนสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล ที่พึ่งหนึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้สิ่งไรก็ไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

18 วิธีการอ้างอิงเอกสารในรายงานวิชาการ
1. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา วิธีนี้มี 2 ระบบ ได้แก่ 1.1 การอ้างอิงระบบนาม-ปี ประกอบไปด้วย ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และหน้าของเอกสารที่อ้างอิง โดยเขียนข้อความดังกล่าวไว้ในวงเล็บ (ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ : หน้า)

19 ตัวอย่าง บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น มีเนื้อ เรื่องสนุกสนานชวนติดตาม และ “แสดงคติสอนใจ เรื่องการมองคนแต่เพียงผิวนอกให้เห็นลักษณะ สันดานของมนุษย์อย่างหนึ่งที่ชอบเหยียบย่ำซ้ำเติม ผู้อับโชคเรื่องจบลงด้วยการที่ผู้สุจริตมีชัยและผู้ผิด ต้องใช้กรรมของตน” (เปลื้อง ณ นคร 2527 : 290)

20 หากมีการอ้างอิงเอกสารมากกว่าหนึ่งชื่อ โดยมี ผู้แต่งคนเดียวกันและพิมพ์ในปีเดียวกัน จะต้องกำหนดอักษร ก ข ค… กำกับไว้หลังปีที่พิมพ์ สำหรับเอกสารภาษาไทย (ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ก : หน้า) สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร a b c… และหากผู้แต่งคนเดียวกันมีหนังสือเรื่องเดียวกันแต่หลายเล่มจบ ต้องระบุเฉพาะหมายเลขของเล่มที่อ้างอิงด้วย (ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ : เล่มที่อ้างอิง : หน้า)

21 ตัวอย่าง การอ้างอิงแบบแทรกปนไปกับเนื้อหาระบบ นาม-ปี
รูปร่างลักษณะภายนอกตัวละครเอกที่โสภาคสุวรรณ สร้างขึ้นมักจะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ตัวละครฝ่ายหญิงสวย แบบบาง ส่วนฝ่ายชายก็สูงสง่า หล่อ มักจะมีหนวดและ ขนดกดังจะสังเกตได้จากตัวอย่าง ต่อไปนี้

22 1. มิเชล จากเรื่อง ฟ้าจรดทราย
เขาลอบพิศใบหน้ารูปไข่งดงามราวภาพสลักเสลา จากจิตรกรฝีมือเอกของโลก จมูกโด่งงาม หน้าผาก โค้งมน แก้มเป็นนวลเรื่อ ปากน่าจูบ ลำคอระหง ทรวงอก เต่งตึง เอวเล็กกลม และสะโพกงาม ที่สัมพันธ์กันอย่าง น่าประหลาด เขามองผ่านหล่อนได้อย่างไรนะ ผู้หญิง คนนี้ต่างหากที่คู่ควรกับเขา หล่อนเป็นลูกครึ่งตะวันออก ก็จริงแต่ไม่มีปัญหายุ่งยากอย่างที่เขากำลังประสบอยู่ (โสภาค สุวรรณ 2526 : 1 : 151)

23 2. วายูน จากเรื่อง รักเร่
ไฮดี้ผงกศรีษะขึ้นมอง พลางทำหน้าฉงนเมื่อเห็น วายูรคว้าผ้าพันคอสักหลาดขึ้นพันโอบรอบคอ สวมเสื้อ คลุมตัวยาวทับแล้วนั่งลงสวมรองเท้าหิมะที่ยาวขึ้นมาจน ถึงหัวเข่า...น่อง เพรียวยาวได้รูปของหล่อนถูกกระโปรง ผ้าขนสัตว์สีเทาอ่อนและรองเท้าปกปิดเสียเกือบหมด ผม ของวายูรดกดำเป็นมันอ่อนนุ่มราวเส้นไหมเมื่อกระจาย อยู่บนไหล่บอบบางของหล่อน ความสูงเพรียวทำให้หล่อน ดูผ่ายผอมกว่าความเป็นจริง (โสภาค สุวรรณ 2524 ก : 1 : 11)

24 3. อวิกา จากเรื่อง คลื่นใต้น้ำ
ผิวของหล่อนไม่ขาวจัดอย่างเพื่อนฝูงรอบข้าง แต่ก็ ออกนวลเนียนผุดผ่องสมวัย บิกินี่ที่สวมสีผิวมะปรางสุก ขับผิวเนื้อละเอียดราวแพรเนื้อดีให้ผุดผาดยิ่งขึ้น...ยังผม ยาวดำเป็นมัน ปล่อยสยายจนถึงกึ่งกลางหลังก็เช่นกันที่ บอกเผ่าพันธุ์ว่าต่างจากเพื่อนฝูงรอบข้างโดยสิ้นเชิง ...

25 ... มือของเขาค่อยๆ ยกขึ้นสัมผัสปลายคางมนแผ่วเบา จ้องลึงลงไปในดวงตากลมโตสีเข้มจัดจนเกือบดำในกรอบ รูปเม็ดอัลมันที่กระพริบถี่ ขนตาดกหนาเป็นแพรระยับ ยังจมูกโด่งแหลมและริมฝีปากอิ่มเต็มได้รูปที่อมชมพูด้วย เลือดฝาดสมบูรณ์ โจแลต่ำ ระเรื่อยจากปลายคาง คอระหง ไหล่บอบบางลาดได้สัดส่วน เนินอกที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ แต่ก็บอกได้ว่าจะงดงามสมตัวในอนาคตไม่ไกลนัก (โสภาค สุวรรณ 2524 ข : 1 : 2-3)

26 1.2 ระบบหมายเลข ใช้วิธีกำหนดหมายเลขประจำ เรียงลำดับเอกสารที่อ้างอิงจากน้อยไปมาก พร้อมกับ ระบุหน้าที่อ้างถึงในเอกสารนั้นไว้ในวงเล็บ (หมายเลข : หน้า) เมื่อกำหนดหมายเลขในเอกสารใดแล้วหากจะอ้าง ถึงเอกสารชิ้นนั้นอีก จะต้องใส่หมายเลขเดิมทุกครั้ง นอก จากนี้ผู้ทำรายงานที่อ้างอิงมาเขียนให้สมบูรณ์ตามแบบ ของบรรณานุกรมเรียงตามลำดับตามหมายเลขอีกครั้ง ในตอนท้ายรายงาน

27 ตัวอย่างการอ้างอิงแบบแทรกปนไปกับเนื้อหาระบบ หมายเลข
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ที่โสภาค สุวรรณ นำมาแทรกไว้ในนวนิยายฉาก ต่างประเทศ (Exotic Novel) นั้น ค่อนข้าง เชื่อถือได้ เนื่องจากสาเหตุ 3 ประการ คือ

28 1. เธอได้ข้อมูลต่าง ๆ จากการได้พบปะกับผู้อื่น เชื้อชาติต่าง ๆ โดยตรง และได้จากคำบอกเล่าของผู้อื่น ดังที่ โสภาค สุวรรณ (1 : 3) ได้กล่าวไว้ในคำนำของ นวนิยายเรื่องความลับบนแหลมไซไนว่า

29 แต่ไหนแต่ไรมาบิดามผู้เขียนเป็นผู้ให้ความรู้ทางวิชาการ และมารดานั้น ท่านชำนาญในเรื่องสืบเสาะเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนการตีสนิทกับคนหลายระดับจากวงราชการ ไปจนถึงประชาชน ท่านเป็นผู้บอกเล่า… ข้าพเจ้าได้พบเจ้าหญิง เจ้าชายนอกราชบัลลังก์ประทับใจ ความสง่างามและความเป็นผู้ดี ทะนงในสายเลือดของท่าน แม้จะไร้บัลลังก์ก็ตาม...

30 2. เธอมีโอกาสได้ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ แล้วเกิดความประทับใจในประสบการณ์เหล่านั้น จึงจดจำมาเป็นข้อมูลในการแต่งเรื่อง เธอเคยบอก กล่าวไว้ว่า “ เมื่อว่างเว้นจากหน้าที่ราชการ *ท่านก็ พาข้าพเจ้าออกตระเวนดูความเป็นไปของประชาชน และภูมิประเทศ แม้ในส่วนซึ่งหวงห้าม เราก็มีโอกาส ผ่านเข้าไปได้อย่างน่าประหลาด” (1: 3)

31 3. เธอได้ข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ในเรื่องนี้ โสภาค สุวรรณ เคยให้สัมภาษณ์ “แคแสด” (2 : 32) ไว้ว่า “ตัวเองรู้สึกมีความสุขมากที่ได้ค้นคว้าเรื่อง ข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือเพื่อมาประกอบการเขียนเรื่อง บางครั้งต้องค้นคว้าจากหนังสือหลายเล่ม...” *“ท่าน” ในที่นี้หมายถึง บิดาของ โสภาค สุวรรณ

32 บรรณานุกรม โสภาค สุวรรณ (รำไพพรรณ ศรีโสภาค). ความลับบนแหลมไซไน, 2 เล่ม กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาการ, 2523. 2. แคแสด, (นามแฝง). “คุยกับโสภาค สุวรรณ” นิวซิตี้. 2 : 13 (มกราคม 2524) :

33 2 . วิธีอ้างอิงแบบทำเป็นเชิงอรรถ (Foot Note)
เชิงอรรถ คือ คำอธิบายหรือข้อความที่พิมพ์ ไว้ในส่วนล่างของหนังสือหรือตอนท้ายเรื่อง เชิงอรรถที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มี 3 ประเภท คือ 2.1 เชิงอรรถเสริมความ หรือ เชิงอรรถอธิบาย หมายถึง เชิงอรรถที่อธิบายความ หรือ ให้ความรู้เพิ่ม เติมจากเนื้อเรื่องตอนนั้น

34 ตัวอย่าง เพลงเถา หมายถึง เพลงที่มีแบบแผนว่าต้องขับร้อง ด้วยการเปลี่ยนจังหวะให้ครบ ตั้งแต่ 3 อัตราจนถึงชั้นเดียว1 1 เพลงไทยมีอัตราจังหวะ 3 แบบ คือ ก. จังหวะช้า เรียกว่า เพลงอัตรา 3 ชั้น หรือ เพลง 3 ชั้น ข. จังหวะปานกลาง เรียกว่า เพลงอัตรา 2 ชั้น หรือ เพลง 2 ชั้น ค. จังหวะเร็ว เรียกว่า เพลงอัตราชั้นเดียว หรือ เพลงชั้นเดียว

35 2.2 เชิงอรรถโยงหรือเชิงอรรถอนุสนธิ์
หมายถึง เชิงอรรถที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่าผู้อ่าน อาจหาความรู้เพิ่มเติมได้จากบทอื่น ๆ หน้าอื่น ๆ ในรายงานฉบับนั้น

36 ตัวอย่าง นักเรียนไทยนิยมไปเรียนที่เมืองเดลลีมากที่สุด คงเนื่อง มาจากเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งความเจริญ และคงอยู่ใกล้ เมืองหลวง คือ เมืองนิวเดลลี รองลงมาได้แก่ เมืองปูนา เมืองจันดิการ์ และมัสซูรี วิชาที่นักเรียนไทยนิยมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ได้แก่ รัฐศาสตร์ การบริหาร และภาษาศาสตร์ และมีส่วนน้อยที่ศึกษา วิชาแพทย์ 1 1ดูเพิ่มเติมในภาคผนวก ก. หน้า 147

37 2.3 เชิงอรรถอ้างอิง หมายถึง เชิงอรรถที่แสดง
แหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมากล่าวไว้ในรายงาน เพื่อ ผู้อ่านสามารถค้นคว้าและตรวจสอบข้อมูลได้

38 ตัวอย่าง แบบวัดเจตคติโดยทั่วไปประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วน ที่เป็นข้อความซึ่งเรียกว่า ข้อความเจตคติ และส่วนที่เป็น คำตอบซึ่งมีลักษณะเป็นแบบประเมินค่าเรียกว่ามาตร วัดเจตคติ 1 1 บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, ระเบียบวิธีการวิจัย ทางสังคมศาสตร์. ครั้งที่ 5 (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเจริญ, 2531), หน้า 182.

39 การลงชิงอรรถ ให้ลงไว้ส่วนล่างแต่ละหน้าที่อ้างอิง และให้แยกเชิงอรรถจากเนื้อเรื่อง โดยขีดเส้นคั่นจากขอบซ้ายของกระดาษ ยาวประมาณ 2.5 นิ้ว ให้ห่างจากบรรทัดสุดท้าย ของเนื้อเรื่องเล็กน้อย


ดาวน์โหลด ppt การอ้างอิงเอกสารในรายงานวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google