ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชุมนุมยุวธนาคาร ประวัติความเป็นมา
ประมาณปี ๒๕๓๒ คณะนักเรียนรุ่นพี่ ชั้น ม.๖ ได้เรียนวิชาภาษาไทย และประทับใจบทประพันธ์ เรื่องสุภาษิตสอนหญิง ของสุนทรภู่ ที่ว่า “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ ถ้ามีน้อยจ่ายน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน” จึงจัดตั้งชุมนุมออมทรัพย์ขึ้น หลังจากนั้นรุ่นน้องก็เข้ามาดำเนินการต่อกันมาเรื่อยๆทุกปี ไม่ขาดสาย จนกระทั่งบัดนี้ ได้เปลี่ยนชื่อว่า “ ชุมนุมยุวธนาคาร”
2
จุดประสงค์ของยุวการธนาคาร
๑. เพื่อรับฝากเงินที่ได้มาจากการออมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ๒. เพื่อให้สมาชิกมีความตระหนัก มีนิสัยในการประหยัดอดออม และมีวินัยในการใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด ๓. เพื่อให้สมาชิกได้ทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วยความสามัคคี และมีความเป็นประชาธิปไตย ๔. เพื่อให้สมาชิกสามารถทำงานตามลำดับขั้นตอน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีวินัยในการทำงานและผลงานมีประสิทธิภาพ จุดประสงค์ของยุวการธนาคาร
3
ข้อตกลงของยุวธนาคาร ๑. สมาชิกทุกคนต้องมีสมุดบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารออมสิน ๒. สมาชิกที่ฝากประจำ จะต้องฝากสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ตลอดปีการศึกษา ๓. สมาชิกทั่วไปฝาก ๕ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
4
จำนวนสมาชิก ปีการศึกษา ๒๕๓๒ – ๒๕๔๖ ไม่มีหลักฐานที่เก็บเป็นลายลักษณ์อักษร ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ๙๖ คน ปีการศึกษา ๒๕๔๘ ๑๒๕ คน ปีการศึกษา ๒๕๔๙ ๑๐๘ คน ปีการศึกษานี้ เริ่มรับฝากเงินเพื่อเข้าธนาคารออมสิน จากบุคลากรอื่นๆในโรงเรียน สมาชิกจึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ประเภทฝากประจำ (สมาชิกในชุมนุม) ๒. ประเภทฝากทั่วไป (สมาชิกนอกชุมนุม)
5
คติพจน์ของยุวธนาคาร “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ ถ้ามีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน” ( จากเรื่องสุภาษิตสอนหญิง ของสุนทรภู่ ) วันเปิดทำการของยุวธนาคาร วันจันทร์ เวลา ๑๕.๒๐ – ๑๖.๑๕ น
6
คณะทำงานของยุวธนาคาร ปีการศึกษา 2549
7
ดูยอดเงินได้ที่ ผู้ให้คำปรึกษา
คุณกรองกาญจน์ เบ็ญจกุล ธนาคารออมสิน สาขาสิชล คุณณิวรรณ ไชยพงศ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสิชล ติดต่อสอบถาม ดูยอดเงินได้ที่ -
8
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.