ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิวัฒนการของคอมพิวเตอร์
2
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก คือ ลูกคิด ประดิษฐ์ที่ประเทศจีน เบล์ล ปาสคาล ประดิษฐ์เครื่องบวกเลข โดยใช้ฟันเฟือง 8 ตัว กอดฟริด วิลเฮลม ลิปนิช ประดิษฐ์เครื่องคำนวณ คูณ หาร ชาร์ล แบบเบจ ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด สร้างบัตรเจาะรู ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริช ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ MARK I หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า IBM Automatic Sequence Controlled Calculator เป็นเครื่องที่ทำงานแบบเครื่องจักรกลไฟฟ้าและใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อในการนำ ข้อมูลเข้าสู่เครื่องเพื่อทำการประมวลผล และนับเป็นเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติ เครื่องแรกของโลก
3
คอมพิวเตอร์ยุคแรก (ยุคหลอดสูญญากาศ)
ยุคนี้อยู่ระหว่างปี พ.ศ – 2501 ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และหลอดสุญญากาศ จอห์น มอชลี และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป (เครื่อง คอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์) เครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC) คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ คือ UNIVAC I การทำงานใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language) / พัฒนาภาษาแอสแซมบลี้ (Assembly Language) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เพราะมีขนาดใหญ่ มีปัญหาเรื่องความร้อน และไส้หลอดขาดบ่อย ความเร็วในการทำงานมีหน่วยเป็นวินาที (Second)
4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง
(ยุคทรานซิสเตอร์) ยุคนี้อยู่ระหว่างปี พ.ศ ใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ มีความเร็วสูงกว่า มีความถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า เครื่องมีขนาดเล็ก ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยและราคาถูกลง พัฒนาภาษาระดับสูง เช่น ภาษาฟอร์แทนใช้งานคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, ภาษาโคบอล ใช้งานธุรกิจ ผลิตคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) / ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ ประเทศไทยเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำมาใช้ใน การศึกษา / สำนักงานสถิติแห่งชาตินำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร ความเร็วในการทำงานมีหน่วยเป็นมิลลิเซคคั่น (Millisecond)
5
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม
(ยุควงจรรวมหรือวงจรเบ็ดเสร็จ) ยุคนี้อยู่ระหว่างปี พ.ศ พัฒนาโดยสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก เกิดเป็นวงจรรวมบน แผ่นซิลิกอน เรียกว่า วงจรไอซี (Integrated Circuit : IC) มีการใช้ IC เป็นส่วนประกอบ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้น และใช้กำลังไฟน้อย ผลิตคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์ (เป็นเครื่องที่สามารถทำงานหลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้หลายๆ คนสามารถ โต้ตอบกับเครื่องได้พร้อมกัน : Time Sharing) พัฒนาภาษาเพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษา PL/1, ภาษา RPG ความเร็วในการทำงานมีหน่วยเป็นไมโครเซคคั่น (Microsecond)
6
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่
(ยุค VLSI) ยุคนี้อยู่ระหว่างปี พ.ศ พัฒนาโดยสร้างวงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่ (LSI) เป็นการบรรจุทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงใน ชิป 1 แผ่น และพัฒนาต่อจนกลายเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration : VLSI) ซึ่งสามารบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ซึ่งเรียกชิปนี้ว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์” โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (สมองของคอมพิวเตอร์) มีการทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลิตคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (ยุคนี้มีการใช้งานคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น) มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปของกราฟิกที่เรียกว่า GUI ซอฟต์แวร์มีการพัฒนามาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้มากขึ้น มีการพัฒนาภาษาใหม่ เช่น ภาษา Basic , ภาษา Pascal , ภาษา C ความเร็วในการทำงานมีหน่วยเป็นนาโนเซคคั่น (Nanosecond)
7
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า
(ยุคเครือข่าย) ยุคนี้อยู่ระหว่างปี พ.ศ – ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลผลได้ครั้งละมากๆ จึงสามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน รวมทั้งมีการ เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นระบบ LAN และเชื่อมโยงทั่วโลก เป็นอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และแก้ปัญหา โดยจะมีการจัดเก็บ ข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มีการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านกราฟิกอย่างแพร่หลายมากขึ้น ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลงและมีความเร็วสูง เช่น โน้ตบุ้ค การปฏิบัติงานต่างๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์แทนแรงงานมนุษย์ ซอฟต์แวร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วขึ้นมาก รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.