ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSunatda Sivaraksa ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
เรื่อง การบริหารจิตเพื่อสุขภาพ จัดทำโดย นาย ภัทรพงศ์ สินเติม
โครงงาน เรื่อง การบริหารจิตเพื่อสุขภาพ จัดทำโดย นาย ภัทรพงศ์ สินเติม
2
การฝึกจิต พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการ บริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา การบริหารจิต คือ การฝึกฝนอบรมจิตใจให้ดีงาม นุ่มนวล อ่อนโยน มีความหนักแน่นมั่นคง แข็งแกร่งและมีความผ่อนคลายสงบสุข การบริหาร จิตในทางพุทธศาสนามี 2 อย่าง 1.สมถกรรมฐานหรือสมาธิภาวนา คือการฝึกจิตให้เกิดความสงบ เรียกว่า สมาธิ 2.วิปัสสนากรรมฐาน คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดปัญญา เป็น ความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพที่เป็นจริง
3
การบริจิต ผลของการบริหารจิต ทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี มีความรู้ความเข้าใจโลกและ ชีวิตได้ถูกต้อง คนเช่นนี้ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมประสบความสำเร็จ อยู่ที่ใดก็ ได้รับความสุขสงบแห่งจิตใจ เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็สามารถเอา ตัวรอดได้ ไม่คิดสั้น การบริหารจิตตามหลักพระพุทธศาสนามีวิธีปฏิบัติมากถึง 40 วิธี แต่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้ฝึกปฏิบัติการบริหารจิตตามหลักสติปัฏ ฐาน 4
4
สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็น จริง คือตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้ รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา มีวิธีปฏิบัติหลายวิธี คือ - อานาปานสติ การกำหนดลมหายใจเข้าใจ - อิริยาบถ การกำหนดรู้ทันอาการยืน เดิน นั่ง นอน - สัมปชัญญะ การสร้างสัมปชัญญะในการกระทำความ เคลื่อนไหวทุกอย่างของกาย - ปฏิกูลมนนิการ การพิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาด ทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนนี้ - ธาตุมนสิการ การพิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็น ธาตุแต่ละอย่างๆ
5
บริหรจิต วิธีการบริหารจิต กล่าวเฉพาะการตั้งสติกำหนดพิจารณากายในอิริยาบถนั่ง โดย การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ที่เรียกว่า อานาปานสติ
6
การปฏิบัติ ขั้นตอนปฏิบัติ 1.นั่งท่าสมาธิ คือ นั่งขัดตะหมาด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวาง ทับมือซ้าย ตั้งตัวตรง ดำรงสติมั่น 2.หลับตาหรือลืมตาก็ได้ อย่างไหนได้ผลดีก็ปฏิบัติอย่างนั้น 3.กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ลมหายใจกระทบตรงไหนก็รู้ชัดเจน ให้กำหนดตรงจุดนั้น 4.เมื่อลมหายใจ-ออก จะกำหนดภาวนาด้วยหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ บุคคลที่ปฏิบัติ 5.ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนได้เวลาพอควรแก่ร่างกาย จึงออกจากการ ปฏิบัติ 6.แผ่เมตตาให้ตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
7
คำคม อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความ เมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.