ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย จักรวัฒน์ เครือคำอ้าย
ปรัชญาพลศึกษา โดย จักรวัฒน์ เครือคำอ้าย
2
พลศึกษา Physical Education
หมายถึง เป็นการศึกษาแขนงหนึ่งในขบวนการศึกษาทั้งหมด ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเกิดการพัฒนาการทางกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อการเป็นพลเมืองดี การใช้กิจกรรมต่างๆ ที่เลือกเฟ้นแล้ว เพื่อไปสื่อให้บรรลุผลที่วางไว้ข้างต้น (Bucher,1969:31)
3
พลศึกษา Physical Education
กระบวนการทางการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาร่างกายของมนุษย์ให้ดีขึ้น หรือกล่าวได้ว่า พลศึกษา คือ วิชาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและทักษะ โดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกายหรือกีฬาต่างๆเป็นสื่อของการเรียน (วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ 2539 : 23)
4
จุดมุ่งหมาย “จงบำรุงรักษาร่างกายให้มีความแข็งแรง อดทน และปราดเปรียวเพื่อที่จะให้ร่างกายสามารถเชื่อและปฏิบัติตามคำสั่งของจิตใจได้ จิตใจที่ผ่องใสอยู่ในเรือนร่างที่สมบูรณ์”( John Locke )
5
Jean Jacques Rousseau (1712-1778) จัง จาค รุสโซ
“มีความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องมีความแข็งแรง เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามคำสั่งของวิญญาณได้ ผู้รับใช้ที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงยิ่งถ้าร่างกายมีความอ่อนแอเท่าใด ร่างกายก็จะเป็นนายเรามากเพียงนั้น และกลับตรงกันข้าม ถ้าร่างกายของเรายิ่งมีความแข็งแรงมากเพียงใด มันก็ยิ่งจะปฏิบัติตามเราและรับใช้เราได้ดีมากเพียงนั้นด้วย
6
Christian Woff “หน้าที่ต่อร่างกาย”
โดยบรรยายไว้ว่า การที่มนุษย์ดำเนินชีวิตให้เป็นสุขได้นั้น จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อร่างกายมีสติปัญญาที่มีประสิทธิภาพที่แข็งแรงเท่านั้น แต่สติปัญญาที่แข็งแรงก็ต้องอยู่ในร่างกายที่มีสุขภาพสมบูรณ์และแข็งแรง โดยความสุขภาพสมบูรณ์ของร่างกายจะได้มาจากแบบฝึกหัดของพลศึกษาเท่านั้น
7
ปรัชญาการพลศึกษา คือ ค่านิยม หลักการ วิธีการและทฤษฎีต่างๆ ทางการพลศึกษาที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ การทดลอง การพิสูจน์และการกลั่นกรอง พิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่างละเอียดลออ ถี่ถ้วนเป็นอย่างดีและถูกต้อง ได้เป็นที่ยอมรับของวิชาชีพพลศึกษาแล้วว่า สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดและดำเนินการตลอดการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ (วรศักดิ์ เพียรชอบ 7:2548)
8
บทบาทและความสำคัญ ช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายที่ดี และมีสุขภาพดี ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อโลหิต ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อกล้ามเนื้อ ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อหัวใจ ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อปริมาณของโลหิตที่หัวใจบีบตัว ผลของการออกกำลังกายที่มีต่ออัตราการเต้นของชีพจร
9
9. แพทยสภาแห่งประเทศไทยได้สรุปความสำคัญของการออกกำลังกายไว้ดังนี้
ช่วยให้อวัยวะต่างๆแข็งแรงขึ้น เช่น หัวใจ ปอด ไต กระดูก ช่วยลดการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคแผลในกระเพราะอาหาร และไขมันในเส้นเลือดสูง ผู้ที่ทำงานเบาไม่ค่อยออกกำลังกาย อาจเป็นโรคเหนื่อยง่ายและเวียนศีรษะ บุรุษไปรษณีย์เป็นโรคหัวใจน้อยกว่าพนักงานรับโทรศัพท์ กระเป๋ารถเมล์
10
7. ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อความดันของโลหิต
6. ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อเส้นโลหิต 7. ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อความดันของโลหิต 8. ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อระบบการหายใจ
11
ผู้ที่มีอาชีพงานเบา และจำเจ อาจเจ็บป่วยบ่อย ควรหาเวลาออกกำลังกายทุกวัน เช่น พระภิกษุ นักเรียน แม่บ้าน ช่างเย็บผ้า นักธุรกิจฯ คนถีบจักรยานเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าคนขับรถหรือคนนั่งรถ การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้คนเป็นโรคติดเชื้อน้อยลง เช่น เป็นหวัดคัดจมูก เจ็บคอ การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้มีอายุยืนนาน ออกกำลังกายวันละนิดจิตแจ่มใส ถ้าไม่อยากให้หัวใจวายออกกำลังกายทุกวัน
12
2.ช่วยให้มีทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการเล่นกีฬาดีขึ้น
จากการศึกษาพบว่า ทักษะการเคลื่อนไหวจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ กำลังความแข็งแรง ความรวดเร็ว การเปลี่ยนทิศทาง ความอ่อนตัว ความสามารถของสายตา ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการของทักษะนั้นๆ
13
3. ช่วยให้มีคุณธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของสังคมดีขึ้น
มีระเบียบวินัย มีความกล้าในการแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความอดทน มีความยับยั้งชั่งใจ มีศีลธรรมจรรยา
14
4. ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจโดยการปฏิบัติจริง
หลักการทางด้านจิตวิทยาการกีฬาที่จะทำให้การเรียนรู้ได้ผลดีที่สำคัญก็คือ การเรียนรู้นั้น คือ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง (Learning by doing)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.