ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChanachai Traivut ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ความสำคัญ ของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย โดย ดวงเดือน สมวัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สสข.1 ชัยนาท
2
สภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกษตร
1.การปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในสินค้าเกษตร (จุดเสี่ยงในขั้นตอนการเพาะปลูก) จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น เชื้อ Salmonella spp เชื้อ E. coli เป็นต้น สารปฏิชีวนะตกค้าง พบในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและปศุสัตว์ สารพิษอะฟลาท็อกซิน พบมากในถั่วลิสง วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารฟอกขาว สารกันบูด สารบอแร็ก ฯลฯ
3
สภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกษตร
2.การมีพฤติกรรมบริโภคที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ทำให้คนไทยมีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งสูงถึงปีละกว่า 120,000 คน ความดันโลหิตสูง กว่า 800,000 คน โรคระบบทางเดินอาหารปีละกว่า 1 ล้านคน ป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายกว่า 10.8 ล้านคน
4
ห่วงโซ่อาหาร ผู้บริโภค ตลาดขายอาหาร สินค้าอาหาร สินค้าเกษตรจากแปลง
5
สาเหตุที่เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรไม่ปลอดภัย
เกษตรกรขาดความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรกรขาดแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยมีจำกัด
6
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
7
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
เป็น พรบ. ที่บังคับใช้กับสินค้าเกษตร (ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ และผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว) “มาตรฐาน” หมายถึง มาตรฐานบังคับหรือมาตรฐานทั่วไปแล้วแต่กรณี
8
พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
“มาตรฐานบังคับ” หมายถึง มาตรฐานที่มีกฏกระทรวงกำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน “มาตรฐานทั่วไป” หมายถึง มาตรฐานที่มีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ปัจจุบันมีเฉพาะ “มาตรฐานทั่วไป”
9
ระบบการผลิตสำหรับสินค้าเกษตร
GAP = Good Agricultural Practice (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) GAP คือ การปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค
10
ผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)
ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วย ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้า รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน
11
มาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร
การรับรองมาตรฐาน GAP ที่ผ่านมา ใช้มาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตรในการตรวจรับรองแปลง มกอช. ได้พัฒนามาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร (มกษ ) โดยปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2552 โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน Codex มาตรฐาน ASEAN และมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ได้มีการทบทวน มกษ. GAP พืชอาหาร (มกษ ) เพื่อปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN ซึ่งมีแนวโน้มจะประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศประมาณกลางปี 2556
12
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.