งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การทำรายงานและงานวิจัยทางกฎหมาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การทำรายงานและงานวิจัยทางกฎหมาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การทำรายงานและงานวิจัยทางกฎหมาย
1. การค้นคว้าวิจัย 2. การเขียนรายงาน

2 ขั้นตอนของการทำวิจัย/รายงาน
คิด ต้องการศึกษาเรื่องอะไร – วางโครงสร้างของเรื่องที่จะศึกษา ตั้งคำถาม ค้นคว้าข้อมูล – ข้อเท็จจริง, แนวคิด, หลักกฎหมาย, การใช้ การตีความ วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอ – เขียนรายงาน

3 การค้นคว้าวิจัย การวิจัยเชิงเอกสาร
– เอกสารชั้นต้น กฎหมาย คำพิพากษา ข่าว – เอกสารลำดับรอง ตำรา บทวิจารณ์ ความเห็น การวิจัยเชิงประจักษ์ – การเก็บข้อมูลภาคสนาม – การวิจัยเชิงปริมาณ – เก็บสถิติ มีตัวเลข การทำแบบสำรวจ – การวิจัยเชิงคุณภาพ – การสัมภาษณ์เชิงลึก การฝังตัวในชุมชน การสังเกตการณ์ – การวิจัยเชิงปฏิบัติการ – การวิจัยแบบมีส่วนร่วม focus group

4 แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าทางกฎหมาย
เวปโซด์ของหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานทางกฎหมายของรัฐ เช่น รัฐสภา วิธีการเชื่อมโยงไปที่ link ที่ให้มาข้างบน – อยู่ในสถานะทั่วไป ที่ไม่ใช่ slide show ลากเม้าท์ไปที่ link แล้วคลิกขวา เลือกคำสั่ง open hyperlink ขณะที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนท จะเปิดไปที่หน้าเวปไซด์ องค์กรอิสระต่าง ๆ เช่น ปปช. ส่วนราชการ เช่น กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานอื่นๆ เช่น Pub-law.net หน่วยงานอื่นๆ เช่น UN

5 แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าทางกฎหมาย
ตัวบทกฎหมาย ราชกิจจานุเบกษา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

6 แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าทางกฎหมาย
คำวินิจฉัยของศาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลฏีกา

7 แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าทางกฎหมาย
วารสารทางวิชาการ วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์ วารสารกฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารกฎหมายปกครอง ดุลพาห วารสารอัยการ ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒน คณะนิติศาสตร์ ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์ ศาลยุติธรรม

8 แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าทางกฎหมาย
ข้อเท็จจริง ข่าว เหตุการณ์ (แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์) BBC News Aljazeera สำนักข่าวINN กรุงเทพธุรกิจ สำนักข่าวประชาไท

9 จริยธรรมงานวิจัย การวิจัยด้วยความจริง นำเสนอข้อมูลที่เที่ยงตรง
การคุ้มครองแหล่งข้อมูล ไม่ทำให้ผู้ให้ข้อมูลเสียหาย – ปกปิดชื่อ, ผู้ให้ข้อมูลยินยอมให้นำข้อมูลของเขามาเผยแพร่ (informed consent)

10 Research Misconduct นำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปกปิดข้อมูลบางส่วน ตกแต่งข้อมูล บิดเบือนการนำเสนอ การขโมยความคิดของคนอื่น Plagiarism – ละเมิดลิขสิทธิ์

11 Plagiarism การตัด-แปะข้อมูลของคนอื่น การให้ผู้อื่นทำงานให้ตัวเอง
การใช้แนวคิดของคนอื่นโดยไม่มีการอ้างอิง แม้มีการอ้างอิงแล้ว ก็ต้องเขียนเป็นภาษาของตัวเอง paraphrase Self-plagiarism การนำงานของตัวเองมาเวียนนำเสนอซ้ำ

12 Paraphrase วิธีการ อ่านเนื้อหาของเรื่องจนเข้าใจความหมายอย่างแท้จริง
ปิด/เก็บต้นฉบับ แล้วเขียนตามความเข้าใจของเราเอง เป็นภาษาของเราเอง (อย่าลืมจดว่าข้อความนี้เอามาจากแหล่งอ้างอิงไหน หน้าอะไร) ตรวจสอบกับต้นฉบับว่าใจความสำคัญที่เราเขียน ถูกต้องหรือไม่

13 การนำเสนอ - วิธีการทำรายงาน
การจัดเรียงลำดับในการนำเสนอ ใช้ภาษาที่ชัดเจน (ใคร ทำอะไร) กระชับ ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลในการนำเสนอ มี Road Map และเดินเรื่องตามนั้น มีเลขหน้า การเรียงหัวข้อ 1. 1.1 1.1.1 Transitional paragraph ความเชื่อมโยง Consistency ระวังเรื่องเวลา – กฎหมายที่แก้ไข Self editing อ่านทวนงานที่ตัวเองเขียน ใช้เครื่องมือของ MS Word จัด format ตั้งแต่แรก มีระบบบันทึกที่มา เก็บข้อมูล folder backup your work > hard copy + to yourself!

14 ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ตัวอย่าง “ตะลึงพบทารก 2,002 ศพ ทำแท้งสยองส่งท้ายปี เป็นข่าวใหญ่ในรอบปี กับการพบศพทารก 2,002 ศพ ที่ถูกซุกไว้ในโกดังเก็บศพ ภายในวัดไผ่เงินโชตนาราม ย่านบางคอแหลม กทม. เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มจากการที่ตำรวจไปพบศพทารกทำแท้ง ถูกซ่อนไว้ในโกดังเก็บศพวัดไผ่เงินฯ โดยช่องเก็บศพช่องแรกพบเพียง 348 ศพ ต่อมามีการขยายผลไปช่องเก็บศพใกล้ๆ กัน จึงเจออีกเป็นพันศพ งานนี้สัปเหร่อวัดไผ่เงินฯ คนหมกศพ ยอมรับสารภาพว่า นำศพทารกเหล่านี้ทยอยเก็บไว้หลายปีแล้ว รับมาจากคลินิกทำแท้งเถื่อนหลายแห่ง ในย่านบางคอแหลม และย่านใกล้เคียง ที่ไม่เผาทำลายเพราะเมรุเกิดชำรุดพังเสียหาย”

15 ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
ตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน นักศึกษาจะให้ความเห็นต่อข่าวที่เกิดขึ้น ว่าปัญหาคืออะไร? ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การมีซากทารกจำนวนมาก จึงส่งกลิ่นเน่าเหม็นกระจายไปทั่ว!!! ปัญหาคือการที่มีการทำแท้งเถื่อน สะท้อนถึงความเน่าแฟะของสังคมไทย... เกี่ยวกับปัญหากฎหมาย/การใช้กฎหมายอย่างไร? ทำไมจึงเกิดการทำแท้งเถื่อน กฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งของไทย กำหนดว่าอย่างไร ปัญหาของกฎหมายทำแท้งของไทยคืออะไร?

16 Self Editing ในการอ่านและแก้ไขงานเขียนด้วยตัวเอง มีขั้นตอนที่ควรตรวจสอบ ดังนี้ เราเขียนอธิบายเรียงตามลำดับเหตุการณ์ เรามีการเขียน โดยมีจุดมุ่งหมายอธิบายไปที่เป้าหมายเดียว (one main idea) ไม่ใช่ฟุ้งไปเรื่อย เรามีการตอบคำถามครบถ้วนว่า ใคร/อะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เราเขียนในรูปประโยคที่ชัดเจน กระชับ เรามีเกริ่นนำ บอกเล่าเหตุการณ์ การวิเคราะห์ และสรุป (อาจมีการเสนอแนะด้วย)

17 การอ้างอิง Bibliography บรรณานุกรม Citation Footnote เชิงอรรถ
Canadian guide to uniform legal citation = McGill Law Journal. McGill Guide Bluebook : A uniform system of citation. Harvard Law Review Association. Endnote In note (ระบบ นามปี) Bibliography บรรณานุกรม

18 แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาค้นหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย และเขียนรายงานมา โดยใช้วิธีการเขียนตามที่ได้รับจากการอบรมในวันนี้ – ต้องมีเชิงอรรถ และบรรณานุกรม 1000 คำ ไม่รวมเชิงอรรถ และบรรณานุกรม ให้มีการนำเสนอข้อเท็จจริง การอธิบายหลักกฎหมายและตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ยกมา และการวิเคราะห์/ความเห็นของนักศึกษาประกอบด้วย เขียนชื่อ/รหัสนักศึกษา ส่งที่พี่เกศ หลังสอบเสร็จ พร้อมกับแบบประเมิน จบ ☃


ดาวน์โหลด ppt การทำรายงานและงานวิจัยทางกฎหมาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google