งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชกำหนด ๔ ฉบับ: เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชกำหนด ๔ ฉบับ: เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชกำหนด ๔ ฉบับ: เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด ๒ ฉบับ

2 พรก. ๔ ฉบับ และสาระสำคัญ (เรียงตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
พรก. ๔ ฉบับ และสาระสำคัญ (เรียงตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา) พรก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ส่งตีความ) กู้เงิน 350,000 ล้านบาท เพื่อการลงทุนแก้ไขและวางระบบน้ำ ๒. พรก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งกองทุน 50,000 ล้านบาทเพื่อขยายทุนประกันของประเทศ ๓. พรก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยพ.ศ. ๒๕๕๕ สินเชื่อดอกเบี้ยถูก 300,000 ล้านบาท โดยธปท. ให้สินเชื่อดอกเบี้ยถูกมาผสมกับสินเชื่อ ธ/พ. พรก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ส่งตีความ) ให้กองทุนฟื้นฟูฯ มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ ของหนี้ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พรก1.เงินกู้ระบบน้ำ 350,000 ล.บ. พรก2. ประกันภัย 50,000 ล.บ. พรก3. สินเชื่อ 300,000 ล.บ. พรก4. กองทุนฟื้นฟู

3 ความเห็นต่างในภาพรวม รัฐบาล-ฝ่ายค้าน
๔ ฉบับเกี่ยวข้องกัน และ แยกกันไม่ได้ งบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ (๓๕๐,๐๐๐ + ๕๐,๐๐๐) ล้านบาท ลงทุนแก้ปัญหาสั้นยาว สินเชื่อ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เฉพาะหน้าให้ช่อมบ้านและโรงงาน กองทุนฯ ลดการใช้ดอกเบี้ยในงบประมาณ สร้างความมั่นใจว่าในอนาคตสามารถทำได้โดยมีข้อจำกัดงบประมาณน้อยลง ๔ ฉบับ เร่งด่วน แก้และป้องกันปัญหาเรื่องน้ำท่วม “ฉุกเฉินมีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ” ฝ่ายค้าน ๑. สภาเปิด เสนอเป็น พรบ.ได้ ๒. พรก.ลงทุนน้ำ ๓๕๐,๐๐๐ ล.บ.ไม่เร่งด่วน ไม่มีโครงการชัดเจน ๓. พรก. กองทุนฯ ไม่เร่งด่วน เพราะหนี้สาธารณะไม่มีปัญหา ฝ่ายรัฐบาล ๑. เสนอเป็น พรบ.จะช้า หลายเดือน ๒. พรก.ลงทุนน้ำ ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศพร้อมลงทุน ๓. พรก. กองทุนฯ เป็นส่วนสำคัญเพราะย้ำให้เห็นว่าแก้หนี้สาธารณะที่มีปัญหาและมีช่องให้ใช้งบประมาณได้ในอนาคต

4 สาระสำคัญ พรก๑. กู้เงินเพื่อลงทุนระบบน้ำ ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท
๑. มาตรา ๓ ให้ ก.คลังโดยอนุมัติของ ครม. มีอำนาจกู้เงิน... เพื่อนำไปใช้จ่ายในการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ โดยให้ครม.เสนอกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนดำเนินการ ...มูลค่าไม่เกิน ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ...ภายใน..๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ๒. มาตรา ๔ เงินที่ได้..ให้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์.. ๓. มาตรา ๑๐ ให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ทำหน้าที่บริหารเงิน ๔. มาตรา ๑๑ ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและจัดการ.... ข้อคิดเห็น เหมือน พรก. ไทยเข้มแข็งที่ ไม่มีโครงการชัดเจน / อยู่นอกการตรวจสอบตามระบบงบประมาณ / มีจุดรั่วไหล สบน. ต้องออกระเบียบให้แก้ไขปีญหาเดิม และต้องมีเจ้าหน้าที่เพียงพอพอที่จะตรวจสอบ ๒. ได้มีการแยกงบประมาณ เพื่อโครงการ สั้น-ยาว ซึ่งดี แต่ต้องมีองค์กรกำกับดูแลความสอดคล้องและประเมินความก้าวหน้า หากช้าหรือทไม่สำเร็จแล้วน้ำท่วมอีกจะเสียหายมาก

5 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สาระสำคัญ พรก๑
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สาระสำคัญ พรก๑. กู้เงินเพื่อลงทุนระบบน้ำ ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท (ส่งตีความ) ประเด็นที่ 1 (184 วรรค 1): เป็นกรณีเพื่อประโยชน์อันจะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ เห็นว่า...พรก.ดังกล่าว..เพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย..สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ และ..ต่อประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม หากไม่มีมาตรการป้องกันบรรเทา..ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน..ผู้ประกอบการอาจตัดสินใจย้าย...ไปอยู่ต่างประเทศ อันอาจจะเป็นผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม จึงเห็นว่า พรก. เป็นกรณีเพื่อประโยชน์อันจะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 ประเด็นที่ 2 (184 วรรค 2):เป็นกรณีฉุกเฉิน มีความจำแป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยง เห็นว่า...อุทกภัย 2554 เป็น..ปัญหารุนแรง..จะให้รัฐบาลเพิ่มวงเงินงบประมาณขาดดุลอีก 1.5 แสนล้านบาทไว้ในร่างงบประมาณดังกล่าว (งบประมาณ 2555) ก็ไม่สามารถกระทำได้ การที่รัฐบาลจัดระบบบริหารจัดการน้ำ...ต้องใช้เงิน 350,000 ล้านบาท..จึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันภัยภิบัติในเวลาอันใกล้จะถึง จึงเห็นว่า.. พรก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำฯ เป็นกรณีฉุกเฉินอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

6 สาระสำคัญ พรก.๒ กองทุนประกันภัยพิบัติ
๑. มาตรา ๔ ให้จัดตั้ง..กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ... ขึ้นใน ก.คลัง เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดย การรับประกันภัย และ ทำประกันภัยต่อ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจวินาศภัย ...มูลค่าไม่เกิน ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ...ภายใน..๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ๒. มาตรา ๑๓ ให้ก.คลัง...มีอำนาจกู้เงิน..ส่งเข้ากองทุน..มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ๓. มาตรา ๑๘ ให้มี..คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ประกอบด้วย ประธาน..ครม.แต่งตั้ง/ปลัดคลัง/ผอ.สศค./เลขาธิการคณะกรรมการประกันภัย/ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๔ คน เป็นกรรมการ ๓. มาตรา ๒๕ ...ในกรณีกองทุนไม่มีความจำเป็น ให้ รมต.คลังเสนอ ครม.เพื่อยุบ ข้อคิดเห็น:ทุกฝ่ายเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ขณะนี้มีความจำเป็นเพราะ re-insure ไม่พอ ในอนาคตอาจปรับรูปจากกองทุนเป็นองค์กรถาวรหรือเป็นรูปบริษัทจำกัด ทำหน้าที่ re-insure ให้กับประเทศต่อไป วิธิทำจะร่วมกับบริษัทประกันภัยรับกันคนละส่วนซึ่งจะขยายได้ ๑๐ เท่าเป็น ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท คล้ายการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสถาบันการเงิน ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้นจากการแทรกแซง ประเด็นฝ่ายค้าน: ภารกิจกว้าง ...จะแข่งกับเอกชนหรือ? …เงินจะพอหรือ?

7 สาระสำคัญ พรก.๓.. สินเชื่อ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท
๑. มาตรา ๓ อุทกภัย หมายความว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ และในเขตพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ.. ๒. มาตรา ๔ ให้ มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน...ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินร่วมกันดำเนินการ ๓. มาตรา ๕ ให้ ธปท. มีอำนาจในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะคราว ...อัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืม..ร้อยละ ๐.๑ ต่อปี ..การจัดสรรวงเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของ ธปท. ๔. มาตรา ๖ ให้กู้ยืม...ดังต่อไปนี้ บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนา ที่อยู่อาศัย สถานที่ประกอบอาชีพ หร่อสถานประกอบธุรกิจหรือการค้าของตนในเขตพื้นที่อุทกภัย ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในเขตพื้นที่อุทกภัย ๕. มาตรา ๗... (๒) สถาบันการเงินต้องคิดดอกเบี้ยในการกู้ยืม..ไม่เกินร้อยละ ๓ ต่อปี ๖. มาตรา ๘ ..สถาบันการเงิน..ให้ยื่นคำขอกู้ยืมภายใน ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ๗. มาตรา ๙ ..สถาบันการเงิน ต้องชำระคืนเงินต้นเงินกู้ให้ ธปท. ภายใน ๕ ปี ..ไม่เกิน ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑

8 สาระสำคัญ พรก. สินเชื่อ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท (ต่อ)
ข้อคิดเห็น:ทุกฝ่ายเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ถือว่าเป็น พรก.ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นความร่วมมือของ ธปท. และ ก.คลัง ที่ให้ประโยชน์มากและเร็ว สินเชื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาระยะสั้นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพราะ เร็วกว่า งบประมาณ มีสถาบันการเงินดูแลก่อนให้กู้ และมีการติดตาม ในขณะนี้มีความไม่มั่นใจสูง ต้องให้ต้นทุนการลงทุนถูก และมีมากพอ ต้นทุนต่ำ ๓% ให้ต่ำกว่านี้ไม่ได้เพราะถูกกว่าอ้ตราเงินฝาก ประเด็นฝ่ายค้าน: เขียนไว้ว่า ภัยพิบัติ 2554 ใช้กับภาคใต้ไม่ได้เพราะเกิดเมื่อต้นปี 2555 รายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบไม่ได้สินเชื่อ เพราะกำหนดไว้ว่าเป็นบุคคลหรือรายเล็ก สินเชื่อ ออมสินยังมียังใช้ไม่หมด..จะไปเอามาจาก ธปท. ทำไม..คือให้ ธปท. ชดเชยดอกเบี้ย แทนงบประมาณ ...พิมพ์แบงค์ และชดเชยโดย ธปท.

9 ข้อเท็จจริง หนี้สาธารณะที่มาจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ปี 2554 หนี้คงค้าง 1.14 ลลบ. (10.7% GDP) ชำระดอกเบี้ย 66,540 ล้านบาท ธปท.ไม่ได้ชำระ FIDF1 มาตั้งแต่ปี 2548 (บัญชี ธปท. ไม่มีกำไร) FIDF3 มาตั้งแต่ปี 2552 (บัญชีผลประโยชน์ประจำปีไม่มีกำไร) 2. ปี 2555 มีหนี้ครบกำหนด 340,112 ล้านบาท

10 สาระสำคัญ พรก.๔.. กองทุนฟื้นฟู
๑. หมายเหตุ ..เหตุผลในการประกาศใช้..คือ...เกิดวิกฤตอุทกภัย..รัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องบูรณะและฟื้นฟูประเทศ ... โดยการจัดให้มีการลงทุน...จะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนหลายแนวทาง ...แนวทางหนึ่งคือ การต้องลดงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ โดยจำเป็นต้องปรับปรุง..ระบบ..ไม่เป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไป.. ...การปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณรายจ่ายไปสมทบกับเงินอื่นที่จะใช้ในการบูรณะ.... ๒. มาตรา ๔ ให้กองทุนมีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ (FIDF ๑ และ FIDF ๓) ๓. มาตรา ๕ ...เงินหรือสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้นำส่ง ...เงินและสินทรัพย์ที่นำส่งตาม มาตรา ๗ (กำไรนำส่งร้อยละ ๙๐/สินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี/สินทรัพย์กองทุนตามจำนวนที่ ครม.กำหนด) ๔. มาตรา ๘ ให้ ธปท. มีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงิน เป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝาก...แต่เมื่อรวมกับอัตรานำส่งกองทุนคุ้มครองเงินฝาก...ต้องไม่เกินร้อยละ ๑

11 สาระสำคัญ พรก. กองทุนฟื้นฟู (ต่อ)
ข้อคิดเห็น: ความเห็นต่างกันในกรณีเร่งด่วนหรือไม่ ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน เป็นการแก้ปัญหาหลังจากที่เดิมมีข้อตกลงแล้ว ธปท. ไม่สามารถดำเนินการได้ รัฐบาลไม่ได้อ้างเรื่องลดหนี้สาธารณะ..เพราะไม่ได้ลด..แต่อ้างเหตุ ลดงบประมาณชำระดอกเบี้ย ประเด็นคัดค้าน: จะทำให้ธนาคารผลักภาระไปให้ผู้ฝาก-ผู้กู้เงิน จะทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมของธนาคารไทยสูง สู้ไม่ได้ใน AEC จะทำให้เงินไหลไปสู่ธนาคารเฉพาะกิจโดยเฉพาะออมสินเพราะไม่ถูกเก็บเงินสมทบกองทุนฟื้นฟู

12 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สาระสำคัญ พรก๔. กองทุนฟื้นฟูฯ (ส่งตีความ)
ประเด็นที่ 1 และ 2 (184 วรรค 1 และ 2): เพื่อประโยชน์อันจะรักษาคงามมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกรณีฉุกเฉิน มีความจำแป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยง เห็นว่า...แม้วิกฤตทางการเงินจะเกิดขึ้นเป็นเวลา 15 ปี แต่ความเสียหายยังไม่สัมฤทธิ์ผล..หนี้เงินกู้..ยังเป็นหนี้สาธารณะที่กระทรวงการคลังต้องรับผิดชอบ ..พรก.ฯ ได้กำหนดวิธีบริหารจัดการหนี้..(กองทุนฟื้นฟูฯ รับทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) ธปท.เป็นผู้กำกับการดูแล..และคาดว่าจะชำระเสร็จสิ้นภายใน 27 ปี สำหรับดอกเบี้ยชำระเงินกู้..ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีนัยยะต่อการลงทุนของประเทศ..ซึ่งรัฐบาลสามารถนำมาลงทุน..เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน กอร์ปกับรัฐบาลต้องบังคับใช้ พรก.ฯ เพื่อให้มีเวลาเตรียมการเรียกเก็บเงินจากกองทุนค้มครองเงินฝากสำหรับรอบ 6 เดือนแรกของปี 2555 รัฐบาลจะได้ไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชำระหนี้เงินกู้ในงบประมาณปี 2556 ...และกำหนดไว้ชัดเจนว่า..ต้องกระทำการภายใน 30 มิถุนายน พรก.ดังกล่าวอยู่ในช่วงปีงบประมาณ 2555 และ เป็นการลดภาระงบประมาณในช่วงที่จำเป็น..ต้องตรา พรก. นี้ จึงเป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์จำเป็นในการบังคับร่วมกันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน จึงเห็นว่า..การตรา พรก. ทั้ง 2 ฉบับ..มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุทกภัยจริง และ มีความจำเป็นรีบด่วน..ศาลรัฐธรรมนูญโดยมีมติ 7 ต่อ 2

13 สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
พรก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ มีโครงการบูรณะประเทศ ทั้งระบบน้ำและ ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ โดยเร็ว มีคณะกรรมการขึ้นมาดูแล แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ โครงการไทยเข้มแข็ง มีการลงทุนพัฒนาประเทศ คุ้มกับที่ต้องกู้เงิน 350,000 ล้านบาท ๒. พรก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งกองทุน 50,000 ล้านบาทเพื่อขยายทุนประกันของประเทศ เพียงพอ กับความต้องการประกันที่สูงขึ้นและจบปัญหาการรับประกันต่อที่ไม่เพียงพอ ๓. พรก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยพ.ศ. ๒๕๕๕ สินเชื่อดอกเบี้ยถูก 300,000 ล้านบาท โดยธปท. ให้สินเชื่อดอกเบี้ยถูกมาผสมกับสินเชื่อ ธ/พ. โดยเริ่มต้นในเดือน มีนาคม พรก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ กองทุนฟื้นฟูฯ มีความสารถในการบริหารหนี้ FIDF โดยรัฐบาลไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละ 60,000 ล้านบาทอีก ต้นทุนจากการขึ้นอัตราสมทบ (0.07% สำหรับธนาคารพาณิชย์ และ 0.47% สำหรับธนาคารเฉพาะกิจ) ไม่ก่อให้เกิดการขึ้นค่าบริการที่สูงเกินสมควร มีหลักเกณฑ์ของกองทุนจากเงินที่ได้เก็บจากธนาคารเฉพาะกิจ


ดาวน์โหลด ppt พระราชกำหนด ๔ ฉบับ: เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google