งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT

2 GOLDEN RULE OF REPORT WRITING
1. CONCISE กระชับ 5. PRESENTABLE นำเสนอได้ชัดเจน 6. INTERESTING น่าสนใจ 2. CLEAR ชัดเจน 3. ACCEPTABLE เป็นที่ยอมรับ อ่านได้ง่าย 4. READABLE GOLDEN Rule

3 WHY? วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวนโรค
1. เพื่อรายงานผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา 2. เพื่อเสนอข้อคิดเห็น แก่ผู้บริหารและ ผู้เกี่ยวข้อง WHY? 4. เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น 3. เพื่อเป็นองค์ความรู้ และแนวทางในการ สอบสวนโรคในครั้งต่อไป

4 องค์ประกอบหลัก 2. ชื่อผู้แต่งและที่อยู่ (Authors and Address)
1. ชื่อเรื่อง (Title) 2. ชื่อผู้แต่งและที่อยู่ (Authors and Address) 3. บทคัดย่อ (Abstract or Summary) 4. บทนำ (Introduction) 5. วิธีการศึกษา (Materials and Methods) 6. ผลการศึกษา (Results) 7. การอภิปรายผล (Discussion) 8. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) 9. เอกสารอ้างอิง (References)

5 รูปแบบการเขียนรายงานสอบสวนโรค
ชื่อเรื่อง รายงานการสอบสวนโรค เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร นาย/นาง/น.ส สำนักงาน บทคัดย่อ

6 ชื่อเรื่อง ข้อแนะนำ ให้ตั้งชื่อเรื่องภายหลังเขียนส่วนอื่น
ไม่ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไปจนผู้อ่านไม่เข้าใจ สื่อว่าการสอบสวนโรคอะไร ที่ไหน เมื่อไร ชื่อเรื่องจะน่าสนใจมากขึ้นหากมีประเด็นจำเพาะ เช่น การสอบสวนการระบาดไข้หวัดนกในครอบครัว การระบาดของโรคหัดจากวัคซีนที่มีประสิทธิผลต่ำ ข้อแนะนำ ให้ตั้งชื่อเรื่องภายหลังเขียนส่วนอื่น ทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว

7 ชื่อผู้แต่ง และที่อยู่
เรียงตามปริมาณงาน ชื่อแรกเป็นผู้มีส่วนร่วมในการศึกษามากที่สุด ชื่อถัดไปก็มีส่วนร่วมน้อยรองลงไปจากชื่อแรก ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อผู้ร่วมงานทุกคน ระบุที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน ถ้ามีการย้ายที่ทำงานให้เพิ่ม “ ที่อยู่ปัจจุบัน (Present address) ” ของผู้แต่งรายนั้นด้วย

8 บทคัดย่อ สั้น ไม่ควรเกิน 200 -250 คำ
สั้น ไม่ควรเกิน คำ จะต้องมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีการศึกษา ผลที่สำคัญ และความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ ควรเขียนสุดท้าย ภายหลังเขียนส่วนอื่น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว บทคัดย่อจะเป็นเครื่องตัดสินใจให้ผู้อ่านว่าจะอ่านต่อไปหรือไม่

9 หลีกเลี่ยง ตัวย่อ เช่น รร. เป็นต้น
ตัวย่อ เช่น รร. เป็นต้น ระบุเอกสารอ้างอิง ตาราง หรือรูปภาพในบทคัดย่อ การเขียนผลการศึกษา หรือข้อสรุป ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องเลย การเขียนบอกให้ไปอ่านผล หรือการอภิปรายในเนื้อเรื่อง

10 เนื้อหาในบทคัดย่อ ศึกษาอะไร :- ความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการสอบสวน
ศึกษาอะไร :- ความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของการสอบสวน ด้วยวิธีใด (Method) สั้น ๆ ได้ผลอย่างไร สรุปแต่ผลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ทำอะไรไปบ้างในขณะที่สอบสวน เสนอแนะอย่างไรเพื่อการควบคุมป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

11 บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ
บทนำหรือ ความเป็นมา เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนโรค/การระบาด ขนาดของปัญหาที่ได้รับแจ้ง เริ่มสอบสวนและเสร็จสิ้นเมื่อไร วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค

12 วิธีการศึกษา อธิบายถึงคำจำกัดความ (ผู้ป่วย กลุ่มควบคุม ปัจจัยเสี่ยง) การเลือกตัวอย่าง การออกแบบการศึกษา เครื่องมือ การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ และกระบวนการอื่นๆ อธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ การอธิบายต้องชัดเจน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีรายละเอียดเพียงพอให้ผู้อื่นไปทำการศึกษาต่อได้

13 วิธีการศึกษา 1. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
ข้อมูลผู้ป่วยได้จาก - ทบทวน / รวบรวม …. (passive case finding) - ค้นหาผู้ป่วย (active case finding) - นิยามที่ใช้ในการค้นหาผู้ป่วย/ผู้สัมผัส - วินิจฉัยผู้ป่วยจากอะไร:- อาการ อาการแสดง ผล Lab อะไรบ้าง 2. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี) รูปแบบการศึกษาใช้ case-control study หรือ cohort study - นิยาม case / control - เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม ถามอะไร 3. การศึกษาสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) สำรวจสภาพแวดล้อม และเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม ส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ 4. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์ (ถ้ามี)

14 ผลการศึกษา เสนอผลตามลำดับเหตุการณ์ในวิธีการศึกษา
เสนอเฉพาะผลที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่าง ถ้ามีตาราง กราฟ หรือรูปภาพ ต้องใส่หมายเลข กำกับ และเรียงตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง จำนวนตาราง กราฟ และรูปภาพ จะได้สูงสุดเท่าไร ขึ้นกับวารสารแต่ละฉบับ ถ้าเสนอตารางแล้ว ไม่จำเป็นต้องลอกข้อมูลในตารางลงไป ในเนื้อเรื่องอีก

15 ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่
ผลการศึกษา/สอบสวน ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ สภาพทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลประชากร อาชีพ ศาสนา การสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม การคมนาคม สถานที่ สำคัญฯลฯ เพื่อแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงลักษณะพื้นที่ ที่เกิดโรค ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งอาจส่ง ผลต่อการเกิดโรค ผู้ป่วยรายแรก เนื่องจากข้อมูลจากผู้ป่วยรายแรก จะสามารถเชื่อมโยง ไปถึงแหล่งโรคได้

16 พรรณนาผู้ป่วยทั้งหมด
ผลการศึกษา/สอบสวน ต่อ พรรณนาผู้ป่วยทั้งหมด อัตราป่วย ทั้งหมด = จำนวนผู้ป่วย / ประชากรกลุ่มเสี่ยง อัตราป่วยจำเพาะ ตามเพศ ตามอายุ ตามสถานที่ อัตราตาย ทั้งหมด / เฉพาะ การกระจายตามเวลา Epidemic curve การกระจายตามสถานที่ Mapping กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง อธิบาย Source of infection, Reservoir, Mode of transmission ถ้าบอกได้ การเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจ และการ วิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ

17 การสำรวจสิ่งแวดล้อม ควรเขียนเป็นแผนผัง แผนที่ ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษา/สอบสวน ต่อ การสำรวจสิ่งแวดล้อม ควรเขียนเป็นแผนผัง แผนที่ แสดงสถานที่ใกล้เคียง ที่คาดว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ Case-control study, Cohort study การสำรวจ/ศึกษาอื่น การวิเคราะห์ผลการตรวจสิ่งแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้ปรุงอาหาร การวิเคราะห์ผลการศึกษา สัตว์นำโรค พาหะแมลง ฯลฯ สรุปผลและเสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรค (ทั้งหมด)

18 การอภิปรายผล เป็นส่วนที่ยากที่สุดสำหรับการเขียน
ไม่ควรเสนอผลการศึกษาที่เป็นตัวเลขซ้ำอีก เขียนข้อสรุปที่ได้จากการศึกษา ข้อสรุป ควรเชื่อมโยงเข้ากับวัตถุประสงค์ของการศึกษา ควรอภิปรายถึงผลการศึกษา เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรอภิปรายข้อจำกัดของการศึกษาครั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการประกาศว่าเป็นผู้ริเริ่มการศึกษาเป็นคนแรก

19 กิตติกรรมประกาศ ตำแหน่ง เนื้อหา
- ต่อท้ายคำอภิปรายผล หรือ หมายเหตุ หน้าแรก แล้วแต่วารสาร เนื้อหา - มีส่วนร่วม แต่ไม่ต้องการสิทธิความเป็น ผู้แต่ง - ช่วยเหลือในด้านเทคนิค - ช่วยเหลือในด้านการเงิน และวัสดุ

20 เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม
การอ้างอิงบทความในวารสารมี 2 ระบบ 1. เรียงเลขตามลำดับของเอกสารอ้างอิงที่ปรากฏ (ระบบ Vancouver) 2. เรียงตามชื่อผู้แต่ง จะใช้ระบบไหน ให้ดูคำแนะนำของวารสารนั้น ๆ ตัวอย่างใน “ คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ ” วารสารวิชาการสาธารณสุข

21 หลีกเลี่ยง 2. การศึกษาที่ยังมิได้รับการตีพิมพ์ 3. การติดต่อส่วนตัว
1. บทคัดย่อมาเป็นเอกสารอ้างอิง 2. การศึกษาที่ยังมิได้รับการตีพิมพ์ 3. การติดต่อส่วนตัว

22 รายงานการสอบสวนเบื้องต้นเสนอผู้บริหาร
ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ความเป็นมา ผลการสอบสวนโรค แนวโน้มของการระบาด กิจกรรมควบคุมโรคที่ทำไปแล้ว สรุปความสำคัญ และเร่งด่วน ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ความยาว 1-2 หน้ากระดาษ A4

23 ตัวอย่างรายงานสอบสวนโรค

24 รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ Botulism
จากหน่อไม้อัดปี๊บ ในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2541 Foodborne botulism from home canned bamboo shoot, Nan province, Thailand, 1998 นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์1 นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ2 พญ.ลักขณา ไทยเครือ1 นายธัญญา วิเศษสุข2 น.ส.ศุภวรรณ นันทวาส2 นายอนุวัฒน์ ธนะวงศ์4 น.ส.สุกัลยา เล็กศิริวิไล3 1 กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน โรงพยาบาลน่าน 4 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา

25 ความเป็นมา วันที่ 14 เมษายน คณะสอบสวนโรคได้รับทราบข้อมูลจากอายุรแพทย์ของโรงพยาบาลน่าน ว่ามีผู้ป่วย 6 ราย มีอาการทางระบบประสาทได้แก่ หนังตาตก, พูดไม่ชัด, กลืนลำบาก,แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน โดยเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ เมษายน 2541 และทั้ง 6 ราย มาจากอำเภอท่าวังผา แพทย์ได้ให้การวินิจฉัยว่าสงสัยเกิดจากพิษ Botulinum toxin คณะสอบสวนโรคจากกองระบาดวิทยาร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จึงได้ทำการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 15 –18 เมษายน 2541

26 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค
2. เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ใน แง่บุคคล เวลา สถานที่ และปัจจัยเสี่ยง 3. เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของการแพร่ระบาด 4. เพื่อหาแนวทางในการควบคุม และป้องกันการ แพร่กระจายของโรค

27 วิธีการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
1.1 ทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ เมษายน 2541 โดยมีนิยามผู้ป่วยดังนี้ นิยามผู้ป่วย คือผู้ที่มีอย่างน้อย 3 ใน 10 อย่างดังต่อไปนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงอาการ แหบ, ปากแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, แขนขาอ่อนแรง แบบ symmetrical 1.2 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอ ท่าวังผา 2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ทำการศึกษาแบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบดังนี้ ผู้ป่วย มีอาการตามนิยามเช่นเดียวกับการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณา และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในช่วงเวลา เมษายน 2541 กลุ่มเปรียบเทียบ เป็นแม่บ้านที่มาช่วยงานศพของผู้ป่วยในวันที่ 16 เมษายน 2541 เวลา – น. และไม่มีอาการตามนิยามผู้ป่วย

28 4. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ
3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม 3.1 ศึกษาวิธีการผลิตหน่อไม้อัดปี๊ป ในหมู่บ้าน 3.2 สำรวจบ้านที่ผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปและจำนวนหน่อไม้อัดปี๊ปที่มีอยู่ ในหมู่บ้าน 4. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ 4.1 เก็บอุจจาระผู้ป่วย 2 ราย ตัวอย่างดินบริเวณรอบร้านขายหน่อไม้ ปี๊ปที่สงสัย และอาหารที่สงสัยอื่นๆ ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.2 เก็บตัวอย่างหน่อไม้อัดปี๊ปในบ้านผู้ป่วยและจากร้านที่ขายหน่อไม้ อัดปี๊ปในหมู่บ้าน ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ตรวจหา botulinum toxin ที่ US Army Medical Research Institue for Infectious Disease

29 ผลการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
จากการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ เมษายน พบผู้ป่วย 9 ราย ซึ่งทั้ง 9 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้วอำเภอท่าวังผา จึงได้ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในทั้งสองหมู่บ้านพบผู้ป่วยอีก 4 ราย รวมพบ ผู้ป่วยทั้งสิ้น 13 รายโดยมีลักษณะตาม เวลา สถานที่ และ บุคคลดังนี้

30 รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย
หมู่บ้าน หนองบัวและดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 10-17 เมษายน 41 (N=13) จำนวน (คน) วันที่ เดือน เมษายน 2541

31 อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อหญิง เท่ากับ 1 : 2.3
ผู้ป่วย 12 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว อีก 1 รายอาศัย อยู่ในหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา อัตราส่วนผู้ป่วยชายต่อหญิง เท่ากับ 1 : 2.3 อายุเฉลี่ย (Median) 44 ปี (อยู่ในช่วง ปี) ผู้ป่วย 2 รายเสียชีวิต 3 วันและ 5 วันหลังจากมีอาการ จากประวัติและการตรวจร่างกาย อายุรแพทย์ผู้ทำการรักษาให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรค Foodborne Botulism โดยมีโรคอื่นๆที่อาจเป็นไปได้ดังนี้ - พิษจากยาฆ่าแมลง (Anticholinergic, organophosphate poisoning) - พิษจากเห็ดพิษบางชนิด (Amanita muscaris poisoning) - พิษจากสารเคมีบางชนิด (Chemical poisoning)

32 รูปที่ 2 ลักษณะทางคลินิก ของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism ,
หมู่บ้านหนองบัวและดอนแก้ว อ.ท่าวังผา จ.น่าน, เมษายน 41 สัดส่วนของอาการและอาการแสดง

33 ผู้ป่วย 2 ราย มีอาการหายใจลำบาก แพทย์ได้ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ (intubation) และส่งตัวไป รับการรักษาที่ โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพฯ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิษวิทยา ได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ทั้ง 2 ราย (Electromyogram) พบว่า มีลักษณะเฉพาะ ที่เข้าได้กับโรค Botulism (โดยผู้ป่วยทั้งสองรายเป็นพี่น้องกัน)

34 ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งซึ่งเสียชีวิต เป็นเจ้าของร้านหน่อไม้อัดปี๊ป จากการสอบถามญาติของผู้ที่เสียชีวิตพบว่า ผู้ตายได้ผลิตหน่อไม้อัดปี๊ป ขายเป็นอาชีพ ที่หมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในวันที่ 9 เมษายน ผู้ตายได้เปิดหน่อไม้อัดปี๊ป 2 ปี๊ป ปี๊ปแรกมีลักษณะผิดปกติจึงได้นำไปทิ้ง และเปิดปี๊ปที่ 2 นำไป กินร่วมกันกับเพื่อนอีก 2 คน (ซึ่งเป็นผู้ป่วยด้วย)โดยไม่ได้ปรุงด้วยความร้อน เหลือจากนั้นนำออกขายที่ตลาดบ้านหนองบัว ในเช้าวันที่ 10 เมษายน และผู้ตายเริ่มมีอาการในบ่ายวันนั้น จากข้อมูลอาหารและวันที่สัมผัสอาหารทำให้ได้ ระยะฟักตัว 12 ชม. ถึง 4 วัน

35 2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
ได้ทำการศึกษา Case –control study โดยใช้แบบสอบถาม ถามกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบ ถึงประวัติอาหารที่รับประทานในวันที่ 9-11 เมษายน 2541 (คำถามปลายเปิด) และ ถามว่าได้รับประทานอาหารที่สงสัย ดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ (คำถามปลายปิด)

36 ตารางที่ 1 ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
อาหารที่รับประทาน ผู้ป่วย กลุ่ม เปรียบเทียบ ค่า OR. 95 %CI กิน ไม่กิน หน่อไม้อัดปี๊ปจากร้านใดๆ 13 15 51 89.7* ( ) หน่อไม้อัดปี๊ปจากร้านที่สงสัย 4 62 375.0* ( ) เหล้าขาว 6 7 60 8.57 ( ) เหล้าสาเก 8 5 25 41 2.62 ( ) เห็ดจากตลาด 3 10 16 50 0.94 ( )

37 3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม วิธีการผลิตหน่อไม้ปี๊ปในหมู่บ้าน
การผลิตหน่อไม้อัดปี๊ปในจังหวัดน่านเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตมากในอำเภอท่าวังผา โดยเฉพาะในหมู่บ้านดอนแก้ว โดยในช่วงฤดูฝน (เดือนมิย.-ตค.) ชาวบ้านจะเก็บหน่อไม้ในป่า นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาใส่ในปี๊ป ขนาด 20 ลิตร (ปี๊ปใส่น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว) ซึ่งมีรูเปิดข้างบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ใส่น้ำจนเต็มปี๊ปแล้วต้มจนเดือด คอยเติมน้ำตลอด ต้มประมาณ 1 ชม.และแน่ใจว่าหน่อไม้สุกแล้ว จึงยกลงจากเตาแล้วปิดด้วยฝาโลหะ และเชื่อมด้วยตะกั่ว โดยละลายตะกั่วด้วยกรดไฮโดรซัลฟูริก แล้วเก็บหน่อไม้อัดปี๊ปไว้ขายในฤดูร้อน (เดือน กพ.-เมย.) ซึ่งไม่มีหน่อไม้สดขาย รวมเก็บไว้ประมาณ 3-6 เดือน

38 หน่อไม้อัดปี๊ป ขนาด 20 ลิตร ซึ่งมีการผลิตและขายในตลาด
วิธีการปิดผนึกฝาด้วยดีบุกและ ใช้ตะกั่วซึ่งหลอมด้วยกรดซัลฟุริก ป้ายรอบฝา

39 ตารางที่ 3 ผลการส่งตรวจหน่อไม้อัดปี๊ปทางห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างหน่อไม้ได้จาก ส่งเพาะ เชื้อที่NIH* US Army Medical Research Institute เพาะ เชื้อ Elisa test Mouse antitoxin bioassay 1)เหลือจากเจ้าของร้านที่เสียชีวิต - ve + ve +ve type A 2)เหลือจากผู้ป่วยที่ส่งต่อไปรพ.ศิริราช 3)สุ่มจากร้านค้าทั่วไป(ปี๊ปปกติ) 2 ปี๊ป 4)สุ่มจากร้านค้าทั่วไป(ปี๊ปบวม) 2 ปี๊ป

40 วิจารณ์ ข้อจำกัดของการสอบสวน
เสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรค ขณะที่ดำเนินการสอบสวน ในส่วนของอำเภอ จังหวัด สำนักงาน อย. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ :- พัฒนาระบบเฝ้า ระวัง การรักษา ระบบป้องกันโรค เอกสารอ้างอิง

41 ตัวอย่างบทคัดย่อ

42 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเขียนรายงาน
ผู้เขียนได้รับความรู้เพิ่มเติมจากขบวนการเขียน เรียบเรียงข้อมูล ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ วางแผนควบคุมและป้องกันโรคต่อไป ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องการสอบสวนทางระบาดวิทยา พัฒนาคุณภาพของการสอบสวนทางระบาดวิทยา

43 จุดอ่อนของรายงานการสอบสวนโรค
ความเป็นมา:- ยังไม่ครอบคลุมประเด็นที่ควรจะมี เช่น ข้อมูลของ index case ความจำเป็นที่ต้องสอบสวนโรค ทีมสอบสวน ระยะเวลาที่ออกสอบสวน วัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรค ไม่ชัดเจน วิธีการสอบสวนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การตั้งนิยามผู้ป่วย เพื่อการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง ไม่ครอบคลุม

44 6. ลำดับขั้นตอนการเขียน:- กล่าวถึงประเด็นเดียวกัน ซ้ำ
5. ผลการสอบสวนไม่ตอบวัตถุประสงค์ &ไม่สามารถบอกประเด็นสำคัญของการสอบสวนโรคได้ เช่น ขนาดของปัญหาการเกิดโรคในครั้งนั้น ๆ , ขอบเขตการเกิดโรคไม่ชัดเจน, การถ่ายทอดโรค, ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการแพร่ระบาด ฯลฯ จึงเสมือนเป็นเพียง การรายงานผู้ป่วยเท่านั้น 6. ลำดับขั้นตอนการเขียน:- กล่าวถึงประเด็นเดียวกัน ซ้ำ ไป ซ้ำมา 7. เนื้อหามากเกินความจำเป็น:- การลอกรายละเอียด ของ อาการ การรักษา ผล Lab จากแฟ้มทะเบียนผู้ป่วยเกือบทั้งหมด มาไว้ในรายงานสอบสวนโรค ที่ควรเป็นคือสรุปประเด็นจากรายละเอียดเหล่านั้นออกมาให้ได้ว่า ลักษณะอาการหลัก คืออะไร สอดคล้องกับ ผล Lab/ การรักษาของแพทย์หรือไม่ และจากข้อมูลดังกล่าว สามารถสรุปได้หรือไม่ว่า น่าจะเป็นโรคใด

45 ข้อเสนอมาตรการควบคุมป้องกัน ยังไม่สามารถระบุมาตรการที่จำเพาะและสอดคล้องกับสถานการณ์จริง เช่น การให้ยาแก่ผู้สัมผัสมากเกินความจำเป็น, คำแนะนำในการควบคุมโรค ควรระบุให้ชัดเจนว่า ข้อเสนอเหล่านั้น จะให้ใครทำ จะทำอย่างไร และเริ่มทำ/สิ้นสุดเมื่อไร, ขาดความเข้าใจเรื่องการสอบสวนเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ การสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิต เพื่อพิสูจน์ว่าความรุนแรงนั้น สืบเนื่องมาจากสาเหตุใด เช่น ความรุนแรงของโรคจากเชื้อตัวใหม่ หรือการเปลี่ยนสายพันธุ์ของเชื้อ หรือ สืบเนื่องจากบริการทางการแพทย์ หรือจากความไม่รู้ของประชาชน หรือ อื่น ๆ ซึ่งในการสอบสวนควรพยายามค้นหาสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เพื่อการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการแก้ปัญหาที่แท้จริง

46 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google