ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวทางการเบิกค่ารักษาพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม
2
ระบบประกันสังคม มี 2 กองทุน.....
กองทุนประกันสังคม เงินสมทบ มาจาก 3 ฝ่าย ( นายจ้าง 5% ลูกจ้าง 5% รัฐบาล 3%) ประโยชน์ทดแทน สำหรับผู้ประกันตน มี 7 กรณี 1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันไม่เนื่องจากการทำงาน 2. กรณีทุพพลภาพ 3. กรณีตาย 4. กรณีคลอดบุตร 5. กรณีสงเคราะห์บุตร 6. กรณีชราภาพ 7. กรณีว่างงาน
3
ระบบประกันสังคม มี 2 กองทุน.....
กองทุนเงินทดแทน เงินสมทบ มาจากนายจ้างฝ่ายเดียว ประโยชน์ทดแทน สำหรับลูกจ้างมี 3 กรณี 1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน 2. กรณีทุพพลภาพ 3. กรณีตายหรือสูญหาย
4
ระบบบริการทางการรักษา
กองทุนประกันสังคม ( กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนอกงาน) ใช้ระบบเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้สถานพยาบาล ผสมการจ่ายเพิ่มกรณีการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ/ค่าภาระเสี่ยง/อัตราใช้บริการ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทั่วไป ผู้ประกันตนเข้ารักษาที่สถานพยาบาลตามบัตรฯได้จนสิ้นสุดการรักษา คุ้มครองทุกโรคยกเว้นที่ประกาศยกเว้นไว้ ผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย/ไม่จำกัดจำนวนครั้ง มาตรฐานการบริการเช่นเดียวกับผู้ป่วยอื่นทั่วไปของสถานพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ที่มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานบัญชียาหลักแห่งชาติ การรักษาขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษา ถ้าแพทย์ผู้รักษาสั่งการรักษา สถานพยาบาลจะเก็บเงินผู้ประกันตนไม่ได้
5
ระบบบริการทางการรักษา
กองทุนประกันสังคม ( กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนอกงาน) 3. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ เข้าสถานพยาบาลอื่นได้ เบิกค่ารักษาได้ตามอัตราที่กำหนด 4. การรักษาด้านการแพทย์แผนไทย ไม่มีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะและไม่อยู่ในประกาศยกเว้น ดังนั้นจึงอยู่ในความรับผิดชอบของสถานพยาบาล ถ้าแพทย์ผู้รักษาสั่งการรักษา สถานพยาบาลจะเก็บเงินจากผู้ประกันตนไม่ได้
6
ระบบบริการทางการรักษา
กองทุนเงินทดแทน (กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยในงาน ) ใช้ระบบเบิกจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ลูกจ้างเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แนวทางการรักษาด้านแพทย์แผนไทย เพื่อการรักษาพยาบาลหรือฟื้นฟูสมรรถภาพเท่านั้น ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าจำเป็นต้องรักษาด้วยการแพทย์แผนไทย ผู้ให้บริการต้องมีประกาศฯจากกองประกอบโรคศิลปะ แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้สั่งตามรายการและอัตราดังนี้
7
อัตราค่ารักษาพยาบาลแพทย์แผนไทย
การนวด การประคบ การอบไอน้ำ เพื่อการรักษาโรคอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ ทำได้ 1 ชุด ชุดละ 7 ครั้ง แต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 2-3 วัน ครั้งละ 200 บาท ถ้าครบชุดแล้วยังไม่หาย แพทย์ผู้รักษาต้องพิจารณาความจำเป็นว่าต้องรักษาต่อด้วยวิธีนวดหรือไม่ ยาสมุนไพรหรือยาแผนไทย ต้องอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ กรณีจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชี ต้องเป็นยาที่ขึ้นทะเบียน อย.หรือผลิตตามตำรับ รพ. รัฐ ให้คณะกรรมการการแพทย์ของสถานพยาบาลเป็นผู้วินิจฉัยความจำเป็นและออกหนังสือรับรองการเบิกจ่าย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.