งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง ข้อมูลทั่วไป บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายสมชัย สัจจพงษ์ Website : www. aerothai.co.th โทร พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวม การเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการ โดยตำแหน่งแต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) (ม. 8 วรรคสองและวรรคสาม) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการ ที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรคหนึ่ง) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหาร ผู้อำนวยการ (CEO) : พล.อ.อ. สมชาย เธียรอนันท์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 31 ต.ค. 2551 ระยะเวลาจ้าง : 7 พ.ย. 51 – 16 ส.ค. 2554  วาระที่ 1  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO :  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ – Min-max ของเงินเดือน : 5,400 – 210,000 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 11,860 บาท จำนวนพนักงาน : 2,837 คน (31 พ.ค. 54) ข้อบังคับของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับของบริษัทฯ ส่งและรับสัญญาณ ข่าว และสื่อสารต่างๆ ถึงและจากอากาศยาน อากาศนาวาและยานอื่นที่เคลื่อนในอากาศด้วยการขับดัน สร้าง ติดตั้งและดำเนินการระบบการสื่อสารต่างๆในภูมิภาคทุกแห่งของโลก จัดให้มี บำรุง และใช้สถานีไฟ เครื่องต่างๆสำหรับส่ง กระจายเสียง รับและใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สร้างและติดตั้งสถานีไฟฟ้า สถานีกำเนิดไฟฟ้าและกำลังไดนาโม ทำและปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีกับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศและองค์การ ตัวแทนขนส่งทางอากาศ รถไฟ เรือ เพื่อประโยชน์ของบริษัท เป็นช่าง ผู้รับเหมาและผู้ผลิต วิทยุ ไฟฟ้า และเตรียมแผนผังและแบบแผนสำหรับการสร้าง ติดตั้ง บำรุงและใช้สถานีรับและส่งวิทยุ หรือช่วยเหลือในการจัดการสถานีเช่นว่านั้น ตั้งและดำเนินงานโรงเรียนสำหรับฝึกและอบรมคนงาน ของบริษัท และคนอื่นๆ และให้เงินอุดหนุน ภารกิจหลัก เป็นผู้ดำเนินการควบคุมจราจรทางอากาศ การสื่อสารการบิน และบริการอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบินตามความต้องการของผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศ ให้เป็นไป ด้วยความปลอดภัย สม่ำเสมอ และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ค้ากำไร มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นร 0202/1178 ลงวันที่ 22 มกราคม 2535 ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่น้อยกว่า 3 คน (ข้อ 33) รัฐบาลไทยมีสิทธิ เสนอชื่อกรรมการและให้แต่งตั้งผู้ที่รัฐบาลไทยเสนอชื่อเป็นกรรมการ โดยให้กรรมการที่รัฐบาล เสนอชื่อผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ ผู้ถือหุ้น ข. มีสิทธิเสนอชื่อกรรมการ 2 คน และให้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ (ข้อ 39) โดยกรรมการไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้น (ข้อ 40) วาระการดำรงตำแหน่ง : ให้ออก 1 ใน 3 ทุกปี กรรมการที่ออกตามวาระอาจถูกเลือกกลับมาอีกได้ (ข้อ 34) แต่ประธานกรรมการระหว่างอยู่ในตำแหน่งไม่อยู่ในบังคับให้ต้องออกตามวาระ และไม่ต้องนับรวมในการพิจารณาจำนวนกรรมการที่จะต้องผลัดเปลี่ยนกันลาออกตามวาระ (ข้อ 35) การแต่งตั้งกรรมการ : โดยมติที่ประชุมใหญ่ (ข้อ 41) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด ไม่ปรากฎในข้อบังคับฯ จึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1164 กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการหรือ ให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ ในการใช้อำนาจซึ่งได้มอบหมายเช่นนั้น ผู้จัดการทุกคนหรืออนุกรรมการทุกคนต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้ทุกอย่างทุกประการ ปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวชัชดาภา จารุรังสรรค์ โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง - ไม่ปรากฏว่ามีอำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ปรากฎว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 506/2551 ลักษณะต้องห้ามของกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด มาตรา 5 (10) มีขึ้นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่มีผลประโยชน์ขัดกันกับรัฐวิสาหกิจเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการเพื่อหาประโยชน์อันมิชอบ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐวิสาหกิจได้ บมจ. การบินไทย ไม่เป็นผู้รับสัมปทานหรือผู้ร่วมทุนกับ บวท. ตาม ม. 5(10) สำหรับกรณีการมีส่วนได้เสียนั้น เห็นว่า กิจการของ บวท. เป็นการควบคุมเส้นทางการบินของบริษัทการบินทุกบริษัทที่ทำการบินเข้ามาในหรือทำการบินภายในประเทศไทย ซึ่ง บวท. จะเรียกเก็บค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศโดยคณะกรรมการการบินพลเรือนเป็นผู้กำหนดอัตรา มิใช่คณะกรรมการ บวท. และเรียกเก็บค่าบริการจากทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทการบินที่มีผู้แทนเป็นกรรมการ บวท. หรือไม่ก็ตาม ประกอบกับบริษัทการบินผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผล จึงไม่อาจถือได้ว่าบริษัทการบินผู้ถือหุ้นมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ บวท. ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 817/2552 การแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก บวท. และแม้ว่ากองทุนฯ จะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้าง ก็ไม่ทำให้การจัดตั้งและบริหารกิจการของกองทุนอยู่ในความหมายของสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543


ดาวน์โหลด ppt บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google