ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNadee Lui ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการเปรียบเทียบคดี ตามกฎหมายในหน้าที่ของกรมสรรพสามิต พ.ศ. 2551
วัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวก(แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่) - โดยออกแบบให้มีการสั่งคดีไปก่อนโดยเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี - เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีหมายถึงใคร และใครแต่งตั้ง “เจ้าหน้าที่ดำเนินคดี” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมสรรพสามิต ซึ่ง หัวหน้าหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินคดีและเปรียบเทียบคดี มอบหมายให้มีหน้าที่สั่งคดีไปก่อน “การสั่งคดีไปก่อน” หมายความว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายในหน้าที่กรมสรรพสามิต
2
ควรแต่งตั้งใครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 และเจ้าพนักงานสรรพสามิต ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 6 งานจัดเก็บภาษี
3
ขั้นตอนการเปรียบเทียบคดี
ตรวจสอบว่าผู้จับกุมปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ ตรวจสอบรายละเอียดแห่งคดี เช่น บันทึกจับกุม บันทึกตรวจค้น บันทึกอายัดของกลาง และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ของกลางให้ตรวจพิสูจน์ตามระเบียบว่าด้วยการนั้น(ระเบียบข้อ10)
4
การสั่งคดีดำเนินการอย่างไร
(๑) ลงรับคดีในสมุดรับคำกล่าวโทษ(แบบ ส.ส.2/55) โดยให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับคดี ได้แก่ ชื่อและตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้จับกุม ชื่อผู้ต้องหารวมทั้งอายุและภูมิลำเนา จำนวนของกลาง ข้อกล่าวหา พฤติการณ์แห่งการกระทำผิด วันเวลาที่จับกุม สถานที่เกิดเหตุ และลงลายมือชื่อของผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบคดี หรือเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีในฐานะผู้บันทึก(ระเบียบข้อ 11) ชี้แจงว่าเป็นคดีที่เปรียบเทียบปรับได้ ถ้ายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบคดี(ตามแบบ)
5
(๒) การรับเงินค่าปรับ เมื่อลงรับคดีเสร็จแล้ว ให้กำหนดจำนวนเงินค่าปรับตามฐานความผิดตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด เมื่อผู้ต้องหาชำระเงินค่าปรับ 1. ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีออกใบเสร็จรับเงิน 2. ให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อไว้ที่ตอนล่างของใบเสร็จรับเงิน และที่สำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นด้วย เพื่อแสดงว่าผู้ต้องหาได้รับทราบและตรวจความถูกต้องแล้ว พร้อมทั้งส่งมอบใบเสร็จรับเงินต้นฉบับให้แก่ผู้ต้องหารับไป
6
(๓) การจัดทำสำนวนคดี ให้จัดทำบันทึกการเปรียบเทียบคดี คำให้การผู้ต้องหา และบันทึก คำให้การของผู้กล่าวโทษ(ตามแบบ) (๔) การขอความเห็นชอบและอนุมัติการเปรียบเทียบคดี ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีจัดทำรายงานขออนุมัติการเปรียบเทียบคดี (ตามแบบ) พร้อมเสนอสำนวนคดีผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้ ผู้มีอำนาเปรียบเทียบคดีพิจารณาอนุมัติโดยไม่ชักช้า ก่อนที่จะพิจารณา อนุมัติ ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบคดีเสนอขอความเห็นชอบไปยังผู้บังคับ บัญชาชั้นเหนือขึ้นไปอีกหนึ่งชั้น
7
การเปรียบเทียบนอกสถานที่ทำการ
* ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินคดีและเปรียบเทียบคดี ดำเนินการให้ แล้วเสร็จภายในสถานที่ตั้งปกติของสำนักงาน(ระเบียบข้อ 8) ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเปรียบเทียบคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด ให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมร้องขอต่อผู้มีอำนาจเปรียบเทียบคดีในคดีนั้นๆ ให้ไป ดำเนินการเปรียบเทียบคดีนอกสถานที่ตั้งปกติของสำนักงานได้ โดยให้ใช้ สถานที่ของหน่วยงานราชการอื่น หรือสถานที่อื่นเป็นสถานที่เปรียบเทียบ คดี ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่ด้วย
8
การเปรียบเทียบคดีของผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ
ดำเนินการเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ดำเนินคดี เพียงแต่ไม่ต้องทำขั้นตอนขออนุมัติการเปรียบเทียบคดี กรณีสรรพสามิตพื้นที่สาขาไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ผู้ทำหน้าที่รักษาการแทนสรรพสามิตพื้นที่สาขา มีอำนาจเช่นเดียวกับสรรพสรรพสามิตพื้นที่สาขา
9
ข้อแตกต่างและสิ่งที่ควรจำ
ให้เพิ่มพฤติการณ์ในการกระทำผิด(โดยย่อ)ในสมุดรับคำกล่าวโทษ กรณียินยอมให้เปรียบเทียบ ต้องทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบ(ทุกรณี) ผู้มีอำนาจออกใบเสร็จรับเงินค่าปรับมี 2 คน คือ เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีและผู้ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบคดี(รวมรักษาการด้วย) เปรียบเทียบปรับนอกสถานที่ทำการได้ การสั่งคดีไปก่อน คดีอาญายังไม่เลิกกันจนกว่าจะได้รับอนุมัติให้เปรียบเทียบคดี
10
การพิสูจน์ของกลาง คดีที่ต้องมีการตรวจพิสูจน์ของกลาง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตรวจพิสูจน์ของกลาง พ.ศ.2551 รายการงานการตรวจพิสูจน์(ด้านหลัง ส.ส.2/4)ใช้แบบใหม่ ตรวจพิสูจน์ของกลางนอกสถานที่ทำการได้ แต่ต้องทำตามแบบ ดังนี้ 1. บันทึกตรวจรับของกลาง 2. บันทึกการตรวจพิสูจน์ของกลางนอกสถานที่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.