งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนที่ 5 แหล่งสารสนเทศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนที่ 5 แหล่งสารสนเทศ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนที่ 5 แหล่งสารสนเทศ

2 ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน 2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ 3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล 4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์

3 แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
คือ สถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อจัดหา รวบรวม วัสดุสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ หอจดหมายเหตุ

4 ห้องสมุด เป็นแหล่งให้บริการสารสนเทศทั้งประเภทสื่อตีพิมพ์และสื่อไม่ตีพิมพ์ โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และมีบริการต่าง ๆสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด ห้องสมุด มีหน้าที่ในการให้การศึกษา ให้ความรู้ข่าวสาร ให้ความบันเทิง ให้ความจรรโลงใจ และเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ

5 ประเภทของห้องสมุด ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries)
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (Academic Libraries) ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries)

6 1. ห้องสมุดโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ โดยให้บริการแก่ อาจารย์และนักเรียน ห้องสมุดมีการจัดหาและรวบรวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ประเภทต่างๆ ไว้ด้วย จึงทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน ศูนย์วัสดุการเรียน ศูนย์สื่อการศึกษา ซึ่งหมายรวมงานห้องสมุดกับหน่วยสื่อโสตทัศนศึกษาเข้าด้วยกัน

7 2. ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
จัดตั้งขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ห้องสมุดประเภทนี้เป็นเครื่องมือในการสอนเป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์

8 สำนักวิทยบริการ เป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยซึ่งทำหน้าที่ รวบรวมจัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศในทุกรูปแบบ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน ได้แก่ การเรียน การสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการให้บริการแก่ชุมชน

9 3. ห้องสมุดประชาชน คือ แหล่งสารสนเทศที่ให้บริการแก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยไม่คิดค่าบริการ เป็นแหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมนิสัย รักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และทันต่อเหตุการณ์ ห้องสมุดประชาชนจึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยของประชาชน ให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตโดย

10 4. ห้องสมุดเฉพาะ คือแหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ สถาบันการค้นคว้าวิจัย สำนักงาน องค์การ บริษัท ธนาคาร หรือสมาคมวิชาชีพ องค์การระหว่างประเทศ เพื่อให้บริการสารนิเทศเฉาะสาขาวิชาแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่น ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร ห้องสมุดชาวสวนของธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น

11 ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ห้องสมุดธนาคารไทยพาณิชย์

12 5. หอสมุดแห่งชาติ คือ ห้องสมุดที่จัดทำขึ้นในชาติให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาตนเองตลอดชีวิต หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี The British Library

13 แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่
คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริงหรือสถานที่จำลองซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้นได้ เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร ไร่นาสวนผสม และเมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง เพราะบุคคลจะได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งสารสนเทศ

14 แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล
ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญประเภทหลังนี้ต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น นักปราชญ์ ราชบัณฑิต นักวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน

15 แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์
เป็นแหล่งสารสนเทศในเรื่องนั้นๆ และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทปฐมภูมิ (Primary Source) ได้แก่ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น "14 ตุลา" ในปี พ.ศ “เหตุการณ์ 911” หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมการสัมมนาในเรื่องต่างๆ เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนที่ 5 แหล่งสารสนเทศ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google