ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThorn Samenem ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สถานการณ์มลพิษทางอากาศ ในบรรยากาศในภาคตะวันออก”
หลักการและเหตุผล มลภาวะทางอากาศ (Air pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ของเมืองขนาดใหญ่ โดยมีแหล่งกำเนิดที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ การจราจรและอุตสาหกรรม จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง รวดเร็วจากภาคเกษตรกรรม เปลี่ยนเป็นเป็นภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ ภาคธุรกิจและจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความ ต้องการในการเดินทางและการขนส่งมากยิ่งขึ้น เกิดปัญหาจราจรติดขัด เข้าขั้นวิกฤต และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การสันดาปของน้ำมัน เชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ มีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่ม มากขึ้น ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษ ทางอากาศที่รุนแรง สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจาก การ คมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของ ไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แหล่งกำเนิดมลพิษทาง อากาศจากอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ทั้งประเภท เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่นถ่านหิน เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG เป็นต้น ไอเสียจากกระบวนการผลิตอาจประกอบด้วย สารอินทรีย์ระเหยจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สารประกอบไดออกซินและฟู รานที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ไอระเหยที่ประกอบด้วยโลหะหนักเป็น ต้น มลพิษอากาศส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ส่งผลต่อ ระบบนิเวศ เช่นการตกสะสมของกรด และสารมลพิษต่างๆลงสู่พื้นดินและ แหล่งน้ำ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาศาสตร์ ศรีราชา ตระหนักถึงปัญหามลพิษอากาศในภาคตะวันออก เนื่องจากเป็น ที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ อาหาร เป็นต้น และเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกที่มีการขนถ่ายสินค้า เป็นแหล่งเกษตรกรรม และการท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาการจราจร ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์ศรี ราชาจึงจัดโครงการอบรมเชิงวิชาการเรื่อง “สถานการณ์มลพิษทางอากาศ ในภาคตะวันออก” เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ มลพิษอากาศที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออก การเยี่ยมชมสถานีตรวจวัดอากาศ และสถานีเก็บน้ำฝน รวมถึงห้องปฏิบัติการการตรวจวิเคราะห์สารมลพิษ อากาศบางชนิด เพื่อสร้างความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญ ของมลพิษอากาศ เพื่อนำไปสู่การป้องกันมลพิษอากาศในอนาคต วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 เวลา 8.30 – น. ณ ห้องเธียร์เตอร์ อาคารหอสมุดอนุสรณ์ 10 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดโดย คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
2
ไม่เสียค่าธรรมเนียม รับจำนวนจำกัดเพียง 60 คน
แบบตอบรับเข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการเรื่อง “สถานการณ์มลพิษทางอากาศในบรรยากาศ ในภาคตะวันออก” วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม 2557 เวลา 9.00 – น. ณ ห้องเธียเตอร์ อาคารอนุสรณ์สถาน 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 199 ถนนสุขุมวิท ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 **************************************************************************** รายละเอียดผู้เข้าร่วมประชุม 1. นาย/นาง/นางสาว ตำแหน่ง หน่วยงาน ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร …………… 2. นาย/นาง/นางสาว ตำแหน่ง เข้าร่วมการประชุมภาคเช้า เข้าร่วมการ ประชุมภาคบ่าย เข้าร่วมเยี่ยมชมสถานีตรวจวัดอากาศ และ ห้องปฏิบัติการ (รับเพียง 40 คน) กำหนดการ 8.15 – 8.45 น. ลงทะเบียน 8.45 – น. พิธีเปิดและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “สถานการณ์มลพิษอากาศในภาคตะวันออก” โดยนายสุวรรณ นันทศรุต ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) 10.15 – น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.30 – น. บรรยายในหัวข้อ “สารอินทรีย์ระเหยจากภาคอุตสาหกรรมและขนส่ง” โดย ดร. พัชราวดี สุวรรณธาดา ผู้อำนวยการส่วนคุณภาพอากาศในบรรยากาศ สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 11.30 – น. บรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์การตกสะสมของกรดในประเทศไทย” โดย นายพิเชษฐ์ อธิภาคย์ นักวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ส่วนคุณภาพอากาศในบรรยากาศ สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 12.30 – น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30 – น. บรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์การตกสะสมของกรดในภาคตะวันออก” โดย ผศ. ดร. สุนทรี ขุนทอง คณะวิทยาศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา 14.00 – น. บรรยายในหัวข้อ “ผลกระทบของฝุ่นในบรรยากาศจากการขนถ่ายสินค้าบริเวณเกาะสีชัง” โดย ผศ. ดร. ปัญญา แขน้ำแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา 14.00 – น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.15 – น. เยี่ยมชมสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ สถานีเก็บตัวอย่างน้ำฝน และห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารมลพิษอากาศ กรุณาส่งแบบตอบรับมายัง โทรสาร หรือที่ ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไม่เสียค่าธรรมเนียม รับจำนวนจำกัดเพียง 60 คน แจ้งผลการตอบรับที่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.