ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม
ธนรัตน์ ทั่งทอง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
2
วิชานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในป. วิ. อ
วิชานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในป.วิ.อ. โดยการวิเคราะห์หลักกฎหมาย ทฤษฎี และ คำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้สามารถปรับใช้บทบัญญัติ ของกฎหมายได้ในเชิงปฏิบัติ
3
สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
4
สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
นิยามตามพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2542 มาตรา 3 “สิทธิมนุษยชนหมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม”
5
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)
ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination) ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination) ความเสมอภาค คือ การปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หากมีการปฏิบัติต่อมนุษย์โดยไม่เท่าเทียมกัน เรียกว่า การเลือกปฏิบัติ
6
การรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมาย
1. การรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศ (ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา) - อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก - อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม - อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
7
การรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมาย (ต่อ)
2. การรับรองในกฎหมายภายในประเทศ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย - กฎหมาย / พระราชบัญญัติต่างๆ
8
การรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมาย (ต่อ)
กฎหมายภายในประเทศที่แก้ไขเพื่อรับรองตามหลักสิทธิมนุษยชน เช่น - ป.อ. มาตรา 18, 73 , 276 - ป.พ.พ. มาตรา 1445, 1446, 1447/1, 1516(1) , 1523 - ป.วิ.อ. มาตรา 89, 89/1, 89/2, 246, 247 วรรคสอง
9
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 รับรองสิทธิเสรีภาพ ดังนี้
1. ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (มาตรา 4, 26) 2. ความเสมอภาคของบุคคล (มาตรา 30) 3. สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย (มาตรา 32, 39) 4. สิทธิของผู้ต้องหา หรือจำเลย (มาตรา 40) 5. สิทธิของพยานและผู้เสียหายในคดีอาญา (มาตรา 40 (4) (40 (5)) 6. สิทธิของเด็ก (มาตรา 49, 40 (6), 52, 84 (7)) 7. เสรีภาพในการนับถือศาสนา (มาตรา 37, 79)
10
8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (มาตรา 45, 46, 47, 48)
9. เสรีภาพทางการศึกษา (มาตรา 49, 50) สิทธิในทรัพย์สิน (มาตรา 41, 42) สิทธิในการบริหารสาธารณสุขและสวัสดิการ (มาตรา 51) 12. สิทธิของผู้สูงอายุ (มาตรา 53, 80 (1) ) 13. สิทธิของคนพิการหรือทุพพลภาพ (มาตรา 54, 80 (1) 14. สิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61, 61 วรรคสอง) 15. สิทธิของชุมชนท้องถิ่น (มาตรา 66, 67)
11
16. สิทธิในการรวมกลุ่มและการชุมนุม (มาตรา 64, 65, 63)
17. สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วม (มาตรา 56, 57, 58) 18. สิทธิในการร้องทุกข์และฟ้องคดี (มาตรา 59,60,62,212, 213) 19. สิทธิและเสรีภาพอื่นๆ (มาตรา 33, 34, 35,38, 52, 54 วรรคสอง, 55,69)
12
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
13
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง (๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกัน ขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง (๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
14
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี
มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับ ความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
15
(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือ การพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (๘) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ
16
สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับ ป.วิ.อ.
สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ ในส่วนที่เกี่ยวกับ ป.วิ.อ. สิทธิ (rights) คือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคล ในอันที่จะกระทำการเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตร่างกาย เป็นต้น มีความหมายในทางคุ้มครองบุคคลไม่ให้ผู้อื่น ล่วงละเมิดเจ้าของสิทธิ เสรีภาพ (liberty) คือ ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำ ของผู้อื่น มีอิสระที่จะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการเดินทาง เป็นต้น มีความหมายในทางอิสระ ของเจ้าของเสรีภาพ
17
ป.วิ.อ. เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษ อันอาจ มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยตรง เดิมนักกฎหมายใช้ ป.วิ.อาญา โดยวิเคราะห์ตามตัวบท ไม่ได้คำนึงถึงหลักการพื้นฐานที่ว่า มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพเต็มบริบูรณ์ การจำกัดสิทธิเสรีภาพของมนุษย์เป็นเพียงข้อยกเว้น ซึ่งต้องมีกฎหมายบัญญัติชัดเจน นับแต่รัฐธรรมนูญ เป็นต้นมา ได้ยืนยันหลักการพื้นฐานนี้ - ยกย่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - ชี้นำแนวทางการใช้ ป.วิ.อาญา โดยนำไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญ การตีความ ป.วิ.อ. จากหลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิเสรีภาพมิได้ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมาตรการทางอาญาย่อหย่อนลง แต่กลับทำให้กระบวนการถูกต้องยิ่งขึ้น และนำไปสู่ความยอมรับนับถือในกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
18
บุคคลมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ป.วิ.อ. ดังนี้
1. สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดยมีสิทธิที่จะไม่ถูกกระทำ ทรมาน ทารุณกรรม หรือถูกลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสอง) 2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการจับ คุมขัง และค้น (ร.ธ.น. มาตรา วรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า 33วรรคหนึ่งวรรคสองและวรรคสาม ป.วิ.อ. มาตรา 57, 59, 90) “การจับ และคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
19
ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายมีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับ หรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น....” (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า)
20
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน
บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัย และครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถาน หรือในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ” (ร.ธ.น. มาตรา 33 วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม) 3. สิทธิที่จะไม่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกคุมขังโดยมิชอบแล้ว บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขังยื่นคำร้องต่อศาลขอปล่อยได้ (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคห้า ป.วิ.อ. มาตรา 90) 4. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายอาญา ที่มีผลย้อนหลัง (ร.ธ.น. มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 2 วรรคแรก)
21
5. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จะปฏิบัติต่อบุคคลเสมือนเป็นผู้กระทำผิดก่อนมีคำพิพากษามิได้ (ร.ธ.น. มาตรา 39 วรรคสอง และ วรรคสาม) 6. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาพิพากษา โดยผู้พิพากษาครบองค์คณะ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (2)) 7. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (2) ป.วิ.อ. มาตรา 8) 8. สิทธิที่จะไม่ให้การหรือเบิกความในถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (ร.ธ.น. มาตรา 40 (4) ป.วิ.อ. 134/4) 9. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จะเป็นและสมควรจากรัฐ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (5) )
22
10. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาประกันหรือปล่อยชั่วคราว(ร. ธ. น
10.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาประกันหรือปล่อยชั่วคราว(ร.ธ.น.มาตรา 40(7)ป.วิ.อ.มาตรา 106 ) 11. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวน หรือพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคสาม และ ป.วิ.อ. มาตรา 8 (1) ) 12. สิทจะธิที่มีทนายความหรือผู้ที่ตนไว้ใจ เข้าฟังการสอบปากคำ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 , 134/3) 13. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. 134/1 , 173) 14. สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 ) 15. สิทธิที่จะให้ถ้อยคำด้วยความสมัครใจ ไม่ถูกขู่เข็ญหลอกลวง ทรมานหรือให้สัญญา (ร.ธ.น. มาตรา 40(4)(7) ป.วิ.อ.มาตรา 135,226)
23
สรุป ป.วิ.อ.มาตราสำคัญที่เคยออกสอบเนติบัณฑิต ในรอบ 10 ปี
(สมัย56-–สมัย65) สมัย 65 ข้อ 6 มาตรา 81,92 วรรคหนึ่ง (5),94 วรรคสอง,98 (2) สมัย 64 ข้อ 6 มาตรา 2(13),78,80,81,92(2) สมัย 63 ข้อ 6 มาตรา 2(9),66(2),77 วรรคสอง(1),78(3) สมัย62 ข้อ 6 มาตรา 78 ,79,81 สมัย61 ข้อ 6 มาตรา 66(2),71,78(3),87,134/1 ข้อ 3 มาตรา 2(6),18วรรคสอง,19(3),78(1),93,120 ข้อ 2 มาตรา120 ,133ทวิ,134,134/2,134/4 สมัย60 ข้อ 6 มาตรา66(2),78(3),81
24
สรุป ป.วิ.อ.มาตราสำคัญที่เคยออกสอบเนติบัณฑิต ในรอบ10 ปี
(สมัย56-–สมัย65) ต่อ สมัย59 ข้อ 6 มาตรา 2(10),2(11),131,66,67 สมัย58 ข้อ6 มาตรา 52วรรคหนึ่ง,66(2),71,78(1)(3),85วรรคหนึ่ง, 134วรรคห้า สมัย57 ข้อ 6 มาตรา 78(1),80,81,83วรรคหนึ่ง,92(2), รัฐธรรมนูญ 2540มาตรา237,238 สมัย56 ข้อ 6 มาตรา 90,136,รัฐธรรมนูญ2540 มาตรา 237 วรรคหนึ่ง,240
25
การจับ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใด
น่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตรา โทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี หรือ เหตุออกหมายจับ (มาตรา 66) (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใด น่าจะได้กระทำผิดอาญา และมีเหตุ อันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไป ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไป ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุ อันตรายประการอื่น
26
เหตุยกเว้นไม่ต้องมีหมายจับ (มาตรา 78)
(1) เมื่อบุคคลนั้นทำความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80 ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (2) เมื่อพบบุคคลมีพฤติการณ์อันควร จะจับโดยไม่มีหมายจับหรือ สงสัยว่าน่าจะก่อเหตุร้าย คำสั่งศาลไม่ได้เว้นแต่ (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็น เร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออก หมายจับได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนี หรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อย ชั่วคราวตามมาตรา 117
27
(1) ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบ
ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัย ความผิดซึ่งหน้า เลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ (มาตรา 80) (2) ความผิดอาญาดังที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย ป.อ. ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ในกรณีที่ เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำ (2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันที โดยมีเสียงร้องเอะอะ ทันใดหลังจากกระทำผิดใน ถิ่นใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น
28
“หลักฐานตามสมควร” ในการออกหมายจับ หมายขัง /มีมูลชั้นไต่สวนมูลฟ้อง / ลงโทษจำเลย ระดับแรก = มีเหตุสงสัย แต่ยังไม่มีข้อมูลหรือพยานหลักฐานใดสนับสนุนให้ น่าเชื่ออย่างเพียงพอว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด ระดับที่สอง = มีข้อมูลหรือพยานหลักฐานสนับสนุนเหตุอันควรสงสัยมาก เพียงพอที่จะทำให้น่าเชื่อว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิด ระดับที่สาม = มีพยานหลักฐานมากถึงขนาดที่จะนำคดีเข้าสู่กระบวนการ วินิจฉัยชี้ขาดว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด ระดับที่สี่ = มีพยานหลักฐานมากเพียงพอที่จะทำให้เชื่อโดยปราศจาก ข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง เกณฑ์มาตรฐานในชั้นออกหมายจับมีน้ำหนักน้อยกว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา ซึ่งน่าจะระดับสอง แต่ต้องมีความน่าจะเป็นว่า มีการกระทำความผิดขึ้นและบุคคลนั้นน่าจะเป็นผู้กระทำความผิดมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป
29
การค้น (1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยาน
หลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวน เหตุออกหมายค้น มูลฟ้องหรือพิจารณา (มาตรา 69) (2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือ ได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำ ความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือ ตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดย วิธีอื่นไม่ได้แล้ว
30
การค้น 1 การค้นตัวบุคคล การค้น 2 การตรวจค้นสถานที่ (การค้นในที่รโหฐาน
มาตรา 92)
31
(1) การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถาน
(มาตรา 93) การค้นตัวบุคคล (2) การค้นตัวบุคคลซึ่งอยู่ในที่รโหฐาน (มาตรา 100 วรรคสอง) (3) การค้นตัวผู้ต้องหา (มาตรา 85 วรรคสอง)
32
การค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน
(มาตรา 93) ฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นและ ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใด ในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ เมื่อมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของ ในความครอบครอง
33
เหตุยกเว้นไม่ต้องมีหมายค้นในที่รโหฐาน (มาตรา 92) ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลเว้นแต่ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วย/มีเสียงหรือพฤติการณ์ แสดงว่ามีเหตุร้ายในที่รโหฐาน (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้าในที่รโหฐาน ฝ่ายปกครองหรือ (3) บุคคลที่กระทำผิดซึ่งหน้าขณะที่ถูกไล่จับ ตำรวจเป็นผู้ค้น หนีเข้าไปในนั้น (4) มีหลักฐานว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ฯลฯ ได้ซ่อนอยู่ในนั้น (5) เมื่อที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78
34
หลักฐานตามสมควรในการออกหมายค้น
- ข้อบังคับฯ ข้อ 18 การรับฟังพยานหลักฐาน ไม่จำเป็นต้องถือเคร่งครัด เช่นเดียวกับใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลย - ต้องเสนอหลักฐานให้เพียงพอที่ทำให้น่าเชื่อว่าจะพบบุคคลหรือสิ่งของในสถานที่นั้น ไม่ใช่เพียงแต่สงสัยก็จะมาขอให้ออกหมายค้น องค์คณะในการพิจารณาและทำคำสั่ง - เป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว - แต่หากขอให้ศาลอาญาออกหมายค้นนอกเขตศาล/ค้นเพื่อจับ ผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญในเวลากลางคืน ต้องมีผู้พิพากษา 2 คน เป็นองค์คณะ โดยเป็นผู้พิพากษาประจำศาลได้ไม่เกิน 1 คน (ข้อบังคับ ฯ ข้อ 27 ,37)
35
การควบคุมและขัง เหตุออกหมายขัง (มาตรา71) การควบคุมและขัง กำหนดเวลาควบคุม (มาตรา 87) การขอให้ปล่อยผู้ถูกคุมขัง (มาตรา 90)
36
การจับ การจับ คือการควบคุมความเคลื่อนไหวของบุคคลโดยเจ้าพนักงานเพื่อให้เขาให้การตอบข้อกล่าวหาทางอาญา ซึ่งจะต้องมีการยึดตัวบุคคลไว้ ไม่ใช่เพียงการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวเท่านั้น การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการจับตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา แก้ไขเพิ่มเติม ที่ 4 (The Forth Amendment) มีหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีความปลอดภัยมั่นคงในร่างกาย เคหสถาน เอกสารและวัตถุสิ่งของต่อการค้น การยึด และการจับ ที่ไม่มีเหตุอันควรจะถูกล่วงละเมิดมิได้ และห้ามมิให้มีการออกหมาย เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิด (probable cause)”
37
probable cause เป็นเรื่องทีเกี่ยวกับความน่าจะเป็นหรือความน่าจะเป็นเช่นนั้นมากกกว่าไม่เป็น (probability) และในการขอให้ศาลออกหมายจับ เจ้าพนักงานต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ามี probable cause อันประกอบด้วย (1) ต้องมีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เจ้าพนักงานรู้และทำให้เจ้าพนักงานเชื่อโดยสุจริตเพียงพอว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และบุคคลที่จะถูกออกหมายจับเป็นผู้กระทำ (2) ต้องมีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่วิญญูชนทั่วๆ ไปพอที่จะเห็นได้ว่าเป็นไปได้ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และบุคคลที่จะถูกออกหมายจับเป็นผู้กระทำ
38
ร.ธ.น เปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจออกหมายจับ และหมายค้นจากเดิมที่มีศาล พนักงานฝ่ายปกครอง และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เป็นศาลเพียงองค์กรเดียว = มีวัตถุประสงค์ให้ได้รับพิจารณากลั่นกรองด้วยความรอบคอบเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ / สร้างดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิตาม ร.ธ.น. กับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มาตรา 31 วรรคหนึ่ง = บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกายคือสิทธิพื้นฐาน ส่วนมาตรการคุ้มครองสิทธิอยู่ในมาตรา 31 วรรคสามว่าการจับจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
39
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 มาตรา ๒๓๗ ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใด จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า กับจะต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบในโอกาส แรก และผู้ถูกจับ ซึ่งยังถูกควบคุมอยู่ ต้องถูกนำตัวไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ ผู้ถูกจับถูกนำตัวไป ถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผู้ถูกจับไว้ตามกฎหมายหรือไม่ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็น อย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
40
หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกได้ต่อเมื่อ
(๑) มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ (๒) มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย ( พิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 66 , 78 )
41
ปัจจุบัน ร.ธ.น มีหลักการเช่นเดิมเป็นไปตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และวรรคสาม การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ป.วิ.อ.มาตรา 57 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลสำหรับการนั้น บุคคลที่ต้องขังหรือจำคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล
42
มาตรา 58 ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือหมายอาญาได้ภายในเขตอำนาจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา มาตรา 59/1 ก่อนออกหมาย จะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควร ที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่ามีเหตุที่จะออกหมายตามมาตรา 66 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 คำสั่งศาลให้ออกหมายหรือยกคำร้อง จะต้องระบุเหตุผลของคำสั่ง นั้นด้วย หลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอ การพิจารณา รวมทั้งการออกคำสั่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
43
เหตุในการออกหมายจับ (มาตรา 66)
เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี (แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ในปี โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547)
44
การจัดการตามหมายจับ (มาตรา 77)
- จะจัดการตามเอกสารหรือหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น สำเนาก็ได้ ฎ. 3031/2547 สำเนาที่ทำขึ้นเองโดยการพิมพ์ และมีเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ใช้ได้ แม้จะไม่ได้ถ่ายจากต้นฉบับ และผู้ลงลายมือชื่อออกหมายไม่ได้เป็นผู้รับรองนั้น
45
การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับของศาล (มาตรา 78)
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นที่อาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117 (แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ในปี โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547)
46
มาตรา ๘๐ ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังนี้ (๑) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ (๒) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น มาตรา ๘๑ ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน
47
หลักตาม ป.วิ.อ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง
ค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาล เหตุที่จะออกหมายค้น มาตรา 69 (1) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา (2) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคล ซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษา หรือตามคำสั่งของศาล ในกรณีที่พบและยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว
48
มาตรา ๙๒ ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่น ใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (๒) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน (๓) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (๔) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดย การกระทำ ความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำ ความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
49
(๕) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา ๗๘ การใช้อำนาจตาม (๔) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป มาตรา ๙๖ การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (๑) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (๒) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (๓) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
50
- ที่รโหฐาน หมายความถึง ที่ต่างๆ ที่มิใช่สาธารณสถานดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 2 (13) - สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ป.อ. มาตรา 1 (3) - เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่นเรือน โรง เรือ แพ ซึ่งคนอยู่อาศัย รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับปชช.(ป.อ.1(4)) ตัวอย่าง - โรงหญิงนครโสเภณี วัดวาอาราม ศาลยุติธรรม โรงละคร โรงแรม ตามปกติเป็นสาธารณสถาน แต่บางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิจะเข้าไปไม่ใช่ที่สาธารณสถาน (ฎ. 631/ร.ศ.129) - สถานีรถไฟ และสถานที่บนขบวนรถไฟ มิใช่ที่รโหฐาน (ฎ. 2024/2497) - ห้องโถงในสถานค้าประเวณีผิดกฎหมายเวลารับแขกมาเที่ยว เป็นสาธารณสถาน (ฎ. 883/2520 ประชุมใหญ่)
51
- ห้องโถงในสถานการค้าประเวณีผิดกฎหมาย เวลาแขกมาเที่ยว เป็นสาธารณสถานซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ พลตำรวจมีอำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 จำเลยขัดขวางเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 140 พลตำรวจจับได้ (ฎ.883/2520 ประชุมใหญ่) ข้อสังเกต ตามฎีกาข้างต้นนี้ ถือว่าเป็นสาธารณสถานเฉพาะเวลาที่เปิด ให้แขกเข้าไปใช้บริการ ในช่วงเวลานี้จึงไม่เป็นที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจจึงค้นตัวจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น โจทก์ใช้ห้องพักในบ้านเกิดเหตุเป็นที่สำหรับให้หญิงค้าประเวณีกับบุคคลทั่วไป คืนเกิดเหตุ นางสาว น. ลูกจ้างของโจทก์ได้ทำการค้าประเวณีในห้องพักนั้นด้วย ห้องพักดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสาธารณสถาน (ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น)
52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2547
จำเลยเห็นเหตุการณ์ที่คนร้ายผู้ลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนำรถ จักรยานยนต์ของผู้เสียหายเข้ามาในบ้านของจำเลยและถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ของผู้เสียหายในยามวิกาล ซึ่งเป็นเรื่องที่คนร้ายเคยกระทำมาแล้วและจำเลยก็รับรู้โดยถือเป็นเรื่อง ปกติ ทั้งที่ความจริงการซ่อมรถ การถอดชิ้นส่วนรถควรจะกระทำในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการงานของคนทั่วไป การดำเนินการถอดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ในเวลากลางคืนย่อมส่อแสดงถึงความผิด ปกติ เมื่อถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยก็นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่นำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไปทิ้งได้ถูก ต้อง แสดงว่าจำเลยน่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการนำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้ เสียหายไปทิ้ง สำหรับชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากบ้าน ของจำเลยวางอยู่ด้านหน้าของบ้านลักษณะเป็นห้องรับแขก บางส่วนอยู่ในกล่องไม่มีอะไรปิดบัง แม้จะเป็นการวางไว้อย่างเปิดเผยและบ้านของจำเลยยังไม่มีประตูรั้วกับประตู บ้านทั้งยังสร้างไม่เสร็จ แต่โดยสภาพของบ้านที่พักอาศัยย่อมถือเป็นที่รโหฐาน บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิเข้าไปโดยมิได้รับอนุญาต การเก็บชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไว้ในบ้านของจำเลยในลักษณะดังกล่าว ไม่พอให้รับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและโดยสุจริตของจำเลยซึ่งเป็น ผู้ครอบครองบ้าน น่าเชื่อว่าจำเลยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ที่นำไปถอดชิ้นส่วนที่บ้านของจำเลยเป็น รถจักรยานยนต์ที่คนร้ายได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยซ่อนเร้น หรือรับไว้ด้วยประการใด ๆ ซึ่งชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักมา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร
53
ตัวอย่างกรณีถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า
-โรงค้าไม้มีรั้วรอบขอบชิด นอกจากเป็นสถานที่ประกอบการค้าแล้ว ยังเป็นที่อาศัยด้วยในยามที่โรงค้าหยุดดำเนินกิจการ ภายในบริเวณโรงค้าไม้ ด้านหน้าและหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐาน (ฎ.2914 /2537) การจับกรณีความผิดซึ่งหน้า(มาตรา78(1)) ตัวอย่างกรณีถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า - เห็นกำลังจำหน่ายยาเสพติด ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ฎีกาที่ 7454/2544 เจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยได้แอบซุ่มดูอยู่ที่หน้าบ้านจำเลยห่างประมาณ 30 เมตร ชุดหนึ่ง และ 20 เมตรอีกชุดหนึ่ง เห็นสายลับมอบธนบัตรให้จำเลย แล้วจำเลยไปนำสิ่งของที่ซุกซ่อนมามอบให้สายลับซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด การที่เจ้าพนักงานตำรวจเห็นการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการเห็นจำเลยกำลังกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดซึ่งหน้า
54
ตัวอย่างกรณีถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า
- เห็นกำลังจำหน่ายยาเสพติด ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ถ้าความผิดซึ่งหน้านั้นกระทำในที่รโหฐาน ตำรวจเข้าไปค้นในที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น (มาตรา 92 (2)) และถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งอาจทำการค้นในเวลากลางคืนได้ (มาตรา 96 (2)) ฎีกาที่ 4461/2540 จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป. จับจำเลยได้ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลยและจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้จำเลยอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหาย จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป. จึงได้มีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้นและมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80, 81 ประกอบมาตรา 92 (2) และ 96 (2)
55
ตำรวจจับคนหนึ่งได้ขณะล่อซื้อยาเสพติด ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า แล้วพาตำรวจไปจับกุมผู้ร่วมกระทำผิดในเวลาต่อเนื่องทันที ถือว่าเป็นการจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้าเช่นกัน ตำรวจจึงจับกุมผู้กระทำผิดคนหลังในห้องพัก อันเป็นที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ (มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 81 (1) และไม่ต้องมีหมายค้น (มาตรา 92 (2)) ฎีกาที่ 1259/ จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2 ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้า เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส. ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้าจำเลยที่ 1 ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นจำเลยที่ 1 ยังพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 81 (1), 92 (2) (มาตรา 81 (1) เป็นการอ้างบทบัญญัติเดิม ซึ่งตรงกับมาตรา 81 ที่แก้ไขใหม่ปี 2547)
56
- ตำรวจเห็นจำเลยซื้อขายยาเสพติดให้โทษให้แก่สายลับ จึงเข้าตรวจจับกุมจำเลย พบยาเสพติดให้โทษอีกจำนวนหนึ่ง การตรวจค้นจับกุมได้กระทำต่อเนื่องกัน เป็นความผิดซึ่งหน้าทั้งสองข้อหา ตำรวจจึงมีอำนาจค้นและจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้นตามมาตรา 78 (1), 92 (2) ดูฎีกาที่ 2848/2547, 1328/2544 (มาตรา 78 (1), 92 (2) ทั้งบทบัญญัติเดิมและที่แก้ไขใหม่ปี 2547 มีเนื้อความตรงกัน จึงคงเป็นบรรทัดฐานได้) - เห็นจำเลยโยนยาเสพติดออกไปนอกหน้าต่าง เป็นความผิดซึ่งหน้าและได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1), 92 (2) (ฎีกา 1164/2546)
57
ตำรวจแอบดูเห็นคนเล่นการพนันอยู่ในบ้าน ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ดูฎีกาที่ 698/2516 (ประชุมใหญ่)
ออกหมายค้นเพื่อยึดยาเสพติดให้โทษ เมื่อพบยาเสพติดให้โทษอยู่ในครอบครองของจำเลย เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ (ฎีกาที่ 360/2542) การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถานสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เมื่อพบความผิดซึ่งหน้าเจ้าพนักงานก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เช่น พบแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น (ฎีกาที่ 6894/2549)
58
ฎีกาที่ 3751/2551 ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยขณะเปิดบริการมิใช่ที่รโหฐาน แต่เป็น ที่สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๙๓ และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในครอบครองจำเลย การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยต้องมีหมายจับตามมาตรา 78 (1)
59
ตัวอย่างกรณีไม่เป็นความผิดซึ่งหน้า
การทะเลาะวิวาทซึ่งได้ยุติลงไปก่อนแล้ว ไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมาภายหลังเกิดเหตุ ไม่มีอำนาจจับโดยไม่มีหมายจับ (ฎีกาที่ 4243/2542) - พบไม้หวงห้าม, สุราเถื่อน ไม่ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า โดยศาลฎีกาให้เหตุผลว่า ไม่ใช่ความผิดซึ่งเจ้าพนักงานเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่ากระทำความผิดมาแล้วสดๆ (ฎีกาที่ 2535/2550 , 3743/2529 , 3227/2531) - กฎหมายเดิม ไปแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว ไปพบเห็นผู้กระทำผิดอยู่ที่ไหน ก็ขอให้ตำรวจจับกุมอ้างว่าได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ (ฎ. 741/2522) แต่ตามมาตรา 78 ใหม่ ได้ตัดหลักเกณฑ์ดังกล่าวออกไป จึงต้องออกหมายจับ
60
คำพิพากษาที่ 2535/2550 บ. พบกองไม้กระยาเลยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายอันเป็นไม้ผิดกฎหมายวางกองอยู่ข้างบ้าน ว. และ ว. รับว่ามีไม้หวงห้ามยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง การกระทำของ ว. ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าเพราะไม่ใช่ความผิดที่เห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ ไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. หรือเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 วรรคสอง (1) (2) ดังนั้น บ. ไม่มีอำนาจที่จะจับ ว. โดยไม่มีหมายจับได้ การที่ ว. ตาม บ. มาที่หน่วยคุ้มครองป่าจึงไม่ใช่เป็นการถูกจับตัวมา แม้ในเวลาต่อมาจำเลยจะขับรถยนต์มาที่หน่วยคุ้มครองป่าและรับ ว. ขึ้นรถยนต์ของจำเลยขับออกจากหน่วยคุ้มครองป่าไป บ. ติดตามจำเลยไปจนทันและเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันขึ้นระหว่างจำเลยและ บ. ยังไม่เป็นการที่จำเลยต่อสู้หรือขัดขวาง บ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน
61
ตัวอย่างคำถาม ข้อ 1 ร.ต.อ.เก่งกล้าได้นำหมายค้นไปตรวจค้นที่บ้านของนายโกงกาง เนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีการลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านดังกล่าว ผลการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ดในกระเป๋าเสื้อของนายโกงกาง ซึ่งนายโกงกางให้การรับว่าได้ซื้อเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมาจากนายเกตุพงษ์ ร.ต.อ.เก่งกล้า จึงให้นายโกงกางพาไปที่บ้านของนายเกตุพงษ์ซึ่งเปิดเป็นร้านขายข้าวแกง แล้ว ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงเข้าตรวจค้นตัว นายเกตุพงษ์ขณะที่นายเกตุพงษ์กำลังขายข้าวแกงอยู่ภายในร้าน ซึ่งขณะนั้นมีลูกค้านั่งรับประทานข้าวแกงอยู่โดยมิได้ไปขอหมายค้นและหมายจับจากศาลก่อน เนื่องจากเห็นว่าเป็นกรณีเร่งด่วน ผลการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 200 เม็ด ในกระเป๋ากางเกงของนายเกตุพงษ์ จึงได้จับกุมนายเกตุพงษ์ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าการจับของ ร.ต.อ.เก่งกล้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
62
2. อำนาจในการค้นในที่รโหฐาน
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า “ที่รโหฐาน” หมายถึง สถานที่ที่บุคคลภายนอกไม่มีอำนาจเข้าไปได้ ตามอำเภอใจ โดยต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่เสียก่อน เช่น ที่อยู่อาศัย ซึ่งในกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการจับผู้ใดในที่รโหฐาน ตำรวจจะต้องมีอำนาจถึง 2 ประการ คือ 1. อำนาจในการจับ กล่าวคือ มีหมายจับ หรือมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ 2. อำนาจในการค้นในที่รโหฐาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีทั้ง 2 อำนาจนี้แล้วจึงสามารถจับบุคคลใน ที่รโหฐานได้
63
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นตัวนายเกตุพงษ์นั้น นายเกตุพงษ์กำลังขายข้าวแกงอยู่ที่ร้านขายข้าวแกงของนายเกตุพงษ์ ซึ่งมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานข้าวแกงอยู่ ดังนี้ ร้านข้าวแกงของนายเกตุพงษ์จึงไม่ใช่ที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถานซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ และเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจ มีเหตุอันควรสงสัยว่านายเกตุพงษ์มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นตัวนายเกตุพงษ์ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตามมาตรา 93 และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในครอบครองของนายเกตุพงษ์ การกระทำของนายเกตุพงษ์ จึงเป็นความผิดซึ่งหน้า เพราะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานได้ “เห็น” หรือ “พบ” ในขณะกำลังกระทำความผิดด้วยตนเองอย่างแท้จริง เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับนายเกตุพงษ์ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคแรก ดังนั้น การตรวจค้นและจับกุมดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎ.3751/2551
64
*สังเกตว่า* ความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80 วรรคแรกนี้ หมายความถึงความผิดตามกฎหมายใดก็ได้ที่มีโทษทางอาญา เช่น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ , พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ , พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ ล้วนเป็นความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 วรรคแรกได้ทั้งสิ้น สรุป การจับกุมของ ร.ต.อ.เก่งกล้าชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิดไว้ในครอบครอง ประกอบกับเป็นความผิดซึ่งหน้า ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงมีอำนาจตรวจค้นและจับนายเกตุพงษ์ได้ ตามมาตรา 93 ประกอบมาตรา 78 (1) และมาตรา 80 วรรคแรก
65
ข้อ2 ร.ต.อ.มาโนช พบนางสมศรีกำลังวิ่งไล่จับนายมานพมา ตามทางสาธารณะและได้ยินนางสมศรีร้องตะโกนว่า “จับที จับที มันขโมย” ร.ต.อ.มาโนชจะเข้าทำการจับนายมานพ แต่นายมานพวิ่งหนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายมานพซึ่งนายมานพก็พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ด้วย ร.ต.อ.มาโนชจึง ตามเข้าไปจับนายมานพในบ้านมารดาของนายมานพทันที ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.มาโนชชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การจับของ ร.ต.อ.มาโนช เป็นการจับในที่รโหฐานซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้ต้องมีอำนาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออำนาจ ที่กฎหมายให้ทำการจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย และได้ทำตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ.อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีหมายค้น หรือมีอำนาจที่กฎหมายให้ทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย
66
การที่ ร.ต.อ. มาโนช พบนางสมศรีกำลังวิ่งไล่จับนายมานพมาตามทางสาธารณะและได้ยินนางสมศรีร้องตะโกนว่า “จับที จับที มันขโมย” เป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) ประกอบ มาตรา 80 วรรคสอง (1) เนื่องจากการที่นางสมศรีร้องตะโกนว่า “จับที จับที มันขโมย” ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุอยู่ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. ประกอบกับนายมานพถูกนางสมศรีวิ่งไล่จับ ดังว่า นายมานพเป็นผู้กระทำความผิดมา ร.ต.อ.มาโนช จึงมีอำนาจในการจับนายมานพ แม้ไม่มีหมายจับ และตามปัญหา ร.ต.อ.มาโนช ได้ทำตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ตามมาตรา 92 (3) แล้ว เนื่องจากเป็นกรณีที่นายมานพซึ่งได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูก ร.ต.อ. มาโนชไล่จับได้หนีเข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในบ้านมารดาของนายมานพซึ่งเป็นที่รโหฐาน ดังนี้ ร.ต.อ.มาโนช จึงมีอำนาจตามเข้าไปจับนายมานพในบ้านมารดาของนายมานพทันที สรุป การจับของ ร.ต.อ.มาโนช ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (1) , มาตรา 80 วรรสอง , มาตรา 81 และมาตรา 92 (3)
67
ข้อ 3 พ.ต.ต.ธนกฤต ขับรถออกตรวจท้องที่เวลาห้าทุ่ม เห็นนายดำยกปืนขึ้นเล็งไปที่นายเอกซึ่งทั้งนายดำและนายเอกอยู่ภายในบ้านของนางส้ม พ.ต.ต.ธนกฤต จึงเข้าไปทำการจับนายดำในบ้านของนางส้มทันทีโดยที่ไม่มีหมายจับและหมายค้น ดังนี้การที่ พ.ต.ต.ธนกฤต เข้าไปจับนายดำในบ้านของนางส้มชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การจับของ พ.ต.ต.ธนกฤต เป็นการจับใน ที่รโหฐานในเวลากลางคืน (เนื่องจากตามปัญหาการกระทำความผิดเกิดเวลาห้าทุ่ม) ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้ต้องมีอำนาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออำนาจที่กฎหมายให้ทำการจับได้โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอำนาจในการค้น โดยมีหมายค้นหรือมีอำนาจที่กฎหมายให้ทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายรวมถึงจะต้องมีอำนาจที่จะเข้าไปทำการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืน
68
การที่ พ.ต.ต.ธนกฤต เห็นนายดำยกปืนขึ้นเล็งไปที่นายเอก การกระทำของนายดำเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายเอก (ป.อ.มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80) เมื่อ พ.ต.ต.ธนกฤต เห็นการกระทำดังกล่าว จึงมีอำนาจในการจับ เนื่องจากเป็นความผิดซึ่งหน้า (ประเภทความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริงกรณีเห็นบุคคลกำลังกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 80) และตามปัญหาเป็นกรณีนายดำกระทำความผิดซึ่งหน้า (พ.ต.ต.ธนกฤต) ในบ้านของนางส้มซึ่งเป็นที่รโหฐาน จึงถือว่า พ.ต.ต.ธนกฤต ได้ทำตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอำนาจในการค้นแล้ว (ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (2)) และตามปัญหาถือเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำการค้นในที่รโหฐานเวลากลางคืนก็ได้ เนื่องจากหาก พ.ต.ต.ธนกฤตไม่เข้าไปขณะนั้น (เวลาห้าทุ่ม) นายเอกอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ พ.ต.ต.ธนกฤต จึงสามารถเข้าไปทำการจับนายดำในบ้านของนางส้มได้ ดังนั้น การที่ พ.ต.ต.ธนกฤต เข้าไปจับนายดำในบ้านของนางส้มชอบด้วยกฎหมาย ฎ.4461/2540
69
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัย 64
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัย 64 ข้อ 6. วันที่ 31 มีนาคม 2555 นายแดงไปแจ้งความว่านายดำขับรถยนต์ โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์ของนายแดงเป็นเหตุให้นายแดงได้รับอันตราย แก่กาย เหตุเกิดที่บริเวณหน้าโรงค้าไม้เจริญไพศาล วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2555 เวลา 11 นาฬิกา นายแดงพาร้อยตำรวจเอกเขียวกับพลตำรวจขาวไปจับกุมนายดำที่บริเวณโรงค้าไม้เจริญไพศาล ซึ่งเป็นของนายหมึกบิดานายดำ โดยโรงค้าไม้ดังกล่าวนอกจากขายไม้แล้วยังใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย และหยุดทำการค้า ในวันอาทิตย์ เมื่อร้อยตำรวจเอกเขียวไปถึง นายแดงชี้ให้ร้อยตำรวจเอกเขียวจับนายดำซึ่งนั่งอยู่ที่ม้านั่งภายในบริเวณโรงค้าไม้นั้น ร้อยตำรวจเอกเขียวจึงแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานและขอจับกุมนายดำ โดยแจ้งว่าขับรถยนต์โดยประมาท ชนรถจักรยานยนต์ของนายแดงเป็นเหตุให้นายแดงได้รับอันตรายแก่กายโดยไม่มีหมายจับและหมายค้น นายดำขัดขืนจึงเกิดการต่อสู้กัน ระหว่างการต่อสู้ปรากฏว่า
70
เมทแอมเฟตามีนหล่นมาจากกระเป๋าเสื้อที่นายดำสวมใส่ จำนวน 51 เม็ด นายดำยอมรับว่านายเหลืองนำมามอบให้นายดำไว้ขายแก่บุคคลทั่วไป ร้อยตำรวจเอกเขียวจึงแจ้งข้อหาและจับกุมนายดำส่งพนักงานสอบสวนยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ นายดำต่อสู้ว่าการจับกุมของเจ้าพนักงานทั้งสองข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายดำฟังขึ้นหรือไม่
71
ธงคำตอบ วันเกิดเหตุโรงค้าไม้เจริญไพศาลหยุดทำการค้า และโรงค้าไม้ดังกล่าวใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย จึงเป็นที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(13) การที่ร้อยตำรวจเอกเขียวเข้าไปในโรงค้าไม้ดังกล่าวโดยไม่มีหมายจับและหมายค้น แม้นายแดงจะได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้วก็ตาม ร้อยตำรวจเอกเขียวก็ไม่มีอำนาจเข้าไปจับนายดำในที่รโหฐานได้ตามมาตรา 81 และไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 78 อย่างไรก็ตามเมื่อร้อยตำรวจเอกเขียวเข้าไปแล้วพบนายดำ นายดำไม่ยอมให้จับเกิดการดิ้นรนต่อสู้กัน และปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนหล่นมาจากกระเป๋าเสื้อนายดำสวมใส่ เช่นนี้ย่อมถือเป็นความผิดซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ซึ่งร้อยตำรวจเอกเขียวมีอำนาจจับนายดำในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามมาตรา 78(1) ประกอบมาตรา 81 และมาตรา 92(2) การจับของเจ้าพนักงานจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อต่อสู้ของนายดำฟังไม่ขึ้น
72
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัย 62
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัย 62 ข้อ 6. (ก) เหตุเกิดเวลากลางวันขณะที่นายดำอยู่ที่หน้าบ้านของนายแดง นายดำเห็นนายแดงกำลังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายร่างกายนายขาวหลายครั้งในบ้านของนายแดง อันเป็นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นายดำจึงเข้าไปจับกุมนายแดงในบ้านของนายแดง แล้วนำส่งที่ทำการพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ (ข) นายแดงเจ้าของบ้าน เชิญนายดำให้เข้าไปรับประทานอาหารในบ้านของนายแดง ขณะที่นายดำอยู่ในบ้าน นายดำเห็นนายเขียวกำลังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายร่างกายนายเหลืองหลายครั้งในบ้านของนายแดง นายดำจึงเข้าจับกุม นายเขียวส่งที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ ให้วินิจฉัยว่า การจับกุมของนายดำทั้งสองกรณีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
73
ธงคำตอบ (ก) การจับเป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ราษฎรจะจับได้เมื่อเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 79 แม้นายดำจะเห็นนายแดงทำร้ายร่างกายนายขาวอันเป็นความผิด ซึ่งหน้าที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ความผิดนั้นกระทำลงในบ้านของนายแดงอันเป็นที่รโหฐาน นายดำไม่มีอำนาจเข้าไปจับนายแดง เพราะเป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 81 เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติที่ว่าด้วยการค้น ในที่รโหฐาน เมื่อนายดำเป็นราษฎรย่อมไม่มีอำนาจค้นในที่รโหฐานไม่ว่ากรณี ใด ๆ นายดำจึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับนายแดง การจับกุมของนายดำตามข้อ (ก) จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
74
(ข) นายแดงเจ้าของบ้านเชิญนายดำให้เข้าไปในบ้าน จึงเป็นการเข้าไปในที่รโหฐานโดยชอบ เมื่อนายดำอยู่ในบ้านเห็นนายเขียวกำลังใช้อาวุธมีดแทง ทำร้ายนายเหลือง นายดำสามารถจับนายเขียวได้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79 และไม่ถือเป็นการค้นในที่รโหฐานอันจะเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 81 เพราะนายดำได้เข้าไปในที่รโหฐานโดยชอบอันเนื่องมาจากการเชิญของนายแดงเจ้าของบ้าน การจับกุมของนายดำ ตามข้อ (ข) จึงชอบด้วยกฎหมาย
75
ข้อสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษา ปี2554 คำถามข้อ 1 นายกายเจ้าพนักงานป่าไม้ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สืบทราบมาว่าที่บ้านของนางเวทนา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ในความรับผิดชอบของตน มีไม้กระยาเลยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายอันเป็นไม้ผิดกฎหมายหลายสิบท่อนไว้ในครอบครอง วันเกิดเหตุเวลากลางวันนายกายเดินผ่านบ้านของนางเวทนาซึ่งมีรั้วลวดหนามล้อมรอบ จึงกดกริ่งเรียกเจ้าของบ้าน แต่ไม่มีผู้ใดมาเปิดประตูรั้ว เนื่องจากประตูรั้วแง้มอยู่นายกายจึงเปิดประตูรั้วเข้าไป แล้วค้นบริเวณบ้านของนางเวทนาโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล พบไม้ดังกล่าวซึ่งเป็นไม้ขนาดใหญ่จำนวน 35 ท่อน กองอยู่ที่หลังบ้านของนางเวทนา หลังจากนั้นนางเวทนาเดินออกจากในบ้านมาที่หลังบ้าน นายกายจึงแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ นางเวทนารับว่ามีไม้หวงห้ามยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง
76
นายกายจึงจับนางเวทนาในข้อหาดังกล่าว โดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล แต่ได้แจ้งสิทธิต่างๆตามกฎหมายและแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ พร้อมกับยึดไม้ดังกล่าวไว้เป็นของกลาง แล้วเอาตัวนางเวทนาและไม้ของกลางไปยังที่ทำการของร้อยตำรวจเอกจิตซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทันที และส่งตัวนางเวทนาและไม้ของกลางพร้อมบันทึกการตรวจค้น จับกุม และยึดของกลางแก่ร้อยตำรวจเอกจิตซึ่งได้ดำเนินการต่างๆตามกฎหมาย แล้วควบคุมตัวนางเวทนาไว้ วันรุ่งขึ้นนายธรรมซึ่งเป็นสามีของนางเวทนายื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้ ขอให้มีคำสั่งปล่อยนางเวทนาโดยอ้างว่านางเวทนาถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคืนไม้ของกลางแก่ผู้ร้องด้วย ศาลจังหวัดกาญจนบุรีไต่สวนคำร้องแล้วได้ความดังกล่าว ให้วินิจฉัยว่า การค้นของนายกายเป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลจังหวัดกาญจนบุรีจะมีคำสั่งตามคำร้องของนายธรรมอย่างไร
77
ธงคำตอบข้อ 1 การค้นของนายกายเป็นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล แม้การสืบทราบของนายกายอาจถือว่าเป็นกรณีมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำความผิดซ่อนหรืออยู่ในที่รโหฐาน แต่สิ่งของนั้นเป็นไม้หวงห้ามขนาดใหญ่ยังไม่ได้แปรรูปจำนวนมากถึง 35 ท่อน เป็นกรณีไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน นายกายจึงไม่มีอำนาจที่จะค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4) ทั้งก่อนลงมือค้นก็ไม่ปรากฏว่านายกายแสดงความบริสุทธิ์ และค้นต่อหน้านางเวทนาผู้ครอบครองสถานที่ตามมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นของนายกายจึงเป็นการค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
78
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 แต่การกระทำของนางเวทนาไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เพราะไม่ใช่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ ตามมาตรา 80 วรรคหนึ่ง และไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 80 วรรคสอง (1)(2) จึงไม่ใช่กรณีที่จะจับได้โดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล ดังนั้น นายกายจึงไม่มีอำนาจที่จะจับนางเวทนาได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2550) การควบคุมตัวนางเวทนาไว้จึงเป็นการคุมขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายธรรมซึ่งเป็นสามีของนางเวทนาผู้ถูกคุมขังยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดกาญจนบุรีมีคำสั่งปล่อยนางเวทนา ศาลจังหวัดกาญจนบุรีต้องมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบปล่อยตัวนางเวทนาไปทันทีตามมาตรา 90 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541)
79
ส่วนไม้ของกลางซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานยึดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคืนแก่ผู้ร้องนั้น มิใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นายธรรมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนไม้ของกลางเป็นคดีนี้ ศาลจังหวัดกาญจนบุรีต้องมีคำสั่งยกคำร้องส่วนนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2550 ประชุมใหญ่)
80
การจับโดยมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน (มาตรา 78 (3))
การจับโดยมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน (มาตรา 78 (3)) การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับกรณีมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา (2) แต่มีความจำเป็นอันเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (มาตรา 78 (3)) เมื่อมีการจับกุมโดยชอบแล้ว แม้จะมีเจ้าพนักงานตำรวจบางคนซึ่งไม่ได้ร่วมจับกุมด้วยมาร่วมลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม ก็ไม่ทำให้การจับกุมกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฎีกาที่ 2612/2543) การจับกุมผู้กระทำผิดที่อยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน (มาตรา 134) นอกจากการจับโดยไม่ต้องมีหมายจับทั้ง 4 กรณี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 แล้วเดิมมีมาตรา 136 บัญญัติว่า พนักงานสอบสวนจะจับและควบคุมผู้ใดซึ่งในระหว่างสอบสวน ปรากฏว่าเป็นผู้กระทำผิด....ก็ได้ การจับตามมาตรา 136 นี้ ไม่ต้องมีหมายจับ (ฎีกาที่ 2657/2516) ในปี 2547 มาตรา 136 ได้ถูกยกเลิก พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจจับผู้กระทำความผิดโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 136 ได้อีกต่อไป
81
ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า ที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ที่อยู่ต่อหน้าตนเป็นผู้ต้องหา เมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้นั้นไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่มีการออกหมายจับ และพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุจะออกหมายขัง ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ - การแจ้งข้อหาแก่จำเลยยังไม่ถือว่าจำเลยถูกจับ (ฎีกาที่ 8458/2551} 6635/2551 , 6208/2550 (ประชุมใหญ่) , 5042/2549 , 5499/2549 , 3952/2549) กรณีถือว่าจำเลย ถูกจับ (ฎีกาที่ 8314/2549 , 1997/2550)
82
ข้อ 4 พ.ต.ท.ไพศาล และ ร.ต.อ.พงษ์เทพ พบนายเสือกำลังรอขึ้นเครื่องบินสนามบินสุวรรณภูมิ พ.ต.ท.ไพศาล ได้บอก ร.ต.อ.พงษ์เทพ ว่า เมื่อสองวันมาแล้วนายเสือหลบหนีการควบคุมหลังจากการจับกุมของตนตามหมายจับในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัส ร.ต.อ.พงษ์เทพ ได้เดินเข้าไปหานายเสือแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแจ้งว่าต้องถูกจับ ทั้งแจ้งข้อหาดังกล่าวกับแจ้งสิทธิตามกฎหมาย จากนั้นได้จับนายเสือนำส่งพนักงานสอบสวน ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.พงษ์เทพ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
83
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า แม้หมายจับที่ศาลออกเพื่อให้จับนายเสือจะใช้ไม่ได้แล้ว เพราะจับนายเสือตามหมายจับได้แล้ว แต่กรณีนี้ ร.ต.อ. พงษ์เทพ มีอำนาจจับนายเสือ เนื่องจากมีหลักฐานตามสมควรว่านายเสือน่าจะได้กระทำความผิดอาญา จนมีการออกหมายจับแล้วและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี เพราะเคยหลบหนีแล้ว ประกอบกับมีความจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับนายเสือได้ เพราะนายเสือกำลังรอขึ้นเครื่องบิน ดังนั้น การจับจึงชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 78 (3) ประกอบมาตรา 66 (2) สรุป การจับของ ร.ต.อ.พงษ์เทพ ชอบด้วยกฎหมาย
84
ข้อ 5 ร.ต.ท.มาโนช นายสมชายและนางสาวสมศรีได้รับเชิญจาก นายสมศักดิ์เจ้าของบ้านให้ไปร่วมงานเลี้ยงในเวลากลางวัน ที่บ้านนายสมศักดิ์ซึ่งอยู่ติดกับบ้านนายสมชาย ขณะอยู่ในบ้านของนายสมศักดิ์ นางสาวสมศรีจำได้ว่านายสมชายเป็นคนร้ายที่ได้ข่มขืนกระทำชำเราตนเมื่อสัปดาห์ก่อน นางสาวสมศรีจึงชี้ให้ ร.ต.ท.มาโนช จับนายสมชายโดยแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ร.ต.ท.มาโนช จึงเข้าจับกุมนายสมชาย โดยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการจับกุมแล้วนำตัวนายสมชายไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ ที่ถูกจับ ดังนี้ การจับของ ร.ต.ท.มาโนช ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
85
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ร. ต. ท
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ร.ต.ท.มาโนช จับนายสมชายในบ้านของนายสมศักดิ์เป็นการจับในที่รโหฐาน ซึ่งจะต้องมีอำนาจในการจับ คือ มีหมายจับหรือมีอำนาจในการจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย และต้องทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน การจับของ ร.ต.ท.มาโนช แม้จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน เนื่องจากนายสมศักดิ์เจ้าของผู้ครอบครองที่รโหฐานเชื้อเชิญให้เข้าไปในที่รโหฐานนั้น แต่ ร.ต.ท.มาโนช ไม่มีอำนาจในการจับ เนื่องจากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) ประกอบมาตรา 66 (2) เจ้าพนักงานตำรวจจะจับนายสมชายโดยไม่มีหมายจับได้ ต่อเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่านายสมชายน่าจะได้กระทำผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่า นายสมชายจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุร้ายประการอื่น และ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับนายสมชายได้ กรณีตามปัญหานี้ไม่ปรากฏว่านายสมชายมีท่าทีจะหลบหนีประกอบกับนายสมชายมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ร.ต.ท. มาโนช จะจับนายสมชายโดยไม่มีหมายจับของศาลไม่ได้ การจับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
86
ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.แดง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ข้อ 6 ร.ต.อ.แดง มีหลักฐานตามสมควรว่านายดำเป็นผู้ลักรถยนต์ของนายเอก ระหว่างที่ ร.ต.อ.แดง กำลังดำเนินการขอหมายจับนายดำจากศาล ร.ต.ต.ระย้า ได้รายงานให้ ร.ต.อ.แดง ทราบว่านายดำกำลังขับรถยนต์คันที่ลักจากนายเอกออกไปนอกประเทศไทย หากรอหมายจับนายดำน่าจะขับรถออกนอกประเทศไทยไปก่อน ร.ต.อ.แดง จึงตัดสินใจจับกุมนายดำทันทีโดยไม่มีหมายจับ ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.แดง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
87
ดังนั้น การจับของ ร.ต.อ.แดง ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามปัญหา ร.ต.อ.แดง มีหลักฐานตามสมควรว่านายดำเป็นผู้ลักรถยนต์ของนายเอก และมีเหตุอันควรเชื่อว่านายดำ จะหลบหนีเนื่องจาก ร.ต.ต.ระย้า ได้รายงานให้ ร.ต.อ.แดง ทราบว่านายดำกำลังขับรถยนต์คันที่ลักจากนายเอกออกไปนอกประเทศไทยและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้เพราะหากรอหมายจับ นายดำน่าจะขับรถออกนอกประเทศไทยไปก่อน ร.ต.อ.แดง จึงมีอำนาจจับกุมนายดำทันทีโดยไม่มีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) ประกอบมาตรา 66 (2) ดังนั้น การจับของ ร.ต.อ.แดง ชอบด้วยกฎหมาย
88
ข้อ 7 วิชิตถูกจับและได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวน โดยมีนายวิชัยใช้ตำแหน่งข้าราชการเป็นหลักประกันให้แก่นายวิชิต หลังจาก นายวิชิตได้รับการปล่อยชั่วคราวได้สามวัน นายวิชัยพบว่านายวิชิตกำลัง จะหลบหนีไปต่างจังหวัด และนายวิชัยเห็น ร.ต.ท.มาโนช อยู่ในบริเวณนั้น จึงขอให้ ร.ต.ท.มาโนช ทำการจับนายวิชิต ร.ต.ท.มาโนช จึงทำการจับ นายวิชิตทันทีโดยไม่มีหมายจับ ดังนี้ การจับของ ร.ต.ท.มาโนช ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
89
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า นายวิชัยใช้ตำแหน่งข้าราชการเป็นหลักประกันให้แก่นายวิชิตผู้ต้องหา ซึ่งได้รับการปล่อยตัวในระหว่างสอบสวน ต่อมานายวิชัยพบว่านายวิชิตกำลังจะหลบหนีไปต่างจังหวัด และนายวิชัยเห็นว่า ร.ต.ท.มาโนช อยู่ในบริเวณนั้น จึงขอให้ ร.ต.ท.มาโนช ทำการจับนายวิชิต ร.ต.ท.มาโนช จึงทำการจับนายวิชิตทันทีโดยไม่มีหมายจับ ดังนี้ ร.ต.ท.มาโนช มีอำนาจในการจับนายวิชิต แม้ว่าจะไม่มีหมายจับ เนื่องจากเป็นกรณีที่บุคคลซึ่งเป็นหลักประกัน เป็นผู้พบเห็นผู้ต้องหาหรือจำเลยหนีหรือจะหลบหนี บุคคลผู้เป็นหลักประกันสามารถขอให้เจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ดังนั้น การจับของ ร.ต.ท.มาโนช ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 78 (4) ประกอบมาตรา 117
90
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัย 63
ข้อสอบเนติบัณฑิต สมัย 63 ข้อ 6. นางเจนผู้เสียหายนำสำเนาหมายจับซึ่งไม่มีการรับรองว่าถูกต้องแล้วที่ให้จับนางดำผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี มอบให้แก่ร้อยตำรวจตรีเข้มและชี้ยืนยันให้จับนางดำที่เห็นนางเจนแล้วกำลังจะขึ้นรถยนต์รับจ้าง ร้อยตำรวจตรีเข้มจึงจับนางดำโดยแจ้งว่าต้องถูกจับ แจ้งข้อกล่าวหาและแสดงสำเนาหมายจับดังกล่าวพร้อมแจ้งสิทธิตามกฎหมาย แล้วนำนางดำส่งมอบแก่พันตำรวจโทขาว พนักงานสอบสวนของที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ พันตำรวจโทขาวแจ้งสิทธิตามกฎหมายแล้วให้สิบตำรวจโทหญิงแดงค้นตัวนางดำ พบและยึดมีด เล่ม ไว้เป็นของกลาง และสอบปากคำนางดำแล้วอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว นางดำยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวโดยคำร้องระบุเหตุการณ์ข้างต้น และอ้างว่าการจับ การค้นกับการคุมขังมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลสั่งยกคำร้องโดยมิได้ไต่สวน
91
ให้วินิจฉัยว่า การจับ การค้นของเจ้าพนักงาน และคำสั่งของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
92
ธงคำตอบ กรณีเจ้าพนักงานจับและจัดการตามสำเนาหมายจับที่มิได้รับรองว่าถูกต้องแล้วนั้น แม้จะถือไม่ได้ว่าเป็นการจับโดยมีหมายจับหรือจัดการตามหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(9) มาตรา วรรคสอง(1) ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกหมายจับแล้วก็แสดงให้เห็นได้ในตัวว่า มีหลักฐานตามสมควรว่านางดำผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดอาญาไม่ว่าจะมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีหรือไม่ และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีเพราะเห็นผู้เสียหายแล้วก็เตรียมจะขึ้นรถยนต์รับจ้าง อันหมายถึงมีเหตุที่จะออกหมายจับผู้ต้องหาตามมาตรา 66(2) และเห็นได้ว่า กรณีเช่นนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับผู้ต้องหานั้นได้ทันหรือจัดหาต้นฉบับหมายจับหรือเอกสารตามมาตรา 77 วรรคสอง(1) ได้ทัน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลตามมาตรา 78(3) การจับของเจ้าพนักงานจึงชอบด้วยกฎหมาย (ตามมติเสียงข้างมากของที่ประชุมกรรมการออกข้อสอบ)
93
ออกหมายจับบุคคลที่ไม่รู้จักชื่อ มาตรา 67
ออกหมายจับบุคคลที่ไม่รู้จักชื่อ มาตรา 67 ใช้วิธีระบุรูปพรรณให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้ เช่น มีคนเห็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำผิด แต่ไม่ทราบชื่อ บอกรูปพรรณ หรือตำหนิตามร่างกายได้ อายุหมายจับ มาตรา 68 ใช้ได้จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือ ศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน หมายจับใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร มาตรา 77 ใช้ได้เฉพาะในอาณาเขตประเทศไทย การจับในที่รโหฐาน มาตรา 81 ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. ว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน
94
การจับโดยราษฎร มาตรา 79 โดยปกติราษฎรไม่มีอำนาจจับผู้ใด เว้นแต่เจ้าพนักงาน ผู้จัดการตามหมายจับจะขอความช่วยเหลือให้จับตามหมายจับ (กรณีตาม ม. 82) หรือเป็นความผิดซึ่งหน้าตามที่ระบุไว้ ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. (มาตรา 79) การขอความช่วยเหลือให้จับตามหมายจับ มาตรา 82 เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับอยู่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นได้ แต่จะบังคับให้ช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขาไม่ได้ ข้อสังเกต เจ้าพนักงานจะขอให้บุคคลที่อยู่ใกล้เคียงจับผู้อื่นได้ เฉพาะกรณีที่มีหมายจับบุคคลที่จะถูกจับเท่านั้น
95
ขณะเกิดเหตุที่จำเลยแทงผู้ตาย ผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและไม่เห็นเหตุการณ์ โดยผู้เสียหายยืนอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 50 เมตร มองไม่เห็นที่เกิดเหตุเพราะมีร้านค้าบังอยู่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรจึงไม่มีอำนาจจับตามกฎหมายเพราะมิใช่ความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 79 (ฎ.4282/2555)
96
วิธีการจับ (มาตรา 83,84) - ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ (มาตรา 83 วรรคหนึ่ง) แต่ถ้าผู้กระทำผิดต่อสู้ขัดขวาง ก็ไม่จำต้องแจ้งว่าเขาต้องถูกจับ(ฎ.ที่ /2521) - ต้องแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับ (มาตรา 83 วรรคสอง) เป็นหลักการที่ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วางแนวทางในเรื่องการแจ้งสิทธิต่อผู้ถูกจับในคดี Miranda V. Arizona เรียกกันว่า Miranda warning หรือ “คำเตือนมิแรนดา” แม้การจับกุมจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายเสียไปด้วย เพราะถือว่าเป็นคนละขั้นตอนกัน (ฎ.1547/2540, ฎ.2699/2516, ฎ.3238/2531ฎ1493/2550) รวมทั้งกรณีการควบคุมตัวเกินกำหนดด้วย (ฎ.4113/2552)
97
การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวของผู้ถูกจับ (มาตรา 84 วรรคท้าย)
คำให้การรับสารภาพว่าตนได้กระทำผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน เป็นการห้ามฟังเด็ดขาด ไม่ว่าจะมีการแจ้งสิทธิแล้วหรือไม่ - แต่ไม่มีผลย้อนหลังไปกระทบคำรับสารภาพในชั้นจับกุมก่อนบทบัญญัติมีผลบังคับ ศาลจึงรับฟังคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำผิดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับมารับฟังประกอบการลงโทษจำเลยได้ (ฎ.931/2548 ประชุมใหญ่ , ฎ.2215/2548)
98
2. ถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ ถ้อยคำนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิ และปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ - การไม่แจ้งสิทธิประการใดประการหนึ่งมีผลทำให้ไม่อาจรับฟังถ้อยคำอื่นเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ (ฎ.8148/2551) - ถ้อยคำอื่น อาจเป็นถ้อยคำที่นำไปสู่การพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ เช่น รับว่าอาวุธของกลางเป็นของตน รับว่าตนอยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ รับว่าตนมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายก่อนเกิดเหตุ เป็นต้น
99
คำพิพากษาที่ 479/2555 การออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวน เป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น เป็นอำนาจพิเศษ ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นมีอำนาจออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนได้ ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 66 และมาตรา 59/1 โดยเฉพาะ จึงไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.