ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT
2
GOLDEN RULE OF REPORT WRITING
1. CONCISE กระชับ 5. PRESENTABLE นำเสนอได้ชัดเจน 6. INTERESTING น่าสนใจ 2. CLEAR ชัดเจน 3. ACCEPTABLE เป็นที่ยอมรับ อ่านได้ง่าย 4. READABLE GOLDEN Rule
3
WHY? วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวนโรค
1. เพื่อรายงานผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา 2. เพื่อเสนอข้อคิดเห็น แก่ผู้บริหารและ ผู้เกี่ยวข้อง WHY? 4. เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น 3. เพื่อเป็นองค์ความรู้ และแนวทางในการ สอบสวนโรคในครั้งต่อไป
4
องค์ประกอบหลัก ชื่อเรื่อง (Title)
ชื่อผู้แต่งและที่อยู่ (Authors and Address) บทคัดย่อ (Abstract or Summary) บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background) วัตถุประสงค์ (Objectives) วิธีการศึกษา (Materials and Methods) ผลการสอบสวน (Results) อภิปรายผล และ สรุปผล (Discussion & Conclusion) มาตรการควบคุมป้องกันโรค (Prevention & Control Measures) ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน (Limitations) ข้อเสนอแนะ (Recommendations) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgments) เอกสารอ้างอิง (References)
5
รูปแบบการเขียนรายงานสอบสวนโรค
ชื่อเรื่อง รายงานการสอบสวนโรค เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร นาย/นาง/น.ส สำนักงาน บทคัดย่อ
6
1. ชื่อเรื่อง ข้อแนะนำ ให้ตั้งชื่อเรื่องภายหลังเขียนส่วนอื่น
ไม่ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไปจนผู้อ่านไม่เข้าใจ สื่อว่าการสอบสวนโรคอะไร ที่ไหน เมื่อไร ชื่อเรื่องจะน่าสนใจมากขึ้นหากมีประเด็นจำเพาะ เช่น การสอบสวนการระบาดไข้หวัดนกในครอบครัว การระบาดของโรคหัดจากวัคซีนที่มีประสิทธิผลต่ำ ข้อแนะนำ ให้ตั้งชื่อเรื่องภายหลังเขียนส่วนอื่น ทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว
7
2. ชื่อผู้แต่ง และที่อยู่
เรียงตามปริมาณงาน ชื่อแรกเป็นผู้มีส่วนร่วมในการศึกษามากที่สุด ชื่อถัดไปก็มีส่วนร่วมน้อยรองลงไปจากชื่อแรก ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อผู้ร่วมงานทุกคน ระบุที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน ถ้ามีการย้ายที่ทำงานให้เพิ่ม “ ที่อยู่ปัจจุบัน (Present address) ” ของผู้แต่งรายนั้นด้วย
8
3. บทคัดย่อ สั้น ไม่ควรเกิน 200-250 คำ หรือ 1 หน้า A4 สรุปย่อรายงาน
บทนำ (และวัตถุประสงค์) สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาที่สำคัญ วิธีการศึกษา คำสำคัญ สรุปย่อรายงาน หัวข้อหลัก ควรเขียนสุดท้าย ภายหลังเขียนส่วนอื่น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว บทคัดย่อจะเป็นเครื่องตัดสินใจให้ผู้อ่านว่าจะอ่านต่อไปหรือไม่
9
บทคัดย่อ บทนำ (และวัตถุประสงค์): ชื่อเรื่อง ผู้รายงานและคณะสอบสวน
หน่วยงาน บทนำ (และวัตถุประสงค์): กล่าวถึงที่มาของเรื่อง และวัตถุประสงค์ของ การสอบสวน อย่างสั้น รัดกุม และได้ใจความ
10
วิธีการศึกษา : บทคัดย่อ (ต่อ)
ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา (Study Design) กลุ่มตัวอย่าง และประชากรศึกษา ตัวแปรที่ใช้วัดผล เช่น นิยามผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
11
ระบุผลการศึกษาที่สอดคล้องกับวิธีการศึกษาโดยย่อ และมีความเป็นนัย
บทคัดย่อ (ต่อ) ผลการศึกษา : ระบุผลการศึกษาที่สอดคล้องกับวิธีการศึกษาโดยย่อ และมีความเป็นนัย สรุปและข้อเสนอแนะ : สรุปผลการศึกษาอย่างสั้น รัดกุม และชัดเจน โดยเน้นประเด็นสำคัญ และผลกระทบของการ ศึกษา รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการต่อไป คำสำคัญ (Key word): 3-5 คำ
12
ลักษณะบทคัดย่อที่ดี ความถูกต้อง - เนื้อหาถูกต้อง สอดคล้องตามที่ปรากฏ ในรายงานการสอบสวนโรค ความสมบูรณ์- ทำให้ผู้อ่านได้รับทราบกระบวนการที่ทำ การสอบสวนโรคตั้งแต่ต้นจนจบอย่างย่อ ความกระชับ - ไม่อธิบายรายละเอียดมากจนเกินไป ให้ข้อเท็จจริง - จากผลลัพธ์ตามการวิเคราะห์ที่ได้ ไม่ใช่ เป็นการสรุปโดยใช้ความคิดเห็นของตนเอง หรือการวิจารณ์ ที่คาดเดา หรือสรุปผลเอาเอง ความน่าอ่าน - ภาษาสละสลวย ใช้คำที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการ ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นย่อหน้าตามความเหมาะสม
13
หลีกเลี่ยง ตัวย่อ เช่น รร. เป็นต้น
ตัวย่อ เช่น รร. เป็นต้น ระบุเอกสารอ้างอิง ตาราง หรือรูปภาพในบทคัดย่อ การเขียนผลการศึกษา หรือข้อสรุป ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องเลย การเขียนบอกให้ไปอ่านผล หรือการอภิปรายในเนื้อเรื่อง
14
บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ
4. บทนำหรือ ความเป็นมา เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนโรค/การระบาด ขนาดของปัญหาที่ได้รับแจ้ง คณะสอบสวนประกอบด้วยหน่วยใด เริ่มสอบสวนและเสร็จสิ้นเมื่อไร
15
ตัวอย่าง บทนำหรือความเป็นมา
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 เวลา น. ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ว่าได้รับรักษาผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 1 ราย เป็นเด็กหญิง อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9 ถนนประชาวิวัฒน์ ซอย 19 ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส แพทย์ได้เก็บตัวอย่าง Throat Swab ส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดสงขลา และให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน ทีมสอบสวนโรคจาก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมือง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก ได้ออกดำเนินการสอบสวนโรค ระหว่างวันที่ 17 – 20 กรกฎาคม 2552
16
5. วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค
ให้ระบุวัตถุประสงค์เฉพาะของการสอบสวนโรค :- เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตาม บุคคล เวลา สถานที่ เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค และผู้ สัมผัสโรค เพื่อหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรค อื่นๆ ตามแต่กรณี เช่น ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน
17
ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ของการสอบสวน
ยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาด ศึกษาลักษณะการกระจายของโรคตาม ลักษณะของบุคคล เวลา และ สถานที่ หาแหล่งรับเชื้อ และปัจจัยการแพร่ระบาด ควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
18
6. วิธีการศึกษา หลักการ อธิบายให้ชัดเจน เป็นไปตามวัตถุประสงค์
อธิบายให้ชัดเจน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีรายละเอียดเพียงพอที่ผู้อ่านจะสามารถ ประเมินได้ว่าการสอบสวนนี้ดี /น่าเชื่อถือ เพียงใด
19
ส่วนประกอบของวิธีการศึกษา
ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา: วิธีการได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย รวมนิยามผู้ป่วย ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (ในกรณีที่มี): รูปแบบการศึกษาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน การศึกษาทางสิ่งแวดล้อม: ให้รายละเอียดของแหล่งโรค/ปัจจัยเสี่ยงที่สงสัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ: บอกวิธีเก็บ วิธีส่ง ชนิดของการตรวจ สถานที่ตรวจ ไม่จำเป็นต้องเขียนหัวข้อชัดๆแบบนี้ โดยสามารถเขียนเป็นข้อย่อยๆของวิธีการในแต่ละส่วน แต่ควรครอบคลุมทุกส่วน อาจเพิ่มหัวข้อการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะกรณีที่ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ไม่ต้องเขียนวิธีการในส่วนของการบริหารจัดการ เช่น ประสานงาน จัดประชุม หรือเขียนรายงาน เป็นต้น
20
ตัวอย่าง-วิธีการศึกษา (1)
ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ศึกษารายละเอียดผู้ป่วย จากเวชระเบียน ที่ รพ.สุไหงโก-ลก รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติเพิ่มเติม ค้นหาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ เพิ่มเติมในชุมชน ตามนิยาม ดังนี้ ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ หมายถึง เด็กนักเรียนชั้น ป. 4 – 6 และ ครู ของ รร.บ้านสุไหงโก-ลก รวมทั้งประชาชนในชุมชน อริศรา ที่มีอาการอย่างน้อย 2 อย่าง:- ไข้ ≥ 38 ๐C (หรือให้ ประวัติว่ามีไข้) ไอ เจ็บคอ น้ำมูก ตั้งแต่วันที่ 5-20 ก.ค.2552 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่ หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ ที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี RT-PCR พบสาร พันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1)
21
ตัวอย่าง-วิธีการศึกษา (2)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำการเก็บตัวอย่าง Throat Swab จากกลุ่มผู้ป่วยสงสัย ไข้หวัดใหญ่ ส่งตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่ศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดสงขลา การศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน และโรงเรียน บ้านสุไหงโก-ลก รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอแนะมาตรการควบคุมป้องกันโรค
22
7. ผลการสอบสวน เสนอผลตามลำดับเหตุการณ์ในวิธีการศึกษา
เสนอเฉพาะผลที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องมี รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่าง ในกรณีที่ผลการศึกษาค่อนข้างยาวหรือซับซ้อน ควรมีหัวข้อย่อย ถ้ามีตาราง กราฟ หรือรูปภาพ ต้องใส่หมายเลข กำกับ และเรียงตามเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง จำนวนตาราง กราฟ และ รูปภาพ ตามความเหมาะสม / ขึ้นกับวารสารแต่ละฉบับ ถ้าเสนอตารางแล้ว ไม่จำเป็นต้องลอกข้อมูลในตารางลงไป ในเนื้อเรื่องอีก
23
มักเริ่มต้นด้วยภาพกว้างของการระบาด
ผลการสอบสวน มักเริ่มต้นด้วยภาพกว้างของการระบาด จำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต อัตราป่วย กรณีที่มีนิยามผู้ป่วยหลายระดับ บอกจำนวนผู้ป่วยในแต่ละกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยยืนยัน ความรุนแรงของการป่วย (จำนวนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน จำนวนผู้เสียชีวิต) อาการ บางครั้งอาจมีหัวข้ออื่นนำมาก่อน เช่น ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ จำนวนผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปี เป็นต้น
24
ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา อธิบายการกระจาย ตามบุคคล เวลา สถานที่
ผลการสอบสวน ต่อ ผู้ป่วยรายแรก เนื่องจากข้อมูลจากผู้ป่วยรายแรกจะสามารถเชื่อมโยงไปถึงแหล่งโรคได้ ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา อธิบายการกระจาย ตามบุคคล เวลา สถานที่ บุคคล:- อายุ (ค่าเฉลี่ย ค่าน้อยที่สุด-มากที่สุด อัตราป่วยตามกลุ่มอายุ) - เพศ (มักแสดงค่าเป็นอัตราส่วน อัตราป่วยในแต่ละเพศ) - เชื้อชาติ เวลา:- Epidemic curve สถานที่:- จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยรายพื้นที่ (Mapping) อธิบายกิจกรรม/พฤติกรรม ก่อนเริ่มป่วย ของกลุ่มผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่ การตั้งสมมุติฐาน :- สัดส่วนของการรับประทานอาหารที่สงสัย การค้นหาแหล่งโรค ( Source of infection, Reservoir) วิธีการถ่ายทอดโรค
25
ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน
ผลการสอบสวน ต่อ ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน Case-control study, Cohort study การสำรวจสิ่งแวดล้อม ควรเขียนเป็นแผนผัง แผนที่ แสดงสถานที่ใกล้เคียง ที่คาดว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง อธิบายเหตุการณ์แวดล้อมที่มีความสำคัญต่อการระบาด ของโรค สภาพโรคครัว แหล่งน้ำ ส้วม การสำรวจ/ศึกษาอื่น การวิเคราะห์ผลการตรวจสิ่งแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้ปรุงอาหาร กรรมวิธีการปรุงประกอบอาหาร การวิเคราะห์ผลการศึกษา สัตว์นำโรค พาหะแมลง ฯลฯ
26
การเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจ และการวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ
ผลการสอบสวน ต่อ การเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจ และการวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ ผลการเก็บสิ่งส่งตรวจทั้งจากผู้ป่วย และตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อาหาร ประเภทวัตถุตัวอย่างที่เก็บ เก็บจากใครบ้าง ที่ใด เวลาที่เก็บตัวอย่างเมื่อใด ใส่ media อะไร วิธีการส่งอย่างไร ตรวจหาเชื้ออะไร สถานที่ส่งตรวจ วัน เวลาที่ส่ง ได้รับทราบผลการตรวจเมื่อไร ระบุวิธีการตรวจและผลการตรวจตามที่ห้องปฏิบัติการรายงาน ในกรณีที่ทีมสอบสวนโรคไม่ได้เก็บตัวอย่างเอง สามารถทบทวนจากข้อมูลที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว เช่น ที่แพทย์ส่งตรวจ แต่ต้องเขียนให้ชัดเจนว่าเราไม่ได้ทำเอง
27
ตัวอย่างผลการสอบสวน 1. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณา
จากการค้นหาผู้ป่วย พบผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่รวม 168 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) 4 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต เข้ารับการรักษาใน รพ.สุไหงโก-ลก 6 ราย (ผู้ป่วยใน 2 ราย ผู้ป่วยนอก 4 ราย) และค้นพบในชุมชน 162 ราย ลักษณะอาการ อาการแสดง ตามรูปที่ 1 รูปที่ 1 ร้อยละผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ ตามอาการและอาการแสดง อ.สุไหงโก-ลก จ. นราธิวาส วันที่ 5 – 20 ก.ค.ม 2552 (168 ราย)
28
ตัวอย่างผลการศึกษา – ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (บุคคล)
ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ 168 ราย เพศ ชาย 83 ราย หญิง 85 ราย อายุ ต่ำสุด 9 ปี สูงสุด 43 ปี ร้อยละ 98 เป็นนักเรียนชั้น ป. 4 – 6 รร.บ้านสุไหงโก-ลก อายุระหว่าง ปี จำนวน 164 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ (จำนวน นร. ชั้น ป. 4 – 6 ทั้งหมด 798 คน) นักศึกษาระดับอุดมศึกษา อายุ 19 ปี จำนวน 3 ราย มารดาของเด็กนักเรียน ป่วยอีก 1 ราย
29
ตัวอย่างผลการศึกษา – ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (เวลา)
ผู้ป่วยรายแรก เป็นนักศึกษา ใน กทม. เนื่องจากมหาวิทยาลัยประกาศหยุดเรียน จากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) จึงนัดกับเพื่อนอีก 2 คนซึ่งเรียนอยู่ต่างมหาวิทยาลัย เพื่อเดินทางกลับบ้านด้วยรถไฟขบวนด่วนพิเศษทักษิณ (ชั้น 3 แอร์) ออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง วันที่ 3 ก.ค.2552 ถึง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส วันที่ 4 ก.ค ใช้เวลาเดินทาง 20 ชั่วโมง เมื่อถึงได้แยกย้ายกันกลับบ้าน ผู้ป่วยรายแรก พักอยู่กับบิดา มารดา และน้องชาย ที่บ้านเลขที่ 87 ถนนชลธารเขต ซอย 1 ต.สุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก เริ่มป่วยวันที่ 5 ก.ค ต่อมาวันที่ 7 ก.ค.2552 น้องชายผู้ป่วยรายแรก ซึ่งเป็นนักเรียน ชั้น ป. 5/5 รร.บ้านสุไหงโก-ลก เริ่มมีอาการ แต่ก็ยังไปเรียนตามปกติ และมารดาซึ่งดูแลผู้ป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล เริ่มมีอาการในวันที่ 8 ก.ค จากนั้น นักเรียนใน รร.บ้านสุไหงโก-ลก ป่วยเพิ่มอีก 5 รายในวันที่ 10 ก.ค.2552 และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสูงสุดในวันที่ 17 ก.ค.2552 จำนวน 30 ราย หลังจากนั้นเริ่มลดลง (รูปที่ 2)
30
(H1N1) ตามวันเริ่มป่วย อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส วันที่ 5 – 20 ก.ค. 2552
รูปที่ 2 จำนวนผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่และยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) ตามวันเริ่มป่วย อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส วันที่ 5 – 20 ก.ค. 2552 นักศึกษา 3 คน อายุ 19 ปี เรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เดินทางกลับจากกรุงเทพด้วยรถไฟ ขบวนด่วนพิเศษทักษิณ (ชั้น 3 แอร์) วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ถึงอำเภอสุไหงโก-ลกวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 รับแจ้งผู้ป่วย Index Case เริ่มต้นสอบสวนโรค น้องชาย ผู้ป่วยรายแรก แม่ผู้ป่วยรายแรก
31
ตัวอย่างผลการศึกษา – ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (สถานที่)
ผู้ป่วย กระจายอยู่ใน 3 อำเภอ อ.สุไหงโก-ลก 155 ราย (อยู่ใน ต.สุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นเขตเทศบาล มากที่สุด 134 ราย ต.ปาเสมัส 20 ราย และ ต.มูโนะ 1 ราย) อำเภอ แว้ง 9 ราย สุไหงปาดี 4 ราย (รูปที่ 3 )
32
N โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย ต.สุไหงโก-ลก
รูปที่ 3 จำนวนผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ และยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) รายอำเภอ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 5 – 20 กรกฎาคม 2552 N อ.ตากใบ อ.สุไหงปาดี อ.สุไหงโก-ลก โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัย ต.สุไหงโก-ลก ต.ปาเสมัส ต.ปูโยะ ต.มูโนะ ประเทศมาเลเซีย อ.แว้ง
33
ตัวอย่างผลการศึกษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างผลการศึกษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ทีมสอบสวนได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่าง Throat swab จากผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ที่เริ่มป่วยในช่วงวันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2552 จำนวน 7 ราย ส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดสงขลา ผล การตรวจด้วยวิธี RT-PCR พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) จำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เริ่มป่วยวันที่ 19 กรกฎาคม 2552
34
8. การอภิปราย/วิจารณ์ ผล
เป็นส่วนที่ยากที่สุดสำหรับการเขียน อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาเหตุผล และสมมติฐาน ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่าง หรือความคล้ายคลึง กับการระบาดในอดีตหรือไม่ อย่างไร วิจารณ์ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการควบคุมโรค ควรอภิปรายข้อจำกัดของการศึกษาครั้งนี้
35
เนื้อหาของการวิจารณ์
สิ่งที่ค้นพบหลักๆในการศึกษานี้ สิ่งค้นพบที่มีความสำคัญรองลงมา ข้อจำกัดของการศึกษา สรุป และข้อแนะนำ หรือการควบคุมโรคที่ได้ทำไปแล้ว กรณีที่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ใช้หลักว่าพยายามตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา เช่น สรุปว่าเป็นโรคอะไร แหล่งโรคมาจากไหน อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง/ประชากรกลุ่มเสียง เป็นต้น
36
ตัวอย่างการอภิปรายผล
จากการสอบสวน แสดงให้เห็นว่าการเกิดโรคครั้งนี้ เป็นการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) โดยมีข้อมูลสนับสนุนดังนี้ ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มผู้ป่วย เข้าได้กับลักษณะอาการที่ WHO ระบุไว้ว่าอาการของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้แก่ ไข้ ไอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและ ข้อ เจ็บคอ น้ำมูกไหล บางครั้งอาจจะมีอาเจียนและท้องร่วงร่วมด้วย[3] ผลทางห้องปฏิบัติการ จาก ศวก.จังหวัดสงขลา ซึ่งมีผลการตรวจยืนยันพบ สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) 4 ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล 3 ราย และอีก 1 ราย ตรวจพบ จากการสุ่มเก็บตัวอย่าง Throat swab ในชุมชนจำนวน 7 ราย สำหรับ 6 ราย ที่ผลการตรวจเป็นลบ อาจเป็นไปได้ว่าช่วงระยะเวลาที่เก็บตัวอย่างเกิน 3 วัน นับจากเริ่มป่วย จึงทำให้มีโอกาสตรวจพบเชื้อลดลง อย่างไรก็ตามแม้ว่า จำนวนตัวอย่างที่ได้รับการตรวจยืนยันค่อนข้างน้อย แต่จากการสอบสวนก็ พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยสงสัยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน จึงอาจสรุปได้ ว่าการระบาดครั้งนี้ น่าจะมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1)
37
ข้อควรระวังในการเขียนวิจารณ์
ไม่ใช่การเอาผลการศึกษามาพูดซ้ำ เนื้อหาที่จะนำมาวิจารณ์ต้องมีในผลการศึกษาอยู่แล้ว ไม่ใช่เพิ่งมามีผลการศึกษาเพิ่มขึ้นใหม่ตรงส่วนนี้
38
การสรุปผล เขียนข้อสรุปที่ได้จากการสอบสวน
ไม่ควรเสนอผลการสอบสวน ที่เป็นตัวเลขซ้ำอีก ข้อสรุป ควรเชื่อมโยงเข้ากับวัตถุประสงค์ของการสอบสวน ควรหลีกเลี่ยงการประกาศว่าเป็นผู้ริเริ่มการศึกษาเป็นคนแรก ยืนยันการเกิดโรค และการระบาด แหล่งรังโรค วิธีถ่ายทอดโรค กลุ่มเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์ล่าสุด
39
9. มาตรการควบคุมและป้องกันโรค
เพื่อควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ Agent Host Environment
40
10. ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค
ระบุปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดที่พบในขณะสอบสวนโรค บอกแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการสอบสวนครั้งต่อไป
41
ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา
11. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุมป้องกันโรค ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการสอบสวนในครั้งหน้า ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา
42
12. กิตติกรรมประกาศ ตำแหน่ง เนื้อหา
- ต่อท้ายคำอภิปรายผล หรือ หมายเหตุ หน้าแรก แล้วแต่วารสาร เนื้อหา - มีส่วนร่วม แต่ไม่ต้องการสิทธิความเป็น ผู้แต่ง - ช่วยเหลือในด้านเทคนิค - ช่วยเหลือในด้านการเงิน และวัสดุ
43
13. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม
การอ้างอิงบทความในวารสารมี 2 ระบบ 1. เรียงเลขตามลำดับของเอกสารอ้างอิงที่ปรากฏ (ระบบ Vancouver) 2. เรียงตามชื่อผู้แต่ง จะใช้ระบบไหน ให้ดูคำแนะนำของวารสารนั้น ๆ ตัวอย่างใน “ คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ ” วารสารวิชาการสาธารณสุข
44
ระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver style)
เป็นแบบแผนการเขียนเอกสารอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่คล้ายกับแบบการเขียนใน Index Medicus จัดทำโดย หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine; NLM) ผสานกับแบบ American National Standard for Bibliographic References Z (ANSI standard style) ล่าสุด ให้เขียนตามรูปแบบของหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) ได้รับความนิยมสูงมาก ในการนำไปใช้ประโยชน์ในกรณีที่จะเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
45
ระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver style)
หลักการทั่วไป การอ้างอิงในส่วนเนื้อหา :- ควรอยู่ในรูปตัวเลขอาระบิก ที่อยู่ในวงเล็บ และเรียงลำดับก่อนหลัง ตามลำดับที่อ้างถึง ทั้งในส่วนเนื้อเรื่อง และในส่วนท้ายบทความ ไม่ใช่เรียงตามตัวอักษรของชื่อผู้เขียน ไม่ควรใช้บทคัดย่อ เป็นเอกสารอ้างอิง โดยถ้าเป็นเอกสาร ที่ได้รับการยอมรับแล้ว แต่รอการตีพิมพ์ ควรระบุด้วยคำว่า "in press" หรือ "forthcoming" ส่วนเอกสารต้นฉบับ ที่ไม่ได้ตีพิมพ์แม้บรรณาธิการจะรับไว้พิจารณาก็ตาม ก็ควรเขียนระบุด้วยคำว่า "unpublished observations" หลีกเลี่ยงการอ้างอิงเอกสารติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เว้นแต่ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญที่หาไม่ได้จากสิ่งตีพิมพ์สาธารณะต่างๆ ซึ่งกรณีนี้ควรอ้างอิงชื่อบุคคล และวันที่ที่ติดต่อสื่อสารภายในวงเล็บด้วย
46
ระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver style)
1. บทความในวารสาร รูปแบบพื้นฐาน: นามสกุลของผู้เขียน อักษรย่อชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อของวารสาร. ปี เดือน วันที่พิมพ์;ปีที่พิมพ์(ฉบับที่พิมพ์):เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้ายของเรื่อง. ตัวอย่าง 1. Halpern SD, Ubel PA, Caplan AL. Solid-organ transplantation in HIV-infected patients. N Engl J Med Jul 25;347(4):284-7. 2. ธีรยุทธ สุขมี. โรค Visceral leishmaniasis ในประเทศไทย ปี รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2549;37:364-7.
47
ระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver style)
2. หนังสือและเอกสารอื่นๆ รูปแบบพื้นฐาน: นามสกุลของผู้เขียน อักษรย่อชื่อผู้เขียน. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. ตัวอย่าง Murray PR, Rosenthal KS, Kobayashi GS, Pfaller MA. Medical microbiology. 4th ed. St. Louis: Mosby; 2002. 2. สุมมนา จิตติเดชารักษ์. หลักเบื้องต้นสำหรับการบูรณะฟันโดยใช้วัสดุ อมัลกัม. เชียงใหม่: หน่วยวิชาทันตกรรมหัตถการ ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2537. รายละเอียดอื่น ๆ ที่เหลือ กรุณาศึกษาด้วยตนเองต่อไปค่ะ
48
รายงานการสอบสวนเบื้องต้นเสนอผู้บริหาร
ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ความเป็นมา ผลการสอบสวนโรค แนวโน้มของการระบาด กิจกรรมควบคุมโรคที่ทำไปแล้ว สรุปความสำคัญ และเร่งด่วน ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ความยาว 1-2 หน้ากระดาษ A4
49
ตัวอย่างรายงานสอบสวนโรค
50
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเขียนรายงาน
ผู้เขียนได้รับความรู้เพิ่มเติมจากขบวนการเขียน เรียบเรียงข้อมูล ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ วางแผนควบคุมและป้องกันโรคต่อไป ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องการสอบสวนทางระบาดวิทยา พัฒนาคุณภาพของการสอบสวนทางระบาดวิทยา
51
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.