งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Civil Engineer (วิศวกรโยธา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Civil Engineer (วิศวกรโยธา)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Civil Engineer (วิศวกรโยธา)
รศ.วิชัย ดร.ศิริชัย ดร.กำพล ผศ.ดร.สสิกรณ์ ดร.ปฤษทัศว์ ผศ.ดร.สรัณกร ด5.รัฐภูมิ ผศ.ดร.ดลเดช ผศ.ดร.ปาจรีย์ อ.วรางค์ลักษณ์ อ.อำพล อ.ชัยวัฒน์ ผศ.ดร.อุดมฤกษ์ ผศ.ทิพย์วิมล อ.กรกฏ อ.บุญพล รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ รศ.ดร.สมบัติ อ.ภัคพงศ์ ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ ดร.ปรีดา อ.ธนวัฒน์ ด5.ดุษฏี Civil Engineer (วิศวกรโยธา) An engineer trained in the design and construction of public works, such as bridges or dams, and other large facilities. อ.ศักดา Structural Engineer (วิศวกรโครงสร้าง) ถนน, สะพาน เขื่อน, ฝาย บ้านเรือน, อาคาร, โกดัง แหล่งน้ำ, ระบบประปา, ระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ Highway Engineer (วิศวกรทาง) Environmental-Sanitary Engineer (วิศวกรสิ่งแวดล้อม-สุขาภิบาล) Survey Engineer (วิศวกรสำรวจ) Soil & Foundation Engineer (วิศวกรปฐพีและฐานราก) Civil Engineer (วิศวกรโยธา) Transportation Engineer (วิศวกรขนส่ง) พวกเราส่วนใหญ่ที่เรียนวิชานี้ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ปี 2 ก็จัดว่ายังใหม่อยู่สำหรับวิชาชีพวิศวกรโยธา ที่พวกเราหลายคนจะยึดเป็นอาชีพหาเลี้ยงตนและครอบครัวไปอีกหลายสิบปี ดังนั้นอาจารย์จึงอยากจะพูดแนะนำวิชาชีพวิศวกรโยธา ให้พวกเราฟังคร่าวๆ กันก่อน ๙๙๙ วิศวกรโยธาหมายถึงอะไร วิศวกรโยธาหมายถึงผู้ที่ถูกฝึกให้ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะต่างๆ เช่น บ้านเรือน อาคาร ถนน สะพาน เขื่อน ฝาย แหล่งน้ำ ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ เป็นต้น เนื่องจากงานก่อสร้างนั้นมีมากมายหลายแขนง วิศวกรโยธาจึงอาจแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้านต่างๆ ได้เช่น วิศวกรโครงสร้าง Structural Engineer เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โครงสร้างอาคารต่างๆ เกือบทุกชนิด ๙๙๙ สำหรับภาควิชาของเราก็จะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้อยู่ 4 ท่าน ได้แก่ อ.ดร.ปฤษทัศว์ ศีตะปันย์ ผศ.สรัณกร เหมะวิบูลย์ อ.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา และ อ.ดร.สสิกรณ์ เหลืองวิชชเจริญ วิศวกรทาง Highway Engineer เชี่ยวชาญในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างถนน ทางด่วน รวมทั้งสะพานทางด่วนต่างๆ ด้วย สำหรับภาควิชาของเราผู้เชี่ยวชาญทางสาขานี้ได้แก่ ท่าน อ.ศักดา ปุณยานันต์ และ อ.บุญพล มีไชโย วิศวกรสำรวจ Survey Engineer มีความเชี่ยวชาญในงานสำรวจ รังวัดต่างๆ งานทำแผนที่เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ทางการทหาร เป็นต้น รวมทั้งก่อนที่จะทำการก่อสร้างอาคารทุกหลัง ทีมสำรวจ จะต้องทำการปักผังอาคาร กำหนดระดับอ้างอิงของอาคาร และระบุตำแหน่งที่จะตอกเสาเข็มทุกต้น ดังนั้น ทีมสำรวจจึงเป็นทีมที่จะต้องเข้าไปใน site ก่อสร้างเป็นทีมแรกเสมอ ในภาควิชาของเราก็มีท่าน อ. ภัคพงศ์ หอมเนียม เป็นผู้เชียวชาญทางด้านนี้ แต่เพียงผู้เดียว วิศวกรขนส่ง Transportation Engineer เป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบสายทางคมนาคม ทั้งในเมืองและชนบท ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้การขนส่งประชากร หรือการขนส่งสินค้าและบริการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองใหญ่ๆ ด้วย ภาควิชาของเราก็มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้รวม 4 ท่านได้แก่ ได้แก่ ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ แตะกระโทก ดร.ปรีดา พิชยาพันธ์ อ.ธนวัฒน์ พลพิทักษ์ชัย และ อ.ดุษฎี สถิรเศรษฐทวี วิศวกรบริหารงานก่อสร้างและวิศวกรโครงการ Construction Management and Project Engineer เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางแผน และควบคุมการก่อสร้าง การประมาณราคาค่าก่อสร้าง การเรียงลำดับงาน การจัดสรรกำลังคน เครื่องจักร และทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประสิทธิ์ภาพมากที่สุด เป็นต้น สำหรับภาควิชาของเรามีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้รวม 3 ท่าน ได้แก่ รศ.วิชัย ฤกษ์ภูริทัต ดร.ศิริชัย ตันรัตนวงศ์ และ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ วิศวกรปฐพีและวิศวกรฐานราก Soil Engineer and Foundation Engineer เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การปรับปรุงคุณ สมบัติของดิน การออกแบบฐานรากของอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยคุณสมบัติของดินนั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละที่ และแม้ในสถานที่ก่อสร้างเดียวกัน คุณสมบัติของดินก็เปลี่ยนแปลงไปตามระดับความลึก ดังนั้นรายวิชาในสาขานี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษามาก อาคารทั้งหลังจะมีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินใต้อาคาร และฐานรากของอาคาร เป็นสำคัญ ภาควิชาของเราก็มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.อุดมฤกษ์ ปานพลอย ดร.ชูศักดิ์ เตชะวิเศษ อ.ทิพย์วิมล แตะกระโทก และ อ.กรกฏ นุสิทธิ์ วิศวกรสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล Environmental and Sanitary Engineer เป็นสาขาที่กว้างมาก ทำงานหลายด้าน เกี่ยวกับ การประปา การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะ การควบคุมมลพิษ การควบคุมน้ำและของเสียที่ปล่อยออกมาจาก บ้านเรือน โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น ภาควิชาของเราก็มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหลายท่าน ได้แก่ อ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ อ.ดร.ปาจรีย์ ทองสนิท อ.วรางค์ลักษณ์ ซ่อนกลิ่น อ.อำพล เตโชวาณิชย์ และ อ.ชัยวัฒน์ โพธิ์ทอง วิศวกรแหล่งน้ำ Water Resource Engineer เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิเคราะห์ปริมาณน้ำ ปริมาณน้ำฝน น้ำท่า น้ำใต้ดิน การขุดเจาะน้ำบาดาล การวางระบบชลประทาน งานสร้างเขื่อน ฝาย ทำนบ ต่างๆ รวมทั้งการวางระบบรางระบายน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในสถานที่สาธารณะต่างๆ ด้วย สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางสาขานี้ ในภาควิชาของเรา มี 2 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี และ ผศ.ดร.สมบัติ ชื่นชูกลิ่น จริงๆ แล้ว วิศวกรที่ทำงานในสาขาของวิศวกรรมโยธานั้น ยังอาจแบ่งเป็น วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น วิศวกรลม Wind Engineer วิศวกรแผ่นดินไหว Earthquake Engineer เป็นต้น พวกเราที่เข้ามาเรียน จะใช้เวลาทั้งหมดเพื่อศึกษารายวิชาต่างๆ ให้ครอบคลุม งานในเกือบทุกสาขาของวิศวกรรมโยธา ดังนั้นจึงเป็นการเรียนที่หนักมาก แต่หลังจากจบการศึกษาไปแล้ว พวกเราก็จะได้ไปทำงานในแต่ละด้าน หรือหลายๆ ด้านไม่เหมือนกัน บางคนอาจไปทำงานทางด้านการควบคุมการก่อสร้าง บางคนอาจไปเป็นวิศวกรผู้ออกแบบ บางคนอาจไปทำงานทางด้านสำรวจ หรือทำงานก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ เป็นต้น รุ่นพี่ของพวกเรา ที่เป็นศิษย์เก่าหลาย ท่านที่ ได้เข้าทำงานในบริษัทขุดเจาะน้ำมันอยู่กลางทะเล ครั้งละหลายสัปดาห์ ก็มี ดังนั้น ขอให้พวกเราตั้งใจเรียน ศึกษาหาความรู้ให้เป็นพื้นฐานเข้าไว้ ในทุกสาขา โดยที่ถ้าหากว่าเราสนใจสาขาไหนเป็นพิเศษ ก็อาจจะตั้งใจเรียนวิชาในสาขานั้นๆ เป็นพิเศษ ก็ได้ Water Resource Engineer (วิศวกรแหล่งน้ำ) etc. (ฯลฯ) Construction Management and Project Engineer (วิศวกรโครงการ-บริหารงานก่อสร้าง)

2 วิศวกรสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล
Structural Analysis I, II Mechanics of Material I, II Civil Engineering Materials & Testing Reinforce Concrete Design I, II Design of Timber and Steel Concrete Technology I Prestressed Concrete Design วิศวกร โครงสร้าง วิศวกร สำรวจ วิศวกรปฐพี Surveying Applied Surveying Airphoto Interpretation Geology for Engineering Foundation Design Soil Mechanics Highway Engineering Transportation Engineering Highway Materials Traffic Engineering Physics I, II / Chemistry I Calculus I, II, III, IV / Engineering Drawing I, II / Introduction to Computer Engineering Tools & Operations / Information Technology วิศวกร ขนส่ง Engineering Mechanics I, II Fluid Mechanics Hydraulic Engineering Principle of Hydrology Sanitary Unit Process Solid Waste Management Water Supply & Sanitary Engineering ต่อไปนี้คือ ตัวอย่างรายวิชาที่พวกเราจะต้องทำการศึกษา ซึ่งรายวิชาเหล่านี้อาจแยกเป็นรายวิชาของสาขาต่างๆ ได้ วงกลม สีเหลือง ตรงกลางหมายถึงวิชาพื้นฐาน ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แคลคูลัส เขียนแบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลศาสตร์ 1-2 ซึ่งนิสิตทุกคนจะต้องเรียนก่อน ที่จะเรียนรายวิชาเฉพาะสาขา ซึ่งยากกว่าแต่น่าสนใจกว่า ต่อไป ที่เห็นเป็นวงกลมสีแดงในพื้นสีเขียวนี้ เป็นรายวิชาของ สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง ได้แก่ กลศาสตร์วัสดุ 1-2 วิเคราะห์โครงสร้าง 1-2 การทดสอบวัสดุทางวิศวกรรมโยธา คอนกรีตเทคโนโลยี การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง ซึ่งวิชาเหล่านี้เป็นวิชาที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาออกแบบทั้งหลาย ถึงแม้ว่า เราอาจไม่ได้ไปทำงานเป็นวิศวกรผู้ออกแบบ แต่เราก็ควรที่จะสามารถออกแบบได้ เพราะบางครั้งอยู่ใน site งานก่อสร้าง แบบที่ได้รับจากผู้ออกแบบ อาจก่อสร้างไม่ได้จริง ก็อาจจะต้องทำการแก้ไข โดยการออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้ก่อสร้างได้จริง เป็นต้น และวิศวกรทุกคนหลังจากจบแล้ว ก็อาจจะมีผู้มาว่าจ้างให้ทำการออกแบบ เป็นรายได้พิเศษเพิ่มเติมจากงานประจำได้ด้วย กลุ่มวิชาต่อไป ก็คือ รายวิชาสำหรับ สาขาวิศวกรรมสำรวจ ได้แก่วิชา Survey กับ Applied Survey ส่วนวิชา การแปรภาพถ่ายทางอากาศ ก็ยังไม่ได้สอนกันนะครับ กลุ่มวิชาสำหรับ วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมทางหลวง กลุ่มวิชาสำหรับวิศวกรโครงการและบริหารงานก่อสร้าง Engineering Economics Construction Technique & Management Construction Specification & Construction วิชาพื้นฐาน วิศวกรสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล วิศวกรโครงการ-บริหารงานก่อสร้าง

3 วิศวกรสิ่งแวกล้อม สุขาภิบาล
Highway Engineering Transportation Engineering Highway Materials Traffic Engineering Geology for Engineering Foundation Design Soil Mechanics Mechanics of Material I, II Prestressed Concrete Design Structural Analysis I, II Civil Engineering Materials & Testing Concrete Technology I Design of Timber and Steel Reinforce Concrete Design I, II วิศวกร โครงสร้าง วิศวกร สำรวจ Surveying Applied Surveying Airphoto Interpretation วิศวกรปฐพี Physics I, II / Chemistry I Calculus I, II, III, IV / Engineering Drawing I, II / Introduction to Computer Engineering Tools & Operations / Information Technology วิศวกร ขนส่ง Engineering Mechanics I, II Fluid Mechanics Hydraulic Engineering Principle of Hydrology Sanitary Unit Process Solid Waste Management Water Supply & Sanitary Engineering Engineering Economics Construction Technique & Management Construction Specification & Construction วิชาพื้นฐาน วิศวกรสิ่งแวกล้อม สุขาภิบาล วิศวกรโครงการ-บริหารงานก่อสร้าง

4 Mechanics of Materials I, II Engineering Mechanics I, II
(304211, ) Static Analysis: (1) Equilibrium equations: ∑Fx = 0; ∑Fy = 0; ∑Fz = 0; ∑M = 0; ∑M = 0; ∑M = 0 (2) Stress-strain relation: s = Ee (3) Strain-displacement relation: e = DL/L Elastic Body Engineering Mechanics I, II (302111, ) Strength of Materials, 4th Edition, by Andrew. Pytel & Ferdinand L. Singer Static Analysis: (1) Equilibrium equations ∑Fx = 0; ∑Fy = 0; ∑Fz = 0; ∑M = 0; ∑M = 0; ∑M = 0 Rigid Body Dynamics Analysis: ∑F = ma Mechanics of Materials, by Ferdinand. P. Beer, et. al.

5

6 Chapter 1: Simple Stress
(1) Analysis of Internal Forces (2) Normal Stress (4) Bearing Stress (3) Shearing Stress (5) Thin-Walled Pressure Vessels

7 Chapter 2: Simple Strain
(1) Stress-Strain Diagram (2) Hooke’s Law: Axial & Shearing Deformations P (3) Poisson’s Ratio (4) Statically Indeterminate Members (5) Thermal Stresses

8 Chapter 3: Torsion (1) Derivation of Torsion Formulas
(2) Flanged Bolt Couplings (3) Longitudinal Shearing Stress (4) Torsion of Thin-Walled Tubes; Shear Flow (5) Helical Springs

9 Chapter 4: Shear & Moment in Beams
(2) Moving Loads

10 Chapter 5: Stresses in Beam
(1) Derivation of Flexure Formula (2) Economic Sections (3) Derivation of Formula for Horizontal Shearing Stress (4) Design for Flexure and Shear

11 Chapter 6: Beam Deflections
Determinate Beams (1) Double Integration Method (2) Theorem of Area-Moment Method (3) Moment Diagram by Parts (4) Conjugate-Beam Method (5) Superposition Method

12 Chapter 7: Restrained Beams
(1) Propped & Restrained Beams Indeterminate Beams (2) Double Integration & Superposition Methods (3) Area-Moment Method (4) Design of Restrained Beams

13 Chapter 8: Continuous Beams
Indeterminate Beams (1) Three-Moment Equation (2) Moment Distribution

14 Chapter 9: Combined Stresses
(1) Axial + Flexural Loads (2) Mohr’s Circle & Variation of Stresses at Point (3) Transformation of Strain Components & Strain Rosette

15 Chapter 10: Reinforced Beams
(1) Composite Beams (3) Design of RC Beam (2) Reinforced Concrete Beams (4) Tee Beam of Reinforced Concrete

16 Chapter 11: Columns (1) Critical Load
(2) Long Columns & Euler’s Formula (1) Critical Load (3) Intermediate Columns Long Short (4) Eccentrically Loaded Columns

17 Chapter 12: Riveted Bolted, and Welded Connections

18 Chapter 13: Special Topics
(1) Repeated Loading; Fatigue Chapter 13: Special Topics (2) Stress Concentration (5) Impact or Dynamic Loading (3) Theories of Failure (4) Energy Methods (6) Shearing Stresses in Thin-Walled Members (7) Shear Center (8) Unsymmetrical Bending (9) Curved Beams

19 Chapter 14: Inelastic Action
(1) Stress-Strain Diagrams (2) Residual Stress

20 การเพิ่มคำศัพท์ในงานวิศวกรรมโยธา
อาชีพทุกอาชีพ มีคำศัพท์เฉพาะในวงการของตนเอง ตัวอย่างเช่น ทนายความ คดีแพ่ง คดีอาญา ความผิดลหุโทษ รัษฎากร ฯลฯ (กระทง) แพทย์ ต่อมพิทูอิตาลี่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ดัชนีมวลกาย ฯลฯ (ยูนิต) เศรษฐศาสตร์ รายได้ประชาชาติ งบดุล งบประมาณแผ่นดิน (พันล้านบาท) วิศวกรรมโยธา หน่วยแรง ความเค้น ความเครียด แรงดึง ฯลฯ (นิวตัน) วัยรุ่น ชิวชิว กิ๊ก

21 ความแตกต่างระหว่างวิศวกร, ช่างและบุคลทั่วไป
บ้าน บุคคลทั่วไป ช่าง วิศวกรโยธา คำนวณแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา ก่อสร้าง วิเคราะห์

22

23

24

25

26


ดาวน์โหลด ppt Civil Engineer (วิศวกรโยธา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google