งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม Visual Basic

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม Visual Basic"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม Visual Basic

2

3 การเรียกใช้ Code Editor

4 ส่วนประกอบของ Code Editor

5 การเขียนคำสั่งในรูปแบบต่าง ๆ
การแบ่งคำสั่งบรรทัดหนึ่งออกเป็นหลายบรรทัด เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรม การใส่คำสั่งต่าง ๆ ให้จบภายใน 1 บรรทัด บางครั้งอาจทำให้คำสั่งนั้นยาวเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน จึงมีวิธีแตกบรรทัดหนึ่งออกเป็นหลายบรรทัดได้ ด้วยการใช้ตัวอักขระช่องว่าง ตามด้วยอักขระ _ (UnderScorll) ดังตัวอย่าง เช่น MsgBox "ยินดีต้อนรับคุณ " & Text1.Text & " เข้าสู่โปรแกรม", _ vbOKOnly, "MsbBox"

6 การรวมคำสั่งหลายบรรทัดในบรรทัดเดียว
การเขียนโปรแกรมใน Visual Basic สามารถรวมคำสั่งมากกว่าหนึ่งคำสั่งให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน โดยใช้เครื่องหมาย : ในการแยกแต่ละคำสั่งออกจากกัน ตัวอย่างเช่น I = 1 N = 0 Text1.Text = “” สามารถรวมเป็นคำสั่งเดียวกันได้ดังคำสั่งข้างล่าง I=1 : N=0 : Text1.Text = “”

7 การใส่คำอธิบายสำหรับโปรแกรม (Comment)
การเขียนโปรแกรมสามารถเพิ่มคำอธิบายสำหรับคำสั่งโปรแกรมในหน้าต่าง Code Editor ได้เพื่อช่วยให้ทำความเข้าใจกับคำสั่งที่พิมพ์ได้ง่ายขึ้น และเป็นการอำนวยความสะดวกในการแก้ไขโปรแกรมในภายหลัง ทำให้สามารถแก้ไขโปรแกรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถใส่คำอธิบายได้ด้วยการใช้อักขระ ' ซึ่งเป็นอักขระที่บอกให้โปรแกรมไม่ต้องสนใจข้อความที่อยู่หลังอักขระนั้น ตัวอย่าง ' Test Program Total = Val(Text1.Text) ' นำค่าใน Text1.Text แปลงเป็น Integer และเก็บไว้ใน Total

8 ตัวแปร (Variables) ตัวแปร (Variable) คือชื่ออ้างอิงที่ตั้งขึ้นสำหรับจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราว ตัวแปรที่กำหนดขึ้นมาจะต้องประกอบด้วยชื่อและชนิดของข้อมูล (Data Type) ที่ตัวแปรเก็บได้ โดยขนาดของตัวแปรจะขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้ว่ามีขนาดมากน้อยเพียงไร

9 การประกาศค่าตัวแปร (Variable Declaration)
การประกาศค่าตัวแปร จะเป็นการบอกโปรแกรมว่ามีตัวแปรเพื่อให้สามารถนำตัวแปรนี้ไปใช้ในโปรแกรมได้ การประกาศตัวแปร จะใช้คำสั่ง Dim (Dimension) ดังรูปแบบต่อไปนี้ Dim <ชื่อตัวแปร> [ As Type] หรือ Dim ชื่อตัวแปร As ชนิดข้อมูล ,ชื่อตัวแปร As ชนิดข้อมูล ,…

10 ขอบเขตการประกาศตัวแปร (Scope of variables)
การประกาศตัวแปรแบบ Private ตัวแปรที่ประกาศแบบนี้ คือ ตัวแปรที่ประกาศอยู่ภายใต้โปรแกรมย่อย (Procedure) ซึ่งจะมีขอบเขตการทำงานเฉพาะภายในโปรแกรมย่อยนั้นเท่านั้น โปรแกรมย่อยอื่น ๆ ไม่สามารถอ้างอิงหรือเรียกใช้งานได้ โดยการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรดังกล่าวในโปรแกรมย่อยหนึ่ง จะไม่ส่งผลกับตัวแปรอื่น ๆ ภายในฟอร์มเดียวกัน การประกาศตัวแปรแบบ Public ตัวแปรที่ประกาศแบบนี้ คือ ตัวแปรที่ประกาศไว้ในส่วนของ General Declaration ซึ่งแตกต่างจากแบบ Private คือขอบเขตการทำงานของตัวแปรแบบ Public จะสามารถอ้างอิงไปได้ทุก ๆ โปรแกรมย่อยภายในฟอร์มเดียวกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรจะส่งผลกับทุก ๆ โปรแกรมย่อยที่เรียกใช้งานตัวแปรนั้น

11 ค่าคงที่ (Constants) ค่าคงที่แบบกำหนดเอง (User Defined Constant) เป็นค่าคงที่ ที่ผู้เขียนโปรแกรมเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเองโดยใช้คำสั่ง Const ในการประกาศค่า ค่าคงที่สามารถประกาศได้ในลักษณะเดียวกับการประกาศตัวแปร ค่าคงที่แบบเรียกใช้ได้ทันที (Pre Defined Constant) ค่าคงที่ ที่ถูกติดตั้งไว้พร้อมกับ Visual Basic โดยในขณะกำลังเขียนโปรแกรมพิมพ์พยัญชนะตัวแรกของค่าคงที่ก็จะมีค่าคงที่ ที่มีพยัญชนะขึ้นต้นที่ผู้เขียนโปรแกรมป้อนมาให้เลือก ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษของโปรแกรมที่เรียกว่า Auto List Member

12 ชนิดของข้อมูล (Data Type)

13 ตัวดำเนินการ (Operator)

14 ตัวดำเนินการตรรกะ (Logical Operation)

15 ตัวดำเนินการในการเปรียบเทียบ (Comparison Operation)

16 ลำดับการดำเนินการ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 พื้นฐานการเขียนโปรแกรม Visual Basic

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google