งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพระพุทธศาสนา Philosophy of Sufficiency Economics and Buddhism หมู่ 400 รหัสวิชา 01387103 ผู้บรรยาย อาจารย์ ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพระพุทธศาสนา Philosophy of Sufficiency Economics and Buddhism หมู่ 400 รหัสวิชา 01387103 ผู้บรรยาย อาจารย์ ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพระพุทธศาสนา Philosophy of Sufficiency Economics and Buddhism
หมู่ 400 รหัสวิชา ผู้บรรยาย อาจารย์ ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว T LH3-206

2 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ครั้งที่ 3 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของการทำชีวิตให้มีความสุข
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของการทำชีวิตให้มีความสุข

4 ทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
วิถีสู่ความพอเพียง ทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

5 ปรับวิธีคิด เริ่มด้วยปัญญา (ถ้าใจมาปัญญาก็เกิด) พกพาความกล้าหาญ
เพียรทนทานทุกสถานการณ์

6 อยู่อย่างพอเพียงในยุคสมัยที่ใคร ๆ เขาแข่งกันรวย
ในท่ามกลางสายตาคนอื่นที่มองว่าเราจน เพราะ...ไม่มีปัญญาหาของดี ๆ มาใช้ หรือไม่รู้จักใช้เงิน เป็นคนไร้สีสัน ไร้รสนิยม เราจะอยู่แบบค้านสายตาของเพื่อน ๆ หรือชาวบ้านได้หรือ อยู่อย่างพอเพียงในยุคบริโภคนิยมไม่ใช่เรื่องง่าย เขาเป่าหู ล้างสมองตั้งแต่ตื่นตอนเช้าจนเข้านอน ก่อให้เกิดวัฒนธรรม “กินเกินได้ ใช้เกินมี” เป็นหนี้เป็นสิน (สื่อสัญญะ)

7 ถ้าเชื่อว่า เป้าหมายของชีวิต คือ เงิน
ถ้าเชื่อว่าเงินสามารถบันดาลความสุขได้ เราก็จะวิ่งตามหาเงิน หาเงินให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

8 รู้ว่า คุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร
แต่ ถ้าเรารู้ตัวว่า “เราเป็นเรา” ถ้ารู้ว่า “เป้าหมายชีวิต คือ ความสุข” ถ้ารู้ว่า ความสุข คือ การอยู่แบบพอเพียง เราก็แสวงหาความสุขด้วยการอยู่แบบพอเพียง รู้ว่า คุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร

9 ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ แล้วจะสำเร็จผล
ความเพียรทน ยุคนี้คนไม่เชื่อว่า “ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม” คนทุกวันนี้ต้องการคำตอบที่สำเร็จรูป (ไม่ต้องคิดอะไรมาก) ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ แล้วจะสำเร็จผล ไม่อยากคิดให้เสียเวลา

10 ต้นไม้หน้าบ้านที่สร้างใหม่ก็อยากได้ต้นที่โตแล้ว
รอให้มันโตไม่ไหว

11 ถ้าตั้งคำถามผิด คำตอบทั้งชีวิตจะผิดหมด
รอด...พอเพียง...ยั่งยืน ถ้าตั้งคำถามผิด ...ก็ได้คำตอบผิด ถามกันมาตั้ง 50 ปีว่า ทำอย่างไรจึงจะ “รวย” แต่ไม่รวยสักที แสดงว่าถามผิด ตอบผิดมาตลอด ถ้าตั้งคำถามผิด คำตอบทั้งชีวิตจะผิดหมด

12 ตั้งคำถามผิด ต้องคิดคำถามใหม่
วันนี้ต้องตั้งคำถามใหม่ว่า ทำอย่างไรจึงจะ “รอด” รอดจากความยากจนซ้ำซาก ....รอดจากหนี้สินรุงรัง รอดจากวงจรอุบาทว์ของหนี้สิน

13 พอเพียง พอเพียง แปลว่า พึ่งตนเองได้ ช่วยตัวเองให้ได้สัก “เศษหนึ่งส่วนสี่” พึ่งตนเอง แปลว่า ทำกินทำใช้เองบ้าง ลดค่าใช้จ่าย อยู่แบบพอเพียง แปลว่า ต้องจัดระเบียบชีวิตใหม่ อยู่แบบเดิมต่อไปไม่ได้แล้ว ไม่ใช่อยากกินอะไรก็กิน อยากซื้ออะไรก็ซื้อ อยากทำอะไรก็ทำ อยู่อย่างพอเพียง แปลว่า อยู่อย่างมีหลักการ หลักธรรม ความถูกต้อง ดีงาม

14 เพราะโลกวันนี้มีระบบเดียว คือ ทุนนิยม
มั่นคง...ยั่งยืน การทำมาหากินทุกวันนี้ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะถ้าจะหวังพึ่งตลาดทำเพื่อขาย ต้องแข่งขันสูงและทุกรูปแบบ เพราะโลกวันนี้มีระบบเดียว คือ ทุนนิยม มวยวัดบ้านนอก จะหาญไปสู้กับมวยค่ายใหญ่ เพราะเวทีทุนนิยมไม่มีพิกัดน้ำหนัก เขาเรียกว่า “ตลาดเสรี”

15 มั่นคงและยั่งยืนได้อย่างไร
หลักหนึ่ง คือ พึ่งตนเองให้มากที่สุด ทำกิน ทำใช้ ก่อนทำขาย หลักสอง คือ สร้างเครือข่ายในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เรามีความพร้อมทั้งต้นทุนทางปัญญาและต้นทุนทางสังคม

16 จากเล็กไปหาใหญ่ ความคิดที่จะรวยเร็ว รวยลัด ทำให้ใจกล้าลงทุน ลงแรง ทำอะไรใหญ่โต มักจะใหญ่เกินไป เหมือนคนหิวข้าว มักตาโตกว่าท้อง เริ่มต้นใหญ่ถ้าไปไม่ดีก็เล็กลงเรื่อย ๆ ทุนก็เล็ก ใจก็ฝ่อ กำลังก็ถดถอย

17 เปลี่ยนการมองโลก มองชีวิต
จากในไปสู่นอก การเปลี่ยนแปลงที่ดี มาจากข้างใน ไม่ใช่เพราะใครสั่งหรือบังคับ เป็นอะไรที่ “ระเบิดจากข้างใน” จากในไปสู่นอก แปลว่า เปลี่ยนจากจิตสำนึกไปสู่พฤติกรรม เปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นแบบอย่าง ต้องรู้จักตัวเอง เปลี่ยนการมองโลก มองชีวิต

18 จากล่างไปสู่บน เจดีย์สร้างจากฐานราก จากล่างไปสู่บน
เจดีย์สร้างจากฐานราก จากล่างไปสู่บน ถ้าชุมชนเข้มแข็ง สังคมก็เข้มแข็ง ประเทศชาติก็อยู่ได้ สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง โอทอป

19 ถอยไปตั้งหลัก Back to the Source คืนสู่ธารชีวิต
Back to the Roots คืนสู่รากเหง้า Back to Basic คืนสู่ความเรียบง่าย Back to the Nature คืนสู่ธรรมชาติ

20 วิธีทำ วิธีจัดการ วิธีคิด
• “ทำเป็นขั้นเป็นตอน จนพออยู่ พอกิน พอใช้ ..” • ไม่ใช้อำนาจ วิธีทำ • ไม่แยกส่วน • “ไม่ทำ โครงการ แต่สร้างระบบ” วิธีจัดการ • ไม่เลียนแบบ • ไม่คิดแต่จะทำเพื่อขาย • ไม่ Top-down ปูพรม แต่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง วิธีคิด • “ขึ้นต้นไม้ทางต้น อย่าขึ้นทางปลาย” • “เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ทำกินทำใช้เองทุกอย่าง” • “กินเป็น ใช้เป็น อยู่เป็น – มีความสุข” • “ไม่เอาเงินนำหน้า ปัญญาตามหลัง”

21 จบการบรรยาย ครั้งที่ 3


ดาวน์โหลด ppt ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพระพุทธศาสนา Philosophy of Sufficiency Economics and Buddhism หมู่ 400 รหัสวิชา 01387103 ผู้บรรยาย อาจารย์ ดร.ธีรัตม์ แสงแก้ว.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google