งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง ภูมิปัญญาและบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง ภูมิปัญญาและบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง ภูมิปัญญาและบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา เรื่อง ภูมิปัญญาและบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

2 ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา
คือ ความรู้ความสามารถทักษะความชำนาญที่สร้างสรรค์โดยคนไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และประเทศชาติในสมัยอยุธยาปรากฏภูมิปัญญาไทยขึ้น โดยการถ่ายทอดออกมาทางศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปัจจัยพื้นฐานของการสร้างภูมิปัญญา สมัยอยุธยา ๑.วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ๒.ความศรัทธาในสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ๓.การติดต่อกับชนชาติอื่น

3 ศิลปกรรม แบ่งออกเป็น 6ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลป์ นาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ จิตรกรรมสมัยอยุธยา เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ภาพจิตรกรรมมักเป็นภาพพุทธประวัติทศชาดกและไตรภูมิ จิตรกรรม ในสมัยอยุธยาตอนต้นรับอิทธิพลศิลปะแบบลพบุรี (ขอม) สุโขทัย และศิลปะลังกา นิยมใช้สีขาว แดง ดำ และปิดทอง บนภาพ ในสมัยอยุธยาตอนกลางรับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัย ใช้สีระบายภาพมากขึ้นอีกครั้ง ช่างของอยุธยาได้พัฒนาความสามารถโดยการนำสีต่างๆ เช่น เขียว ฟ้า หรือม่วงมาใช้ ภาพวาดสีสดใสทีชีวิตชีวา โดยมีลักษณะภาพบุคคลและลวดลายเป็นแบบอยุธยา แต่เขียนภาพทิวทัศน์ตามแบบจีน ภาพจิตรกรรมพนังลายภายในกรุประปรางค์

4 ประติมากรรม สมัยอยุธยานิยมสร้างพระพุทธรูปแบบศิลปะอู่ทอง ซึ่งแพร่หลายอยู่ในบริเวณแถบนี้ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ความนิยมนี้สืบต่อมาจนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง คือ จะมีไรพระศกและชายจีวรปลายตัดเป็นเส้นตรง แบบทรงเครื่องน้อย แบบทรงเครื่องใหญ่อย่างกษัตริย์ทรงมงกุฎยอดแหลม สมัยอยุธยาตอนปลายนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งมี ๒ แบบ คือแบบทรงเครื่องใหญ่อย่างกษัตริย์ทรงมงกุฎยอดแหลมและแบบทรงเครื่องน้อย

5 สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม หมายถึง ศิลปะในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๙๑ เมื่อแรกตั้งกรุงศรีอยุธยาไทยได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมจึงนิยมสร้างตามศิลปะแบบลพบุรี โดยมักสร้างพระสถูปที่ที่เป็นหลักของพระอารามเป็นปรางค์ตามแบบเขมร ดังเช่นที่วัดพุทธไธสวรรย์ วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ เป็นต้น ยุคที่๑ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)จนสิ้นสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) วัดราชบรูณะ วัดมหาธาตุ

6 พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลก บรรดาช่างหลวงจึงได้รับเอาศิลปะแบบสุโขทัยเข้ามาเผยแพร่ในอยุธยา จึงเกิดความนิยมสร้างพระสถูปเป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัย แต่ดัดแปลงให้สูงชะลูดกว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยอยุธยา เช่น พระเจดีย์ใหญ่ ๓ องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นต้น ยุคที่2 ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนสิ้นสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙(พระเจ้าท้ายสระ) พ.ศ.๒๑๗๒-๒๒๗๕ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงปราบปรามเขมรกลับมาอยู่ในอำนาจของไทยอีก ไทยจึงได้รับเอาวัฒนธรรมเขมรเข้ามาใหม่ ลักษณะสถาปัตยกรรมจึงเป็นแบบอย่างศิลปะเขมร เช่น ปราสาทพระนครหลวง พระปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนาราม นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขึ้นด้วย ซึ่งสร้างที่วัดชุมพลนิกายาราม บางปะอิน เป็นต้น พระเจดีย์ใหญ่ ๓ องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล

7 พระราชวังนารายณ์นิเวศน์
ยุคที่3 ตั้งแต่สมัยพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)จนถึงสิ้นสมัยอยุธยา สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้จ้างช่างผู้เชี่ยวชาญตะวันตกออกแบบและสร้างกำแพงเมือง ป้อมปราการ ปราสาทพระราชวัง เป็นต้น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ปรากฏสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก เช่นพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ สร้างเป็นตึกสองชั้นแบบตะวันตก มีการวางท่อส่งน้ำคล้ายระบบประปาส่งน้ำจากทะเลชุบศร และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ห้วยซับเหล็กเข้ามายังพระราชวัง พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๑๐ไทยยังคงนิยมสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเหมือนยุคที่ ๓ เช่น ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมุมแต่ละเหลี่ยมจะย่อมุมแบ่งออกไปอีกสามมุมรวมเป็นสิบสองมุม พระราชวังนารายณ์นิเวศน์ นอกจากสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาแล้ว ในสมัยอยุธยายังมีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก

8 ประณีตศิลป์ งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยามีความงดงามเหนือศิลปะแบบอื่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ ๓.เครื่องมุก เป็นงานที่ใช้เปลือกหอยมุกมาเลื่อยฉลุลาย แล้วนำมาปะติดด้วยรักประดับภาชนะต่างๆ เช่น ตู้ บานประตู หน้าต่าง เป็นต้น เครื่องมุก สมัยอยุธยามีฝีมือประณีตงดงามมาก โดยเฉพาะบานประตูพระอุโบสถประดับมุก ซึ่งเริ่มสร้างครั้งแรกในรัชกาลสมเด็จพระบรมธิราชที่๓ (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)ซึ่งงดงามมาก ๑.เครื่องไม้จำหลัก เช่น บานประตู พระพุทธรูป มณฑป ๕ ยอด ตู้เก็บหนังสือ นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้จำหลักรูปประติมากรรมประเภทลอยตัว เช่น กินรี ครุฑ สัตว์ในนิยาย เป็นต้น ๕.เครื่องทองประดับ งานที่พบ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองพระกร แหวนตรา เป็นต้น ๒.ลายรดน้ำ ลายรดน้ำประกอบด้วย การลงรักเขียนลายด้วยน้ำยาหรดาล และปิดทองรดน้ำ ทำได้ทั้งบนแผ่นไม้ แผ่นโลหะ พื้นปูน ผิวเครื่องเขิน ดินเผา ฯลฯ ผลงานที่พบ เช่น บานประตู หน้าต่างโบสถ์และวิหาร ตู้พระธรรม เป็นต้น ๔.เครื่องถม งานประณีตศิลป์เกี่ยวกับการออกแบบลวดลาย มีเครื่องถมดำ เครื่องถมเงิน เครื่องถมทอง และเครื่องถมตะทอง ซึ่งก็คือถมเงินที่มีทองแต้มระบายตามลายที่เป็นดอก เป็นช่อได้ระยะกัน

9 นาฏศิลป์ นิยมเล่นเป็นประเภทละคร เล่นเป็น 3 ประเภท คือ
ละครชาตรี มีผู้แสดง ๓ คน คือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวตลก (เป็นยักษ์ หรือฤาษี) เครื่องดนตรีที่ใช้มี ปี่ ๑ เลา โทน ๑ คู่ กลองเล็กหรือกลองชาตรี ๑ คู่ และฆ้อง ๑ คู่ ผู้แสดงเป็นชายล้วน มุ่งตลกขบขันเป็นหลัก และต้องแสดงให้โลดโผนด้วย ละครนอก ดัดแปลงมาจากละครชาตรี มีการเพิ่มตัวแสดงให้มีพระรอง นางรอง เสนา นางกำนัล เป็นละครชาวบ้านตามรสนิยมชาวบ้าน ดำเนินเนี้อเรื่องรวดเร็ว ตลกขบขัน โลดโผน เช่น เรื่องพิกุลทอง สังข์ทอง คาวี สังข์ศิลป์ชัย เป็นต้น ละครใน เกิดภายหลังละครนอก ผู้แสดงเป็นนางใน พวกนางรำฟ้อนในราชสำนัก

10 ดุริยางศิลป์ เป็นศิลปะสาขาหนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งบอกความเจริญและอารยธรรมของชาติ ดนตรีไทยประกอบด้วยเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่ต้องใช้ศิลปะที่เรียกว่า จังหวะ ทำนอง และการประสานเสียงประกอบกันเป็นวง สมัยอยุธยามีดนตรีเพียง ๓ ประเภท ได้แก่ วงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ให้ทำนอง ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จระเข้ และขลุ่ย ส่วนที่ให้จังหวะ ได้แก่ โทนรำมะนา และฉิ่ง วงปี่พาทย์ เดิมมีเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือ ปี่ใน ตะโพน กลอง ฆ้องวงใหญ่ และฉิ่ง ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลายได้เพิ่มระนาดเอกเข้ามาประสมในวงด้วย วงมโหรี ประกอบด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ และกรับพวงสำหรับคนขับร้องลำนำตีให้จังหวะ สมัยอยุธยาตอนปลายได้เพิ่มขลุ่ย และรำมะนาเข้าไปอีก

11 ภาษาและวรรณกรรม ใช้ภาษาไทย ที่มาจากคำสันสกฤษ แต่งเป็นคำเพื่อใช้ในการเขียนพงศาวดาร จดหมายเหตุต่างๆ และในการแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ที่แต่งขึ้นโดยพระโหธิบดีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 1. ลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เพื่อใช้อ่านในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 4.จินดามณี แต่งโดยพระโหราธิบดีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นหนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรก สอนอ่าน เขียนไวยากรณ์และการแต่งคำประพันธ์หนังสือเล่มนี้ใช้เป็นแบบเรียนมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๕แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 2.ลิลิตยวนพ่าย แต่งในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่งขึ้นเพื่อสดุดีชัยชนะของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสงครามที่มีต่อพระเจ้าติโลกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่ เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติเล่มแรก 5.กาพย์เห่เรือ เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องแสดงออกถึงจินตนาการให้ผู้อื่นเห็นความงามของกระบวนเรือท่ามกลางธรรมชาติสองฝั่งน้ำ ตลอดช่วงสมัยอยุธยา มีวรรณกรรมชั้นเยี่ยมที่ประพันธ์โดยกวี ขุนนางหรือพระมหากษัตริย์ อาจเป็นร้อยกรอง หรือร้อยแก้ว ซึ่งมีมากมายแต่ก็หายสาบสูญไปหลังเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ เหลือวรรณกรรมเรื่องสำคัญๆ มาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 3.กาพย์มหาชาติ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงโปรดเกล้าฯให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งเป็นมหาชาติ จึงเป็นมหาชาติฉบับแรกที่แต่งเป็นร่ายยาวร้อยแก้วสำหรับพระเทศน์ มี ๑๓ กัณฑ์

12 บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   เป็นโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในราชวงศ์สุโขทัยกับพระวิสุทธิกษัตริย์  พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  ประสูติเมื่อ  พ.ศ. ๒๐๙๘  ที่เมืองพิษณุโลกเมื่อพระชนมายุได้  ๙  พรรษา ทรงถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี  เพราะพม่ายึดเมืองพิษณุโลกได้ สวรรคตที่เมืองหาง  ใน พ.ศ. ๒๑๔๘  พระชนมายุได้  ๕๐  พรรษา  เสวยราชสมบัติได้  ๑๕  ปี ในพ.ศ. ๒๑๓๓  สมเด็จพระธรรมราชาสวรรคต  พระนเรศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์และทรงสถาปนาพระเอกาทศรถพระอนุชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราช  พระราชภารกิจของพระองค์  ได้แก่  การทำศึกสงคราม  โดยเฉพาะสงครามครั้งสำคัญ  คือ  สงครามยุทธหัตถี  ที่ทรงรบกับพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย  ซึ่งพระองค์ทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดและถือเป็นพระเกียรติสูงสุด  เป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์

13 พระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  กับพระอัครมเหสี  ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕  เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การกีฬา การล่าสัตว์  การขี่มา ขี่ช้าง และการแข่งเรือ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ - การลดส่วยและงดเก็บภาษีอากรจากราษฎรเป็นเวลา ๓ ปีเศษ  - การประกาศใช้กฎหมายพระราชกำหนดและกฎหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง  - การส่งเสริมงานด้านวรรณกรรม  หนังสือที่แต่งในสมัยนี้  เช่น  สมุทรโฆษคำฉันท์  โคลงทศรถสอนพระราม  โคลงพาลี-สอนน้อง  โคลงราชสวัสดิ์  เพลงพยากรณ์กรุงเก่า  เพลงยาวบางบท ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศนั้น  เจริญรุ่งเรืองมาทั้งประเทศตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และประเทศตะวันตกที่สำคัญ ได้แก่ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส พระพุทธสิหิงค์ - การทำศึกสงครามกับเชียงใหม่และพม่า พ.ศ.๒๒๐๓  และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ลงมาอยุธยาด้วย 

14 อ้างอิง http://personinhistory.exteen.com/page http://m4139t.20m.com/
ภาพจาก Google.com และหนังสือ ประวัติศาสตร์ ๒

15 ภาคพนวก 1.วัดในภาพคือวัดอะไร ก.วัดพระศรีสรรเพชญ์ ข.วัดใหญ่ชัยมงคล
ค.วัดราชบูรณะ ง.วัดมหาธาตุ

16 ตอบผิดครับ ! ลองใหม่นะครับ

17 ++ ถูกต้องนะครับ ++ ข้อต่อไปนะครับ

18 2.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยในการสร้างปัญญาในสมัยอยุธยา
ก.วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ข.กษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ ค.ศาสนา ง.การติดต่อกับชนชาติอื่น

19 ตอบผิดครับ ! ลองใหม่นะครับ

20 ++ ถูกต้องนะครับ ++ ข้อต่อไปนะครับ

21 3.ข้อใดไม่ใช่วรรณกรรมในสมัยอยุธยา
ก.ลิลิตโองการแช่งน้ำ ข.จินดามณี ค.กาพย์มหาชาติ ง. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

22 ++ ถูกต้องนะครับ ++ ข้อต่อไปนะครับ

23 ตอบผิดครับ ! ลองใหม่นะครับ

24 4.พระนารายณ์หลังจากทำศึกกับเชียงใหม่และพม่า และได้อัญเชิญสิ่งใดลงมา
พระพุทธสิหิงค์ 5.ศิลปกรรมแบ่งเป็นกี่ประเภทใหญ่ๆ แล้วมีอะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 6ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลป์ นาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ 6.สมเด็จพระนเรศวรประสูติที่ใด เมื่อไร ที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๐๙๘ 7.สมเด็จพระนเรศวรได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองใด เมืองแครง

25 8.ยกตัวอย่างพระราชกรณียกิจที่สำคัญของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- การลดส่วยและงดเก็บภาษีอากรจากราษฎรเป็นเวลา ๓ ปีเศษ -การทำศึกสงครามกับเชียงใหม่และพม่า พ.ศ.๒๒๐๓ - การประกาศใช้กฎหมายพระราชกำหนดและกฎหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง 9.นาฏศิลป์นิยมเล่นแบบละครที่แบ่งออกเป็นกี่ประเภท คืออะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ละครชาตรี ละครนอก ละครใน 10.พระราชนารายณ์นิเวศน์ ตั้งอยู่ที่ใด ตั้งอยู่ที่เมือง ลพบุรี

26 จัดทำโดย ด.ช. รักษ์ตะวัน พูลสุวรรณ ม.2/1 เลขที่ 2
ด.ช. รักษ์ตะวัน พูลสุวรรณ ม.2/1 เลขที่ 2 ด.ช. เจริญศักดิ์ แซ่นิ้ม ม.2/1 เลขที่ 8 ด.ญ. ณัฐวรา ทับทิมขาว ม.2/1 เลขที่ 19 ด.ญ. จริยา ภู่มณี ม.2/1 เลขที่ 24 ด.ญ. นัฐลินี ปัญโญ ม.2/1 เลขที่ 25 ด.ญ. พิมลฉัตร ไชยหาญ ม.2/1 เลขที่ 27 ด.ญ. วรรณาพร จันทร์แพทย์รักษ์ ม.2/1 เลขที่ 31 ด.ญ. ชญานันท์ ลิ้มวรวรรณ ม.2/1 เลขที่ 32


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง ภูมิปัญญาและบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google