ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เสนอ คุณครู นิตยา เอี่ยมแดง ภาคอีสาน
2
นางสาว อัญธิตรา อยู่ออมสิน ม.5/5 เลขที่ 3
จัดทำโดย นางสาว อัญธิตรา อยู่ออมสิน ม.5/5 เลขที่ 3 นางสาว ณัฐนิช สุดดี ม.5/5 เลขที่ 6 นางสาว ศุภนันท์ แควเวียง ม.5/5 เลขที่ 8 นาย นิติพงศ์ เบ้าทอง ม.5/5 เลขที่ 11 นางสาว บุญญิสา พงษ์ทอง ม.5/5 เลขที่ 18 นางสาว ปติกัญญา จิตรสำรวย ม.5/5 เลขที่ 19 นางสาว จิดาภา ฤทธิชัยฤกษ์ ม.5/5 เลขที่ 22 นางสาว ณัฐนรี พ่วงมี ม.5/5 เลขที่ 28 นาย อภิวัฒน เมืองสุวรรณ ม.5/5 เลขที่ 36
3
ภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่นิยมเรียกกันจนติดปากว่า “ภาคอีสาน ” เป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น มีความหลากหลายทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ด้วยขนาดของภูมิภาคที่กินพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของพื้นแผ่นดินไทย จึงทำให้ภูมิภาคแห่งนี้มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศและมีความหลากหลายของเชื้อชาติประชากรอย่างเห็นได้ชัด
4
ประชากรในภาคอีสานส่วนใหญ่พูดภาษาไทยสำเนียงอีสานซึ่งมีความแตกต่างกันด้านสำเนียงในแต่ละท้องที่ หรือพูดภาษาท้องถิ่นของตนเองที่มีมากมายหลายภาษา แต่ประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในปัจจุบันสามารถพูดสำเนียงไทยภาคกลางได้เป็นอย่างดี ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น
6
ตัวอย่างบทสนทนา เดียว : สบายดีบ่ อันอัน สบายดี เดียว : เจ้าสิไปไส อันอัน : ข่อยซิไปเบิ่งหนัง เดียว : อยู่ไส จักโม่ง อันอัน : เจ้าสิไปกับข่อยบ่ 11 โมง เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เดียว : ผู้ใด๋สิไปเบิ่งกับเจ้าบ้าง อันอัน : บ่ต้องฮู้ดอก เจ้าสิไปบ่ไป เดียว : ฮ่วย! ไปๆๆ
7
เพลงกล่อมลูก นอนสาหล่านอนสาแม่สิกล่อม นอนอู่แก้วนอนแล้วแม่สิกวย สวยพอเพลจั่งลุกมากินข้าว กินข้าวแล้วจั่งค่อยแอ่วกินนม กินนมไผ่ก็บ่อคือนมแม่ นมเพิ่นส้มนมเจ้าจั่งหวาน นอนสาหล่านอนสาแม่สิก่อม นอนหลับแล้วนอนแล้วมิสิกวย แม่ไปไฮ่สิหมกไข่มาหา แม่ไปนาสิหมกปลามาป้อน แม่ไปเลี้ยงม่อนในป่าสวนมอน นอนสาหล่านอนสาเจ้าอย่าแอ่ว
8
ตัวอย่างภาษาอีสาน คำอีสาน คำไทยกลาง หล่า เด็ก อู่ เปล กวย ไกว ไปไฮ่
ไปไร่ เลี้ยงม่อน เลี้ยงไหม สวนมอน สวนหม่อน แอ่ว การออดอ้อน
9
คำทักทายภาษาอีสาน สบายดีบ๊อ แปลว่า สวัสดี สิไปไส แปลว่า จะไปไหน ไปนำแหน่ แปลว่า ไปด้วยได้ไหม ซ่าง มาคักแท้ แปลว่า โอ้ว สุดยอดเลย อีหลีบ่ อย่าตั้วเด้ แปลว่า จริงหรอ อย่าโกหกนะ บ่ ฮู่ จั๊ก หยั๊ง แปลว่า ไม่รู้อะไร ขั่นซั่นบ่เป็นหยัง แปลว่า ถ้าอย่างนั้นไม่เป็นไร อย่าเว้าดู๋หลาย แปลว่า อย่าพูดมาก ฮ่วย!! มะซ่างว่าแถะ แปลว่า ไม่นะ ใครช่างกล้าพูดนะ
10
วัฒนธรรมและภาษา วัฒนธรรมไทยนั้นมีมากมายหลายอย่าง เช่น อาหาร การแต่งกายและการประกอบอาชีพ เป็นต้น ซึ่งภาษาก็เป็นวัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย โดยในแต่ละภาค จะมีภาษาที่ใช้แตกต่างกันไปเรียกว่า “ภาษาถิ่น” สาเหตุของการเกิดภาษาถิ่นนั้นอาจมาจาก ภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น และอิทธิพลจากภาษาอื่น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะเด่นของภาษาที่แตกต่างกันไป…
11
ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและภาษา
เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติ และวัฒนธรรมของชาติ เป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ภายในสังคม ภาษาเป็นตัวแทนการถ่ายทอดพฤติกรรม ต่อสังคม เป็นเครื่องมือทางการเมือง ความศรัทธา และการปกครอง ภาษาจะช่วยบันทึกเรื่องราวในอดีต ภาษาจะเป็นตัวที่สร้างสรรค์สังคม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.