ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยRatanankorn Kunakorn ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
Introduction
2
Bennett T. McCullum เศรษฐศาสตร์การเงินเป็นการศึกษาว่าสถาบันการเงินและการดำเนินนโยบายมีผลกระทบอย่างไรต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ราคาสินค้า ค่าแรง อัตราดอกเบี้ย และปริมาณการจ้างงาน การบริโภคและการผลิต ซึ่งจะศึกษาตัวแปรเหล่านี้ในระดับรวมและระดับย่อยต่างๆกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นระกว้างหรือเศรษฐกิจของทั้งระบบ Bennett T. McCullum, Monetary Economics: Theory and Policy ( New York: Macmillan Publishing Co., 1989 ), p.3.
3
Thomas F. Cargill เศรษฐศาสตร์การเงินเกี่ยวข้องกับ ลักษณะ หน้าที่ และอิทธิพลของสินเชื่อที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจแสดงถึงระดับระดับการจ้างงาน ผลผลิต ราคา และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ บทบาทหน้าที่ของเงินในระบบเศรษฐกิจ ระบบการเงินและสถาบันการเงินที่มีผลต่อปริมาณเงินและสินเชื่อ อิทธิพลของเงินและสินเชื่อที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โครงสร้างและหน้าที่ของธนาคารกลาง การควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลาง เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ Thomas F. Cargill, Money, The Financial System, and Monetary Policy ( Englewood Cliffs, N.J.: Prentice – Hall, Inc., 1979 ),p3.
4
Robert E. Weintraub จุดมุ่งหมาย คือ การกำหนดนโยบายการเงินที่เหมาะสม ดังนั้นต้องทำการศึกษาเรื่อง สถาบันการเงิน อุปทานของเงิน ความต้องการถือเงินและอัตราหมุนเวียนของเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ประชาชาติและตัวแปรมหภาคอื่นๆกับตัวแปรทางการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างดุลการชำระเงินกับพัฒนาการทางการเงิน Robert E. Weintraub, Introduction to Monetary Economics ( New York : The Ronald Press Company, 1970), p.381.
5
ขอบเขตของเศรษฐศาสตร์การเงิน
บทบาทหน้าที่ของเงินในระบบเศรษฐกิจ อุปสงค์และอุปทานของเงิน ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทาน ระบบการเงินและสถาบันการเงิน ที่มีผลต่อปริมาณเงิน กลไกและกระบวนการส่งผ่านเงิน บทบาทและหน้าที่ของธนาคารกลาง
6
วิวัฒนาการ Mercentilism Classic Before Keynes Keynes Monetarist
David Hume : The Quantity Theory ( 1752 ) Classic Before Keynes The Great Depression : 1930 Keynes 1960 Monetarist After Keynes
7
ก่อนหน้าเคนส์ สำนักคลาสสิก – ทฤษฎีปริมาณเงิน – เงินมีความหมาย
บทบาทของตลาด และ บทบาทของรัฐ การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน --- ปริมาณเงินเป็นเครื่องกำหนดราคาสินค้า ระดับราคาแปรผันโดยตรงและได้สัดส่วนกับปริมาณเงิน ปริมาณเงินไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวแปรที่แท้จริง การเปลี่ยนแปลงในตัวแปรที่ไม่ใช่ตัวแปรทางการเงินมิได้เป็นสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้า ปริมาณเงินเป็นสาเหตุ ผลคือ การเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า ปริมาณเงินอยู่ในความดูแลของธนาคารกลาง
8
สมัยเคนส์ ระบบเศรษฐกิจอาจเกิดดุลยภาพได้ โดยยังมีการว่างงานอยู่เป็นจำนวนมากได้ การว่างงานไม่สามารถแก้ไขให้ลดลงโดยการลดค่าแรงที่เป็นตัวเงินตามที่สำนักคลาสสิกได้กล่าวไว้ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโดยธรรมชาติมักไม่มีเสถียรภาพ ไม่เห็นด้วยกับ Say’s Law – “อุปทานย่อมก่อให้เกิดอุปสงค์ในตัวเองเสมอ” เห็นว่า “เงินไม่มีความหมาย” ( Money does not matter ) นโยบายการเงินอย่างเดียวไม่เพียงพอที่ใช้แก้ไขปัญหาต้องใช้นโยบายการคลังร่วมด้วย
9
สมัยหลังเคนส์ Friedman & Schwartz : การที่เศรษฐกิจตกต่ำในปี 1930 มาจากความล้มเหลวของธนาคารกลางและความล้มเหลวในระดับระหว่างประเทศในการป้องกันวิกฤติการณ์สภาพคล่อง มิได้เกิดจาก “เงินไม่ได้มีความหมาย” เงินมีความหมาย – ทฤษฎีปริมาณเงินเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการถือเงิน แต่มิใช่ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต รายได้ที่เป็นตัวเงินหรือระดับราคา การอธิบายต้องอาศัยข้อระบุบางประการจึงนำมาใช้อธิบายได้
10
สมัยหลังเคนส์ ในแง่ผู้ถือทรัพย์สิน เงินเป็นเพียงสินทรัพย์ชนิดหนึ่งที่คนถือไว้เพื่อเป็นการสะสมทรัพย์สิน และในส่วนของธุรกิจ เงินเป็นปัจจัยทุน – ทรัพย์สินประกอบด้วยสิ่งต่างๆที่สามารถก่อให้เกิดกระแสรายได้ รวมทั้งสินทรัพย์มนุษย์ ความต้องการถือเงินขึ้นอยู่กับปัจจัย ทรัพย์สินทั้งหมด ราคาและอัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินชนิดนี้ รสนิยมและความพอใจของผู้ถือทรัพย์สิน
11
สมัยหลังเคนส์ ลัทธิการเงินนิยม
ปริมาณเงินเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ที่เป็นตัวเงิน ในระยะยาว ปริมาณเงินจะมีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆที่เป็นตัวเงิน ตัวแปรที่แท้จริงต่างๆถูกกำหนดโดยปัจจัยที่แท้จริง ในระยะสั้นปริมาณเงินมีผลต่อตัวแปรที่แท้จริง ภาคเอกชนเป็นภาคที่มีเสถียรภาพ ความไม่มีเสถียรภาพเกิดจากการดำเนินนโยบายของรัฐที่ทำให้ปริมาณเงินเติบโตอย่างไม่มีเสถียรภาพ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.