งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์
สามารถชาย จอมวิญญา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

2 ขอบเขตเนื้อหา โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ พม. ในการต่อต้านการค้ามนุษย์
การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ พม. ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

3 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ พม.
สป.พม. (สำนักงานเลขานุการปคม.) พมจ. (ศปคม จังหวัด) พส. สท. ประเทศไทยมีความตระหนักว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และได้พยายามดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้ ได้ประกาศเจตนารมณ์และนโยบายเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ เช่นเดียวกับปัญหายาเสพติด เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยประสานงานหลักในเรื่องนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้มอบหมายให้ส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ดังนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการระดับชาติ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ และเป็นหน่วยประสานงานหลักของกระทรวงฯ ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ทำหน้าที่คุ้มครองช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู เยียวยา ส่งกลับ และคืนสู่สังคม รวมทั้งรับผิดชอบเรื่องการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ รับผิดชอบเรื่องการจัดทำบันทึกข้อตกลงระดับชาติ และระดับภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

4 การดำเนินงานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 เดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์มาบังคับใช้เป็นการเฉพาะ แต่มีการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับมาใช้ให้เหมาะสมกับความผิดโดยมีเจตนารมณ์เพื่อคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เพื่อบริการทางเพศ เช่น สนองความใคร่ อนาจาร เพื่อใช้แรงงาน เช่น เอาคนลงเป็นทาส การแสวงประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย) พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ (เดิม พ.ร.บ. มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็กหญิง พ.ศ ปัจจุบันถูกยกเลิกและประกาศใช้เป็น พ.ร.บ.ฯ ค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 แทน) ต่อมา รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551

5 การดำเนินงานฯ (ต่อ) คณะกรรมการระดับชาติ 2 คณะ
คณะกรรมการ ปคม. – นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คณะกรรมการ ปกค. – รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตามพระราชฯ ดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติ 2 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปคม.) ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, กำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, สั่งการและกำกับดูแลให้มีการศึกษาวิจัยและจัดทำข้อมูลแบบบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปกค.) ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้มีอำนาจหน้าที่จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและแผนประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นชุมชน และประชาสังคม ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนงานและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง, จัดให้มีและกำกับการดำเนินการตามโครงการรณรงค์และการให้การศึกษากับประชาชนทั่วไป, จัดให้มีการรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

6 จัดทำแนวทางการคัดแยกผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์
จัดทำแนวทางการคัดแยกผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังได้จัดทำกลไกการดำเนินงานตามกฎหมายต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. สร้างเครื่องมือการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยการจัดทำขอบเขตและองค์ประกอบในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อให้กรอบและความหมายคำว่าผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นเกณฑ์ให้พนักงานสอบสวนใช้ประกอบการวินิจฉัยและคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

7 อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
กฎกระทรวง 1 ฉบับ 2. ยกร่างอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวง จำนวน 1 ฉบับ คือ กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ (มาตรา 4) – คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

8 อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
ระเบียบ 7 ฉบับ ประกาศ 1 ฉบับ

9 การดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ฯ (ต่อ)
อบรมเผยแพร่ พ.ร.บ.ฯ 10 รุ่น นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดการอบรมเพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ แก่ผู้แทนส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ จัดอบรมไปแล้ว 10 รุ่น ตามโครงสร้างการบังคับบัญชาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 5,088 คน (ประกอบ ด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4,426 คน และเจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ 622 คน)

10 กลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
กลไกการทำงาน ระหว่างประเทศ ระดับชาติ สำหรับกลไกการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ สามารถแยกออกเป็น 2 ระดับ คือ ระหว่างประเทศ ระดับชาติ

11 กลไกการป้องกันและปราบปรามฯ (ต่อ)
ระหว่างประเทศ ทวิภาคี ไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว ไทย-เวียดนาม ไทย-พม่า พหุภาคี COMMIT ASEAN

12 กลไกการป้องกันและปราบปรามฯ (ต่อ)
ระดับชาติ บริหาร (ตาม พ.ร.บ.ฯ) คณะกก.ปคม. คณะอนุกก.นโยบายฯ คณะอนุกก.ประมง คณะอนุกก.ฐานข้อมูล คณะกก.ปกค. อนุกรรมการต่าง ๆ ปฏิบัติ (มติ ครม. ปรับสู่ พ.ร.บ.ฯ) ศปคม.แห่งชาติ ศปคม.จังหวัด (กทม จว.) ศปคม.ระหว่างประเทศ

13 ลูกจ้างค้ามนุษย์ ความคาดหวังจาก พม. และภาคีเครือข่าย
มีการจัดประชุมคณะกรรมการ ศปคม.จังหวัด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย เป็นกลไกหลักในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ความคาดหวัง จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคีเครือข่าย มีการจัดประชุมคณะกรรมการ ศปคม.จังหวัด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย เป็นกลไกในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

14 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google