งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
อนุชิต ฮุนสวัสดิกุล สำนักงาน ก.พ.ร.

2 การทุจริต ประพฤติมิชอบ ความเก่า ล้าสมัย ของระบบ สภาพปัญหา ของระบบราชการ กำลังคน ไม่มีคุณภาพ การบริหาร แบบรวมศูนย์ อำนาจ ทุจริต ประพฤติ มิชอบ ความไม่ รับผิดชอบ ปัญหา ประสิทธิภาพ ทัศนคติ ค่านิยม แบบดั้งเดิม กฎ ระเบียบ เทคโนโลยี วิธีปฏิบัติงาน ไม่ทันสมัย ค่าตอบแทน สวัสดิการไม่เหมาะสม

3 ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี
กระแสโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี แรงผลักดัน การปฏิรูป ระบบราชการ วิกฤต เศรษฐกิจ การเข้าสู่ สังคมเรียนรู้ ความต้องการ มีส่วนร่วม ของประชาชน ความเข้มแข็ง ของภาคเอกชน รัฐธรรมนูญใหม่

4 Re-thinking Re-managing โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะแบบ non-linear
Re-thinking the future Strategic thinking Re-imagine As the future catches you Change management World out of balance Re-managing Information technology Bio-technology (life sciences) Nano-technology Strategy-focused Organization Strategy Map Balanced Scorecard

5 กระบวนทัศน์ใหม่ที่ควรเป็น
กระบวนทัศน์เดิม กระบวนทัศน์ใหม่ที่ควรเป็น ประชาชนคือผู้อยู่ใต้ปกครอง มุ่งรักษาสถานภาพเดิม (Management for status quo) ยึดระเบียบกฎเกณฑ์เข้มงวด (Management by Regulation) วัดผลจากกิจกรรม ทำตามนายสั่ง (Boss Oriented) แบ่งงานกันทำตามหน้าที่ รวบอำนาจ (Centralization) เน้นการควบคุม (Controller) ทำงานตามสายการบังคับบัญชา ทำงานเช้าชาม-เย็นชาม แก้ปัญหา เฉพาะหน้า ไม่มีการวัดการให้บริการ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง อาศัยประสบการณ์/ความเคยชิน ปกปิด ตัดสินใจโดยภาครัฐ ประชาชนคือลูกค้าที่ต้องเอาใจใส่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์อย่างมีดุลพินิจ วัดผลสัมฤทธิ์ ริเริ่มสร้างสรรค์ ยึดทีมงาน กระบวนการทำงาน กระจายอำนาจ (Decentralization) เน้นการช่วยเหลือแนะนำ ทำงานตามแนวราบ-สร้างเครือข่าย มีวิสัยทัศน์ สร้างตัวชี้วัด พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างกล้าหาญ โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม

6 องค์ประกอบหลักของ New Public Management
: NPM การประชุมของ The Commonwealth Association For Public Administration and Management (CAPAM) ปี 1994 สรุปได้ว่า NPM ประกอบด้วย 1. การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน 2. การลดการควบคุมจากส่วนกลาง และเพิ่มอิสระในการบริหาร ให้แก่หน่วยงาน 3. การกำหนดความต้องการ การวัดผลงาน และการให้รางวัล แก่ผลการดำเนินงาน ทั้งในระดับองค์การและระดับบุคคล

7 องค์ประกอบหลักของ New Public Management
: NPM (ต่อ) 4. การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านของบุคลากร (เช่น ระบบการ ฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทน และระบบคุณธรรม) และเทคโนโลยี (เช่นระบบข้อมูลสารสนเทศ) เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถ ทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ 5. การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องการแข่งขัน ทั้งการแข่งขัน ระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับหน่วยงานของเอกชน ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวน ตัวเองว่าสิ่งใดควรทำเอง และสิ่งใดควรปล่อยให้ภาคเอกชนทำ

8 องค์การภาครัฐยุคคิดใหม่ทำใหม่ High Performance Organization
Customer Driven มุ่งเน้นบริการประชาชน Mission-oriented มุ่งบรรลุภารกิจ Learning Organization เรียนรู้ทันโลก ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Technology-based ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ Empowerment & Participation มอบอำนาจและให้มีส่วนร่วม Networking Organization รูปแบบเครือข่าย Accountability to Results รับผิดชอบต่อผลงาน

9 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง

10 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 (ต่อ) ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้

11 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวดที่ 1 : การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมวดที่ 2 : การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน หมวดที่ 3 : การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ หมวดที่ 4 : การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจแห่งรัฐ หมวดที่ 5 : การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน หมวดที่ 6 : การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ หมวดที่ 7 : การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการ ของประชาชน หมวดที่ 8 : การประเมินผลการปฏิบัติราชการ หมวดที่ 9 : บทเบ็ดเตล็ด

12 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย [พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550]
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย [พ.ศ พ.ศ. 2550] ยุทธศาสตร์ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน ยุทธศาสตร์ 2 : การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ 3 : การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ ยุทธศาสตร์ 4 : การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ยุทธศาสตร์ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ยุทธศาสตร์ 6 : การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย ยุทธศาสตร์ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

13 กระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ของข้าราชการไทยยุคใหม่ (ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม) ทันโลก ทันเหตุการณ์ เรียนรู้ ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง Relevance มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพ รู้ความคุ้มค่า คุ้มทุน Efficiency รับผิดชอบต่อผลงาน ต่อประชาชน Accountability มุ่งเน้นผลงาน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ Yield มีศีลธรรม คุณธรรม Morality ขยัน ทำงานเชิงรุก ไม่ดูดาย Activeness มีและรักศักดิ์ศรี Integrity

14 I ntegrity ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
A ctivenes ขยัน ตั้งใจ ทำงานเชิงรุก M orality มีศีลธรรม คุณธรรม R elevance รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม E fficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ A ccountability รับผิดชอบต่อผลงาน ต่อสังคม D emocracy มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย เสมอภาค มีส่วนร่วม โปร่งใส Y ield มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน

15 ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ต้องมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านงาน ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ ด้านมนุษยสัมพันธ์

16 สมรรถนะ(Competency) ศาสตราจารย์เดวิด แมคคลาเลน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาคุณสมบัติ และคุณลักษณะของนักธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสำเร็จในองค์กรชั้นนำว่ามีคุณลักษณะอย่างไร จากการวิจัยพบว่า ประวัติและผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ดีเด่นของบุคคลไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะชี้วัดว่าบุคคลนั้น ๆ จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเสมอไป หากต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะอื่นๆ อาทิ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น

17 สมรรถนะ (Competency) หมายถึง กลุ่มของทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง พฤติกรรม คุณลักษณะ และทัศนคติ ที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

18 การประเมินสมรรถนะหลัก (CORE COMPETENCY)
1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) 2. บริการที่ดี (Service Mind) 3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise) 4. จริยธรรม (Integrity) 5. ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork)

19 ค่านิยม สร้างสรรค์ ๒. ซื่อสัตย์และ มีความรับผิดชอบ ๑. กล้ายืนหยัด
ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ค่านิยม สร้างสรรค์ ๕. มุ่งผล สัมฤทธิ์ของงาน ๓. โปร่งใส ตรวจสอบได้ ๔. ไม่เลือก ปฏิบัติ

20 องค์ประกอบของค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ
1. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Moral Courage) หมายถึง - ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ชอบธรรม - เสียสละ - ยึดหลักวิชา และจรรยาวิชาชีพ - ไม่ยอมโอนอ่อนตามอิทธิพลใด ๆ 2. ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ (Integrity and Responsibility) หมายถึง - ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา - แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน - มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กร และต่อการพัฒนาปรับปรุงระบบราชการ

21 3. โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Accountability) หมายถึง
- ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์การให้มีความโปร่งใส - มีวิธีการให้ประชาชนตรวจสอบได้ - เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขต 4. ไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) หมายถึง - บริการประชาชนด้วยความเสมอภาค เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้อง - ปฏิบัติต่อผู้มารับบริการด้วยความมีน้ำใจ เมตตา เอื้อเฟื้อ 5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result Orientation) หมายถึง - ทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด เกิดผลดีต่อหน่วยงาน และส่วนรวม - ใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค่า เสมือนการใช้ทรัพยากรของ ตนเอง - เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์ และค่าใช้จ่าย

22 จริยธรรม และจรรยาบรรณ

23 จริยธรรม จรรยาบรรณ จริยธรรม จรรยาบรรณ
หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่พึงปฏิบัติ จริยธรรมจะเป็นตัวช่วยตัดสินว่าเหตุการณ์หนึ่งเป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำ เพราะอะไร จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่าง กำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก

24 จริยธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ๕ ประการ คือ
เคารพในชีวิตและร่างกายของผู้อื่น ไม่มุ่งทำร้ายผู้อื่น เคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ทุจริตฉ้อโกง เคารพและยินดีในคู่ครองของตน ไม่ประพฤติผิดในกาม เคารพในความจริง ไม่หลอกลวงกล่าวเท็จ เคารพในศักดิ์ศรีของตน ไม่เกี่ยวข้องสิ่งเสพติดให้โทษ (คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ)

25 จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ) ได้กำหนดจรรยาบรรณกลางไว้สำหรับข้าราชการพลเรือนถือปฏิบัติ เรียกว่า “ ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๗ ” ๑. จรรยาบรรณต่อตนเอง ๒. จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน ๓. จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน ๔. จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

26 จรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ ๑. พึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดีและประพฤติตนให้ เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ข้อ ๒ พึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพใด มีจรรยาวิชาชีพกำหนดไว้ ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย ข้อ ๓ พึงมีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการทำงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

27 จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
ข้อ ๔ พึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาค และปราศจากอคติ ข้อ ๕ พึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ ข้อ ๖ พึงปฏิบัติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา และใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ ข้อ ๗ พึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทาง ราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง

28 จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ๘. มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ๙. ผู้บังคับบัญชาพึงดูแลเอาใจใส่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญกำลังใจ สวัสดิการ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ๑๐. ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ ๑๑. ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ๑๒. ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

29 จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม
๑๓. ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพ อ่อนโยน ๑๔. ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป ๑๕. ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชน จะให้กันโดยเสน่หา จากผู้มาติดต่อราชการหรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์ จาก การปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น

30 จรรยาบรรณจะบรรลุ…เมื่อ....
มีความรู้ความเข้าใจ (Understanding) เข้าถึงเจตนารมณ์ความมุ่งหมายที่แท้จริง (Internalize) ยึดถือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต (Commitment as way of life)

31 การประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ
การประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ   พรหมวิหารธรรม หลักธรรม เพื่อการดำรงชีวิตอย่างประเสริฐ 4 ประการ 1. เมตตา : ความรักใคร่ ความเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อผู้อื่น ความหวังดี ความปรารถนาดี ความมุ่งดี-มุ่งเจริญต่อผู้อื่น 2. กรุณา : ความสงสาร มีจิตคิดจะช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่น ความเป็นผู้มีน้ำใจ 3. มุทิตา : ความยินดี ความเป็นผู้มีจิตคิดที่จะสนับสนุนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ผู้อื่น การแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของผู้อื่น 4. อุเบกขา : ความวางเฉย ความเป็นกลาง ความยุติธรรม ความเป็นธรรมในทุกสถานการณ์

32 สังคหวัตถุ : หลักการสังคมสงเคราะห์/ หลักมนุษยสัมพันธ์ ๔ ประการ
๑. ทาน – การให้ ให้รู้จักให้แก่ผู้ที่ควรให้ ด้วยสิ่งของที่ควรให้ ทั้งอามิสทาน-ให้ด้วยวัตถุสิ่งของ และธรรมทาน-ให้ด้วยธรรมะ-ข้อคิด คติธรรม แนวทางดำเนินชีวิต ๒. ปิยวาจา –เจรจาไพเราะ พูดคำอ่อนหวานประสานสัมพันธ์ พูดคำเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน พูดคำสัตย์คำจริงที่เป็นประโยชน์ ๓. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสงบสุขแก่สังคม หรือหน่วย งาน ให้ประพฤติสิ่งนั้นและปฏิบัติสิ่งนั้น ด้วยความสุขุมรอบคอบ ๔. สมานัตตา –วางตนเหมาะสม ให้ประพฤติ – ปฏิบัติ – ดำรงตน และวางตนอย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์ ให้มีกิริยามารยาทที่พึงประสงค์ในการทำงานตามหน้าที่ ๑. ทาน – การให้ ให้รู้จักให้แก่ผู้ที่ควรให้ ด้วยสิ่งของที่ควรให้ ทั้งอามิสทาน-ให้ด้วยวัตถุสิ่งของ และธรรมทาน-ให้ด้วยธรรมะ-ข้อคิด คติธรรม แนวทางดำเนินชีวิต ๒. ปิยวาจา –เจรจาไพเราะ, พูดคำอ่อนหวานประสานสัมพันธ์, พูดคำเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน, พูดคำสัตย์คำจริงที่เป็นประโยชน์ ๓. อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง, สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสงบสุขแก่สังคม หรือหน่วยงาน ให้ประพฤติสิ่งนั้นและปฏิบัติสิ่งนั้น ด้วยความสุขุมรอบคอบ ๔. สมานัตตา –วางตนเหมาะสม ให้ประพฤติ – ปฏิบัติ – ดำรงตน และวางตนอย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์ ให้มีกิริยามารยาทที่พึงประสงค์ในการทำงานตามหน้าที่

33 การเว้นสิ่งที่ควรเว้น
อคติ คือความลำเอียง มี 4 อย่าง คือ 1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะมีความรักใคร่สนิทสนมกัน หรือ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในฐานะต่าง ๆ 2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะมีความไม่ชอบพอกัน ไม่ถูกใจกัน มีเรื่องกระทบ กระทั่งกัน มีความบาดหมางกัน หรือมีความโกรธแค้นกัน 3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะมีความหลงผิดเป็นชอบ หลงงมงาย ไม่รู้แจ้งเห็นจริงในภารกิจหรืองานที่มอบหมาย หรือความลำเอียงเพราะความลุ่มหลงในอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา กล่าวคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข 4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะมีความกลัว มีความเกรงใจ มีความหวาดระแวง มีความหวั่นไหว เกรงกลัวอิทธิพล และเกรงกลัวอำนาจ ถ้าอคติ ความลำเอียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง ๔ มีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้น จะไม่มีความอาจหาญ หรือแกล้วกล้าที่จะตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้องได้ อันเป็นเหตุให้ “เสียความยุติธรรม”

34 ทุจริต – ความประพฤติผิด 3 ประการ
1. กายทุจริต : ประพฤติผิดทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม 2. วจีทุจริต : ประพฤติผิดทางวาจา คือคำพูด เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดคำเพ้อเจ้อ 3. มโนทุจริต : ประพฤติผิดทางใจ เช่น โลภ/อยากได้ของผู้อื่นพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น และมิจฉาทิฐิ/เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

35 การทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง
การฉ้อราษฎร์บังหลวง : การที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่เก็บเงินจากราษฎรแล้วไม่ส่งหลวง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) คอร์รัปชั่น (Corruption) : การใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร ตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ หรือผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยวิธีทางที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือมาตรฐานทางศีลธรรม อาจรวมถึงพฤติกรรมเบี่ยงเบนของผู้มีตำแหน่งในราชการ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์เข้าตนและพรรคพวก ทั้งในด้านสังคม ด้านการเงิน ด้านตำแหน่ง (พจนานุกรมสังคมศาสตร์ : ผาสุก พงษ์ไพจิตร และสังศิต พิริยะรังสรรค์ ; คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตย กรุงเทพฯ ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์ หน้า 55)

36 ความหมายของ Conflict of Interests
การให้ความหมายในภาษาไทย ผลประโยชน์ทับซ้อน การขัดกันแห่งผลประโยชน์ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย การที่บุคคลปฏิบัติหน้าที่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวไปพัวพันในการตัดสินใจ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นการเสียประโยชน์ของทางการ

37 ความขัดแย้งกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
มีตำแหน่ง ทางราชการ หรือสาธารณะ มีผลประโยชน์ ส่วนตัว CONFLICT OF INTERESTS แทรกแซง การใช้ ดุลยพินิจ อย่าง เป็นกลาง “การทับซ้อนของ ประโยชน์ส่วนตัว และประโยชน์ ส่วนรวม” “สถานการณ์ซึ่งบุคคล มีผลประโยชน์ส่วนตัว มากเพียงพอที่จะมี “อิทธิพล” ต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง และส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม” “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” “สถานการณ์ซึ่งบุคคลใช้อำนาจหน้าที่ ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง”

38 รูปแบบความขัดแย้งระหว่าง ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
(1) รับของขวัญ/เงินสนับสนุน/ เงินบริจาคจากลูกค้า ของหน่วยงาน การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting Benefits) การทำธุรกิจกับตัวเอง (Self-Dealing) หรือเป็น คู่สัญญา (Contracts) มีส่วนได้เสียในสัญญา ที่ทำกับหน่วยงานต้นสังกัด การทำงานหลังออกจาก ตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือ หลังเกษียณ (Post-Employment) ลาออกจากหน่วยงาน เพื่อไปทำงานในหน่วยงาน ที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน

39 รูปแบบความขัดแย้งระหว่าง ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
(2) ตั้งบริษัทดำเนินธุรกิจ ที่แข่งขันหรือรับงาน จากหน่วยงานต้นสังกัด การทำงานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting) ใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน เพื่อประโยชน์ของตนเอง การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information) การใช้สมบัติของหน่วยงานเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัว (Using Employer’s Property for Private Usage) นำทรัพย์สินของหน่วยงาน ไปใช้ในงานส่วนตัว รมต. อนุมัติโครงการ ไปลงในพื้นที่ตนเอง, ใช้งบสาธารณะเพื่อหาเสียง การนำโครงการสาธารณะลงในเขต เลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork-barrelling)

40 มนุษยสัมพันธ์ในการทำงานเป็นทีม
การสร้างสัมพันธภาพของมนุษย์ในการทำงานเป็นทีม อันมีผลต่อบรรยากาศของสถานที่ทำงานและผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

41 การสร้างสัมพันธภาพในการทำงาน
ในการสร้างสัมพันธภาพในการทำงานนั้น จะต้องศึกษาเกี่ยวกับ... - พฤติกรรมมนุษย์ - การทำความเข้าใจตนเอง / เข้าใจผู้อื่น - การพัฒนาตนเองในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

42 สัมพันธภาพในสถานที่ทำงาน
ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน บุคคลอื่นๆ ลูกน้อง

43 พฤติกรรมมนุษย์ การแสดงออกของมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่...
- ความต้องการ - ความคิด / ทัศนคติ - อารมณ์ / ความรู้สึก - การสื่อสาร - กริยาท่าทาง - การกระทำ - ฯลฯ

44 การสื่อสาร ผู้สื่อ/ผู้ส่งข่าว ข่าวสาร ช่องทาง ผู้รับข่าว
ข้อมูลย้อนกลับ

45 กระบวนการพัฒนาตนเอง วิเคราะห์ข้อบกพร่อง หาวิธีการปรับปรุง/ แก้ไข
ประเมินผล ลงมือปฏิบัติ

46 อนุชิต ฮุนสวัสดิกุล ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. โทร โทรสาร : :

47 ร่วมพัฒนาระบบ ยกระดับบริการ เพื่อรอยยิ้มของประชาชน


ดาวน์โหลด ppt การปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google