ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKhunpol Luang ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ชื่อโครงการ : (ภาษาไทย) การเปรียบเทียบสมรรถนะ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ภาษาอังกฤษ) Comparative Benchmarking of Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University with Chiangmai University
2
ชื่อคณะผู้วิจัย นางวลาลักษณ์ ช่างสากล (หัวหน้าโครงการ)
นางวลาลักษณ์ ช่างสากล (หัวหน้าโครงการ) นางสาวดรุณี ชูคันหอม (ผู้วิจัยร่วม) อ.วรวรรณ ชุมเปีย (ผู้วิจัยร่วม) ผศ.ไพศาล มงคลวงศ์โรจน์ (ผู้วิจัยร่วม)
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งสายวิชา เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งในระดับคณะและหน่วยงาน เพื่อนำมาเป็น แนวทางในการประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงช่องว่าง (gap) ระหว่างหน่วยงาน เพื่อนำมาใช้ใน การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคณะให้มีความเข้มแข็งและมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4
ความสำคัญและที่มาของประเด็นการวิจัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาประชาชน โดยคณะเทคนิค การแพทย์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้น จากการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดเวลา คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิคและกิจกรรมบำบัด นอกจากนี้จากการจัดอันดับของ มหาวิทยาลัยโลก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ถูกจัดอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย อยูในลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัยไทย รองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของคณะเทคนิคการแพทย์ จึงเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีขององค์กรที่มีพัฒนาการอย่าง ต่อเนื่อง และช่วยสะท้อนให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างของการปฏิบัติงานตาม ภารกิจ ทั้งนี้ องค์การ UNESCO ได้ศึกษาและแนะนำให้ใช้การทำ benchmarking เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
5
ขอบเขตการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบระหว่างคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน โดยเปรียบเทียบภารกิจและศักยภาพ ทั้งในระดับคณะและสายวิชาเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด โดยเน้นผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2543
6
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้ทราบถึงสมรรถนะและความแตกต่างระหว่างคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งในระดับคณะและสายวิชา ทำให้เห็นช่องว่างในการพัฒนาคณะ/หน่วยงาน ได้ทราบถึงแนวปฏิบัติที่ดีจากคณะเทคนิคการแพทย์ และสายวิชามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งอาจนำมาประยุกต์หรือปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคณะ/หน่วยงาน 3) เป็นโอกาสที่จะวิเคราะห์เพื่อแสวงหาความร่วมมือและการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัดให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
7
วิธีการดำเนินการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แหล่งข้อมูล ใช้แหล่งข้อมูลจากรายงานผลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2553 ข้อมูลในฐานข้อมูล che QA online ปีการศึกษา 2553 รายงานผลการดำเนินงานประจำปี และข้อมูลประกอบอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลเชิงประจักษ์จากการตรวจเยี่ยม และการสัมภาษณ์ เครื่องมือ สร้างแบบเก็บข้อมูล common data set ใน excel สำหรับข้อมูลที่เป็นตัวเลข และแบบเก็บข้อมูลสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพให้ครอบคลุม ศักยภาพ ภารกิจรวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงาน การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS v 15.0 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบสำหรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขแบบต่อเนื่องด้วย student t –test
8
แผนการดำเนินงาน ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานและผลการดำเนินงานของสายวิชาเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และระดับคณะจาก website เอกสารรายงานประจำปี รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงาน รายงานผลการประเมินของสกอ. และฐานข้อมูล che QA online ใช้เวลา 30 วัน วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อกำหนดประเด็นและวิธีการเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยการประชุมระดมสมอง ใช้เวลา 30 วัน เก็บข้อมูลเชิงลึกที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยวิธีการตรวจเยี่ยมและสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบในหน่วยงาน ใช้เวลา 7 วัน วิเคราะห์และสรุปข้อมูลทั้งหมด เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัย ใช้เวลา 30 วัน จัดทำรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์และนำผลการวิจัยเผยแพร่ ใช้เวลา 21 วัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.