ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThanom Kurusarttra ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
2
นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board)
DLD นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) กับการผลิตไก่ไข่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หัวข้อการสัมมนาเชิงวิชาการ ”คุณค่าในไข่ไก่ และการบริโภคอย่างไร ให้ปลอดภัยจากคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง” วันอังคารที่ 19 เมษายน 2548 เวลา 8.00 น น. หัวข้ออภิปรายของ อปส. “บริโภคไข่ไก่อย่างมั่นใจ เพราะผลิตจากฟาร์มมาตรฐาน” ข้อมูลนำเสนอแบ่งหัวข้อบรรยายเป็น 5 เรื่อง 1. คุณประโยชน์ของไข่ไก่ 2. ภาพการผลิตและการบริโภคของไทยเปรียบเทียบกับการประเทศที่สำคัญของโลก เพื่อบงชี้ภาวะการบริโภคไข่ไก่ต่ำค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนา แล้วและประเทศเพื่อบ้านด้วยกัน เพื่อกระตุ้นการบริโภค 3. ศักยภาพการผลิตและวงจรการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพการผลิตและการเชื่อมโยงของสายพานการผลิตและแนวทางดำเนินการ จัดระบบการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิตในแต่ละขั้นตอน 4. สภาพการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานฟาร์ม 5. มาตรการแนวทางการพัฒนาการเลี้ยงไข่ไก่ และกระตุ้นการบริโภค เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และความมั่นคงในอาชีพ นายศิริวัฒน์ อินทรมงคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ 10 มิถุนายน 2553
3
โครงสร้างการผลิตไข่ไก่และผลิตภัณฑ์
DLD โครงสร้างการผลิตไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ ปริมาณไก่ไข่แม่พันธุ์ P.S. 405,721 ตัว นำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ G.P. - ตัว แม่ไก่ไข่ LAYER ยืนกรง 37 ล้านตัว บริโภค 99% 10,062 ล้านฟอง บริโภค 91% 10,458 ล้านฟอง ไข่ไก่สด 100% 10,808 ล้านฟอง ส่งออก 3% 350 ล้านฟอง 3. ศักยภาพการผลิตและวงจรการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพการผลิตและการเชื่อมโยงของสายพานการผลิตเพื่อเป็นแนวทางดำเนิน การจัดระบบการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิตในแต่ละขั้นตอนการผลิตเริ่มตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยกรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้มีมาตรฐานต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือ ในการตรวจรับรองการผลิตไก่พันธุ์ถึงไข่ไก่ และเพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้ ประกอบและผู้เลี้ยงใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดการฟาร์มโรงเรือน เครื่องมือและอุปกรณ์ และการจัดการตัวสัตว์เกี่ยวกับการให้อาหาร การใช้เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ในสัตว์ที่ เหมาะสม การควบคุม และป้องกันโรค รวมทั้งการขนส่ง การจัดการสิ่งแวดล้อม ให้ถูก สุขลักษณะ เป้าหมายสุดท้าย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุม การผลิตไก่ไข่มีดังนี้ 3.1 มาตรฐานฟาร์มไก่พันธุ์ ใช้ควบคุมการเลี้ยงไก่พันธุ์(ปู่-ย่าพันธุ์ พ่อ-แม่พันธุ์ นำเข้า) 3.2 มาตรฐานสถานที่ฟักไข่ หรือโรงฟักไข่ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติ และการตรวจรับรอง 3.3 มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ เพื่อควบคุมการเลี้ยงไข่ไก่ให้มีคุณภาพดี แปรรูป (ไข่เหลว) อุตสาหกรรมต่อเนื่อง แปรรูปขั้นปลาย (ไข่ขาวผง,ไข่แดงผง)
4
การผลิตไข่ไก่ไทยเทียบกับประเทศผู้นำการผลิตที่สำคัญของโลก
DLD 2. ภาพการผลิตและการบริโภคของไทยเปรียบเทียบกับการประเทศผู้นำการผลิตที่สำคัญ ของโลกเพื่อบงชี้ภาวะการผลิตการบริโภคไข่ไก่ต่ำค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเพื่อบ้านด้วยกันเพื่อกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้น 2.1 ประเทศผู้นำการผลิตไข่ไก่ที่สำคัญของโลก ได้แก่ สาธารณรัฐมีปริมาณผลผลิตไข่ไก่มากที่สุดของโลก จำนวน 402,000 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 47 รองลงมาสหรัฐฯจำนวน 89,183 ล้านฟอง และ สหภาพยุโรป จำนวน 89,183 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 11 ส่วนประเทศญี่ปุ่น อินเดีย และเม็กซิกโก จำนวน 40,000 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 5 และประเทศรัสเซีย จำนวน 34,000 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 4 ของปริมาณการผลิตโลกตามลำดับ 2.2 การผลิต ประเทศไทยมีผลผลิตไข่ไก่ประมาณ 9,625 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 1 ของการผลิตโลก และส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเกือบทั้งหมด การส่งออกมีเพียงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 1 ของผลผลิต
5
แหล่งผลิตไก่ไข่ที่สำคัญของไทย
ไก่ไข่ (ตัว) เกษตรกร(ราย) สัดส่วนการผลิต ภาคเหนือ 4,108,519 4,499 8.91 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,910,657 9,559 17.15 ภาคกลาง 29,891,979 7,351 64.81 ภาคใต้ 4,211,249 5,575 9.13 รวมทั้งหมด 46,122,404 26,984 100
6
สถานการณ์การผลิตและการบริโภคไข่ไก่ในประเทศไทย
DLD สถานการณ์การผลิตและการบริโภคไข่ไก่ในประเทศไทย ปริมาณการผลิต และการบริโภคไข่ไก่ของประเทศไทย ในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมา ( ) ปริมาณการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทยเพิ่มจาก จำนวน 7,943 ล้านฟอง ในปี 2542 เพิ่มเป็นจำนวน 9,635 ล้านฟอง ในปี ปริมาณ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ขณะที่ปริมาณการบริโภคมีอัตราการบริโภคเพิ่มจาก 128 ฟอง/คน/ปี เป็น 145 ฟอง/คน/ปี อัตราการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 13 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการผลิตไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การบริโภคเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงต้องเพิ่มปริมาณการบริโภคไข่ไก่ของคนไทย ข้อมูล : กรมปศุสัตว์
7
การบริหารจัดการไก่ไข่ทั้งระบบ
คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ 19 คน ภาครัฐ 11 คน ผู้แทน ผู้ประกอบการ 2 คน ผู้แทน องค์กรผู้เลี้ยง2คน ทรงคุณวุฒิ 4 คน คณะกรรมการที่ปรึกษา
8
ปริมาณไก่ไข่และประชากรผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
9
นโยบายพัฒนาการผลิตไก่ไข่
ภูมิหลัง การผลิตของบริษัทผู้นำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ในอดีต ความต้องการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS)เพศเมียในอดีต ที่มาของนโยบายการบริหารจัดการไก่ไข่ทั้งระบบ มาตรการด้านการผลิตและตลาดไก่ไข่ องค์กรบริหารจัดการไก่ไข่
10
นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์กับการผลิตไก่ไข่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตามสภาพแวดล้อม 1. สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 2. พึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพางบประมาณภาครัฐ 3. สร้างหลักประกันความเสี่ยง ตามแผนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี
11
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551-2555 เป้าหมายภายในปี 2555
๏ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มการบริโภคและขยายตลาดส่งออกไข่ไก่ เป้าหมายภายในปี 2555 1. เพิ่มอัตราการบริโภคเป็น 200 ฟอง/คน/ปี 2. เพิ่มการส่งออกไข่ไก่สด และขยายตลาดไข่ไก่แปรรูป เป้าหมายส่งออกไข่ไก่สด 500 ล้านฟอง และส่งออกไข่ไก่แปรรูป 1,000 ตัน
12
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551-2555 (ต่อ)
๏ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 1. มีองค์กรภาคเอกชนดูแลอุตสาหกรรมไข่ไก่ทั้งระบบ 2. สร้างกองทุน (สมาคมพัฒนาธุรกิจไก่ไข่) ประกันความเสี่ยงพัฒนาไก่ไข่ทั้งระบบ 100 ล้านบาท 3. ให้ระเบียบหรือกฎหมายที่มีอยู่กำกับดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ทั้งระบบ 4. ให้มีการบริหารจัดการด้านการผลิตให้สอดคล้องกับการบริโภค 5. ผลักดันผู้ประกอบการลงทุนอุตสาหกรรมการแปรรูปไข่ไก่เพิ่มขึ้น
13
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551-2555 (ต่อ)
๏ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคด้วยมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าไข่ไก่ เป้าหมายภายในปี 2555 1. ควบคุมคุณภาพการผลิต ให้มีฟาร์มมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ฟาร์ม 2. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ตรวจสอบสารตกค้าง ตรวจสอบรับรองคุณภาพอาหารสัตว์ และ ตรวจสอบเวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในสัตว์ 3. การเฝ้าระวังและป้องกันให้มีความปลอดภัยโรคสัตว์ (ควบคุมโรคติดต่อ) 4. ให้มีการตรวจรับรองคุณภาพไข่ไก่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค 5. วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดสินค้าบริโภค
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.