ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Research Problem ปัญหาการวิจัย
เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอุปสรรค ในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ทำให้เกิด ความสงสัย และใคร่รู้คำตอบ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหา เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานให้บรรลุ ตามเป้าหมาย คำถามหรือสิ่งที่สนใจศึกษา
2
มีปัญหาอยู่มากมายรอบตัว
ตัวแปรที่เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ชุมชน บุคคล องค์การ วิธีการบริหาร อาชีพ สถานการณ์ ฯลฯ มีความผันแปรตลอดเวลา ยากต่อการสรุป ปัญหาทางสังคมศาสตร์นั้น ไม่ได้คงที่แน่นอนตลอดเวลา ปัญหา หรือ ข้อสรุปต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เคยศึกษา มาแล้ว ต้องการ การตรวจสอบเพื่อให้มีความทันสมัยอยู่ เสมอ การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ เพราะ ในช่วงเวลาที่แปรเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนไป ปัญหานั้นควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ เนื่องจาก ตัวแปรใหม่มัก เกิดขึ้นอยู่เสมอ
3
แหล่งของปัญหาการวิจัย
วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำมาก่อนในเรื่องที่ตนเองสนใจ และกำลังศึกษาอยู่พร้อมทั้ง วิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างพินิจ พิเคราะห์ พยายามหาช่องว่าง หรือ ช่วงที่ขาดตอนสำหรับเรื่องนั้นๆ ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือหาคำอธิบายเรื่องนั้นไม่ได้ ข้อเสนอแนะของผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียงหรือเป็น ข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ทำการทดลองด้วยวิธีการวิจัย วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาว่าสังคม มีการ เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เวลา และเทคนิควิทยาการต่างๆ วิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนา หรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชานั้นๆ ศึกษาปัญหาจากสถาบันต่างๆ หรือสถานที่ที่มีการวิจัย หรือบุคคล ที่ทำการวิจัย โดยเข้าร่วม โครงการวิจัยนั้น
4
ข้อผิดพลาดในการเลือกปัญหาการวิจัย
รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อ ปัญหาอย่างชัดเจน หาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และพยายามคิดปัญหาให้ เหมาะสมกับข้อมูล ข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบแหล่งของการเก็บ รวบรวม ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจน การสรุปผลหรือข้อยุติต่างๆ ทำวิจัยโดยไม่อ่านผลงานวิจัยของบุคคลอื่น ที่คล้ายๆกัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบและอาจเกิด ความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ ข้อมูลได้
5
ข้อผิดพลาดในการเลือกปัญหาการวิจัย
ทำวิจัยโดยไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎี หรือ ไม่มีทฤษฎี ที่เป็นพื้นฐานทางการวิจัยจะก่อให้ เกิดปัญหาในการวาง แผนงานวิจัย หรือ การตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจน ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด และผู้ทำการวิจัยไม่เห็นแนวทาง ในการทำวิจัยนั้นอย่าง ทะลุปรุโปร่ง อาจเป็นผลให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาด ไปจากข้อเท็จจริงได้ การวิจัยที่มีปัญหาครอบจักรวาล ไม่จำกัดขอบเขต เป็นสาเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่รู้จักจบสิ้น เพราะไม่ทราบ ว่ามีขอบเขตแค่ไหน
6
วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย
ให้เลือกปัญหาที่ตนเองมีความสนใจจริงๆ สะสมความรู้ความจริงและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้มากที่สุด เลือกสรรความรู้ความจริงที่สะสมไว้ โดยพิจารณาที่เกี่ยวข้องจริงๆ เขียนสมมติฐานการวิจัยให้ชัดเจน เลือกสรรสมมติฐานที่จะมีข้อมูลมาทดสอบได้ เลือกปัญหาที่ตนเองมีความรู้พอจะทำได้ เลือกปัญหาที่ตนเองมีเครื่องมือที่จะทำวิจัยได้ เลือกปัญหาการวิจัยโดยคำนึงถึงเงิน และ เวลาพอจะทำได้ เลือกปัญหาที่มีความสำคัญพอเพียงที่จะได้รับอนุมัติให้ทำได้ เลือกปัญหาที่ให้ความรู้ใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่เคยทำโดยไม่จำเป็น เลือกปัญหาที่เป็นประโยชน์ ทั้งในแง่การนำไปใช้ และเสริมความรู้ใหม่ เลือกปัญหาที่จะชี้ช่องให้คนอื่นทำวิจัยต่อไปได้
7
ประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัย
สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยวิธีวิจัยหรือไม่ หาข้อมูลได้เพียงพอหรือไม่ ปัญหามีความสำคัญพอหรือไม่ ปัญหานั้นเป็นของใหม่หรือเปล่า ผลที่ได้ จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ตนเองมีความสามารถจะวางแนว การศึกษาเรื่องนั้นหรือไม่ มีเงินสำหรับดำเนินการเพียงพอหรือไม่
8
ข้อเสนอแนะจาก D.B. Van Dalen
เป็นปัญหาที่ตนเองหวังไว้ และตรงกับความหวังของคนทั่วไปหรือไม่ ตนเองสนใจปัญหานั้นอย่างแท้จริงหรือไม่ ตนเองมีทักษะ มีความรู้ความสามารถ และพื้นความรู้เดิมพอเพียง จะศึกษาวิจัยเรื่องนั้น ได้หรือไม่ ตนเองมีเครื่องมือ แบบทดสอบ ห้องทดลอง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะใช้ดำเนินการวิจัยเรื่องนั้นๆหรือไม่ ถ้าไม่มีตนเองมีความรู้ ที่จะสร้างเองได้หรือไม่ ตนเองมีเวลาและเงินที่จะทำได้สำเร็จหรือไม่ ตนเองจะไปรวบรวมข้อมูลได้หรือไม่ มีข้อมูลให้รวบรวมแค่ไหน ปัญหานั้นๆครอบคลุมและมีความสำคัญถูต้องตามระเบียบของ สถาบันที่ท่านกำลังเรียน หรือทำงานหรือไม่ ปัญหานั้นๆได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง
9
ในการเลือกปัญหาการวิจัย
แหล่งความผิดพลาด ในการเลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะเลือกหัวข้อวิจัย เลือกหัวข้อช้าโดยรอให้เรียนวิชาต่างๆจบเสียก่อน เลือกหัวข้อปัญหาที่คนอื่นบอกให้ แต่ตนเองไม่มีความรู้ เพียงพอหรือขาดความสนใจในเรื่องนั้น เลือกปัญหาที่กว้างเกินกำลัง และเวลา เลือกสมมติฐานที่ไม่มีทางทดสอบได้ เลือกหัวข้อโดยไม่คิดให้ตลอดไปถึงลักษณะข้อมูล วิธีการจะได้ข้อมูลตลอดจนวิธีวิเคราะห์ข้อมูล
10
ในการเลือกปัญหาการวิจัย
แหล่งความผิดพลาด ในการเลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะอ่านรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อ่านอย่างเร่งรีบ จับใจความไม่ได้ ไม่ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องที่อ่านจนเกิดความเข้าใจ ไม่จดบันทึกข้อมูล และเขียนบรรณานุกรมที่ละเอียด อย่างถูกวิธี ขาดการติดตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่ได้ จดบันทึกเรื่องที่อ่านอย่างไม่เป็นระบบ
11
ในการเลือกปัญหาการวิจัย
แหล่งความผิดพลาด ในการเลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกของตนเอง ขาดการติดต่อ หรือ ขาดการร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่าง ขาดการวางแผนในการรวบรวมข้อมูลที่ดี ขาดการอธิบายความมุ่งหมายของการรวบรวมข้อมูลพอที่กลุ่ม ตัวอย่างจะให้ความร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ไม่ได้ตรวจสอบความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรง มาก่อน รวบรวมข้อมูลก่อนคิดความมุ่งหมาย สมมติฐาน ข้อตกลง เบื้องต้นของการวิจัยให้ชัดเจน ขาดการฝึกฝนก่อนการรวบรวมข้อมูล
12
ในการเลือกปัญหาการวิจัย
แหล่งความผิดพลาด ในการเลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่เกิดจากการเลือกใช้สถิติ เลือกวิธีการทางสถิติผิด รวบรวมข้อมูลก่อนแล้วจึงคิดเทคนิคทางสถิติ ใช้สถิติโดยไม่คำนึงถึงระดับข้อมูล ใช้สถิติที่ลึกซึ้งกับข้อมูลที่วัดได้ไม่ละเอียด มักคิดว่าการใช้สถิติวิเคราะห์ชั้นสูง เป็นเครื่องมือบ่งชี้ ระดับความสามารถของตน ใช้สถิติที่ตนเองยังไม่ได้ศึกษาเทคนิคทางสถิตินั้นให้ดีพอ ใช้ตัวแปรเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.