ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยUbol Khuntilanont ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ทฤษฎีการสื่อสาร จัดทำโดย นางสาวภาณุมาศ นักษัตรมณฑล
นางสาวภาณุมาศ นักษัตรมณฑล รหัสนิสิต สาขา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
2
ทฤษฎีการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน องค์ประกอบของการสื่อสาร ผู้รับสาร สื่อ หรือ ช่องทางการสื่อสาร ข้อมูลข่าวสาร ผู้ส่งสาร
3
ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่า สื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียว แต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับ ก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์ ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
4
รูปแบบจำลองการสื่อสาร
1 ลาสแวลล์ (Lasswell) 2 เบอร์โล (Berlo) 3 แชนนันและวีเวอร์ (Shannon and Weaver) 4 ออสกูดและชแรมม์ (Osgood and Schramm) 5 ชแรมม์ (Schramm) CLOSE
5
ลาสแวลล์ (Lasswell) โดยวิธีการและ
ใคร พูดอะไร โดยวิธีการและ ช่องทางใด ไปยังใคร ด้วยผลอะไร ผู้ส่ง สาร สื่อ ผู้รับ ผล - ใคร คือ เป็นผู้ส่งหรือผู้ที่ทำการสื่อสาร - พูดอะไร คือ เนื้อหาที่สื่อสารออกไป - วิธีการและช่องทางใด เช่น ท่าทาง หรือใช้สื่อไฟฟ้า - ไปยังใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสาร - ด้วยผลอะไร คือ เมื่อผู้รับสารรับสารจะเกิดผล ตอบสนองอย่างไรบ้าง
6
เบอร์โล (Berlo) แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล จะให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผู้รับละผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ
7
แชนนันและวีเวอร์ (Shannan and Weaver)
ให้ความสำคัญกับ "สิ่งรบกวน" (Noise) เพราะในการสื่อสารหากมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นก็จะเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร เช่น หากอาจารย์ใช้ภาพเป็นสื่อการสอนแต่ภาพนั้นไม่ชัดเจนหรือเล็กเกินไปก็จะทำให้ผู้เรียนเห็นไม่ชัดเจนทำให้เกิดการไม่เข้าใจ
8
ออสกูดและชแรมม์ (Osgood and Schramm)
การกระทำของผู้ส่งและผู้รับซึ่งทำให้ที่อย่างเดียวกันและเปลี่ยนบทบาทกันไปมาในการเข้ารหัสสารการแปลความหมายและการถอดรหัสสารอย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าหน้าที่ในการเข้ารหัสนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับตัวถ่ายทอดและการถอดรหัสก็คล้ายคลึงกับการับของเครื่องรับนั่นเอง
9
ชแรมม์ (Schramm) แบบที่ 1 อธิบายการสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรงประกอบด้วย ผู้ส่ง การเข้ารหัส สัญญาณ การถอดรหัส และผู้รับ แบบที่ 2 อธิบายกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทำการสื่อสารอยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย แบบที่ 3 ในกระบวนการสื่อสาร จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร อันเกิดจากการที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสารเป็น กระบวนการสื่อสารแบบวงกลม
10
ขอบคุณค่ะ ที่มา : กิดานันท์ มลิทอง เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.