งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ธรรมาภิบาล ในการบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ธรรมาภิบาล ในการบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ธรรมาภิบาล ในการบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข

2

3 วันที่ 18 เมษายน 2557 กระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะได้เข้าหารือกับ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ และ ศาสตราจารย์ ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ ปปช. เกี่ยวกับเรื่อง ประเด็นที่เป็นข่าวและขอคำแนะนำในการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลที่กระทรวงสาธารณสุขมีแผนที่จะดำเนินการ “ระบบราชการถูกครอบงำโดยธุรกิจ บริษัทหากินฝังรากอยู่ในกระทรวงต่าง ๆ มาก ใช้การไขว้รับงานวนเวียนไปเรื่อย ๆ คนกลุ่มใหม่ที่จะมาแข่งขันแทบไม่มีเลย” คณะกรรมการ ปปช. แสดงความชื่นชมต่อบุคลากรสาธารณสุขที่กล้าหาญเป็นแนวหน้า แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าทำงานเพื่อประชาชน กล้ายืนหยัดปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความถูกต้อง เน้นคุณภาพบริการ เป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานอื่นต่อไป

4 ประเด็นที่ ปปช. ขอความร่วมมือจาก กสธ.
เรื่องที่ 1 ให้มีการประสานและร่วมกันทำเรื่อง การป้องกันการทุจริตให้เข้มแข็ง ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุข และ ปปช. ที่ผ่านมาได้ มีการลงนาม MOU ร่วมกัน 2 ฉบับ คือ 1. เรื่องการสร้างเครือข่ายป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตเน้นที่บทบาท อสม. ลง นามเมื่อปี และ 2. เรื่องการรณรงค์ สร้างธรรมาภิบาลที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการทุจริต ลงนามเมื่อต้นปี 2557

5 ประเด็นที่ ปปช. ขอความร่วมมือจาก กสธ.
เรื่องที่ 2 ให้ กสธ.จัดทำศูนย์ข้อมูลเปิดเผยราคา กลางการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเป็นตัวอย่างกับ หน่วยงานอื่น ตามมาตรา 103/7 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ที่ให้ทุกหน่วยงานที่จะ จัดซื้อจัดจ้าง จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายและ ราคากลางและการคำนวณราคากลางและไว้ใน Website หลักการนี้จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส หากเปิดเผยราคาที่ไม่สมเหตุผล จะสามารถมี การโต้แย้งได้

6 เรื่องที่ 3 การให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ในการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พัสดุ ด้านงบประมาณและด้านการคลัง และดำเนินการในด้านการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

7 เรื่องที่ 4 ให้สร้างหลักสูตรป้องกัน ปราบปรามการทุจริต โดยเฉพาะเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะสถาน การศึกษาภายใต้กระทรวงสาธารณสุขมี มาก ยังไม่ได้มีการดำเนินการอยากให้มา ทำ MOU ในการจัดทำหลักสูตรร่วมกัน เรื่องที่ 5 ให้มีการดำเนินการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของกระทรวง สาธารณสุข ในเรื่องการจัดซื้อร่วมต่อเนื่อง

8 เรื่องที่ 6 ดำเนินการให้มีการสำรวจข้อมูลสารตั้งต้นยาเสพติดที่มีทั้งหมดเพื่อกำกับดูแลให้เกิดประสิทธิภาพ ที่เป็นข้อมูลของประเทศไทยเอง เรื่องที่ 7 ให้มีผู้ประสานงานที่ชัดเจนใน ศปท. เพื่อประสานเร่งรัดในเรื่องการติดตาม ข้อมูลพยานและหลักฐานเอกสารที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้การพิจารณาคดีของ กระทรวงสาธารณสุขที่คั่งค้างอยู่หลายคดี สามารถพิจารณาให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว

9 เรื่องร้องเรียนของกระทรวงสาธารณสุข
เรื่องที่ 1 พบมีบางจุดที่ทำเป็นธรรมเนียมที่เป็นจุดเสี่ยง ยามีเรื่องของเปอร์เซ็นต์ค่ายา รายได้ที่รับเข้ามาทั้งเงินบริจาค ต้องดูให้ดีทำให้ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรับบริจาค และปฏิบัติให้เข้มงวด รวมถึงประโยชน์อื่นที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เรื่องที่ 2 แพทย์ใส่ใจในเรื่องระเบียบและข้อบังคับน้อยและมอบหมาย บุคลากรพัสดุดำเนินการ สุดท้ายต้องมารับเพราะทุกอย่างจะมาลงที่ นพ.สสจ. และ ผอ.รพ. กรณีของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกรณีต้นแบบที่ น่าจะเป็นกรณีศึกษา เรื่องที่ 3 กรณีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การเปิดคลินิก จะมี ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องการสั่งซื้อยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ บางกรณีไม่ได้เข้า รพ. แต่ไปอยู่คลินิก ประเด็นเรื่องการจ่ายค่าอยู่ เวร แต่ตัวไปอยู่ที่อื่น ต้องยอมรับเป็นประเด็นเชิงจริยธรรม หากสร้าง ระบบจริยธรรมแยกประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวม จะสามารถเป็นตัวอย่าง ได้ บอกสาธารณชนได้ว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

10

11 งานวิจัยโครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง ม.ธรรมศาสตร์ พบประเด็นปัญหาที่ส่งผลต่อความเสี่ยงใน กระบวนการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล ดังนี้ การขาดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าที่จะ ใช้ตัดสินว่ายาตัวใดควรเข้าสู่สถานพยาบาล การขาดการควบคุมการส่งเสริมการขายของบริษัท ยา การควบคุมจริยธรรมต่อคณะกรรมการเภสัชกรรม และการบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาด สภาพบังคับและขึ้นกับนโยบายของสถานพยาบาล

12 แผนการดำเนินการ เพื่อให้การจัดซื้อจัดหาของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปอย่าง ถูกต้องและมีระบบธรรมาภิบาลที่ดี สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูป กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเห็นควรดำเนินการใน เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ดำเนินการพัฒนา เรื่อง ธรรมาภิบาลในการจัดซื้อ จัดหาในภาพรวมทั้งกระทรวง ในพัสดุ 5 กลุ่ม คือ ยา วัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวัสดุสำนักงาน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากรพ.ทุกระดับ กรมต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพและชมรมต่างๆ เพื่อ วางระบบการจัดซื้อจัดหา รวมทั้งกำหนดระบบการ ติดตามกำกับ ให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน (พ.ค.- ก.ค.57) เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ 2558

13 แผนการดำเนินการ (ต่อ)
2. ประกาศเกณฑ์จริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องการ ส่งเสริมการขาย การจัดซื้อจัดหา และการใช้ (พ.ค.57) 3. จัดทำเกณฑ์ และกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ต่างๆ เช่น คณะกรรมการเภสัชกรรมและการ บำบัดของหน่วยงาน คณะกรรมการบริหาร เวชภัณฑ์ระดับจังหวัด/เขต/กรม เป็นต้น (จัดทำ เกณฑ์: พ.ค.- ก.ค. 57 กำกับติดตามประเมินผล ส่วนกลาง/เขต/จังหวัดในปีงบประมาณ 2558)

14 แผนการดำเนินการ (ต่อ)
4. กำหนดแนวทางปฏิบัติในเรื่องสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับ ผลประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่ใช่ตัวเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดหา รวมถึงเงินบริจาค ให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี/ ระเบียบเงินบำรุง (พ.ค.- ก.ค.57) 5. การกำหนดราคากลาง เพื่อเปิดเผยแก่สาธารณะสำหรับการจัดซื้อจัดหา (พ.ค. – ก.ค. 57)

15 แผนการดำเนินการ ระดับบุคคล : ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อ ขาย จริยธรรมระดับบุคคล แปลงเป็นระเบียบ ระบบจัดซื้อและบริหารจัดการ : ใช้รูปแบบ PTC แต่ทำทั้ง 5 กลุ่ม ให้แต่ละแห่งดำเนินการใน รายละเอียด มีแผนที่ชัดเจน ระบบติดตามกำกับและประเมิน : สธน. การ เปิดเผยข้อมูล ทุกระดับ.

16 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt ธรรมาภิบาล ในการบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google