งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์

2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ การกำหนดขอบเขตเนื้อหาบทเรียน การออกแบบทดสอบที่ใช้ประเมินผลผู้เรียน การเลือกสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดแบ่งเวลาเรียน

3 ประเภทของวัตถุประสงค์
มี 2 ประเภทคือ วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objectives) วัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Specific Objectives or Behavioral Objectives)

4 ประเภทของวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objectives) เป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นในแนวกว้างๆ ว่า เมื่อมีการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนจะเรียนรู้อะไรบ้าง เป็นเพียงกรอบหรือแนบกว้างๆ ของบทเรียน

5 ประเภทของวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Specific Objectives or Behavioral Objectives) เป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าหลังจากที่มีการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถแสดงพฤติกรรมที่วัดได้สังเกตเห็นได้ออกมาอย่างไรบ้าง ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร และต้องทำได้มากน้อยเพียงใด

6 ส่วนประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ประกอบด้วย 3 ส่วน พฤติกรรมขั้นสุดท้าย หรือ พฤติกรรมที่คาดหวัง (Terminal Behavior) เงื่อนไขหรือ สถานการณ์ (Condition or Situation) เกณฑ์หรือมาตรฐาน (Standard or Criteria)

7 ส่วนประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

8 Terminal Behavior การแสดงออกของผู้เรียน เมื่อสิ้นสุดบทเรียนแล้วผู้เรียนแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะต้องวัดได้หรือสังเกตได้ เช่น บอกส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง จำแนกหน่วยความจำที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ พิมพ์ดีดภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ไม่น้อยกว่า 70 คำต่อ นาที

9 Condition or Situation
เป็นข้อความที่บ่งถึงสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือเงื่อนไข ที่จะให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา กำหนดได้ 3 ลักษณะ ลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาบทเรียน ลักษณะของสิ่งเร้าเพื่อให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา ลักษณะที่เป็นเงื่อนไขของการกระทำ

10 Condition or Situation
เช่น อธิบายหลักการทำงานของ UPS จำแนกส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ เมื่อกำหนดวงจรไฟฟ้ามาให้ สามารถอ่านแบบได้ถูกต้อง ต่อวงจรไฟฟ้าแสงสว่างในบ้านได้ โดยไม่ต้องดูแบบ

11 Standard or Criteria เป็นส่วนที่ใช้ระบุความสามารถขั้นต่ำของผู้เรียนว่าจะต้องทำได้เพียงใด จึงจะยอมรับได้ว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว ลักษณะความเร็วหรือการบ่งเวลา ลักษณะปริมาณที่ต่ำที่สุด เป็นเกณฑ์ที่ไม่สามารถระบุเชิงความเร็วหรือปริมาณได้

12 Standard or Criteria เช่น
ท่องสูตรคูณตั้งแต่แม่ 2 ถึง แม่ 12 ได้จบภายใน 3 นาที คำนวณโจทย์เรื่องบัญญัติไตรยางศ์ได้ 8 ใน 10 ข้อ อธิบายความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ ระบุองค์ประกอบที่มีผลต่อความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ได้

13 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
จำแนกตามลักษณะของการเรียนรู้ได้ 3 ส่วน ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)

14 Cognitive Domain วัตถุประสงค์ที่เน้นทางด้านความสามารถทางสมรรถภาพทางสมองหรือการใช้ปัญญา ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินผล (Evaluation)

15 Psychomotor Domain วัตถุประสงค์ที่แบ่งระดับพฤติกรรมที่เกี่ยวกับทักษะความชำนาญ การเลียนแบบ (Imitation) การปฏิบัติได้โดยลำพัง (Manipulation) การปฏิบัติได้ถูกต้องแม่นยำ (Precision) การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและผสมผสาน (Articulation) การปฏิบัติโดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ (Naturalization)

16 Affective Domain วัตถุประสงค์ที่เน้นความสามารถทางความรู้สึก อารมณ์ เจตคติต่อสิ่งต่างๆ การยอมรับ (Receiving) การตอบสนอง (Responding) การสร้างค่านิยม (Valuing) ดำเนินการ (Organization) แสดงลักษณะเฉพาะตนตามค่านิยม (Characterization by a Value)

17 สรุปการจำแนกวัตถุประสงค์

18 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ นอกจากจะต้องพิจารณาส่วนประกอบ ทั้ง 3 ส่วน แล้ว ยังต้องพิจารณาระดับของวัตถุประสงค์ด้วย เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์จะไม่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหาหรือประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนรายบุคคล

19 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
Cognitive Domain การฟื้นคืนความรู้ (Recalled Knowledge) การประยุกต์ความรู้ (Applied Knowledge) การส่งถ่ายความรู้ (transferred Knowledge) Psychomotor Domain Affective Domain

20 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
Cognitive Domain การฟื้นคืนความรู้ (Recalled Knowledge) มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในลักษณะการฟื้นคืนความจำออกมาในลักษณะของการเขียนหรือการอธิบายด้วยคำพูด เช่น บอกกฎแห่งความปลอดภัยในการทำงานได้ ยกตัวอย่างจำนวนเต็มแบบ Integer ได้

21 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
Cognitive Domain การประยุกต์ความรู้ (Applied Knowledge) มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาใหม่ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันกับสิ่งที่เคยผ่านการเรียนรู้มาแล้วได้อย่างถูกต้อง เช่น สาธิตการทำงานของระบบ RFID ได้ อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความสนใจได้

22 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
Cognitive Domain การส่งถ่ายความรู้ (transferred Knowledge) มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการส่งถ่ายความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในงานใหม่ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากคุณลักษณะเดิมที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้วได้อย่างถูกต้อง เช่น วิเคราะห์สาเหตุของการเกิดไวรัสในฮาร์คดิสค์ได้ พัฒนาคำสั่งการใช้งาน PDA โดยใช้ภาษาไทยได้

23 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
Psychomotor Domain เช่น ออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานของโรงงานได้ ปฏิบัติการเข้าหัวสาย UTP Cat 5 ได้ภายใน 2 นาที

24 การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์

25 ข้อพิจารณาในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ต้องเป็นวัตถุประสงค์ที่บ่งถึงพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ผ่านบทเรียนไปแล้ว จะต้องระบุด้วยคำกิริยาที่บ่งถึงการกระทำที่วัดได้หรือสังเกตได้ ต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้เรียน ไม่ใช่พฤติกรรมผู้สอนหรือของบทเรียน ต้องประกอบด้วยพฤติกรรมที่คาดหวัง เงื่อนไข และเกณฑ์ที่สมบูรณ์

26 ข้อพิจารณาในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ครอบคลุมเนื้อหาสาระ สอดคล้องตรงตามหัวเรื่องเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน แต่ละข้อ วัดพฤติกรรมเพียงด้านเดียวหรืออย่างเดียวเท่านั้น ควรวัดพฤติกรรมให้ครบทุกด้าน และมีระดับความยากสอดคล้องกับระดับของผู้เรียน นิยมเขียนด้วยประโยคบอกเล่า มากกว่าการใช้ประโยคคำถามหรือประโยคปฏิเสธ เขียนด้วยประโยคหรือข้อความสั้นๆ ที่กระชับและได้ใจความ

27 ตัวอย่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
อธิบายขั้นตอนการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ได้ถูกต้อง บอกส่วนประกอบของฮาร์ดดิสค์ได้ วิเคราะห์อาการของคอมพิวเตอร์หลังจากติดไวรัสแล้วแล้วได้ อธิบายการทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆได้

28 ระดับความยากของวัตถุประสงค์ Difficulty of Objective

29 ระดับความยากของวัตถุประสงค์ Difficulty of Objective
ระดับของผู้เรียน (Level of Audience) ความยากของเนื้อหา (Difficulty of Content)

30 Objective Analysis จบการบรรยาย คำถาม


ดาวน์โหลด ppt Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google