ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์
ทรัพย์สินไมใช่บุคคล (Subject of Law) จึงไม่สามารถทำผิดกฎหมาย นั่นคือทำละเมิดมิได้ ความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์จึงถูกกฎหมายกำหนดให้บุคคลเป็นผู้รับผิดแทน ไม่มีการไล่เบี้ยจากทรัพย์ กฎหมายจึงบัญญัติให้บุคคล เช่น เจ้าของทรัพย์ ผู้ครอง ผู้บังคับ ผู้ดูแล เป็นผู้รับผลจากความเสียหาย บางมาตรากำหนดให้เป็นความรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict Liability) หรือความรับผิดโดยไม่มีความผิด (Liability without Fault) บางมาตราได้สร้างภาระการพิสูจน์ให้คู่ความ เป็นบทสันนิษฐานความรับผิด (Presumed Fault)           มาตรา 433 ความรับผิดของเจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงสัตว์           มาตรา 434 ความรับผิดของผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง           มาตรา 436 ความรับผิดของผู้อยู่ในโรงเรือนกรณีของตก           มาตรา 437 ความรับผิดของผู้ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะ

3 ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์
มาตรา เหตุแห่งความเสียหาย ผู้รับผิด ข้อแก้ตัวไม่ต้องรับผิด  433  สัตว์  1) เจ้าของ หรือ  2) ผู้รับเลี้ยง ผู้รักษา พิจารณาว่าขณะเกิดความเสียหายอยู่ในความ ครอบครองของใคร  1) ใช้ความระมัดระวังตามสมควร แก่การเลี้ยงดู ตามชนิด วิสัย พฤติการณ์ของสัตว์ หรือ               2) ความเสียหายนั้นต้องเกิดขึ้นอยู่ดี แม้จะได้ใช้ ความระมัดระวังแล้ว  434  โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ กอไผ่  1) ผู้ครอง  2) เจ้าของหากไม่มีผู้ครองในขณะเกิดความเสียหาย  ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อป้องกันความ เสียหายนั้นแล้ว (เจ้าของมิอาจปัดความรับผิด)  436  ของตกหล่นหรือทิ้งขว้าง จากโรงเรือน  บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน  กฎหมายไม่กำหนดเงื่อนไขให้แก้ต่างเพื่อพ้นผิด  437   ยานพาหนะฯ หรือทรัพย์อันตราย  1) ผู้ควบคุม  2) ผู้ครอง  3) เจ้าของ  (ถ้าผู้ครอง หรือ/และ เจ้าของอยู่ด้วย ต้องร่วมรับผิด)  1) เหตุสุดวิสัย  2) ความผิดของผู้เสียหายเอง

4 ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นเพราะสัตว์
มาตรา 433 “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับ เลี้ยงรับรักษา ไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่สัตว์ นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวัง ถึงเพียงนั้น อนึ่งบุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่ว สัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆ ก็ได้”

5 องค์ประกอบความรับผิดในความเสียหายจากสัตว์ตามมาตรา 433
องค์ประกอบความรับผิดในความเสียหายจากสัตว์ตามมาตรา 433 1) ต้องมีความเสียหาย  2) เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสัตว์ ซึ่งมี 2 กรณีคือ 2.1) ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์โดยตรง 2.2) ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ทางอ้อม ในเบื้องต้น ฝ่ายโจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริง ซึ่งอาจจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ สิทธิของบุคคล เช่น ลิงวิ่งไปกัดคนตาย/ได้รับบาดเจ็บ หรือ ฝูงแมวร้องโหยหวนทำให้นอนหลับไม่ได้ หรือ อาจจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์ก็ได้ เช่น ควายหลุดออกจากหลักไปนอกนาเข้าไป เหยียบย่ำแปลงผักในไร่ของผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือสุนัขมาขับถ่ายใส่แหล่งน้ำกินน้ำใช้ เป็นต้น

6 ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสัตว์ที่บุคคลต้องรับผิดแทน
ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์โดยตรง เช่น สุนัขกัด แมวข่วน ม้าเตะ นกจิก วัวชน ช้างกระทืบ หมูป่าขวิด ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ทางอ้อม  (เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัตว์) โดยหมายรวมถึง ความเสียหายที่ สัตว์ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง เช่น โจอี้เปิดมูลนิธิรับเลี้ยงสุนัขไว้ ปรากฏว่าสุนัขที่โจอี้ดูแลเห่า หอนตลอด เป็นเหตุให้ปู่จ๋านซึ่งอาศัยในบ้านใกล้กันพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นเหตุให้เจ็บป่วยต้องเข้าบำบัดใน โรงพยาบาล จนเสียค่าใช้จ่ายไปสามหมื่นบาท กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากสัตว์เช่นกัน หากเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ โดยมีผู้ใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการทำละเมิด ให้ถือว่าเป็น การกระทำของบุคคลต้องปรับเข้ามาตรา 420 มิใช่มาตรา 433 แต่มีประเด็นปัญหาถกเถียงกันว่า ในกรณีที่สัตว์มีเจ้าของแต่เจ้าของไม่ประสงค์จะเลี้ยงดู ปล่อยปละละเลย หรือนำไปไว้ในที่ห่างไกล เคยมีคำพิพากษาว่าสัตว์นั้นไม่มีเจ้าของ กลายเป็นความรับผิดของผู้ดูแล เช่น วัด หรือ มูลนิธิ ต้องรับผิดแทนเมื่อเกิดความเสียหายจากสัตว์เหล่านั้น

7 ความรับผิดระหว่างเจ้าของกับผู้รับเลี้ยงรับรักษา
ลูกจ้างหรือคนรับใช้ที่มีหน้าที่ดูแลเลี้ยงดูสัตว์นั้นไม่ถือว่าเป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษา หากเกิดความ เสียหายจากสัตว์นั้น เจ้าของจะต้องเป็นผู้รับผิด เช่น ถ้าผู้เลี้ยงช้างลักษณะเป็นการทำแทน เจ้าของช้าง เจ้าของช้างไม่พ้นความรับผิดหากช้างไปสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นกรณีรับจ้างเลี้ยง ความรับผิดจะตกอยู่กับผู้รับเลี้ยงรับรักษาเมื่อความเสียหายเกิดขึ้น ในระหว่างผู้เป็นเจ้าของ และผู้รับเลี้ยงรับรักษา ผู้ใดจะต้องรับผิดให้พิจารณาว่า ”ในขณะ” ที่ สัตว์ก่อให้เกิดความเสียหาย สัตว์นั้นอยู่ในความดูแลของผู้ใด ในกรณีที่สัตว์มีเจ้าของและเจ้าของได้ให้ผู้อื่นรับเลี้ยงหรือรักษาสัตว์ไว้แทน ดังนี้ผู้รับเลี้ยงรับ รักษาต้องรับผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2510)

8 ข้อสังเกต ความเสียหายจากสัตว์นั้นต้องเป็นความเสียหายต่อบุคคลอื่น
หากสัตว์ทำความเสียหายแก่เจ้าของเอง ย่อมตกเป็นพับแก่เจ้าของ ถ้าเจ้าของไม่ได้ดูแลรักษาสัตว์ของตัวเอง แต่ให้ผู้อื่นเป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทน ตน แล้วสัตว์นั้นทำความเสียหายแก่เจ้าของ ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้อง รับผิดต่อเจ้าของ (ผู้รับฯบกพร่องต่อหน้าที่? ก็ต้องไปพิสูจน์ว่าเข้าเงื่อนไขพ้นผิด) ถ้าสัตว์ทำความเสียหายต่อลูกจ้างของเจ้าของหรือลูกจ้างของผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้ แทนเจ้าของ ลูกจ้างนั้นย่อมเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้ แทนเจ้าของที่เป็นนายจ้างได้

9 ความรับผิดของเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทน
สัตว์ ต้องมีเจ้าของจึงจะพิจารณาความรับผิดของคนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์จะไม่ได้ ครอบครองดูแล เช่น สุนัขหายไปจากบ้าน แล้วไปกัดคนเข้า เจ้าของต้องรับผิด หรือสัตว์ที่ปล่อยเลี้ยงตาม ธรรมชาติไปทำความเสียหาย เจ้าของก็ต้องรับผิด สัตว์เป็นสังหาริมทรัพย์ หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้สละการครอบครองโดยการแสดงเจตนาสละกรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ดังนั้นถ้าเพียงสัตว์หนีหาย แล้วไปทำความเสียหาย เจ้าของไม่ต้องรับผิด ความเป็นเจ้าของอาจพิจารณาตามพฤติการณ์ที่ปฏิบัติต่อสัตว์อย่างเป็นเจ้าของด้วย เช่น สุนัขจรจัดมา อาศัยนอนอยู่หน้าบ้าน เจ้าของบ้านเลี้ยงดูเอาข้าวให้กินอยู่เป็นประจำเช่นสัตว์เลี้ยงของตน ย่อมถือว่าเป็น เจ้าของสุนัขนั้น ผู้รัก/เวทนาสุนัขจึงพึงระมัดระวังให้ดี แต่ก็ยังมีแนวคำพิพากษาที่ไม่คงที่ ไม่ถือเป็นเจ้าของ บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของในขณะที่สัตว์ทำความเสียหาย ประเด็นสำคัญ คือ ต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ดูแลควบคุมบังคับสัตว์ได้ เช่น ผู้รับจ้างเหมาดูแลสัตว์ สัตวแพทย์ ผู้เช่า ผู้ยืม ผู้รับฝากสัตว์ เจ้าพนักงาน บังคับคดี แม้จะดูแลเป็นช่วงเวลาสั้นๆ คนใช้ลูกจ้างตามบ้านถือเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดูในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาของนายจ้างไม่ใช่ผู้ดูแล

10 ความรับผิดของบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ
คำว่า “แทน” ในมาตรานี้มิใช่ “ตัวแทน” แต่หมายถึง บุคคลที่ผู้ดูแลควบคุมบังคับสัตว์ในขณะนั้น เช่น มีคน ขโมยสัตว์ไปสัตว์อยู่ในความดูแล ความรับผิดจึงตกอยู่แก่คนขโมยผู้ควบคุมบังคับ ความรับผิดระหว่างเจ้าของสัตว์ กับ บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ตามมาตรา 433 นั้นประสงค์ ให้เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ “คนใดคนหนึ่ง” รับผิด มิใช่ร่วมรับผิด ต่างจากความในมาตรา 437 ที่บัญญัติให้ทั้งผู้ครอบครองและผู้ควบคุมยานพาหนะต้องรับผิด ประเด็นสำคัญ คือ ต้องวินิจฉัยว่าใครเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลควบคุมบังคับสัตว์ “ในขณะ” ที่สัตว์ทำความ เสียหาย ระหว่าง เจ้าของ กับ บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ เช่น ถ้าสัตว์ทำความเสียหายในขณะ เช่าไป ผู้เช่าเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลควบคุมบังคับสัตว์ต้องรับผิด ไม่ใช่เจ้าของสัตว์ แต่ถ้าไม่มีบุคคลผู้รับเลี้ยงรับ รักษาไว้แทนเจ้าของ ความรับผิดย่อมต้องตกอยู่ที่เจ้าของ อย่างไรก็ตามถ้ามีเจ้าของหลายคนหรือมีบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของหลายคน เช่น กรณีสัตว์อยู่ ในความดูแลของมูลนิธิ กรรมการที่เป็นผู้จัดการนิติบุคคลร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิด

11 ข้อยกเว้นมิต้องรับผิดต่อความเสียหาย
กฎหมายกำหนดภาระการพิสูจน์ให้เจ้าของหรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ เช่น ขังฮิปโปไว้ในบ่อ ซีเมนต์อย่างแน่นหนามีกรงล้อมแล้ว ไม่อาจมุดปีนออกไปได้ หรือได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรตามพฤติการณ์อย่างอื่น เช่น ในฤดูน้ำหลากได้เสริมกำแพงบ่อจระเข้ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยซึ่งไม่ต้องรับผิดอยู่แล้ว เช่น ฟ้าผ่าทำให้นกกระจอกเทศตกใจตื่นวิ่งเตะคน หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้น ย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น เช่น เลี้ยงหมูไก่ ในฟาร์ม แต่เกิดโรคระบาดในปศุสัตว์แล้วติดเชื้อไปยังฟาร์มอื่น อย่างไรก็ดี มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสัตว์เป็นการเฉพาะ ก็ต้องใช้มาตรฐานการระมัดระวังตาม กฎหมายเหล่านั้นด้วย เช่น ประกาศ/กฎ/ระเบียบ กรมปศุสัตว์ เป็นต้น

12 การใช้สิทธิไล่เบี้ยตามมาตรา 433 วรรคสอง
การใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์ เจ้าของหรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ต้อง รับผิดไปก่อน แล้วค่อยไล่เบี้ยคืนเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่ว สัตว์นั้นๆภายหลัง มิอาจฟ้องเอาคืนก่อน เว้นแต่ถ้าบุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์ยอมจ่ายแก่ผู้เสียหายโดยตรง เร้าหรือยั่วสัตว์ คือ การแหย่สัตว์ ทำร้าย ยั่วเย้าสัตว์ ทำให้สัตว์โกรธไปทำร้ายคนอื่น แต่ถ้าสัตว์ทำร้ายผู้เร้าหรือยั่วสัตว์เสียเอง เจ้าของไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นพฤติการณ์อย่างอื่นที่เป็นข้อยกเว้น ตามมาตรา 433 วรรคแรก จะเป็นละเมิดเมื่อไม่มีสิทธิทำ แต่ถ้ามีสิทธิทำ เช่น เสือจะกัดนักท่องเที่ยวจึงใช้ไม้ตีเสือเพื่อให้ตนพ้นภัย เสือ ก็เลยหันไปกัดไกด์ที่อยู่ใกล้ พระมีสิทธิทำจึงไม่ต้องรับผิด แต่เจ้าของต้องรับผิดต่อไกด์ที่ถูกกัด

13 ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2559              ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ จูง ไล่ต้อนหรือปล่อย สัตว์ไปบนทางเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นเจ้าของสุนัขจึงเป็นผู้ดูแลสัตว์จะต้องดูแลควบคุมมิให้สัตว์กีดขวางการจราจร การที่สุนัขของจำเลยทั้ง สองวิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะกระชั้นชิด ย่อมเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ รถจักรยานยนต์ของโจทก์ล้ม เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยทั้งสองว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับ รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร ดังนั้น เหตุละเมิดจึงเกิดจากความ ประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสองที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการควบคุมดูแลสุนัข เมื่อมีความ เสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 วรรคหนึ่ง

14 ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นเพราะโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างและต้นไม้
มาตรา 434 “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่าง อื่นก่อสร้างไว้ชำรุด บกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จำต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็น เจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุน ต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิดเสียหายนั้น ด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหรือเจ้าของจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้นั้นก็ได้”

15 องค์ประกอบความรับผิดตามมาตรา 434
องค์ประกอบความรับผิดตามมาตรา 434 วรรคแรก           1) ความเสียหายเกิดจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น           2) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ชำรุดบกพร่อง หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ องค์ประกอบความรับผิดตามมาตรา 434 วรรคสอง           1) ความเสียหายเกิดจากต้นไม้หรือกอไผ่           2) ต้นไม้หรือกอไผ่นั้น มีความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุน

16 ความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างนั้นได้ก่อสร้างไว้อย่างชำรุดบกพร่อง เช่น ก่อสร้างตึกไม่ได้มาตรฐานตาม หลักวิชาชีพ ขาดการบำรุงรักษาที่เพียงพอ เช่น ห้องแถวเก่าทรุดโทรมไม่ได้บำรุงรักษาในเวลาอันควร ผนัง ทรุดตัวล้มทับ โรงเรือน หมายถึง สิ่งปลูกสร้างบนดินหรือใต้ดินรวมถึงส่วนประกอบโรงเรือนด้วย เช่น ลิฟต์ บันไดหนีไฟ สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มิใช่โรงเรือน ได้แก่ รั้วบ้าน สะพาน อนุสาวรีย์ ทางระบายน้ำ เป็นต้น มิได้จำกัดเพียงอสังหาริมทรัพย์แต่หมายรวมถึงสังหาริมทรัพย์ เช่น นั่งร้าน ร้านค้าแผงลอย ซึ่ง ไม่ได้ปักหลักลงพื้นดินหรือยึดติดกับพื้นดินอย่างแน่นหนาถาวร

17 บุคคลผู้ต้องรับผิดตามมาตรา 434
ในเบื้องต้น คือ ผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย ตัวอย่างเช่น ผู้บุกรุกครอบครองตึกห้องแถวร้างแม้จะไม่มีสิทธิตามสัญญาหรือกฎหมายแต่ถือเป็นผู้ ครอบครองที่ต้องดูแลรับผิดชอบไม่ให้เกิดความเสียหายจากห้องแถวนั้น เจ้าของที่เป็นผู้ครองด้วย หรือ กรณีที่ผู้ครองพิสูจน์ว่าดูแลดีจนพ้นความรับผิดแล้ว เจ้าของต้องรับผิด ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ครอง คือ ต้องพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้อง มิให้เกิด เสียหายนั้นแล้ว เช่น ผู้เช่าได้บอกให้เจ้าของบ้านซ่อมแซมคานบ้านที่โยกคลอน โดยแจ้งล่วงหน้าตามเวลา สมควรแล้วแต่เจ้าของไม่ยอมซ่อมจนถล่มลงมาถูกแขกที่มาพักบาดเจ็บ ผู้เช่าไม่ต้องรับผิด แต่เจ้าของต้อง รับผิดตามมาตรา 434 วรรคแรกตอนท้าย หากผู้ครองและเจ้าของไม่อาจพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้อง มิให้เกิดเสียหาย นั้น มีทางเดียวที่จะพ้นความรับผิด นั่นก็คือ พิสูจน์ว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของการ ก่อสร้างหรือไม่ได้เกิดจากการบำรุงรักษาไม่เพียงพอ เช่น เกิดจากเหตุสุดวิสัย ภัยพิบัติที่ไม่อาจปัดป้องได้

18 ต้นไม้กอไผ่ และข้อสังเกตเพิ่มเติม
นอกจากนี้ มาตรา 434 วรรคสอง ยังให้รวมถึงความเสียหายอันเกิดจากพืชเพราะความ บกพร่อง นั่นคือการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย เช่น ต้นไม้หรือกิ่งไม้ถูกปลวกกินจนผุ น่าจะล้มทับคน แต่ไม่ยอมโค่น เป็นต้น การใช้สิทธิไล่เบี้ยในกรณีที่เกิดความเสียหายตามมาตรา 434 นี้เกิดจากการกระทำของผู้อื่น เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐานใช้วัสดุที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดในสัญญาเป็น เหตุให้ตึกถล่มทับคนบาดเจ็บ ผู้ครองหรือเจ้าของยังคงต้องรับผิดตามมาตรา 434 วรรคแรก อยู่ก่อน แต่เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้รับเหมาก่อสร้างได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้อื่นใช้โรงเรือนทำละเมิดต้องปรับตามมาตรา 420 เช่น ต้นไม้ทรุดตัวเอนลง เกือบจะโค่นแต่ผู้อื่นขับเครื่องร่อนมาเสย ต้นไม้เลยเลยหักลงทั้งต้นทับรถจอดใต้ต้นไม้เสียหาย

19 การตีความมาตรา 434 สิ่งปลูกสร้าง ได้แก่อะไรบ้างนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2516 ให้หมายรวมถึงป้ายโฆษณา ติดตั้งบนดาดฟ้าตึก ผู้เช่าสถานที่ติดตั้งเป็นผู้ครอบครองป้าย ผู้รับจ้างติดตั้งและดูแลป้ายไม่ใช่ผู้ครอบครอง ร่วมด้วย ป้ายติดตั้งไม่ตรงตามแบบแปลน จึงถูกพายุตามธรรมดาพัดพังลงมาทำให้โจทก์เสียหาย ผู้เช่าต้อง รับผิดในฐานะ ผู้ครองตึกที่ป้ายติดตั้งอยู่ เปรียบเทียบกับเรื่องของตกหล่นจากโรงเรือน ตามมาตรา 436 ป้ายโฆษณาติดตั้งแน่นหนาไม่ถือเป็นของ ตกหล่นจากโรงเรือน ถ้าผู้ครองรับผิดแล้ว เจ้าของก็ไม่ต้องรับผิดอีก (ฎีกา  /2496) พายุมาแรงตามฤดูกาล ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ถือเป็นพฤติการณ์ที่คาดเดาได้ ผู้ครอง เจ้าของ ต้องดูแลรักษา โรงเรือน อุปกรณ์ ส่วนควบหลุดปลิว หรือต้มไม้กอไผ่ล้มโค่นสร้างความเสียหาย          

20 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540 จำเลยเป็นเจ้าของเสาโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟซึ่งมีการ ออกแบบโครงสร้างผิดพลาดและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาที่จะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้เมื่อมี พายุฝนเป็นธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติทำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้มลงทับ คลังสินค้าซึ่งมีสต๊อกสินค้าของบริษัทล. ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา434วรรคหนึ่ง  ภาระการนำสืบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามมาตรา 434 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2528 แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 จะบัญญัติให้ ผู้ครองหรือเจ้าของต้นไม้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตามแต่มูลละเมิดในเรื่องนี้ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำ จุนต้นมะพร้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ของจำเลยโจทก์ก็มีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า เหตุ ที่ต้นมะพร้าวล้มจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เกิดจากความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนของจำเลย หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องพิสูจน์ดังกล่าวไม่

21 การให้สิทธิปัดป้องภัย ตามมาตรา 435
มาตรา 435 “บุคคลใดจะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น บุคคลผู้นั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้” มาตรานี้ให้สิทธิบุคคลที่อาจจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น เรียกร้องให้เจ้าของ ผู้ครอง จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ ความเสียหายยังไม่ต้องเกิดขึ้น เพียงแต่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึง ก็ใช้สิทธิได้ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครองไม่ดำเนินการ ผู้ที่อาจได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิฟ้องศาลให้บังคับคดีแก้ไขได้ เช่น หอคอยเอน ศาลก็อาจสั่งให้แก้ไขโดยการออกแบบแก้รากฐานสร้างเสียใหม่ หรือค้ำยันอาคารให้ดีไม่ให้ถล่ม นอกจากนี้มาตรานี้ยังคงเทียบเคียงกรณีต้นไม้ที่มาตรา 435 มิได้บัญญัติไว้แต่อาศัยมาตรา 4 วรรคท้าย ในฐานะที่มาตรา 435 เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เช่น สั่งให้ตัดต้นฉำฉาที่ลำต้นทรุดเอนก่อนที่ จะโค่นลงมาทับคนเดิน แต่ถ้าเป็นกรณีที่กิ่งไม้ล้ำเข้าไปในเขตรั้วคนอื่นต้องพิจารณาตามมาตรา1347 (บอกแล้ว/ตัด/เก็บ ได้)

22 ความรับผิดต่อความเสียหายจากของตกหล่น ทิ้งขว้าง ม.436
มาตรา 436 “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะ ของตกหล่นจากโรงเรือน นั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร” ความเสียหายจากโรงเรือนต้นไม้ (ม.434) ของตกหล่น ทิ้งขว้างจากโรงเรือน (ม.436) 1. เจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้รับผิด 2.ความเสียหายจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูก สร้างหรือต้นไม้หรือกอไผ่ 1. บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนเป็นผู้รับผิด 2. ความเสียหายจากของตกหล่นจาก โรงเรือน

23 เหตุความเสียหายที่จะต้องรับผิดตามมาตรา 436
ของที่ตกหล่นจากโรงเรือน หรือ ของที่ถูกทิ้งขว้างจากโรงเรือนไปตกในที่อันมิควร โรงเรือน คือ สิ่งปลูกสร้างสำหรับอยู่อาศัยหรือประกอบธุรกิจ เช่น สถานที่ราชการหรือโรงเรียน แต่ไม่รวมถึง อาคารร้างเพราะไม่มีผู้อยู่ในโรงเรือนดังกล่าว “ร้าง” ของตกหล่นตามมาตรานี้ ต้องมิใช่ การจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบุคคล เช่น ขว้างของใส่คนข้างล่างโดย จงใจหรือเดินไปถูกกระถางที่วางขอบระเบียงตกถูกคนข้างล่างโดยไม่ระวัง ซึ่งต้องปรับตามมาตรา 420 และต้องไม่ใช่กรณีส่วนควบอุปกรณ์ของอาคารชำรุดตกหล่นมาถูกคนข้างล่าง ซึ่งต้องปรับตามมาตรา434 การทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร ต้องเป็นพื้นที่ซึ่งไม่ควร แต่ถ้าเป็นบ่อขยะแล้วทิ้งขว้างไปแม้ว่าจะมีคนไป แอบอยู่หรือมีคนมาเก็บขยะโดยที่ผู้ขว้างก็ไม่ได้รู้ถึงผลที่จะเกิดแก่คนเก็บขยะก็ไม่ต้องรับผิด

24 ผู้ที่ต้องรับผิดตามมาตรา 436
บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน หมายถึง บุคคลที่เข้ายึดถือครองโรงเรือนและอยู่ในฐานะที่จะ ควบคุมดูแลโรงเรือน รับผิดชอบความเสียหายอันเกิดจากของตกหล่นหรือทิ้งขว้างได้ เช่น ผู้ เช่าที่อาศัยในบ้านเช่านั้น เจ้าบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้น ดังนั้นผู้มาอาศัยอยู่ด้วยหรือแขกที่มา เยือนจึงมิใช่บุคคลที่จะควบคุมดูแลโรงเรือนได้ มีข้อสังเกตว่ากรณีบ้านทิ้งร้าง เจ้าของมิได้มาดูแลอาศัยอยู่ด้วย จึงไม่ใช่ผู้อยู่ในโรงเรือน ผู้ที่ต้องรับผิดมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นได้ เช่น การที่เพื่อนมาเยี่ยม บ้านได้เดินไปกระแทกกับเสาโคมไฟริมระเบียงบ้านเป็นเหตุให้ตกหล่นไปทะลายบ่อปลาของ เพื่อนบ้านเสียหาย เจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้อยู่ในโรงเรือนนั้นต้องรับผิดตามมาตรา 436 เสียก่อน แล้วเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เสียหายตามมาตรา 229(3) เพื่อเรียกเอาแก่ผู้ก่อความเสียหายได้ หรือจะเทียบเคียงกับมาตรา 434 วรรคท้าย

25 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ม.436
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่าบริษัท ผู้ให้เช่า และผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้ อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูก แรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กาย เป็นธงที่ ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความ เสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว

26 ความรับผิดในความเสียหายจากยานพาหนะและทรัพย์อันตราย
มาตรา 437 “บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลัง เครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการ เสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตราย ได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย” ความเสียหายจากทรัพย์ตามมาตรา 437 มี 2 ประเภทคือ    1) ยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล    2) ทรัพย์อันตราย แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ          2.1 ทรัพย์อันตรายโดยสภาพ            2.2 ทรัพย์อันตรายโดยความมุ่งหมายที่ใช้            2.3 ทรัพย์อันตรายโดยอาการกลไกของทรัพย์

27 ความรับผิดในความเสียหายเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล
องค์ประกอบความรับผิดตามมาตรา 437 ส่วนแรก คือ           1) ยานพาหนะต้องเดินด้วยเครื่องจักรกล           2) ความเสียหายต้องเกิดขึ้นในขณะที่ยานพาหนะฯ นั้นเดินด้วยเครื่องจักรกลอยู่           3) ความเสียหายเป็นผลโดยตรงซึ่งเกิดขึ้นจากยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกล           4) ความเสียหายต้องเกิดแก่บุคคล ทรัพย์สิน หรือยานพาหนะอื่นที่มิได้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล ข้อยกเว้นความรับผิด ถ้าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง 1) ยานพาหนะอย่างใดๆอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล คือ ยานพาหนะทุกชนิดที่เดินด้วยเครื่องจักรกล เช่น รถยนต์ เรือยนต์หรือรถไฟฟ้า แต่ถ้าใช้กำลังจากคน เช่น คนถีบเรือไม่ใช่เดินด้วยเครื่องจักรกล

28 ความรับผิดในความเสียหายเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล
2) ต้องเกิดความเสียหายขึ้นในขณะเคลื่อนที่ด้วยเครื่องจักรกลด้วย ดังนั้น ถ้าจอดอยู่หรือรถไหลลงจากเนินไม่ ถือว่าเดินด้วยเครื่องจักรกล แต่ถ้าเดินด้วยเครื่องจักรกลแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์ดับแล้วรถยนต์ยังคงไหลด้วย แรงเฉื่อย ยังถือว่าเดินด้วยเครื่องจักรกลเพราะเป็นหน้าที่ของผู้ครอบครองควบคุมรถยนต์นั้นจะต้องควบคุม ไม่ให้รถยนต์ไปก่อความเสียหาย 3) ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลหรือทรัพย์สินหรือยานพาหนะอื่นที่ไม่ได้เดินด้วยเครื่องจักรกลเช่น เรือยนต์ ชนกับเรือใบ หรือรถยนต์ชนกับจักรยาน หรือเรือยนต์ลากจูงเรือพ่วงสินค้า เรือพ่วงสินค้าล่มลง สินค้าเสียหาย คนขับเรือยนต์ต้องรับ รถโดยสารคว่ำ ผู้โดยสารบาดเจ็บคนขับรถโดยสารต้องรับผิด ตามมาตรา 437 เป็นกรณีที่ยานพาหนะของฝ่ายหนึ่งเดินด้วยเครื่องจักรกลอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ ดังนั้น หาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากรถยนต์ชนกันซึ่งยานพาหนะเดินด้วยเครื่องจักรกลทั้ง 2 ฝ่าย ก็ไม่ใช่กรณี มาตรา 437 แต่เป็นกรณีมาตรา 420 กล่าวคือ ฝ่ายผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ว่าผู้ขับรถยนต์ประมาทเลินเล่อ ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นเพียงผู้โดยสารในรถยนต์คันที่ชนกันก็ตาม (ฎีกา /2532)

29 ความรับผิดในความเสียหายเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล
4) ผู้ต้องรับผิดคือบุคคลครอบครองหรือควบคุมดูแล ยานพาหนะในขณะเกิดความเสียหาย บุคคลครอบครองยานพาหนะซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองแทนเจ้าของ เช่น ผู้ยืม ผู้เช่า หรือคน ลักรถยนต์ไปขับและถ้าร่วมกันลักและนั่งไปด้วยกันถือเป็นผู้ครอบครองร่วม ผู้เช่ารถยนต์ขับไปชน ผู้ให้เช่าไม่ใช่ผู้ครอบครองหรือควบคุมเฉพาะผู้เช่ารถยนต์ต้องรับผิด แต่ถ้าเจ้าของอยู่ ด้วยในฐานะผู้ควบคุม เช่น เจ้าของใช้ให้ผู้อื่นช่วยขับรถยนต์โดยที่ตนนั่งไปด้วย ดังนี้ทั้งเจ้าของและผู้อื่นที่ขับ รถต้องร่วมกันรับผิด ส่วนคนอื่นที่นั่งไปด้วยไม่ใช่ผู้ครอบครอง เจ้าของรถยนต์นั่งไปด้วย โดยมีผู้อื่นขับแต่เจ้าของรถเมาสุรานอนหลับอยู่ในรถ ไม่ถือว่าเป็นผู้ครอบครอง หรือควบคุมยานพาหนะ (ฎีกาที่ 3076/2522) เจ้าของรถยนต์หรือผู้เช่าซื้ออาจจะต้องรับผิดในฐานะนายจ้าง หรือตัวการตามม.425 และ 427 ได้ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่าเข้ามาตรา 425 หรือมาตรา 427 ด้วยหรือไม่

30 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2559 จำเลยที่ 10 และ ป. ขับรถเฉี่ยวชนกัน ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความ ตาย และทำให้ทรัพย์สินของผู้ตายได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 10 และ ป. จึงเป็นผู้ครอบครองหรือ เป็นผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล โดยผู้ตายไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม หรือครอบครองเครื่องจักรกลที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย จำเลยที่ 10 และ ป. จึงต้องรับผิดเพื่อการ เสียหายอันเกิดจากยานพาหนะนั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเพราะความผิดของ ผู้เสียหายนั้นเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาฎีกาที่ 5238/2559 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ กระบะคันที่ชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของ จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใดที่บัญญัติให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในรถยนต์ต้องรับผิดต่อผู้ถูกทำละเมิด จำเลยทั้ง สองจึงไม่มีความรับผิดต่อโจทก์

31 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2558 เมื่อจำเลยที่ 4 ผู้ควบคุมเรือเพ็นนินซูล่าซึ่งมีหน้าที่ตรวจนับสินค้าและผูกโยง เชือกเรือไม่สามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของเรือดังกล่าวได้เองต้องแล่นไปตามที่เรือยนต์จินดา 95 ลากจูงไปที่ มี น. เป็นผู้ควบคุม จำเลยที่ 4 จึงไม่ใช่ผู้ควบคุมเรืออันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 437 ผู้ควบคุมเรืออันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลขณะเกิดเหตุคือ น. ซึ่งขับเรือยนต์จินดา 95 ลากเรือลำเลียง เพ็นนินซูล่า เข้าไปในระยะกระชั้นชิดใกล้กับสะพานของท่าเทียบเรือ และเลี้ยวกลับเป็นเหตุให้เรือลำเลียงเพ็นนินซู ล่ากระแทกเสาและคานของท่าเรือ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของ น. โดยตรง และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทันที จำเลยที่ 4 ไม่อาจช่วยเหลือหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุได้ จำเลยที่ 4 มิได้มีส่วนประมาท จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใน ผลละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่   /2532 ตามมาตรา 437 เป็นกรณีที่ยานพาหนะของฝ่ายหนึ่งเดินด้วย เครื่องจักรกลอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ ดังนั้น หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากรถยนต์ชนกันซึ่งยานพาหนะเดินด้วย เครื่องจักรกลทั้ง 2 ฝ่าย ก็ไม่ใช่กรณีมาตรา 437 แต่เป็นกรณีมาตรา 420 กล่าวคือ ฝ่ายผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ ว่าผู้ขับรถยนต์ประมาทเลินเล่อ ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นเพียงผู้โดยสารในรถยนต์คันที่ชนกันก็ตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2481/2533 ผู้ต้องรับผิด หากผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ไมได้นั่งรถยนต์ไปในขณะเกิด เหตุด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ครอบครอง เจ้าของไม่ต้องรับผิด

32 ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นจากทรัพย์อันตราย
ทรัพย์อันตรายตามมาตรา 437 ส่วนที่สอง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ทรัพย์อันตรายโดยสภาพ ได้แก่ ทรัพย์ที่เกิดอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินได้โดยสภาพของตัวทรัพย์ เอง เช่น กระแสไฟฟ้า น้ำมันเบนซิน น้ำกรด ลูกระเบิด แก๊ส เป็นต้น ทรัพย์อันตรายโดยความมุ่งหมายที่ใช้ ได้แก่ ทรัพย์โดยสภาพของมันเองไม่เกิดอันตราย แต่โดยการใช้ ทำให้เกิดอันตรายขึ้น เช่น เอาอาวุธปืนมาบรรจุกระสุนในลำกล้อง เอาบั้งไฟหรือพลุมาใช้จุด เอาสารเคมีอัน เป็นพิษมาปรุงแต่งเพื่อทำอันตรายคน หรือเพื่อใช้ฆ่าแมลง เป็นต้น ทรัพย์อันตรายโดยอาการกลไกของทรัพย์ ได้แก่ พวกเครื่องจักรกลต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ยานพาหนะตาม มาตรา 437 วรรคแรก แต่มีอาการกลไกจักรกลที่มีอยู่ในตัวเอง เช่น เครื่องจักรต่างๆ เลื่อย จักรไส ชิงช้า สวรรค์ เรือเหาะ แป้นพิมพ์ เครื่องตัดกระดาษ รถตักดิน เป็นต้น ทรัพย์เหล่านี้จะเป็นทรัพย์อันตรายในขณะที่ กำลังทำงานอยู่ ข้อยกเว้นความรับผิด ถ้าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง

33 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2513 สายไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันตรายโดยสภาพ อยู่ในความครอบครองของ การไฟฟ้าต้องรับผิด แต่ถ้าสายไฟฟ้าอยู่หลังหม้อไฟฟ้าเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้องรับผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 467/2557 เหตุเพลิงไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่เต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน ร้าน อ. ซึ่งจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของร้านและเป็นผู้ครอบครองดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในร้านรวมถึงเต้ารับ อุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งมีสายไฟฟ้าต่อเชื่อมและมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่ สายไฟฟ้าและเต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าจึงเป็น ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับ ผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเองตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง ซึ่งเป็น บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะต้อง คำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดในคดีส่วนอาญาหรือไม่


ดาวน์โหลด ppt ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google