การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย
บทที่ 2 การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย

2 บทที่ 2 การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย
บทที่ 2 การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย   คำว่าภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย (หรือสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย) มักจะใช้ สับสนปนเปกันอยู่เสมอ ทั้งที่ความจริงแล้วคำทั้งสามนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยที่ภัยนั้นก่อ ให้เกิดการเสี่ยงภัย ส่วนสภาวะภัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดระดับของการเสี่ยงภัยดังคำนิยามที่ ให้ดังต่อไปนี้

3 2.1นิยามศัพท์ ภัย (Peril) ภาวะภัย (Hazard) การเสี่ยงภัย (Risk)
หมายถึง เหตุแห่งการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น โจรกรรม ไฟไหม้ เป็นต้น ส่วนทางด้านประกันชีวิตจะครอบคลุมถึงการตายจากสาเหตุต่างๆ ยกเว้นการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นภายในปีกรมธรรม์ที่ 1 หรือ 2 ภัย (Peril) ภาวะภัย (Hazard) หมายถึง ภาวะหรือเงื่อนไขที่ทำให้การเสี่ยงภัยเกิดขึ้นหรือเพิ่มขึ้นหรือสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย มีการให้ความหมายเอาไว้มากมาย แตกต่างกันออกไปตามสาขาวิชานั้นๆ การเสี่ยงภัยที่จะกล่าวต่อไปนี้มุ่งถึงความหมายที่ใช้กับการประกันภัย จากพจนานุกรมศัพท์ประกันภัย ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า สิ่งที่เอาประกันภัย เช่น อาคาร รถยนต์ ตัวบุคคล ความรับผิดของบุคคล ความไม่แน่นอนจากผลลัพธ์ของเหตุการณ์ ความเป็นไปได้ของความสูญเสีย เหตุการณ์ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่การประกันภัยให้ความคุ้มครอง เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ภยันตราย เป็นต้น การเสี่ยงภัย (Risk)

4 การเสี่ยงภัย (Risk) (ต่อ)
2.1นิยามศัพท์ (ต่อ) จากตำราการประกันภัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ พอจะสรุปความหมายของการเสี่ยงภัยได้เป็น 5 แนวทางดังนี้ - การเสี่ยงภัย หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความเสียหาย (The chance of loss) - การเสี่ยงภัย หมายถึง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหาย (The possibility of loss) - การเสี่ยงภัย หมายถึง ความไม่แน่นอน (The uncertainty) - การเสี่ยงภัย หมายถึง ความผันแปรของผลลัพธ์ที่แท้จริงจากผลลัพธ์ที่คาดไว้ (The dispersion of actual results from expected results) - การเสี่ยงภัย หมายถึง ความน่าจะเป็นไปได้ของผลที่ออกมาแตกต่างไปจากสิ่งที่คาดไว้ (The probability of any outcome different from the one expected) การเสี่ยงภัย (Risk) (ต่อ) สภาวะที่ทำให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญประกันภัยอันหมายถึงการสูญหาย คือ การที่วัตถุที่เอาประกันภัยสูญไปหรือสิ้นไปและการเสียหาย คือ การที่วัตถุที่เอาประกันภัยลดปริมาณลง เสื่อมคุณภาพ หรือคุณค่าไป โดยยังปรากฎซากทรัพย์เหลืออยู่ ความสูญเสีย (Loss)

5 2.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเสี่ยงภัย ภัย และภาวะภัย
2.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเสี่ยงภัย ภัย และภาวะภัย จากความหมายของคำว่า การเสี่ยงภัย ภัย และภาวะภัย อาจกล่าวได้ว่า ภัยก่อให้เกิดการเสี่ยงภัย ส่วนภาวะ ภัยเป็นภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความสูญเสียเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้น ถึงแม้ว่าความหมายของคำทั้งสามจะแตกต่างกัน แต่คำ ทั้งสามคำนี้มักจะเกี่ยวข้องกันเสมอและการเสี่ยงภัยตัวนี้เองที่ก่อให้เกิดความต้องการที่จะทำประกันภัย ดังรูปที่ 2.1 ภาวะภัย (Hazard) ส่งเสริม การเสี่ยงภัย (Risk) การประกันภัย (Insurance) ภัย (Peril) รูปที่ 2.1 ความสัมพันธ์ระหว่าง การเสี่ยงภัย ภัย ภาวะภัย และการประกันภัย

6 2.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเสี่ยงภัย ภัย และภาวะภัย
2.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเสี่ยงภัย ภัย และภาวะภัย ตัวอย่างที่ 2.1 จากข้อดังต่อไปนี้ อยากทราบว่าอะไรเป็นการเสี่ยงภัย ภัย และภาวะภัย 1. สมมติให้บ้านของเราสร้างอยู่ในชุมชนแออัด บ้านมีสภาพแออัดปลูกติดกันโดยไม่มีช่องว่างรอบบ้าน วัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านเป็นไม้ การเสี่ยงภัย คือ การที่บ้านสร้างในชุมชนแออัด ไม่รู้ว่าจะเกิดไฟไหม้เมื่อไร ภัย คือ ไฟไหม้ ภาวะภัย คือ สภาพแออัด วัสดุที่สร้างบ้านเป็นไม้ 2. สมมติว่าสมชายออกไปเดินเล่นอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนตกฟ้าคะนอง และใส่สร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท การเสี่ยงภัย คือ การที่สมชายออกไปเดินเล่น ทำให้เกิดโอกาสที่จะเกิดฟ้าผ่า ภัย คือ ฟ้าผ่า ภาวะภัย คือ สร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท 3. สมมติว่าสมหญิงมีอาการปวดหัวมากจึงไปหาหมอตรวจดูอาการเพื่อทำการรักษา การเสี่ยงภัย คือ การสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาลหรือการเสียชีวิต ภัย คือ ความเจ็บป่วย * ภาวะภัย คือ ความเจ็บป่วย * * เราถือว่าความเจ็บป่วยเป็นภัยเพราะว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องสูญเสียค่ารักษาพยาบาล ขณะเดียวกัน ความเจ็บป่วยก็เป็นภาวะภัยเพราะว่าเป็นตัวเร่ง หรือส่งเสริมให้คนเราตายเร็วกว่าคนที่ไม่ได้เจ็บป่วย ส่งเสริม

7 2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย
2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย 2.3.1 ภัย สามารถจำแนกภัยตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียภายได้เป็น 3 ประเภทคือ ภัยจากธรรมชาติ (Natural Perils) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ ได้แก่ พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ภัยจากมนุษย์ (Human Perils) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากฝีมือหรือการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ อัคคีภัย โจรกรรม ฆาตกรรม หรือเกิดการทุจริต เป็นต้น ภัยจากเศรษฐกิจ (Economic Perils or Business Perils) หมายถึง ภัยที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น สภาพเงินเฟ้อ สภาพเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงรสนิยม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นต้น ส่งเสริม

8 2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย
2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย การเสี่ยงภัย การเสี่ยงภัยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1.) การเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่วัดเป็นตัวเงินได้ และการเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้ (Financial and Nonfinancial Risks) 1.1 การเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่วัดเป็นตัวเงินได้ หมายถึง สถานการณ์ที่จะเผชิญกับความสูญเสียหรือความเสียหาย โดยที่ความเสียหายเมื่อเกิดขึ้นสามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ 1.2 การเสี่ยงภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้ หมายถึง สถานการณ์ที่จะเผชิญกับความสูญเสียหรือความเสียหาย โดยที่ความเสียหายเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ * ดังนั้นในการประกันภัยจึงไม่พิจารณาการเสี่ยงภัยประเภทนี้ จะพิจารณาก็แต่เฉพาะการเสี่ยงภัยที่สามารถวัดค่าเป็นตัวเงินได้เท่านั้น ส่งเสริม

9 2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย
2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย การเสี่ยงภัย (ต่อ) 2.) การเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ และการเสี่ยงภัยที่คงที่ (Dynamic and Static Risks) 2.1 การเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ หมายถึง การเสี่ยงภัยอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางการเงินแก่เจ้าของทรัพย์สิน * ในระยะสั้น การเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้จะก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ในระยะยาว การเสี่ยงภัยที่ผันแปรนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมทั้งนี้ก็เพราะสาเหตุของการเสี่ยงภัยดังกล่าวเป็นผลของการปรับตัวอันเนื่องมาจากการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่ถูกต้องในสังคมนั่นเอง และถึงแม้ว่าการเสี่ยงภัยผันแปรได้จะมีผลกระทบต่อมนุษย์ส่วนใหญ่ก็ตาม แต่มนุษย์ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยประเภทนี้ได้ ทั้งนี้เพราะการเสี่ยงภัยประเภทนี้มักจะไม่ปรากฏขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 2.2 การเสี่ยงภัยที่คงที่ หมายถึง การเสี่ยงภัยอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ * การเสี่ยงภัยที่คงที่นี้แตกต่างจากการเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้ ตรงที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ให้แก่สังคมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การเสี่ยงภัยที่คงที่นี้มักจะปรากฎขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าง่ายกว่าการเสี่ยงภัยที่ผันแปรได้

10 2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย
2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย การเสี่ยงภัย (ต่อ) 3.) การเสี่ยงภัยพื้นฐานและการเสี่ยงภัยจำเพาะ (Fundamental and Particular Risks) 3.1 การเสี่ยงภัยพื้นฐาน หมายถึง การเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อคนจำนวนมาก หรือกลุ่มคนจำนวนมากเช่น ภาวะการว่างงาน ภาวะสงคราม ภาวะเงินเฟ้อ การเกิดแผ่นดินไหว และน้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งไม่มีใครสามารถควบคุมให้เกิดได้ * ด้วยเหตุนี้ความรับผิดชอบในการเสี่ยงภัยประเภทนี้จึงต้องตกเป็นของสังคมโดยส่วนร่วม เช่น การที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนต้องเข้าไปแจกข้าวของให้แก่ผู้ประสบภัย เป็นต้น 3.2 การเสี่ยงภัยจำเพาะ หมายถึง การเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ หรือกลุ่มบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การเกิดอัคคีภัยที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง เกิดการปล้นธนาคารแห่งหนึ่ง เป็นต้น * บุคคลที่ได้รับความเสียหายนี้ก็จะสามารถควบคุมการเกิดภัยดังกล่าวได้ ซึ่งในที่นี้อาจซื้อเครื่องดับเพลิง หรือติดสัญญาณแจ้งภัย เป็นต้น

11 2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย
2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย การเสี่ยงภัย (ต่อ) 4.) การเสี่ยงภัยที่แท้จริง และการเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Pure and Speculative Risks) 4.1 การเสี่ยงภัยที่แท้จริง (Pure Risk) หมายถึง การเสี่ยงภัยที่ถ้าเกิดภัยขึ้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าไม่เกิดภัยขึ้นก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย (Loss & No loss) 4.2 การเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Speculative Risk) หมายถึง การเสี่ยงภัยที่มีโอกาสขาดทุน เสมอตัว หรือได้กำไร (Loss, Break even, or Gain) * สิ่งที่บริษัทประกันภัยจะรับนั้นเป็นภัยประเภท Pure risk เท่านั้น ซึ่งการประกันภัยต่างกับการพนันตรงที่การพนันเมื่อเล่นก็จะมีทั้งกำไรและขาดทุน แต่การประกันภัยเงินที่ได้เมื่อเราเกิดอุบัติเหตุไม่ใช่กำไร แต่เป็นการชดเชยสิ่งที่เราได้สูญเสียไป

12 2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย
2.3 ประเภทของภัย การเสี่ยงภัย และภาวะภัย ภาวะภัย สามารถแบ่งภาวะภัยออกเป็น 1.ภาวะภัยทางกายภาพ (Physical Hazard) หมายถึง คุณสมบัติทางกายภาพทั้งหลายที่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมให้โอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากภัยต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น 2.ภาวะภัยทางด้านศีลธรรม (Moral Hazard) หมายถึง สภาวะหรือโอกาสที่จะเกิดความเสียหายเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากความไม่ซื่อสัตย์ของผู้เอาประกันหรือบุคคลอื่น โดยที่ผู้เอาประกันอาจก่อเหตุขึ้นมาเสียเอง โดยเจตนาเพื่อเรียกร้องเอาเงินประกันจากบริษัทประกันภัย หรือส่งเสริมให้ความเสียหายขยายใหญ่ขึ้นเมื่อทรัพย์สินที่ตนทำประกันไว้กำลังประสบภัยอยู่ 3.ภาวะภัยทางด้านจิตสำนึก (Morale Hazard) หมายถึง สภาวการณ์ที่ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ หรือการไม่ใส่ใจที่จะป้องกันของผู้เอาประกันภัย ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่ผู้เอาประกันภัยทราบดีว่าค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ส่งเสริม

13 2.4 ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้
2.4 ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ มีดังนี้ - การเสี่ยงภัยนั้นควรเป็นการเสี่ยงภัยที่แท้จริง และเป็นการเสี่ยงภัยจำเพาะ - การเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก - ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นต้องเป็นอุบัติเหตุ และไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย - ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ - ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องไม่เป็นมหันตภัย - ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย - โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต้องคำนวณหรือประมาณได้ * ผู้รับประกันภัยจะใช้ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นแนวทางในการพิจารณารับประกันภัย ซึ่งถ้า ได้ครบทุกข้อก็จะดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติมีการเสี่ยงภัยบางอย่างที่เข้าลักษณะดังกล่าวเพียงบางข้อ บริษัทรับประกันภัยก็ถือว่าเป็นภัยที่รับประกันแล้ว ส่งเสริม

14 2.4 ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้
2.4 ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ 1. การเสี่ยงภัยนั้นควรเป็นการเสี่ยงภัยที่แท้จริงและเป็นการเสี่ยงภัยจำเพาะ ในธุรกิจประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น โดยที่จะไม่มีกำไรจากการเอาประกันภัย เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเก็งกำไร หรือการกระทำที่ไม่สุจริตขึ้น ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะมีแต่เสมอตัวและขาดทุน 2. การเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก ในการดำเนินธุรกิจประกันภัย ผู้รับประกันภัยจำเป็นที่จะต้องคาดคะเนความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกฎเลขจำนวนมาก (Law of Large Number) ที่มีสาระสำคัญว่า “ให้คาดคะเนโดยใช้หน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมากพอที่จะสามารถคาดคะเนความเสียหายได้ค่อนข้างแม่นยำ” 3. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย ความเสียหายของทั้งกลุ่มสามารถคาดคะเนได้โดยกฎเลขจำนวนมาก แต่ความเสียหายเฉพาะบุคคลจะต้องเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือเป็นอุบัติเหตุ ไม่ใช่เป็นการเจตนา สาเหตุที่ต้องกำหนดเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายทรัพย์สินหรือสิ่งที่เอาประกันภัยโดยมุ่งหวังเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทนั่นเอง ส่งเสริม

15 2.4 ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้
2.4 ลักษณะสำคัญของการเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ 4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ บริษัทประกันภัยจะมีการกำหนดลักษณะของการเสี่ยงภัยที่สามารถเอาประกันภัยได้ว่าจะต้องมีลักษณะที่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของความเสียหาย และประเมินค่าความเสียหายออกมาเป็นตัวเงินได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่บริษัทจะได้สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ถูกต้องนั่นเอง 5. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องไม่เป็นมหันตภัย ภัยบางอย่างเมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถทำความเสียหายให้แก่ส่วนรวมเป็นบริเวณกว้างและหากมาคิดเป็นตัวเงินแล้วมีจำนวนมากมายมหาศาล 6. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นผู้เอาประกันจะต้องมีส่วนได้เสียด้วย สาระสำคัญของข้อกำหนดนี้ก็คือ ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัยเขาก็จะไม่ได้รับความเสียหายจากการเกิดภัยนั้นๆ 7. โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต้องคำนวณหรือประมาณได้ ในการรับประกันภัยใดๆ ผู้รับประกันภัยจะต้องประมาณหรือคาดคะเนโอกาสที่จะเกิดความเสียหายตลอดจนความรุนแรงของความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นได้อย่างใกล้เคียงพอสมควร ส่งเสริม

16 2.5 ความแตกต่างระหว่างการประกันภัยกับการพนัน
2.5 ความแตกต่างระหว่างการประกันภัยกับการพนัน ยังมีผู้เข้าใจว่า การประกันก็คือ การพนันอย่างหนึ่ง เป็นการเสี่ยงโชคโดยที่มีบริษัทประกันชีวิตเป็นเจ้ามือ และผู้เอาประกันชีวิตก็คือผู้เล่นพนัน แต่ในความเป็นจริงแล้วการประเมินภัยหาใช่การพนันแต่อย่างใด ดังจะแสดงความแตกต่างต่อไปนี้ - การประกันภัยจะเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยที่แท้จริง (Pure Risk) ในขณะที่การพนันจะเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยที่มุ่งเก็งกำไร (Speculative Risk) การเสี่ยงภัยที่ทำการประกันภัยเป็นการเสี่ยงภัยที่อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่การพนันมีโอกาสเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งฝ่ายผู้แพ้จะเป็นผู้เสียหาย - การประกันภัยผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสีย (Insurable Interest) มีส่วนได้เสียกับวัตถุหรือเหตุที่เอาประกันภัย ส่วนการพนันไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสียขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่พนันกันไว้ - การประกันภัยต้องอาศัยหลักความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน (Utmost Good Faith) แต่การพนันไม่จำเป็นต้องอาศัยหลักสุจริตต่อกัน - การประกันภัยมีผลบังคับตามกฎหมาย แต่การพนันไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ซ้ำยังมีโทษทางอาญาอีกด้วย - การประกันภัยเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์จะให้เกิดขึ้น แต่การพนันจงใจจะสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น - การประกันภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ แต่การพนันสามารถทำนายได้จากจำนวนเงินที่ได้เล่นพนันไว้ - การประกันภัยผู้ได้รับความเสียหายรู้ตัวแน่นอน คือ ผู้เอาประกันภัย แต่การพนันไม่รู้ว่าผู้ใดจนกว่าจะมีผู้เล่นพนันนั้น - การประกันภัยผู้เอาประกันภัยจะค้ากำไรไม่ได้ เพราะเมื่อเกิดความเสียหาย บริษัทประกันจะจ่ายเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่การพนันมีได้หรือมีเสีย ผู้ได้กำไรคือผู้ที่เล่นพนันได้ ส่งเสริม

17 2.6 การจัดการการเสี่ยงภัย (Risk Management)
การจัดการเสี่ยงภัย หมายถึง กระบวนการวางแผนและตัดสินใจของบุคคลหรือธุรกิจใดๆ ในอันที่จะหาวิธีที่ดีที่สุดมาดำเนินการกับภัยที่แท้จริงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะลดความเสียหายที่เกิดจากภัยนั้นๆ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดวัตถุประสงค์ของการจัดการการเสี่ยงภัย จำแนกได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ 1.วัตถุประสงค์ของการจัดการการเสี่ยงภัยก่อนที่จะเกิดความเสียหาย (PrelossObjectives) 1.1 เพื่อก่อให้เกิดการประหยัด ผู้เผชิญกับการเสี่ยงภัยสามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยในแบบต่างๆ และเลือกใช้วิธีการที่ประหยัดที่สุดได้ส 1.2 เพื่อลดความห่วงใยหรือความกังวล เมื่อผู้เผชิญกับการเสี่ยงภัยสามารถหาวิธีการ ที่จะมาจัดการกับการเสี่ยงภัยได้แล้ว ผู้เผชิญกับการเสี่ยงภัยย่อมนอนหลับสบาย ไม่ต้องมากังวลหรือห่วงใยกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป 1.3 เพื่อความเป็นพลเมืองดีหรือเพื่อภาพพจน์ที่ดี ในบางกรณีผู้เผชิญกับการเสี่ยงภัย ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบสังคมอันดี เช่น ในกรณีของคนที่ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอย หรือทางม้าลายทุกครั้ง นอกจากจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นกันตนเองแล้วยังเป็นการกระทำของพลเมืองดีอีกด้วย

18 2.6 การจัดการการเสี่ยงภัย (Risk Management) (ต่อ)
2. วัตถุประสงค์ของการจัดการการเสี่ยงภัยหลังที่จะเกิดความเสียหาย (Postloss Objectives) 2.1 เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดต่อไปได้ เมื่อเกิดภัยบางอย่างขึ้นแล้ว อาจก่อให้เกิด ความเสียหายมากจนธุรกิจต้องประสบภาวะขาดทุนและต้องเลิกกิจการไปเลย แต่ถ้ามีการจัดการ เสี่ยงภัยไว้ก่อนแล้วก็อาจจะทำให้ธุรกิจนั้นสามารถอยู่รอดต่อไปได้ 2.2 เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ธุรกิจบางประเภทการดำเนิน ธุรกิจอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญมาก 2.3 เพื่อให้ธุรกิจมีเสถียรภาพทางด้านรายได้ 2.4 เพื่อให้ธุรกิจยังคงรักษาระดับความเจริญเติบโตไว้ได้ 2.5 เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม

19 วิธีการจัดการการเสี่ยงภัย
เนื่องจากการเสี่ยงภัยเป็นสาเหตุที่ทำให้บุคคลและธุรกิจรู้สึกไม่สบายใจ เพราะความไม่แน่นอนที่มากับการเสี่ยงภัยมักทำให้ผู้คนรู้สึกกระวนกระวายและมีกังวล การที่การเสี่ยงภัยอาจมีผลในทางลบ บุคคลและธุรกิจจึงพยายามหาหนทางที่จะจัดการกับการเสี่ยงภัย ดังนี้ 1. การหลีกเลี่ยงการเสี่ยงภัย (Risk Avoidance) โดยบุคคลหรือธุรกิจไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรือสถานที่ที่จะก่อให้เกิดการเสี่ยงภัยนั้น 2. การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk retention) เป็นการยินยอมรับภาระความเสียหายโดยตนเองหากมีภัยเกิดขึ้น การรับการเสี่ยงภัยไว้เองอาจเพราะว่า ภัยที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นน้อยมาก หรืออยู่ในขนาดที่รับภารได้ การเสี่ยงภัยนั้นไม่สามารถโอนไปให้บริษัทประกันภัยได้ 3. การโอนการเสี่ยงภัย (Risk Transfer) เป็นการโอนการเสี่ยงภัยบางส่วนไปให้บุคคลอื่นหรือโอนความเสี่ยงในรูปของการประกันภัย ฉะนั้นการประกันภัยจึงเข้ามาช่วยในการกระจายความเสี่ยงให้กับหน่วยที่มีภัยเหมือนกัน 4. การลดการเสี่ยงภัย (Risk Reduction) โดยการป้องกันและควบคุมความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนการแยกทรัพย์สิน โดยที่การลดการเสี่ยงภัยดังกล่าวนี้มุ่งทำให้จำนวนครั้งหรือความรุนแรงในการเกิดความเสียหายลดลง

20 ขั้นตอนการจัดการการเสี่ยงภัย
จากวิธีการจัดการเสี่ยงภัยข้างต้น สามารถลำดับขั้นตอนกรจัดการการเสี่ยงภัยได้ ดังนี้ - การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย (Identify & anlyze risk which may lend to accidental losses) กระทำได้ด้วยการพิจารณาว่ามีการเสี่ยงภัยใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ - การหาวิธีในการจัดการกับการเสี่ยงภัย (Formulate feasible risk management alternatives for dealing with these risks) - การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด (Select the apparently best alternative technique or combination of techniques) - การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้ (Implement the chosen technique) - การตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป (Monitor the results and modify the chosen techniques to adapt to changes in loss exposures or to tolerable changes in the level of losses)

21 ขั้นตอนการจัดการการเสี่ยงภัย (ต่อ)
1.การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย กระทำได้ด้วยการพิจารณาว่ามีการเสี่ยงภัยใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น รวมทั้งศึกษาโอกาสและความรุนแรงของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 2.การหาวิธีในการจัดการกับการเสี่ยงภัย หลังจากที่ได้มีการศึกษาว่าการเสี่ยงภัยใดที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ขั้นตอนต่อมาก็คือ การตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีที่คิดว่าดีที่สุดร่วมกัน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการเสี่ยงภัย (Risk avoidance) การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk Retention) การโอนการเสี่ยงภัย (Risk transfer) และการลดการเสี่ยงภัย (Risk Reduction) 3.การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด เมื่อหาวิธีต่างๆ ที่คิดว่าเป็นไปได้ในการจัดการการเสี่ยงภัยนั้นๆ แล้ว ต้องทำการศึกษาผลดีผลเสียของแต่ละวิธี โดยคำนึงถึง ผลกระทบต่อฐานะการเงินของบุคคลหรือธุรกิจนั้น ประกอบด้วยโอกาสและความรุนแรงของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แล้วตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีที่คิดว่าดีที่สุดร่วมกัน

22 ขั้นตอนการจัดการการเสี่ยงภัย (ต่อ)
4. การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้ หลังจากที่ได้เลือกวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยได้แล้ว ขั้นต่อไปจะต้องศึกษาถึงแนวทางปฏิบัติตามวิธีการ เพื่อให้บรรลุตามแผนการของการจัดการเสี่ยงภัยที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว 5. การตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดการเสี่ยงภัยที่ได้ผลจะต้องมีการติดตามและประเมินผลการจัดการนั้นเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามข้อ 4. ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ มีจุดไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

23 ทฤษฎีและหลักพื้นฐานของการประกันภัย
บทที่ 3 ทฤษฎีและหลักพื้นฐานของการประกันภัย

24 ทฤษฎีของการประกันภัย
1.ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Theory of Probability) 2.ทฤษฎีด้วยกฎเลขจำนวนมาก (Law of Large Number) 3. ทฤษฎีว่าด้วยกฎของการเฉลี่ย (Law of Average) ทฤษฎีของการประกันภัย  

25 หลักพื้นฐานของการประกันภัย
1.หลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย (Principle of Insurable Interest) 2.หลักสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of Utmost of Good Faith) 3. หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) 4. หลักการรับช่วงสิทธิ (Principle or Subrogation) 5. หลักการร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Doctrine of Contribution) 6. หลักสาเหตุใกล้ชิด (Principle of Doctrine of Proximate Clause) หลักพื้นฐานของการประกันภัย  

26 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเอกสารประกันภัย
บทที่ 4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเอกสารประกันภัย

27 บทที่ 4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเอกสารประกันภัย
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ที่จะกล่าวในบทนี้มีดังต่อไปนี้ 1.ใบคำขอเอาประกันภัย (Application Form) 2.กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) 3.ใบสลักหลังกรมธรรม์ (Endorsement) 4.หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) 5.กรมธรรม์เปิด (Open Cover) 6.หนังสือรับรองการประกันภัย (Certificate of Insurance) บทที่ 4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเอกสารประกันภัย  

28 4.1. ใบคำขอประกันภัย (Application Form)
ใบคำขอประกันภัย คือเอกสารซึ่งผู้เอาประกันภัยกรอกข้อความยื่นต่อบริษัทประกันภัยเพื่อแสดงความประสงค์ขอเอาประกันภัยและถือว่าเป็นคำเสนอที่จะก่อให้เกิดสัญญาประกันภัยขึ้นระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย การเสนอขอทำประกันภัยจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรืออักษรก็ได้ เนื่องจากตามกฎหายถือว่าเป็นเพียงคำเสนอขอทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ แต่โดยบริษัททั่วไปประกันภัยจะมีแบบฟอร์มใบคำขอเอาประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยกรอกคำถามต่างๆ ตามความจำเป็นของการประกันภัยแต่ละชนิด รายละเอียดใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปมีดังนี้ 1.ชื่อ นามสกุล และอายุ ของผู้เอาประกันภัย 2.ที่อยู่ของผู้เอาประกันภัย 3.อาชีพของผู้เอาประกันภัย 4.รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุที่เอาประกันภัย 5.ภัยที่ต้องการคุ้มครอง 6.ส่วนได้เสียหรือความสัมพันธ์กับวัตถุที่เอาประกันภัย 7.จำนวนเงินเอาประกันภัย 8.ความเสี่ยงภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน 9.ประวัติการทำประกันภัยและอื่น ๆ เป็นต้น ส่งเสริม

29 4.1. ใบคำขอประกันภัย (Application Form) (ต่อ)
ผู้รับประกันภัยจะประเมินความเสี่ยงภัยจากข้อความจริงในใบคำขอเอาประกันภัยว่าจะสามารถรับประกันภัยได้หรือไม่ ถ้าข้อความจริงในใบคำขอเอาประกันภัยยังไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจผู้ประกันภัยอาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่างๆ หรือในบางกรณีอาจต้องเพิ่มเงื่อนไขพิเศษหรือเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่ม หรือบอกปฏิเสธไม่รับประกันภัยนั้น ดังนั้น ใบคำขอเอาประกันภัยควรบรรลุคำถามที่จะให้ข้อมูลกับบริษัทประกันภัยเพื่อ 1.ประเมินค่าของภัย 2.กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย 3.เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัยจะต้องกรอกข้อความในใบคำขอเอาประกันภัยตามความเป็นจริงซึ่งถ้าหากผู้เอาประกันภัยกรอกข้อความอันเป็นเท็จ (Misrepresentation) ด้วยเจตนาปกปิดข้อความจริง ก็จะเป็นผลให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างได้ ส่งเสริม

30 4.2 กรมธรรม์ประกันภัย (Policy)
เมื่อผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัยก็จะออกกรมธรรม์ที่มีข้อความตรงกับความประสงค์ในใบคำขอเอาประกันภัย เพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อไป กรมธรรม์ประกันภัยเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งของสัญญาประกันภัยซึ่งระบุถึงสาระสำคัญของข้อตกลง และเงื่อนไขความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยสามารถเกิดและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหายได้ด้วยการตกลงด้วยวาจา รายละเอียดในกรมธรรม์ประกันภัย ตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรค 3 ได้กำหนดรายการต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมี ปรากฏไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย คือ 1.วัตถุที่เอาประกันภัย หมายถึง ตัวทรัพย์สิน สิทธิ หรือความรับผิด อันเป็นที่ตั้งของส่วนได้เสีย เช่น สิ่งปลูกสร้าง หรือความรับผิดชอบในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่น 2.ภัยที่ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง หมายถึง ชนิดของภัยที่ผู้รับปะกันภัยรับเสี่ยง เช่น ไฟไหม้ ลมพายุ อุบัติเหตุ เป็นต้น 3.ราคาแห่งมูลประกันภัย หมายถึง ราคาของส่วนได้เสียถ้าหากคู่กรณีตกลงไว้ก็ต้องระบุไว้ในกรมธรรม์ ส่งเสริม

31 4.2 กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) (ต่อ)
5.จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย หมายถึง เงินที่ผู้เอาประกันภัยตกลงจะให้เป็นการตอบแทนการรับเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัย จะให้งวดเดียวหรือหลายงวดก็ได้ 6.ถ้าสัญญาประกันภัยมีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดไว้ การทำสัญญาประกันภัยอาจมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดอายุสัญญาก็ได้ เช่น กำหนดว่ารับประกันภัยตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2541 เวลา น. จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2542 เวลา น. เป็นต้น 7.ชื่อของผู้รับประกันภัย 8.ชื่อของผู้เอาประกันภัย 9.ชื่อของผู้รับประโยชน์ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยระบุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย 10.วันทำสัญญาประกันภัย คือ วันที่สัญญาเกิดขึ้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นวันที่ทำกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งอาจเป็นวันเดียวกันหรือวันใดวันหนึ่งหลังจากวันทำสัญญาประกันภัยก็ได้ 11.สถานที่ และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาประกันภัย ส่งเสริม

32 4.2 กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) (ต่อ)
โครงสร้างของกรมธรรม์ประกันภัย โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของกรมธรรม์ประกันภัยจะมีโครงสร้างในข้อสาระสำคัญเป็นส่วน ๆ ดังนี้ 1.หัวกระดาษ (Heading) ได้แก่ ชื่อ และที่อยู่ ของผู้รับประกันภัย 2.บทนำ(Preamble or Recital Clause) ได้แก่ ข้อความแรกของสัญญาโดยมากจะระบุเป็นสัญญาต่างตอบแทน 3.ข้อคุ้มครอง(Operative Clause) ได้แก่ ข้อความที่ระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ว่าผู้รับประกันภัยจะคุ้มครองภัยอะไรบ้าง ในทางปฏิบัติส่วนมากจะมีข้อสัญญามาจำกัด หรือขยายข้อความเดิมตามแต่กรณีซึ่งจะต้องอ่านประกอบกับข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย 4.ข้อยกเว้น(Exclusions) ได้แก่ รายละเอียดของสิ่งที่ผู้รับประกันภัยคุ้มครอง อาจจะเป็นวัถตุบางชนิด เหตุการณ์ หรือภัยบางอย่างซึ่งมักจะแบ่งเป็นข้อย่อย ๆ เพื่อความชัดเจนของสัญญา 5.เงื่อนไขทั่วไป(General Conditions) ได้แก่ รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น การร่วมเฉลี่ยความรับผิด การรับช่วงสิทธิ ซึ่งคู่สัญญาจะต้องปฏิบัติในระหว่างหน้าที่สัญญามีผลบังคับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ส่งเสริม

33 4.2 กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) (ต่อ)
5.1) เงื่อนไขบังคับก่อนสัญญา (Condition Precedent to Contract) หมายถึงเงื่อนไขที่คู่สัญญากำหนดไว้ในสัญญามีผลสมบูรณ์ เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตามที่คู่สัญญาได้ตั้งเงื่อนไขไว้หากไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว สัญญานั้นจะไม่มีผลตามกฎหมาย 5.2) เงื่อนไขบังคับหลังสัญญา (Condition Subsequent to Contract ) หมายถึงเงื่อนไขที่คู่สัญญากำหนดขึ้นเพื่อให้สัญญาสิ้นผลลง เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตามที่คู่สัญญาได้ตั้งเงื่อนไขไว้ 5.3) เงื่อนไขแห่งความรับผิดชอบ (Condition Precedent to Liability) หมายถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครองหรือยกเว้นการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย และเป็นเงื่อนไขที่กำหนดความรับผิดชอบของคู่สัญญาประกันภัยไว้อย่างชัดแจ้ง หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกเว้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขชนิดนี้แล้วก็จะทำให้เสียสิทธิเรียกร้องสัญญาประกันภัย หรือสัญญาสิ้นสุดลงได้แก่เงื่อนไขที่กำหนดหน้าที่ให้ผู้เอาประกันภัยต้องปฏิบัติก่อนที่จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย ส่งเสริม

34 4.2 กรมธรรม์ประกันภัย (Policy) (ต่อ)
6. ตารางกรมธรรม์ (Schedule) กรมธรรม์ประกันภัยทั่วไปมักมีตารางกรมธรรม์ที่ระบุรายละเอียดของการประกันภัยต่างๆ 7. บทลงนาม (Signalture or Attestions Clause) ได้แก่ข้อความตอนท้ายสุดของกรมธรรมประกันภัยซึ่งเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของผู้รับประกันภัยที่ต้องการให้สัญญาประกันภัยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้รับประกันภัย และประทับตราของผู้รับประกันภัยไว้เป็นสำคัญ และอาจระบุวันออกกรมธรรม์ไว้ด้วย ส่งเสริม

35 4.3 ใบสลักหลังกรมธรรม์ (Endorsement)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาประกันภัย ในขณะที่ทำหรือระหว่างที่สัญญาประกันภัยมีผลบังคับอยู่ คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อคุ้มครอง ข้อยกเว้น ตลอดจนข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งในกรมธรรม์ประกันภัยได้ด้วยการออกใบสลักกรมธรรม์ประกันภัยได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของผู้เอาประกันภัย การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกผู้รับประโยชน์ เป็นต้น ส่งเสริม

36 4.4 หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note)
หนังสือคุ้มครองชั่วคราว เป็นเอกสารที่บริษัทประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นการคุ้มครองชั่วคราวก่อรออกกรมธรรม์ประกันภัย ซึ้งในระยะเวลานี้สัญญาประกันภัยย่อมเป็น ไปตามข้อความและเงื่อนไขในหนังสือคุ้มครองชั่วคราวนี้ ปกติแล้วจะเป็นเงื่อนไขและข้อคุ้มครองเช่นเดียวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่จะออกมาคุ้มครองภายหลัง ผลของคุ้มครองตามหนังสือคุ้มครองชั่วคราวจะลิ้นสุดลงในกรณีที่บริษัทปฏิเสธการรับประกันภัย หรือบริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แล้ว หรือระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือคุ้มครองชั่วคราวสิ้นสุดลง ส่งเสริม

37 4.5 กรมธรรม์เปิด (Open Cover)
กรมธรรม์เปิด เป็นเอกสารของการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล ทีเปิดการคุ้มครองแบบกว้างๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสิ้นค้าที่จะขนส่งทางทะเลตามที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าระหว่างผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย เงื่อนไขข้อกำหนดความคุ้มครองในกรมธรรม์เปิดโดยทั่วไปจะกำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับการขนส่ง ประเภทหรือชนิดของสินค้า เงื่อนไขความคุ้มครอง ประเภทของยานพหะนะที่ใช้ขนส่งวงเงินความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัย มูลค่าสูงสุดของสินค้าแต่ละเที่ยว ระยะเวลาที่มีผลบังคับ เงื่อนไขการบอกเลิก อัตราดอกเบี้ยประกันภัย และเงื่อนไขการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่งแต่ละเที่ยว เป็นต้น กรมธรรม์เปิดจึงเหมาะสำหรับผู้สั่งเข้า และส่งออกสิ้นค้าที่มีการขนส่งเป็นประจำ เพื่อมิให้ต้องกังวลต่อการขอเอาประกันภัยจากบริษัทประกันภัยสินค้าทุกครั้งที่มีการขนส่งเข้าออก กรมธรรม์แบบนี้จึงเป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับสินค้าที่อยู่ในระหว่างขนส่ง โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบถึงการขนส่งสินค้าแต่ละเที่ยวที่ตนทราบ เพื่อให้บริษัทประกันภัยคิดเบี้ยประกันภัย และออกหนังสือรับรองการประกันภัยให้ ส่งเสริม

38 4.6 หนังสือรับรองการประกันภัย (Certificate of Insurance)
หนังสือรับรองการประกันภัย เป็นเอกสารที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อรับรองการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยได้มีกรมธรรม์เปิดไว้แล้ว การออกหนังสือรับรองประกันภัยดังกล่าวจะกระทำเมื่อผู้เอาประกันภัยทราบถึงจำนวนสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ ได้ส่งลงเรือลำใด ณ ท่าเรือใด และเรือออกจากท่าเมื่อใด ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งขอออกหนังสือรับรองการประกันภัยจากบริษัทประกันภัยในแต่ละครั้งหนังสือรับรองการประกันภัยนี้จะออกภายใต้เงื่อนไขของกรมธรรม์เปิดเท่านั้น ส่งเสริม

39 บทที่ 6 ประกันวินาศภัย ลักษณะการคุ้มครองภัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
บทที่ 6 ประกันวินาศภัย ลักษณะการคุ้มครองภัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคล การประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์สิน การประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบกฎหมาย การประกันวินาศภัย แบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยทางทะเล การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

40 การประกันภัย หมายถึง การลดภาวะความเสียหายทางการเงินหรือธุรกิจ จากความ ไม่แน่นอนจากอุบัติภัย เพื่อให้ความเสียหายทางการเงินหรือธุรกิจต่อบุคคลหรือ องค์กรนั้นถูกจำกัดไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนจากสาเหตุอุบัติภัย ประโยชน์ของการประกันวินาศภัย สร้างความอุ่นใจให้กับสังคม และนักลงทุน ช่วยให้ครอบครัวและธุรกิจคงอยู่ เป็นการเพิ่มขีดจำกัดการใช้สอยทรัพย์สินในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้เกิดระบบสินเชื่อ กระตุ้นให้เกิดการออม เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุน ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง ช่วยให้เกิดระบบป้องกันภัย

41 การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หมายถึง มูลค่าที่แท้จริงของความสูญเสียหรือความเสียหาย จากภัยที่ทำประกันไว้ ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันไว้ไม่ให้วินาศ การตีราคาค่าสินไหมทดแทน มีหลักเกณฑ์ดังนี้ กำหนดความเสียหาย ณ สถานที่และเวลาที่ได้เกิดวินาศภัยขึ้น ต้องไม่เกินความเสียหายที่แท้จริง ต้องไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย

42 ตัวอย่าง 6.1 หน้า 134 การทำประกันอัคคีภัยบ้านหลังหนึ่งซึ่งมีมูลค่า 1,000,000 บาท ด้วยจำนวนเงินเอา ประกันภัยแตกต่างกัน หากเกิดความเสียหายขึ้นบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้ในแต่ละกรณี ดังตารางในตัวอย่าง 6.1 การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สามารถทำได้ดังนี้ การชดใช้เป็นเงินสด การซ่อมแซม การจัดหาทรัพย์สินมาทดแทน การทำให้กลับคืนสภาพเดิม

43 ผู้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน
ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ผู้รับโอนทรัพย์หรือวัตถุที่เอาประกันภัย ผู้รับช่วงทรัพย์ เช่น ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ หรือผู้ทรงบุริมสิทธิ์ (สิทธิที่จะได้รับการ ชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ) เงื่อนไขเพิ่มเติมในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ความรับผิดในค่าเสียหายส่วนแรก (Excess หรือ Deductible) ขีดปลอดความรับผิดชอบ (Franchise) การรับผิดส่วนแรก อนุญาโลตุลาการ

44 การประกันวินาศภัย แบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
การประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยทางทะเล การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

45 การประกันอัคคีภัย การประกันอัคคีภัย หมายถึง การประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายจากไฟ และความ เสียหายอื่น ๆ ด้วยก็ได้ เช่น ความเสียหายจากพายุ การระเบิด ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย 1. เป็นวินาศภัยที่เกิดจาก 1.1 ไฟ 1.2 ฟ้าผ่า 1.3 การะเบิดของแก๊ส 2. ความเสียหายที่ต่อเนื่องจากอัคคีภัย

46 การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง สัญญาประกันภัยที่รับประกันภัยความสูญเสีย หรือความเสียหาย อันเกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์ ความสูญเสียหรือเสียหาย แบ่งออกเป็น 2 ประการคือ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคล ภัยที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ เกิดจากตัวผู้ขับขี่ เกิดจากตัวรถ เกิดจากคนเดินทางเท้า เกิดจากเหตุภายนอก เช่น ฟ้าผ่า ฝนตก หมอกควัน เป็นต้น

47 ลักษณะความคุ้มครอง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. การคุ้มครองต่อความเสียหายต่อตัวรถที่เอาประกันภัย 2. การคุ้มครองต่อความเสียหายบุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอกที่ถูกชน 3. การคุ้มครองพิเศษที่ซื้อเพิ่มเติมต่างหาก ประเภทของความคุ้มครองของการประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยประเภทที่ 1 หรือชั้น 1 การประกันภัยประเภทที่ 2 หรือชั้น 2 การประกันภัยประเภทที่ 3 หรือชั้น 3

48 การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
ลักษณะของรถยนต์ การใช้งานของรถยนต์ ขนาดของเครื่องยนต์ ทุนประกัน ผู้เอาประกันภัย ประเภทของภัยที่คุ้มครอง ปัจจัยอื่น ๆ เช่น สถานที่และการเก็บรถยนต์ ฐานะทางการเงินของผู้เอาประกันภัย

49 การยกเลิกกรมธรรม์ แบ่งเป็น 2 กรณี
บริษัทบอกยกเลิกกรมธรรม์ (ดูตัวอย่างหน้า 171) ผู้เอาประกันภัยบอกยกเลิกกรมธรรม์ (ดูตัวอย่าง 172) ส่วนลด ซึ่งการคิดส่วนลดทำได้ 3 วิธีคือ ถ้าผู้ประกันภัยรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรก ผู้เอาประกันภัยจะได้รับส่วนลด เบี้ยประกันภัย ถ้าผู้เอาประกันภัยเอาประกันรถหลายคัน บริษัทจะมีส่วนลดเบื้ยประกันให้ ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่เคยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุ 1 ปี เมื่อต่อกรมธรรม์ ใหม่ ก็มีส่วนลดเบี้ยประกัน เรียกว่า No Claim Bonus (ดูตัวอย่าง 6.4 หน้า 174)

50 การประกันภัยทางทะเล การประกันอัคคีภัย หมายถึง การประกันภัยความเสียหายแก่สินค้า และทรัพย์สินที่อยู่ใน ระหว่างการขนส่ง รวมทั้งพาหนะและสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการขนส่ง และยังขยายขอบเขตความ คุ้มครองรวมไปถึงภัยทางบก และความสูญเสียในขณะขนส่ง การประกันภัยทางทะเลแบ่งออกเป็น การประกันทรัพย์สิน ได้แก่ สินค้าที่ได้ทำการขนส่งทางทะเล การประกันตัวเรือที่ใช้ขนส่งสินค้า การประกันสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งบนแผ่นดิน

51 ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยทางทะเล
ประเภทและลักษณะสินค้า เส้นทางที่ผ่าน การขนถ่าย เรื่อที่ใช้บรรทุก การบรรจุหีบห่อ สภาพเมืองท่าต้นทางและปลายทาง ประวัติการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เอาประกันภัย เงื่อนไขการรับประกันภัย

52 ประเภทของภัยที่อยู่ในความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล
ภัยจากท้องทะเล ได้แก่ น้ำทะเล ลมฟ้าอากาศแปรปรวน พายุมรสุม คลื่นลม ฟ้าผ่า หินโสโครก การชนกันของเรือในทะเล เรือจม เรือเกยตื้น อัคคีภัย ได้แก่ ความร้อน ควันไฟ คลื่น น้ำที่ใช้ดับไฟ อุปกรณ์เคมีในการดับไฟ โจรกรรม การโยนของทิ้งลงทะเล การกระทำทุจริตของคนเรือ ภัยอื่น ๆเช่น ภัยสงคราม การก่อจลาจล เป็นต้น

53 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
การประกันเบ็ดเตล็ด หมายถึง การประกันภัยประเภทหนึ่งของประกันวินาศภัย โดยใช้ ความคุ้มครองต่อความสูญเสียหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยอื่น ๆ ที่อยู่ นอกเหนือจากการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล และกรมธรรม์ประกันชีวิต ประเภทของการประกันภัยเบ็ดเตล็ด การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับบุคคล การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สิน การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับงานวิศวกรรม การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับความรับผิดชอบกฎหมาย การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับภัยอื่น ๆ

54 บทที่ 7 การประกันต่อ การรับประกันภัยทุกสาขาย่อมมีความเสี่ยงภัย ถึงแม้ว่าจะมีการพิจารณาในการรับ ประกันภัยอย่างระมัดระวัง อีกทั้งมีการใช้ทฤษฎีและหลักทางคณิตศาสตร์มาร่วมใช้ ด้วยแต่วิธีการเหล่านั้นยังไม่เพียงพอกับความคุ้มครองภัยที่เกิดขึ้นกับบุคคล หรือ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่มีทุนประกันสูงเกินกว่าที่บริษัทจะรับเสี่ยงภัยเพียงลำพังได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ บริษัทผู้รับประกันภัยรายแรกย่อมต้องหาวิธีที่จะกระจายความเสี่ยงภัย ของบริษัทตนให้กับบริษัทประกันภัยรายอื่นๆ ซึ่งวิธีการเช่นนี้เรียกว่าการประกันภัยต่อ นั่นเอง การประกันภัยต่อเป็นการประกันภัยแบบหนึ่ง ซึ่งทำสัญญาระหว่าง ผู้รับ ประกันภัยรายแรกและผู้รับประกันภัยต่อ ตามเงื่อนไขหรือสัญญาที่ตกลงกันไว้

55 การประกันภัยต่อทางทะเล
- การประกันภัยต่อทางทะเล เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยการริเริ่มของ Custav Cruciger ในปี ค.ศ ซึ่งทำการประกันภัยการเดินทางจาก Genoa ไป Sluys โดยผู้รับประกันรายแรกรับเสี่ยงภัยไว้เองในช่วงการเดินทางจาก Genoa ไป Cadiz แล้วเอาประกันภัยต่อการเดินทางจาก Cadiz ไป Sluys สัญญาประกันภัยครั้งแรกมี ความสับสนในคำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อผู้รับประกันภัยทั้ง 2 ราย โดยเรียกว่าเป็นผู้ประกันภัย ต่อเหมือนกัน ซึ่งได้มีความพยายามสร้างความกระจ่างชัดเพื่อแก้ปัญหาความสับสนนี้ เรื่อยมา จนกระทั่งปี ค.ศ ได้มีกฎหมายประกันภัยต่อทางทะเลเกิดขึ้นเป็นการยุติ ความสับสนในบทบาทหน้าที่ของผู้รับประกันในระบบการประกันภัยต่อทางทะเล

56 การประกันภัยต่ออัคคีภัย
หลักฐานเกี่ยวกับการประกันภัยต่ออัคคีภัยครั้งแรก เกิดขึ้นในเดือน สิงหาคม ค.ศ โดยบริษัท Eagle Fire Insurance Company of New York รับประกันภัยต่อจาก Union Insurance Company สำหรับในอังกฤษแม้ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับการประกันภัย ต่อในระยะแรกจะถูกกีดกัน แต่นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา การ กีดกันมีแนวโน้มลดลง และเลิกไปในที่สุด ในปัจจุบันการประกันภัยต่อ อัคคีภัยเป็นธุรกิจที่แพร่หลายมากประเภทหนึ่ง

57 การประกันภัยต่อการประกันชีวิต
จุดกำเนิดของการประกันภัยต่อการประกันชีวิตในอังกฤษมีสาเหตุ เนื่องจากความตื่นตัวในการประกันชีวิต ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษ ที่ 19 เกิดความต้องการประกันชีวิตอย่างมากเป็นผลให้บริษัทรับประชีวิต 17 แห่งในสก๊อตแลนด์ร่วมกันรับประกันภัยประกันต่อการประกันชีวิตใน ปี ค.ศ และได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนปี ค.ศ จึงได้มีการ จัดตั้งบริษัทประกันภัยต่อการประกันชีวิตอาชีพเป็นรายแรก ได้แก่ บริษัท Mercantile and General

58 วัตถุประสงค์ของการประกันภัยต่อ
1. เพื่อเพิ่มความสามารถในการประกอบธุรกิจประกันภัย (Capacity) 2. ป้องกันความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้น (Catastrophe) 3. เพื่อเพิ่มความคุ้มครองแก่ผู้ถือกรมธรรม์ 4. เพื่อปรับปรุงจำนวนเบี้ยประกันภัย 5. เพื่อการแลกเปลี่ยนธุรกิจระหว่างบริษัทผู้รับประกันภัย 6. เพื่อเสถียรภาพของธุรกิจประกันภัย (Stability)

59 ประโยชน์ของการประกันภัยต่อ
1. ช่วยให้สามารถรับประกันภัยเกินกำลังเงินกองทุนของบริษัทได้ 2. ช่วยให้จำนวนรายได้และค่าสินไหมทดแทนของบริษัทมีความมั่นคง 3. ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการรับประกันภัย 4. ช่วยในการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ 5. ช่วยสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมอาชีพเดียวกัน 6. ช่วยทำให้บริษัทประกันภัยมีความรู้และประสบการณ์จากการติดต่อกับบริษัท นายหน้า 7. ช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงินระหว่างประเทศ

60 ประเภทของการประกันภัยต่อ
ประเภทของการประกันภัยต่อได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การประกันภัยต่อเฉพาะราย 2. การประกันภัยต่อตามสัญญา การประกันภัยต่อแบบกำหนดสัดส่วนแน่นอน สัญญาประกันภัยต่อตามส่วน สัญญาประกันภัยต่อแบบส่วนเกิน สัญญาประกันภัยต่อผูกพันแบบเฉพาะราย การประกันภัยต่อแบบไม่กำหนดสัดส่วนแน่นอน สัญญาประกันภัยต่อแบบความเสียหายส่วนเกิน สัญญาประกันภัยต่อแบบกำหนดค่าเสียหาย สัญญาประกันภัยต่อความเสียหายส่วนเกินรวม 3. การประกันภัยต่อโดยการรวมกลุ่ม

61 การควบคุมการประกันภัยต่อในประเทศไทย
 เพื่อให้บริษัทประกันภัยรับเสี่ยงภัยไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บริษัทประกันภัยได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยต่ออย่างเพียงพอและใน ต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อให้บริษัทประกันภัยได้เอาประกันภัยต่อภายในประเทศเท่าที่ขีดความสามารถและ ภาวการณ์อำนวย ทั้งในระดับบริษัทและระดับธุรกิจส่วนรวมเพื่อเป็นการสงวนเงินตรา ไว้ในประเทศ และส่งเสริมธุรกิจในประเทศ เพื่อควบคุมและป้องกันการใช้ประกันภัยต่อเป็นเครื่องมือในการโอนเงินออกนอก ประเทศโดยหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือเป็นเครื่องมือในการหลบเลี่ยงภาษี เพื่อควบคุมดูแลให้บริษัทประกันภัยได้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทในต่างประเทศที่มี ฐานะการเงินที่มั่นคงและมีการปฏิบัติงานที่เชื่อถือได้ เพื่อให้คำแนะนำแก่บริษัทประกันภัยให้ได้เอาประกันภัยต่อตามหลักการประกันภัยที่ดี ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ

62 บทที่ 8 ตัวแทนและนายหน้าประกันภัย (Agent and Broker)
นายหน้า หมายถึง ผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย โดยหวังเงิน บำเหน็จเนื่องจากการนั้น ตัวแทน หมายถึง ผู้ที่ผู้รับประกันภัยมอบหมายให้ชักชวนบุคคลให้ทำสัญญาประกันภัยกับตน ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ มาตรา 4 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าตัวแทนประกัน วินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย ดังนี้คือ “ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญา ประกันภัยกับบริษัท “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับ บริษัท โดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ส่วนพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ มาตรา 5 ได้ให้ความหมายของตัวแทนประกันชีวิตและ นายหน้าประกันชีวิต ดังนี้ “ตัวแทนประกันชีวิต” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญา ประกันชีวิตกับบริษัท “นายหน้าประกันชีวิต” หมายความว่า ผู้ซึ่งชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท โดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น

63 สิทธิของตัวแทนและนายหน้า
สิทธิในการได้รับค่าบำเหน็จจากการประกันภัย หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี ใน การที่ให้คำแนะนำ ชักชวน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้เข้าทำสัญญา ประกันภัยกับบริษัทประกันภัยจนสำเร็จ สิทธิในการรับเงินทดรอง หรือค่าใช้จ่ายที่ได้ออกให้ในนามของบริษัทประกันภัย หรือผู้ เอาประกันภัย ซึ่งเขาได้กระทำหน้าที่แทน เช่น การจ่ายเบี้ยประกันภัยแทนผู้เอา ประกันภัย เขาย่อมได้เงินค่าเบี้ยประกันภัยพร้อมทั้งดอกเบี้ยจากผู้เอาประกันภัยที่เขา ได้จัดการแทนไปนั้น สิทธิในการยึดหน่วงทรัพย์สินของตัวแทน เช่น ตัวแทนของผู้เอาประกันภัยได้จ่ายเป็น ค่าเบี้ยประกันภัยและได้รับกรมธรรม์ประกันภัยมาจากผู้รับประกันภัยแล้ว ย่อมมีสิทธิ ยึดหน่วงกรมธรรม์ประกันภัยนั้นไว้ จนกว่าจะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอา ประกันภัยแล้ว

64 ข้อแตกต่างระหว่างตัวแทนและนายหน้าประกันภัย
ตัวแทนประกันภัยต้องระบุว่าเป็นตัวแทนของบริษัทฯใด ตัวแทนประกันภัยจะมีตำแหน่งใดๆ ในบริษัทประกันภัยหรือบริษัทอื่นก็ได้ ตัวแทนประกันภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่นายหน้าประกันภัยอาจเป็น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ นายหน้าประกันภัยเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในการควบคุมบังคับบัญชาของบริษัทประกันภัย การขออนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย นายทะเบียนจะ จัดให้มีการสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศ ภัยก็ได้ นายหน้าประกันภัยจะต้องมีสำนักงานตามที่ระบุไว้ในใบคำขอรับอนุญาต จะต้องจัดทำ สมุดทะเบียน และสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันภัยตามแบบและ รายการที่นายทะเบียนกำหนด แต่ตัวแทนประกันภัยเป็นตัวแทนของบริษัทผู้รับ ประกันภัยจึงไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานประกอบธุรกิจของตน นายหน้าจะทำการเพื่อหวังบำเหน็จที่ได้จากการชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลเข้าทำ สัญญาประกันภัยกับบริษัท ด้วยทุนทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายของตนเอง

65 คุณสมบัติของตัวแทนประกันภัย มีดังนี้
บรรลุนิติภาวะ มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ กระทำโดยทุจริต เว้นแต่ได้พ้นโทษแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นนายหน้าประกันชีวิต ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้า ประกันชีวิตในระยะเวลาสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต ได้รับการศึกษาวิชาประกันภัยจากสถาบันการศึกษาที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยได้ตามหลักสูตรและวิชาการที่นายทะเบียน ประกาศกำหนด

66 จรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต จากประกาศของสมาคมประกันชีวิตไทย
จรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต จากประกาศของสมาคมประกันชีวิตไทย 1. มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และเพื่อนร่วมอาชีพ 2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ เอาประกันภัย 3. รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและบริษัท ต่อบุคคลภายนอก 4. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขอเอาประกันภัยอันเป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับ ประกันภัย หรือความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ 5. ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขาย นอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ 6. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิม เพื่อทำสัญญาใหม่ซึ่งอาจจะเป็นการทำให้ผู้เอาประกันภัยเสีย ประโยชน์ 7. ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันภัย 8. ไม่กล่าวโทษให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น 9. หมั่นศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ 10.ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ

67 บทที่ 9 องค์กรของบริษัทประกันภัย
การจัดองค์กรของบริษัทประกันภัย   การจัดองค์กรของบริษัทประกันภัย หมายถึง การจัดกลุ่มงานเข้าด้วยกัน ซึ่ง อาจจะจัดตามหน้าที่ ตามประเภทของการประกันภัย หรือตามพื้นที่โดยมีการกำหนด อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละกลุ่มงานตลอดจนกำหนดความสัมพันธ์ใน ตำแหน่งต่างๆ ในบริษัทด้วย การจัดองค์กรของบริษัทประกันภัยเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เพราะ องค์กรที่จัดขึ้นนั้นจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารงาน และการทำงานของพนักงาน ทำให้ทราบขอบเขตหน้าที่ การติดต่อประสานงานกับ หน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม 1. การจัดองค์กรของบริษัทประกันชีวิต 2. การจัดองค์กรของบริษัทประกันวินาศภัย

68 การจัดองค์กรของบริษัทประกันชีวิต
การจัดองค์กรของบริษัทประกันชีวิต แบ่งตามหลักพื้นฐาน ได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ จัดตามหน้าที่ จะยึดเกณฑ์การจัดองค์กรตามความแตกต่างของหน้าที่และชนิดของงานที่สำคัญๆ ใน บริษัทประกันชีวิต ได้แก่ หน้าที่ในการรับประกันชีวิต หน้าที่ในการบริการกรมธรรม์ หน้าที่ในการ จัดการงานสินไหมทดแทน หน้าที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ประกันชีวิต หน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล หน้าที่ทางการบัญชี หน้าที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล หน้าที่ทางการเงินและการลงทุน หน้าที่ เกี่ยวกับกฎหมาย ดังแสดงในรูปที่ 9.1 จัดตามประเภทของการประกันชีวิต ซึ่งยึดเกณฑ์การจัดองค์กรตามประเภทของการประกันชีวิต ได้แก่ ฝ่ายการประกันชีวิตประเภทสามัญ อุตสาหกรรม และกลุ่ม ดังแสดงในรูปที่ 9.2 จัดตามพื้นที่ ซึ่งยึดเกณฑ์การจัดองค์กรตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่บริษัทประกันชีวิตดำเนินการอยู่เป็น สำคัญ เช่น อาจจัดแบ่งตามประเทศ ภาค หรือจังหวัดเป็นต้น เมื่อมีการแบ่งฝ่ายตามเขตพื้นที่แล้ว บริษัทประกันชีวิตก็อาจจะจัดแบ่งฝ่ายตามหน้าที่ หรือประเภทของการประกันชีวิตต่อไปอีกก็ได้

69 การจัดองค์กรของบริษัทประกันวินาศภัย
การจัดองค์กรของบริษัทประกันวินาศภัย แบ่งตามหลักพื้นฐานได้เป็น 3 แบบ ดังนี้ จัดตามหน้าที่ จะยึดเกณฑ์การจัดองค์กรตามความแตกต่างของหน้าที่และชนิดของงานที่สำคัญๆ ในบริษัทประกันวินาศภัย ได้แก่ ฝ่ายรับประกันวินาศภัย ฝ่ายสินไหมทดแทนประกันวินาศภัย ฝ่าย การตลาด ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบัญชี ฝ่ายประมวลผลข้อมูล และฝ่ายการเงินการ ลงทุน ดังแสดงในรูปที่ 9.4 จัดตามประเภทของการประกันวินาศภัย ซึ่งยึดเกณฑ์การจัดองค์กรตามประเภทของการประกัน วินาศภัย ได้แก่ ฝ่ายประกันอัคคีภัย ฝ่ายประกันภัยรถยนต์ ฝ่ายประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ฝ่าย ประกันภัยเบ็ดเตล็ด ดังแสดงในรูปที่ 9.5 จัดตามพื้นที่ของการประกันวินาศภัย บริษัทประกันภัยที่จัดองค์กรแบบจัดตามพื้นที่ฝ่ายหลักๆ ของบริษัทมีการจัดแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ที่บริษัทดำเนินงานอยู่ ตัวอย่างเช่น จัดแบ่งเป็น สำนักงานใหญ่และสำนักงานภาค จะเห็นได้ว่าที่สำนักงานใหญ่จะทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจต่างๆ ของสำนักงานภาคตลอดจนวางแผนกลยุทธ์และกำหนดนโยบายของบริษัท ดังนั้นงานทางด้าน บริหารทรัพยากรบุคคล บัญชี ประมวลผลข้อมูล การเงินและการลงทุนจึงมักจะอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ทั้งนี้ ก็เพื่อสำนักงานใหญ่จะได้สามารถจัดทำงบการเงินของทั้งบริษัท ตลอดจนประสานงานการ บัญชีทั้งบริษัทได้นั่นเอง สำหรับสำนักงานภาค ในตัวอย่างนี้จะมีการแบ่งฝ่ายตามประเภทของการ ประกันวินาศภัยอีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามสำนักงานภาคก็มักจะรวมเอางานด้านการตลาด การ บริหารทรัพยากรบุคคล บัญชี และการประมวลผลข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ เข้าไว้ด้วย ดังแสดงในรูปที่ 9.6

70 บทที่ 10 สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
ในการดำเนินธุรกิจการประกันภัยมีหลายสถาบันที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้การ ดำเนินธุรกิจด้านการประกันภัยเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการ ประกันภัยมีดังนี้ กรมการประกันภัย สมาคมประกันชีวิต สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมตัวแทนขายประกัน สมาคมนายหน้าประกันภัย สมาคมคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย สถาบันประกันภัยไทย


ดาวน์โหลด ppt การเสี่ยงภัยและการจัดการการเสี่ยงภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google